นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
วรรคที่ ๒
(ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ)
จาก...
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๘๓
...นำสนทนาโดย...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๘๓
วรรคที่ ๒
(ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ)
[๑๘๗] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต
นรก เหมือนกับมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบ
ด้วยมิจฉาทิฏฐิ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
[๑๘๘] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ ข้อหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
เหมือนกับสัมมาทิฏฐินี้เลย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบ
ด้วยสัมมาทิฏฐิ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
[๑๘๙] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑
วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตาม
ทิฏฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคล
ผู้มีความเห็นผิด ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะทิฏฐิเลวทราม ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดาก็ดี
เมล็ดบวบขมก็ดี เมล็ดน้ำเต้าขมก็ดี บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน
รสน้ำที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของขม เพื่อเผ็ดร้อน
เพื่อไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชเลว ฉันใด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย
กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์
ตามทิฏฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ เจตนา ๑
ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด
ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเลวทราม
ฉันนั้น เหมือนกันแล.
[๑๙๐] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตาม ทิฏฐิ ๑
วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทาน ให้บริบูรณ์
ตามทิฏฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑
ของบุคคลผู้มีความเห็นชอบ ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไป เพื่อผลที่น่า
ปารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเจริญ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพันธุ์
อ้อยก็ดี พันธุ์ข้าวสาลีก็ดี พันธุ์ผลจันทน์ก็ดี บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื่น
รสดิน รสน้ำที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของหวาน น่ายินดี
น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชพันธุ์ดี ฉันใด กายกรรมที่
สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑
มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑
ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นชอบ ธรรมทั้งหมดนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิ เจริญ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบวรรคที่ ๒
อรรถกถา (นำมาเพียงบางส่วน)
ในบทว่า สมฺมาทิฏฺฐิยา สมนฺนาคตา นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ :-
สัมมาทิฏฐิมี ๕ อย่าง คือ กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ ฌาน-สัมมาทิฏฐิ
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ. ในสัมมาทิฏฐิ ๕
อย่างนั้น กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ ย่อมชักมาซึ่งสัมปัตติภพ (สุคติโลกสวรรค์) .
ฌานสัมมาทิฏฐิ ย่อมให้ปฏิสนธิในรูปภพ. มัคคสัมมาทิฏฐิ ย่อมกำจัดวัฏฏะ.
ผลสัมมาทิฏฐิ ย่อมห้ามภพ.
ถามว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ ทำอะไร.
ตอบว่า แม้วิปัสสนาสัมมาทิฏฐินั้น ก็ไม่ชักมาซึ่งปฏิสนธิ.
ส่วนพระติปิฎกจูฬอภัยเถระกล่าวว่า ถ้าวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิที่อบรมไว้แล้ว
อาจให้บรรลุพระอรหัตในปัจจุบันได้ไซร้ ข้อนั้นก็เป็นการดี ถ้าไม่อาจให้
บรรลุพระอรหัตได้ไซร้ ก็ยังให้ปฏิสนธิในภพ ๗ ภพได้ ผู้มีอายุ. ท่านกล่าว
ถึงสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะและโลกุตระนี้ไว้อย่างนี้. ก็ในเนื้อความดังกล่าวนี้
พึงทราบสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะซึ่งให้สำเร็จในภพเท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ยญฺเจว กายกมฺมํ ยถาทิฏฺฐิสมตฺตํสมาทินฺนํ
ดังต่อไปนี้ :- บทว่า ยถาทิฏฐิ ได้แก่ ตามสมควรแก่ทิฏฐิ นั้น. บทว่า สมตฺตํ
แปลว่า บริบูรณ์. บทว่า สมาทินฺนํ แปลว่า ถือเอาแล้ว. กายกรรมนั่นนั้นมี ๓
อย่าง คือ กายกรรมที่ตั้งอยู่ตามทิฏฐิ ๑ กายกรรมที่เกิดพร้อมกับทิฏฐิ ๑
กายกรรมที่อนุโลมทิฏฐิ ๑.
บรรดากายกรรม ๓ อย่างนั้น กายกรรมคือปาณาติบาต อทินนาทานและมิจฉาจาร
ของบุคคลผู้มีลัทธิอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้ ประพฤติ
มิจฉาจาร บาปซึ่งมีเหตุมาแต่การกระทำนั้น ไม่มี การให้ผลของบาป ก็ไม่มี
นี้ชื่อว่า กายกรรมตั้งอยู่ตามทิฏฐิ.
อนึ่ง กายกรรมที่เกิดพร้อมกับความเห็นนี้แห่งลัทธินี้ที่ว่า เมื่อบุคคลฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร บาปซึ่งมีเหตุมาแต่การกระทำนั้นไม่มี
การให้ผลของบาปก็ไม่มี ดังนี้ ชื่อว่า กายกรรมที่เกิดพร้อมกับทิฏฐิ.
กายกรรมนั้นนั่นแหละ ที่บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์ ยึดถือ ถูกต้องให้บริบูรณ์
ชื่อว่า กายกรรมอนุโลมทิฏฐิ. แม้ในวจีกรรมเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนลัน.
ก็ในวจีกรรมนี้ ประกอบความว่า เมื่อบุคคลฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้
ประพฤติมิจฉาจาร บาปซึ่งมีเหตุมาแต่การกระทำนั้นไม่มี ดังนี้ ฉันใด
ในวจีกรรมและมโนกรรมก็ฉันนั้น พึงประกอบความว่า เมื่อบุคคลพูดเท็จ
กล่าวคำส่อเสียด กล่าวคำหยาบ กล่าวคำเพ้อเจ้อ บาปซึ่งมีเหตุมาแต่การพูดนั้น
ไม่มี เมื่อบุคคล มีอภิชฌาคือความเพ่งเล็ง มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด
บาปซึ่งมีเหตุแต่วจีทุจริตและมโนทุจริตไม่มี ดังนี้.
ก็ในบทว่า ยา จ เจตนา ดังนี้เป็นต้น เจตนาที่เกิดพร้อมกับทิฏฐิ ชื่อว่า
เจตนา. ความปรารถนาที่เกิดพร้อมกับทิฏฐิ ชื่อว่า ปัตถนา (ความปรารถนา) .
การตั้งจิตไว้ตามเจตนาและความปรารถนา ชื่อว่า ปณิธิ (ความตั้งใจ) .
ส่วนธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่ประกอบพร้อมกับเจตนาเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร
(ธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง) .
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
วรรคที่ ๒
(ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง ว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในอบายภูมิ คือ ความเห็นผิด
ผู้ประกอบด้วยความเห็นผิด ไปเกิดในอบายภูมิ ส่วนธรรมที่เป็นเหตุให้ไปเกิดในสุคติภูมิ
คือ ความเห็นถูก ผู้ประกอบด้วยความเห็นถูก ไปเกิดในสุคติภูมิ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่คล้อยตามความเห็นผิด ตลอดจนเจตนา
ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขาร ของผู้ที่มีความเห็นผิด ย่อมเป็นไปเพื่อ
ผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
ในทางตรงกันข้าม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่คล้อยตามความเห็นถูก
ตลอดจนเจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขาร ของผู้ที่มีความเห็นถูก
ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ เท่านั้น.
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นีครับ
สัมมาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากความเป็นจริงของธรรม
เพราะไม่ได้ฟังธรรม ย่อมเสื่อมรอบ
ความเสื่อมและความเจริญของปัญญา
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ