มลวรรคที่ ๑๘ ว่าด้วยมลทิน มีอรรถกถา ๑๒ เรื่อง (เริ่มเล่ม 43)
โดย บ้านธัมมะ  26 ก.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 34980

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 1

มลวรรคที่ ๑๘

ว่าด้วยมลทิน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ตอนที่ ๔

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คาถาธรรมบท

มลวรรคที่ ๑๘ (๑)

ว่าด้วยมลทิน

[๒๘] ๑. บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง อนึ่ง บุรุษแห่งพระยายม (คือความตาย) ปรากฏแก่ท่านแล้ว ท่านตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม อนึ่ง แม้เสบียงทางของท่านก็ยังไม่มี ท่านนั้นจงทำที่พึ่งแก่ตน จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านกำจัดมลทินได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์.

บัดนี้ ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว เป็นผู้เตรียมพร้อม (เพื่อจะไป) สำนักของพระยายม อนึ่ง แม้ที่พักในระหว่าง (ทาง) ของท่านก็ยังไม่มี อนึ่ง


๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๒ เรื่อง.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 2

ถึงเสบียงทางของท่านก็หามีไม่ ท่านนั้นจงทำที่พึ่งแก่ตน จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านเป็นผู้มีมลทินอันกำจัดได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน จักไม่เข้าถึงชาติชราอีก.

๒. ผู้มีปัญญาทำกุศลอยู่คราวละน้อยๆ ทุกๆ ขณะโดยลำดับ พึงกำจัดมลทินของตนได้ เหมือนช่างทองปัดเป่าสนิมทองฉะนั้น.

๓. สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กแล้ว ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด กรรมทั้งหลายของตน ย่อมนำบุคคลผู้มักประพฤติล่วงปัญญาชื่อว่า โธนา ไป สู่ทุคติ ฉันนั้น.

๔. มนต์ทั้งหลาย มีอันไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา.

. ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของสตรี ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ธรรมอันลามกทั้งหลายเป็นมลทินแล ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า เราจะบอก มลทินอันยิ่งกว่ามลทินนั้น อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละมลทินนั่นได้แล้ว ย่อมเป็นผู้หมดมลทิน.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 3

๖. อันบุคคลผู้ไม่มีความละอาย กล้าเพียงดังกา มีปกติกำจัด (คุณผู้อื่น) มักแล่นไป (เอาหน้า) ผู้คะนอง ผู้เศร้าหมอง เป็นอยู่ง่าย ส่วนบุคคลผู้มีความละอาย ผู้แสวงหากรรมอันสะอาดเป็นนิตย์ ไม่หดหู่ ไม่คะนอง มีอาชีวะหมดจด เห็นอยู่ เป็นอยู่ยาก.

๗. นระใด ย่อมยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ๑ กล่าวมุสาวาท ๑ ถือเอาทรัพย์ที่บุคคลอื่นไม่ให้ในโลก ๑ ถึงภริยาของผู้อื่น ๑ อนึ่ง นระใดย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มสุราและเมรัย นระนี้ (ชื่อว่า) ย่อมขุดซึ่งรากเหง้าของตนในโลกนี้ทีเดียว. บุรุษผู้เจริญ ท่านจงทราบอย่างนี้ว่า บุคคลผู้มีบาปธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่สำรวมแล้ว ความโลภและสภาพมิใช่ธรรม จงอย่ารบกวนท่าน เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานเลย.

๘. ชนย่อมให้ (ทาน) ตามศรัทธา ตามความเลื่อมใส แลชนใดย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำและข้าวของชนเหล่าอื่นนั้น ชนนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิในกลางวันหรือในกลางคืน ก็อกุศลกรรมอันบุคคลใดตัดขาดแล้ว ถอนขึ้นทำให้มีรากขาดแล้ว บุคคลนั้นแล ย่อมบรรลุสมาธิ ในกลางวัน หรือในกลางคืน.

๙. ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 4

๑๐. โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย ฝ่ายโทษของตนเห็นได้ยาก เพราะว่าบุคคลนั้น ย่อมโปรยโทษของบุคคลอื่นเหมือนบุคคลโปรยแกลบ แต่ว่าย่อมปกปิดโทษของตน เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิดฉะนั้น.

๑๑. อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอยดูโทษของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันยกโทษเป็นนิตย์ บุคคลนั้นเป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่งอาสวะ.

๑๒. รอยเท้าในอากาศนั่นเทียวไม่มี สมณะภายนอกไม่มี หมู่สัตว์เป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในธรรมเครื่องเนิ่นช้า พระตถาคตทั้งหลายไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า รอยเท้าในอากาศนั่นเทียวไม่มี สมณะภายนอกไม่มี สังขารทั้งหลายชื่อว่าเที่ยงไม่มี กิเลสชาตเครื่องยังสัตว์ให้หวั่นไหว ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

จบมลวรรคที่ ๑๘