[เล่มที่ 80] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑
พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุ ภาคที่ ๑
มหาปัณณาสก์
วรรคที่ ๒
ปรูปหารกถาและอรรถกถา 446/438
อัญญาณกถาและอรรถกถา 490/459
กังขากถาและอรรถกถา 422/474
ปรวิตารณากถาและอรรถกถา 547/487
วจีเภทกถาและอรรถกถา 575/501
ทุกขาหารกถาและอรรถกถา 622/520
จิตตฐิติกถาและอรรถกถา 624/522
กุกกุฬกถาและอรรถกถา 639/531
อนุปุพพาภิสมยกถาและอรรถกถา 648/540
โวหารกถาและอรรถกถา 671/560
นิโรธกถาและอรรถกถา 691/570
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 80]
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 438
วรรคที่ ๒
ปรูปหารกถา
[๔๔๖] สกวาที การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มี อยู่ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ สัญโญชน์คือกามราคะ โอฆะคือกาม โยคะคือกาม กามฉันทนิวรณ์ ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๗] ส. ราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ สัญโญชน์คือกามราคะ โอฆะคือกาม โยคะคือกาม กามฉันทนิวรณ์ ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่ง กามราคะ สัญโญชน์คือกามราคะ โอฆะคือกาม โยคะคือกาม กาม ฉันทนิวรณ์ไม่มีแก่พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การปล่อยสุกกะคือ อสุจิของพระอรหันต์มีอยู่.
[๔๔๘] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของปุถุชนมีอยู่ และราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ สัญโญชน์คือกามราคะ โอฆะ คือกาม โยคะคือกาม กามฉันทนิวรณ์ ของเขาก็ยังมีอยู่ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 439
ป. ถูกแล้ว.
ส. การปล่อยสุกกะคือ อสุจิของ พระอรหันต์มีอยู่ และราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ ของท่านก็ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๙] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ยังมีอยู่ แต่ราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของปุถุชนมีอยู่ แต่ราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ ไม่มี แก่เขา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๐] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โดยอรรถาธิบายอย่างไร?
ป. โดยอรรถาธิบายว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มาร นำเข้าไปซึ่งการปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์.
[๔๕๑] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มาร นำเข้าไปซึ่งการ ปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์ได้ หรือ ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 440
ป. ถูกแล้ว.
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิ ของเทวดาผู้นับเนื่อง ในหมู่มารมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๒] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่เทวดาผู้นับเนื่อง ในหมู่มาร หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่เทวดา ผู้นับเนื่องในหมู่มาร ก็ต้องไม่กล่าวว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำ เข้าไปซึ่งการปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์.
[๔๕๓] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย สุกกะ คืออสุจิแก่พระอรหันต์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย สุกกะ คืออสุจิแก่ตนได้ นำเข้าไปซึ่งการปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่คนอื่นๆ ได้ และนำเข้าไปซึ่งการปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่บุคคลนั้นได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯล ฯ
[๔๕๔] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย สุกกะคืออสุจิแก่ตนก็ไม่ได้ แก่คนอื่น ๆ ก็ไม่ได้ แก่บุคคลนั้นก็ไม่ได้ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 441
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่ง การปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่ตนไม่ได้ แก่คนอื่น ๆ ก็ไม่ได้ แก่บุคคลนั้น ก็ไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไป ซึ่งการ ปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์.
[๔๕๕] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย สุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นำเข้าไปทางชุมขน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๖] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย สุกกะ คืออสุจิแก่พระอรหันต์ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะเหตุไร?
ป. เพราะจะยังท่านให้ตกอยู่ในความสงสัย.
ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๗] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระ-
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 442
ธรรม ความสงสัยในพระสงฆ์ ความสงสัยในสิกขา ความสงสัยใน ส่วนเบื้องต้น ความสงสัยส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ ธรรม นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้นของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๘] ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระ- ธรรม ความสงสัยในพระสงฆ์ ความสงสัยในสิกขา ความสงสัยใน ส่วนเบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในส่วนเบื้อง ต้นและส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ ธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความสงสัยในพระศาสดา ฯล ฯ ความ สงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึง เกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความสงสัยของพระ- อรหันต์ยังมีอยู่.
[๔๕๙] ส. ความสงสัยของปุถุชนยังมีอยู่ และความสงสัย ในพระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาก็ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ และความ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 443
สงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ ธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของท่านก็ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๐] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ แต่ความ สงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ ธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของท่านไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยใน พระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยใน พระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๑] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์เป็นผล ของอะไร ?
ป. เป็นผลของการกิน การดื่ม การเคี้ยง การลิ้ม
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 444
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ เป็น ผลของการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ยังกิน ยังดื่ม ยังเคี้ยว ยังลิ้มอยู่ การปล่อยสุกกะคืออสุจิของชนเหล่านั้นทุกจำพวกเทียวยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๒] ส. ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ยังกิน ยังดื่ม ยังเคี้ยว ยังลิ้มอยู่ การปล่อยสุกกะคืออสุจิของชนเหล่านั้นทุกจำพวกเทียวยังมีอยู่ หรือ ?
ส. พวกทารก ยังกิน ยังดื่ม ยังเคี้ยว ยังลิ้มอยู่ การปล่อยสุกกะคืออสุจิของทารกมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๓] ส. พวกบัณเฑาะก์ ยังกิน ยังกิน ยังดื่ม ยังเคี้ยว ยังลิ้มอยู่ การปล่อยสุกกะคืออสุจิของบัณเฑาะก์มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๔] ส. พวกเทวดา ยังกิน ยังดื่ม ยังเคี้ยว ยังลิ้มอยู่ การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพวกเทวดามีอยู่ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 445
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๕] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ เป็นผล ของการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความประสงค์ของท่านมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๖] ส. อุจจาระ ปัสสาวะ ของพระอรหันต์เป็นผลของ การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ความ ประสงค์ของท่านมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์เป็นผล ของการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ความ ประสงค์ของท่านมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๗] ส. การปล่อยสุกกะคือ อสุจิของพระอรหันต์เป็นผล ของการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม แต่ ความประสงค์ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อุจจาระ ปัสสาวะ ของพระอรหันต์เป็นผลของ การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม แต่ความ ประสงค์ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 446
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๘] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์พึงเสพเมถุนธรรม พึงยังเมถุน- ธรรมให้เกิด พึงนอนที่นอนอันเบียดเสียดด้วยบุตร พึงใช้ผ้ากาสิก พัสตร์และจุณจันทน์ พึงทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ พึง ยินดีทองเงิน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๙] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชน พึงเสพเมถุนธรรม ยังเมถุนธรรมให้เกิด ฯลฯ พึงยินดีทองเงิน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์พึงเสพเมถุนธรรม ยังเมถุนธรรมให้เกิด ฯลฯ พึงยินดี ทองเงิน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๗๐] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ พระอรหันต์จะพึงเสพเมถุนธรรม จะพึงยังเมถุนธรรมให้เกิด ฯลฯ จะพึงยินดีทองเงิน ก็หามิได้เลย หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 447
ป. ถูกแล้ว.
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของปุถุชนมีอยู่ แต่ ปุถุชนจะพึงเสพเมถุนธรรม จะพึงยังเมถุนธรรมให้เกิด จะพึงนอนที่ นอนอันเบียดเสียดด้วยบุตร จะพึงใช้ผ้ากาสิกพัสตร์และจุณจันทร์ จะ พึงทัดทรงดอกไม้ของหอมเละเครื่องลูบไล้ จะพึงยินดีทองเงิน ก็หา มิได้เลย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๗๑] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง ทำให้มี อันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอน รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ไม่ต้องกล่าวว่า การปล่อย สุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่.
[๔๗๒] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 448
ส. โทสะ ฯลฯ โมหะ มานะทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ อันพระอรหันต์ละขาด แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ใน ภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อโนตตัปปะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่าการปล่อย สุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่.
[๔๗๓] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?.
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่ง ราคะ มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว เพื่อ ละขาดซึ่งราคะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การปล่อย สุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่.
[๔๙๔] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 449
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ยังสติปัฏฐานให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยัง สัมมัปปธานให้เกิดแล้ว ยังอิทธิบาทให้เกิดแล้ว ยังอินทรีย์ให้เกิดแล้ว ยังพละให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งราคะ มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ ก็ต้องไม่กล่าวว่าการปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระ- อรหันต์มีอยู่.
[๔๗๕] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยัง โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งโมหะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การปล่อยสุกกะคืออสุจิ ของพระอรหันต์ มีอยู่.
[๔๗๖] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 450
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ มีลิ่ม อันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะ แล้ว วางภาระแล้ว หมด เครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรม ที่ควรรู้ยิ่งแล้ว ได้กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละธรรมที่ควร ละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้ แจ้งแล้ว มิใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ มีอยู่ ?
[๔๗๗] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ยังมีอยู่
ป. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาด ในธรรม ของตนผู้ปัญญาวิมุตมีอยู่ การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ผู้อุภโตภาควิมุต.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 451
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ ผู้ฉลาด ในธรรมของตนมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ ผู้ฉลาด ในธรรมอื่นมีอยู่ หรือ
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๗๘] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่พระอรหันต์ ผู้ ฉลาดในธรรมอื่น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่พระอรหันต์ ผู้ ฉลาดในธรรมของตน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๗๙] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด ราคะแล้ว แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่าน ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดราคะแล้ว แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 452
[๔๘๐] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละขาดโทสะ แล้วละขาดโมหะแล้ว ฯลฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว แต่การปล่อย สุกกะคืออสุจิของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดอโนต- ตัปปะแล้ว แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่าน ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๑] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนยังมรรคให้ เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งโมหะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่ง อโนตตัปปะ แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังโพชฌงค์ให้ เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่าน ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๒] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งแล้ว แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่านยังมีอยู่ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 453
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๓] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดแล้ว และ การปล่อยสุกกะคืออสุจิก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละขาดราคะ แล้ว และการปล่อยสุกกะคืออสุจิก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๔] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดโทสะแล้ว ละขาดโมหะแล้ว ฯลฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว และการปล่อยสุกกะ คืออสุจิก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละอโนต- ตัปปะแล้ว และการปล่อยสุกกะคืออสุจิก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๕] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังมรรคให้เกิด แล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ ฯลฯ เพื่อ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 454
ละขาดซึ่งโทสะ เพื่อละขาดซึ่งโมหะ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ และการปล่อย สุกกะคืออสุจิไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนยังโพชฌงค์ ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ และการปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่ มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๖] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว และ การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งแล้ว และการปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๗] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ป ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ- ทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด เป็นปุถุชน ถึงพร้อมด้วยศีล มีสติ-
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 455
สัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับ อสุจิของภิกษุเหล่านั้น ย่อม ไม่เคลื่อน แม้ฤๅษีนอกศาสนาเหล่าใด เป็นผู้ปราศจากราคะ ในกามแล้ว อสุจิของพวกฤาษีเหล่านั้น ก็หาเคลื่อนไม่ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่อสุจิของพระอรหันต์จะพึงเคลื่อนนี้ มิใช่ ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะเป็นไปได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงไม่กล่าวว่า การปล่อยสุกกะ คืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่.
[๔๘๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า มีการนำเข้าไปสู่แห่งผู้อื่นแก่พระ- อรหันต์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ผู้อื่นพึงนำเข้าไปซึ่งจีวร บิณฑาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระอรหันต์ มิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าผู้อื่นพึงนำเข้าไปซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระอรหันต์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า มีการนำปัจจัยเข้าไปแห่งผู้อื่นแก่พระอรหันต์ หรือ?
[๔๘๙] ส. เพราะผู้อื่นพึงนำเข้าไปซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนา- สนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระอรหันต์ ฉะนั้น จึงมีการนำ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 456
เข้าไปแห่งผู้อื่น แก่พระอรหันต์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้อื่นพึงนำเข้าไป ซึ่งโสดาปัตติผล หรือสกทาคามิผล หรืออนาคามิผล หรืออรหัตตผล แก่พระอรหันต์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯปรูปหารกถา จบ
อรรกถาปรูปหารกถา
ว่าด้วยผู้อื่นนำมาให้
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผู้อื่นนำมาให้. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดย่อม สำคัญว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารน้อมนำน้าสุกกะ คือน้ำอสุจิเข้า ไปแก่พระอรหันต์ได้ เพราะเห็นการสละน้ำสุกกะ คืออสุจิของชน ทั้งหลายผู้ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้หลอกลวง ผู้เย่อหยิ่ง ผู้ สำคัญในธรรมอันตนไม่บรรลุว่าบรรลุแล้ว หรือผู้ปฏิบัติอยู่เพื่อความ เป็นพระอรหันต์ ดุจนิกายปุพพเสลิยะ และอปรเสลิยะทั้งหลายใน ขณะนี้ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นจึงถามปรวาทีว่า การปล่อยสุกกะ คืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่หรือ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
บัดนี้ ชื่อว่าการปล่อยน้ำสุกกะ ย่อมมีเพราะราคะเป็นสมุฏฐาน เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงเริ่มซักถามว่า ราคะของพระ อรหันต์มีอยู่หรือ เนื้อความนั้นแม้ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 457
ในปัญหาว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการ ปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่ตนได้ เป็นต้น ความว่า ขึ้นชื่อว่าการ ปล่อยน้ำสุกกะของเทวดาเหล่านั้นย่อมไม่มี ทั้งเทวดาเหล่านั้นถือเอา น้ำสุกกะของชนแม้เหล่าอื่นแล้วน้อมนำเข้าไปก็ไม่มี ทั้งน้ำสุกกะของ พระอรหันต์นั้นแหละก็ไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึงปฏิเสธ ว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ในปัญหาว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการ ปล่อยสุกกะคืออสุจิแต่ตนก็ไม่มี ความว่า ปรวาทีนั้นย่อมตอบ รับรองเพราะลัทธิว่า ก็เทวดานิรมิตแล้วก็นำเข้าไป ในปัญหาว่า นำเข้าไปทางขุมขนหรือ ปรวาทีปฏิเสธ เพราะเห็นว่าไม่มีการ นำเข้าไปตามรูขนทั้งหลาย เหมือนการนำเนยใสและน้ำมันทั้งหลายฯ คำว่า "หนฺท หิ" เป็นนิบาตลงในอรรถที่เป็นไปด้วยอำนาจพิเศษ. อธิบายว่า พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารคิดว่า เราจักถือเอาความ สงสัยอย่างนี้ว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ หรือมิใช่พระอรหันต์หนอ แล้วนำเข้าไปทำให้เป็นไปในอำนาจพิเศษอย่างนี้. ถูกสกวาทีถามว่า ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่หรือ? ปรวาที หมายเอาความ สงสัยมีวัตถุ ๘ ประการ จึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรอง เพราะหมายเอาไม่มีการตกลงใจคือไม่รู้ในนามและโคตรเป็นต้นแห่งหญิงและชายเป็นต้น.
คำว่า ความประสงค์ของท่านยังมีอยู่หรือ ความว่า สกวาทีย่อมถามว่า โอกาสอันเป็นที่ตั้งอยู่แห่งน้ำสุกกะนั้นมีอยู่ ราวกะ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 458
โอกาสเป็นที่ตั้งอยู่แห่งอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ?
คำว่า ผู้ฉลาดในธรรมของตน ได้แก่ ผู้ฉลาดในสักว่า ธรรมอันเป็นพระอรหันต์ของตนเท่านั้น ข้อนี้ท่านหมายเอาพระอรหันต์ ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาจึงกล่าวเช่นนั้น. คำว่า ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ได้แก่ ผู้ฉลาดแม้ในธรรมอันเป็นสมาบัติ ๘ อื่นนอกจากพระสัทธรรม ข้อนี้ ท่านหมายเอาพระอรหันต์ผู้อุภโตภาควิมุติจึงกล่าวอย่างนั้น. คำที่ เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วในพระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาปรูปหารกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 459
อัญญาณกถา
[๔๙๐] สกวาที ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ป. อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัย คืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๑] ส. อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัย คืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคือ อวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคือวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ไม่มีแก่พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของ พระอรหันต์มีอยู่.
[๔๙๒] ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และอวิชชา โอฆะ คืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ของเขาก็มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และอวิชชา
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 460
โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคือ อวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ของท่านก็มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๓] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่อวิชชา โอฆะ คืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฎฐานคืออวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่อวิชชา โอฆะคือ อวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ไม่มีแก่เขา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๔] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ อันความไม่รู้ครอบงำ พึงฆ่าสัตว์ พึงลักทรัพย์ พึงพูดเท็จ พึงพูดส่อเสียด พึงพูดเพ้อเจ้อ พึงตัดช่อง ย่องเบา พึงปล้นตลอดบ้าน พึงปล้นเฉพาะหลังคาเรือน พึงซุ่มดักที่ ทางเปลี่ยว พึงคบหาทาระของผู้อื่น พึงฆ่าชาวบ้าน พึงฆ่าชาวนิคม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๕] ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และปุถุชนอันความ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 461
ไม่รู้ครอบงำ พึงฆ่าสัตว์ พึงลักทรัพย์ ฯ ลฯ พึงฆ่าชาวบ้าน พึงฆ่า ชาวนิคม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และพระอรหันต์ อันความไม่รู้ครอบงำ พึงฆ่าสัตว์ พึงลักทรัพย์ ฯลฯ พึงฆ่าชาวบ้าน พึงฆ่าชาวนิคม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๖] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พระอรหันต์ จะได้ถูกความไม่รู้ครอบงำ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ก็หาไม่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนจะได้ถูก ความไม่รู้ครอบงำ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ก็หาไม่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๗] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ในพระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ความไม่รู้ในสิกขา ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอนาคตและในส่วนอดีต
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 462
ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้ จึงเกิดขึ้น ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๘] ส. ความไม่รู้ในพระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ความไม่รู้ในสิกขา ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอนาคตและส่วนอดีต ความ ไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึง เกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความไม่รู้ในพระศาสดา ความไม่รู้ ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุป- ปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่ พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่
[๔๙๙] ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และความไม่รู้ใน พระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้ จึงเกิดขึ้น ของเขาก็มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และความไม่รู้ ในพระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 463
ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้ จึงเกิดขึ้น ของท่านก็มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๐] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ความไม่รู้ใน พระศาสดา ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาท ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่ความไม่รู้ในพระ- ศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความ ไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึง เกิดขึ้น ไม่มีแก่เขา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๑] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้ มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนราก ขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 464
ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้วก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ ของพระอรหันต์มีอยู่ ฯลฯ
ส. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ อัน พระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แล้ว มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อโนตตัปปะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่าความไม่รู้ ของพระอรหันต์มีอยู่.
[๕๐๒] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยัง โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งราคะ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าพระอรหันต์ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละ ขาดซึ่งราคะก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่.
[๕๐๓] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 465
ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยัง โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต- ตัปปะ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าพระอรหันต์ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละ ขาดซึ่งอโนตตัปปะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่.
[๕๐๔] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่.
[๕๐๕] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของ ตนมีอยู่ แต่ความไม่รู้ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น.
ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของ ตนมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 466
มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๖] ส. ความไม่รู้ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม อื่น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม ของตน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๗] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด ราคะแล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะ แล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๘] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด โทสะแล้ว ละขาดโมหะแล้ว ฯลฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว แต่ความ ไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดอโนต- ตัปปะแล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 467
[๕๐๙] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ยังมรรคให้ เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ แต่ความ ไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังโพชฌงค์ให้ เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งราคะ แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๐] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ยังมรรค ให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังโพชฌงค์ให้ เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๑] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศ- จากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง แล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศ- จากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง แล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 468
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๒] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะ แล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด ราคะแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๓] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดโทสะ แล้ว ฯลฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด อโนตตัปปะแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๔] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังมรรคให้เกิด แล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งราคะ ยังมรรค ให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนยังโพชฌงค์ ให้เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 469
[๕๑๕] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศ- จากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง แล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควร ทำให้แจ้งแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๖] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะ สำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่ กล่าวสำหรับผู้ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่ ก็บุคคลรู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่อย่าง ไร ความสิ้นอาสวะจึงมิได้ บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนั้นเวทนา ฯลฯ อย่างนี้สัญญา ฯลฯ อย่างนี้สังขาร ฯลฯ อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ความ สิ้นอาสวะจึงมิได้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
๑. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๒๖๐.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 470
ส. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ- อรหันต์มีอยู่.
[๕๑๗] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะ สำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่ กล่าวสำหรับผู้ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่ ก็บุคคลรู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่อย่าง ไร ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุ เกิดแห่งทุกข์ นี้ธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงธรรมเป็นที่ ดับแห่งทุกข์ ดังนี้ ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ- อรหันต์ มีอยู่.
[๕๑๘] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่สำรอก
๑. สํ. มหา. ๑๙/๑๗๐๕.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 471
ไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ต่อเมื่อ รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งกำหนดรู้ สำรอกละซึ่งสิ่งทั้งปวง จึงเป็นผู้ควร เพื่อความสิ้นทุกข์ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้นก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ- อรหันต์มีอยู่.
[๕๑๙] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ บรรลุโสดาปัตติมรรคของท่าน ท่านละธรรม ๓ ประการได้แล้ว คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ที่ยังมีอยู่บ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านจึงพ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔ และเป็นผู้ไม่ ควรทำความผิดสถานหนัก ๖ ประการ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้นก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ- อรหันต์มีอยู่.
[๕๒๐] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๑๗๕.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 472
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากผงฝ้าเกิดขึ้นแก่อริยสาวก ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความ ดับเป็นธรรมดา ดังนี้ ในสมัยนั้น พร้อมกับความเกิดขึ้นแห่ง ทัศนะ อริยสาวกก็ละสัญโญชน์ ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้นก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ- อรหันต์มีอยู่.
[๕๒๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระอรหันต์อาจไม่รู้นามและโคตรของสตรีและ บุรุษทั้งหลาย อาจไม่รู้ทางและมิใช่ทาง อาจไม่รู้ชื่อของหญ้าไม้ ต้นไม้ เจ้าป่าทั้งหลายก็ได้ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระอรหันต์อาจไม่รู้นามและโคตรของ สตรีและบุรุษทั้งหลาย อาจไม่รู้ทางและมิใช่ทาง อาจไม่รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และไม้เจ้าป่าก็ได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ความไม่รู้ ของพระอรหันต์มีอยู่.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 473
ส. เพราะพระอรหันต์อาจไม่รู้นามและโคตรของ สตรีและบุรุษทั้งหลาย อาจไม่รู้ทางและมิใช่ทาง อาจไม่รู้จักชื่อของหญ้า ไม้ และไม้เจ้าป่าก็ได้ ฉะนั้น ความไม่รู้ของพระอรหันต์ จึงมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ อาจไม่รู้โสดาปัตติผล หรือสกทา- คามิผล หรืออนาคามิผล หรืออรหัตตผล ก็ได้หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ อัญญาณกถา๑ จบ
๑. อรรถกถาท่านอธิบายรวมทั้ง ๓ เรื่อง คือ เรื่องความไม่รู้ เรื่องความ สงสัย เรื่องการแนะนำของผู้อื่นพร้อมกันไป เพราะเนื้อเรื่องทั้ง ๓ นี้เป็นทำนอง เดียวกันทั้งสิ้น สำหรับเรื่องความไม่รู้ กับเรื่องความสงสัย เหมือนกับเกือบ ทั้งหมดตลอดถึงพระสูตรที่ยกมาอ้างด้วย เพราะฉะนั้นสำหรับอภิธรรมจะคัดเฉพาะ ความที่เหมือนกันออก ส่วนที่แปลกกันก็จะนำมาแสดงไว้ทั้งหมด แต่อรรถกถา ไม่มีการตัดเนื้อความอะไร ๆ ออกเลย.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 474
กังขากถา
[๕๒๒] สกวาที ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๓] ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิฉานิวรณ์ ของพระอรหันต์ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของพระอรหันต์ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่.
[๕๒๔] ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และวิจิกิจฉา วิจิ- กิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของเขาก็ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ และวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของท่านก็ยังมี อยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 475
[๕๒๕] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ แต่วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของท่านไม่มี อยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่วิจิกิจฉา วิจิกิจ- ฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของเขาไม่มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๖] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระ- ธรรม ความสงสัยในพระสงฆ์ ความสงสัยในสิกขา ความสงสัยใน ส่วนอนาคต ความสงสัยในส่วนอดีต ความสงสัยทั้งในส่วนอนาคตและ ส่วนอดีต ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็น ปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๗] ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระ- ธรรม ความสงสัยในพระสงฆ์ ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาท- ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของพระอรหันต์ ไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 476
ส. หากว่า ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัย ในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้ เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของพระอรหันต์ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่.
[๕๒๘] ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และความสงสัยใน พระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุป- ปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาก็ยังมี อยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ และความ สงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยใน ปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้เกิดขึ้น ของ ท่านก็ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๙] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ความสงสัย ในพระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจ- สมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของท่าน ไม่มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยใน
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 477
พระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ฯ ลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุป- ปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๐] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้ มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอน รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความ สงสัยของพระอรหันต์มีอยู่.
[๕๓๑] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ อัน พระอรหันต์ละขาดแล้ว ฯลฯ พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งราคะ มิใช่หรือ ฯลฯ ยัง มรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนต-
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 478
ตัปปะ ฯลฯ พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำให้ แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าว ว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่.
[๕๓๒] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของ ตนมีอยู่ แต่ความสงสัยไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น.
ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของ ตนมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๓] ส. ความสงสัยไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม อื่น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม ของตน หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 479
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๔] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละขาดราคะ แล้ว แต่ความสงสัยของท่านยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดราคะแล้ว แต่ความสงสัยของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๕] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละขาดโทสะ แล้ว ฯลฯ ละขาดโมหะแล้ว ฯลฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาด ซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ หรือ ฯลฯ
[๕๓๖] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้ ปราศจากราคะโทสะโมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง แล้ว แต่ความสงสัยของท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจาก ราคะโทสะโมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่ ความสงสัยของท่านยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 480
[๕๓๗] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดราคะแล้ว และความสงสัยของท่านก็ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละขาดราคะ แล้ว และความสงสัยของท่านก็ไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๘] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดโทสะแล้ว ฯลฯ ละขาดโมหะแล้ว ฯลฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว ฯลฯ ยังมรรค ให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะหรือ ฯลฯ
[๕๓๙] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว และ ความสงสัยของท่านก็ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้ แจ้งแล้ว และความสงสัยของท่านก็ไม่มี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๐] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 481
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะสำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่ กล่าวสำหรับผู้ที่ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่. ก็บุคคลผู้รู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่ อย่างไร ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ บุคคลผู้รู้อยู่ว่า อย่างนี้รูป ฯลฯ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้อยู่ อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดังนี้๑ เป็นสูตร มีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ พระอรหันต์มีอยู่.
[๕๔๑] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะสำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่ กล่าวสำหรับผู้ที่ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่. ก็บุคคลผู้รู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่ อย่างไร ความสิ้นอาสวะ จึงมีได้ บุคคลรู้อยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทางให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ดังนี้ ความสิ้นอาสวะจึงมี
๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๓.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 482
ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้น อาสวะจึงมีได้ ดังนี้๑ เป็นสูตรที่มีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ พระอรหันต์มีอยู่.
[๕๔๒] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่สำ- รอก ไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ต่อ เมื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง กำหนดรู้ สำรอก ละซึ่งสิ่งทั้งปวง จึง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดังนี้๒ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ พระอรหันต์มีอยู่.
[๕๔๓] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๓. ๒. ขุ.อุ. ๒๕/๓๘,๓๙,๔๐
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 483
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ บรรลุโสดาปัตติมรรคของท่าน ฯลฯ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำความ ผิดสถานหนัก ๖ ประการ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ พระอรหันต์มีอยู่.
[๕๔๔] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ในสมัยใด ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากผงฝ้า เกิดขึ้น แก่อริยสาวกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ ในสมัยนั้น พร้อมกับ ความเกิดขึ้นแห่งทัศนะ อริยสาวกก็ละสัญโญชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมี อยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ พระอรหันต์มีอยู่.
[๕๔๕] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 484
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมวับหายไป เพราะมารู้ ธรรมกับทั้งเหตุ. เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้ มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมวับหายไป เพราะได้รู้ถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย. เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและ เสนามารเสียได้ ดุจดวงอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด ยังอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.๑ ความสงสัยในโลกนี้หรือโลกอื่น ในประวัติ ของตน หรือในประวัติของผู้อื่นไม่ว่าอย่างใด ผู้มีความเพียร ประพฤติพรหมจรรย์เพ่งอยู่ ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นได้หมด.๑ บุคคลเหล่าใด ข้ามความสงสัยทั้งหลายเสียได้ ในเมื่อคนทั้งหลายยังมีความสงสัยอยู่ เป็นผู้ไม่มีความสงสัย ไม่ ข้องขัด ทานที่ให้ในบุคคลเหล่านั้นมีผลมาก. การประกาศธรรมในพระศาสนานี้ เป็นเช่นนี้
๑. ขุ.อุ. ๒๕/๑๒๓.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 485
บรรดาพระสาวกเหล่านั้น องค์ไรหรือจะยังสงสัย ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้จอมคน ทรงข้ามพ้นห้วงสังสารวัฏฏ์ และทรงตัดความสงสัยเสียได้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ พระอรหันต์มีอยู่.
[๕๔๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์ ยัง มีอยู่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระอรหันต์ อาจสงสัยในนามและโคตรของ สตรีและบุรุษ อาจสงสัยในทางและมิใช่ทาง อาจสงสัยในชื่อของ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าก็ได้ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระอรหันต์อาจสงสัยในนามและโคตร ของสตรีและบุรุษ อาจสงสัยในทางและมิใช่ทาง อาจสงสัย ในชื่อของ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าก็ได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์ ยังมีอยู่.
ส. เพราะพระอรหันต์ อาจสงสัยในนามและโคตร ของสตรี และบุรุษ อาจสงสัยในทางมิใช่ทาง อาจสงสัยในชื่อของหญ้า
๑. ที. มหา. ๑๐/๓๒๕.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 486
ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าก็ได้ ฉะนั้น ความสงสัยของพระอรหันต์จึงยังมี อยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ อาจสงสัยในโสดาปัตติผล หรือ ในสกทาคามิผล หรือในอนาคามิผล หรือใน อรหัตตผลก็ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ กังขากถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 487
ปรวิตารณากถา
[๕๔๗] สกวาที การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์อันผู้อื่นพึงนำไปได้ อันผู้อื่นพึงจูง ไปได้ อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น ไม่รู้ ไม่เห็น หลง ไม่รู้ตัว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๘] ส. พระอรหันต์อันผู้อื่นไม่พึงนำไปได้ อันผู้อื่นไม่ พึงจูงไปได้ ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัวอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์อันผู้อื่นไม่พึงนำไปได้ อัน ผู้อื่นไม่พึงจูงไปได้ ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ ตัวอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยัง มีอยู่
[๕๔๙] ส. การแนะนำของผู้อื่นสำหรับปุถุชนมีอยู่ และเขา ผู้อื่นพึงนำไปได้ อันผู้อื่นพึงจูงไปได้ อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น ไม่รู้ ไม่ เห็น หลง ไม่รู้ตัว หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 488
ป. ถูกแล้ว.
ส. การแนะนำของผู้อื่นสำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่ และท่านอันผู้อื่นพึงนำไปได้ อันผู้อื่นพึงไปได้ อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น ไม่รู้ ไม่เห็น หลง ไม่รู้ตัว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๐] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี อยู่ แต่ท่านอันผู้อื่นไม่พึงนำไปได้ อันผู้อื่นไม่พึงจูงไปได้ ไม่อาศัยผู้ อื่น ไม่เกาะผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัวอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การแนะนำของผู้อื่นสำหรับผู้อื่นสำหรับปุถุชนมี อยู่ แต่เขาอันผู้อื่นไม่พึงนำไปได้ อันผู้อื่นไม่พึงจูงไปได้ ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัวอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๑] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี อยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การแนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระ- ธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีต ทั้งในส่วนอนาคตและส่วนอดีต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ ธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 489
[๕๕๒] ส. การแนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระ- ธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้ เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า การแนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ใน พระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การแนะนำ ของผู้อื่นสำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.
[๕๕๓] ส. การแนะนำผู้อื่น สำหรับปุถุชนมีอยู่ และการ แนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปปาท- ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น สำหรับปุถุชน นั้นก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี อยู่ และการแนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ใน- ปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น สำหรับพระอรหันต์นั้น ก็ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๔] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี อยู่ แต่การแนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ใน
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 490
ปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่ มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การแนะนำของผู้อื่นสำหรับปุถุชนมีอยู่ แต่การ แนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปปาท- ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่เขา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๕] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี อยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้ มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอน รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า การ แนะนำของผู้อื่นสำหรับพระอรหันต์มีอยู่ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ อันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ฯลฯ มิใช่หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 491
[๕๕๖] ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพช- ฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งราคะ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต- ตัปปะ มิใช่หรือ ?
[๕๕๗] ส. พระอรหันต์ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าว ว่า การแนะนำของผู้อื่นสำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.
[๕๕๘] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี อยู่ หรือ?
ป. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ผู้ฉลาด ในธรรมของตนยังมีอยู่ แต่การแนะนำของผู้อื่นไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ ฉลาดในธรรมอื่น.
ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ผู้ฉลาด ในธรรมของตนยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ผู้ฉลาด ในธรรมอื่นยังมีอยู่ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 492
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๙] ส. การแนะนำของผู้อื่น ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ ฉลาดในธรรมอื่น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การแนะนำของผู้อื่น ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ ฉลาดในธรรมของตน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๖๐] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด ราคะแล้ว แต่การแนะนำของผู้อื่นสำหรับท่าน ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะ แล้ว แต่การแนะนำของผู้อื่น สำหรับท่านยัง มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๖๑] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด โทสะแล้ว ฯลฯ ละขาดโมหะแล้ว ฯลฯ ละ ขาดอโนตตัปปะแล้ว ฯลฯ
[๕๖๒] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ยังมรรคให้ เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ ฯลฯ ยัง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 493
มรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ ฯลฯ
[๕๖๓] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งแล้ว แต่การแนะนำของผู้อื่น สำหรับท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่การแนะนำของผู้อื่นสำหรับท่านยังมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๖๔] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะ แล้ว และการแนะนำของผู้อื่น ก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด ราคะแล้ว และการแนะนำของผู้อื่นก็ไม่มีแก่ ท่าน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดโทสะ แล้ว ฯลฯ ละขาดโมหะแล้ว ฯลฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 494
[๕๖๕] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังมรรคให้เกิด แล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อละชาดซึ่งราคะ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ ฯลฯ
[๕๖๖] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว และการแนะนำของผู้อื่นก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้ แจ้งแล้ว และการแนะนำของผู้อื่นก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๖๗] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี อยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะสำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่ได้ กล่าวสำหรับผู้ที่ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่ ก็บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร ความสิ้นอาสนะจึงมีได้ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า อย่างนี้ รูป ฯลฯ อย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 495
บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.
[๕๖๘] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะสำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่ได้ กล่าวสำหรับผู้ที่ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่ ก็บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ บุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ นี้ธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ฯลฯ นี้ ทางให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ดังนี้ ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ความ สิ้นอาสวะจึงมีได้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.
๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๓.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 496
[๕๖๙] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่สำ- รอก ไม่ละ ซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ต่อเมื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งกำหนดรู้ สำรอก ละซึ่งสิ่งทั้งปวง จึง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.
[๕๗๐] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ บรรลุโสดาปัตติมรรคของท่าน ฯลฯ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำความ ผิดสถานหนัก ๖ ประการ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๓.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 497
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.
[๕๗๑] ส. การนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ในสมัยใด ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากผงฝ้าเกิดขึ้น แก่อริยสาวกกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมด มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ ในสมัยนั้น พร้อมกับ ความเกิดขึ้นแห่งทัศนะ อริยสาวกก็ละสัญโญชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมี อยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.
[๕๗๒] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับ พระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนโธตกะ เราจักไม่อุตสาหะเพื่อจะเปลื้องใคร ๆ ที่มีความสงสัยในโลก แต่
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 498
ท่านเมื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมอันประเสริฐ ก็ข้ามโอฆะนี้โดย อาการอย่างนี้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่.
[๕๗๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของผู้อื่นสำหรับพระ- อรหันต์ยังมีอยู่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ผู้อื่นพึงแนะนำ นามและโคตรของสตรีและบุรุษ พึงแนะนำทางและมิใช่ทาง พึงแนะนำชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้า- ป่า แก่พระอรหันต์ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ผู้อื่นพึงแนะนำนามและโคตรของสตรี และบุรุษ พึงแนะนำทางและมิใช่ทาง พึงแนะนำชื่อของหญ้า ไม้ และ ต้นไม้เจ้าป่า แก่พระอรหันต์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า การ แนะนำของผู้อื่นสำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่.
[๕๗๔] ส. เพราะผู้อื่นพึงแนะนำ นามและโคตรของสตรี และบุรุษ พึงแนะนำทางและมิใช่ทาง พึงแนะนำชื่อของหญ้า ไม้
๑. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๒๙.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 499
และต้นไม้เจ้าป่า แก่พระอรหันต์ ฉะนั้น การแนะนำของผู้อื่นสำหรับ พระอรหันต์จึงยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้อื่นพึงแนะนำโสดาปัตติผล หรือสกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล แก่พระอรหันต์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปรวิตารณากถา จบ
อรรถกถาอัญญาณ กังขา ปรวิตรณกถา
ว่าด้วยความไม่รู้ ความสงสัย และการแนะนำของผู้อื่น
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องทั้ง ๓ คือ เรื่องความไม่รู้ ความสงสัย และ การแนะนำของผู้อื่น. ในเรื่องเหล่านั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิ คือมีความ เห็นผิด ดุจลัทธิของนิกาย ปุพพเสลิยะทั้งหลายในขณะนี้ว่า อัญ- ญาณ คือความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ เพราะไม่มีญาณเกิดขึ้นในชื่อ และโคตรเป็นต้น แห่งชนทั้งหลายมีหญิงชาวเป็นต้นด้วย, กังขา คือ ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ เพราะความไม่มีสันนิษฐาน คือการ ตกลงใจ ในเรื่องนั้นนั่นแหละด้วย อนึ่ง ชนเหล่าอื่นย่อมแนะนำ ย่อม ประกาศ ย่อมบอกเรื่องทั้งหลายแก่พระอรหันต์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น การแนะนำแก่พระอรหันต์เหล่านั้นจึงมีอยู่ ดังนี้ คำถามในเรื่องแม้พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 500
ทั้ง ๓ ของสกวาที เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น. คำตอบรับรอง และคำปฏิเสธเป็นของปรวาที. ในปัญหาและคำวิสัชชนาแม้ทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความตามพระบาลีที่มาแล้วตามลำดับนั้น เทอญ. อรรถกถาอัญญาณ กังขา และปรวิตรณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 501
วจีเภทกถา
[๕๗๕] สกวาที การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานในภพทั้งปวงมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๗๖] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานในกาลทั้งปวงมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๗๗] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานทั้งปวงมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๗๘] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจามีอยู่ในสมาบัติทั้งปวง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 502
[๕๗๙] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การไหวกายของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๐] ส. การไหวกายไม่มีแก่ผู้เข้าฌาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าฌาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๑] ส. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเปล่งวาจาก็มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ การไหวกายก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๒] ส. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ แต่การไหวกายไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ แต่การเปล่งวาจาไม่มี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 503
[๕๘๓] ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อรู้ว่าสมุทัย ย่อมเปล่งวาจาว่าสมุทัย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๔] ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อรู้ว่านิโรธ ย่อมเปล่งวาจาว่านิโรธ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๕] ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อรู้ว่ามรรค ย่อมเปล่งวาจาว่ามรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๖] ส. เมื่อรู้ว่าสมุทัย ก็ไม่เปล่งวาจาว่าสมุทัย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ก็ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๗] ส. เมื่อรู้ว่านิโรธ ก็ไม่เปล่งวาจาว่านิโรธ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ก็ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 504
[๕๘๘] ส. เมื่อรู้ว่ามรรค ก็ไม่เปล่งวาจาว่ามรรค หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ก็ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๙] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ญาณ คือความรู้ มีอะไรเป็นโคจร?
ป. ญาณมีสัจจะเป็นโคจร.
ส. โสตวิญญาณมีสัจจะเป็นโคจร หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๐] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าญาณมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสตวิญญาณมีอะไรเป็นโคจร?
ป. โสตวิญญาณมีเสียงเป็นโคจร.
ส. ญาณมีเสียงเป็นโคจร หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๑] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะ เป็นโคจร โสตวิญญาณมีเสียงเป็นโคจร หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตวิญญาณมี
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 505
เสียงเป็นโคจร ก็ต้องไม่กล่าวว่า การเปล่งวาจา ของผู้เข้าฌานมีอยู่.
[๕๙๒] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะ เป็นโคจร โสตวิญญาณมีเสียงเป็นโคจร หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การประชุมแห่งผัสสะ ๒ แห่งเวทนา ๒ แห่ง สัญญา ๒ แห่งเจตนา ๒ แห่งจิต ๒ เป็นได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๓] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติ ที่มีปฐวีกสิณ เป็นอารมณ์มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๔] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌาณมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติ ที่มีอาโปกสิณ เป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีปีติกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีโลหิตกสิณเป็น อารมณ์ ที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ของผู้เข้าอากาสานัญจายตน-
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 506
สมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๕] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าสมาบัติ ที่มีปฐวีกสิณ เป็นอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าสมาบัติที่มี ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การ เปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่.
[๕๙๖] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าสมาบัติ ที่มีอาโปกสิณ เป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่มีแก่ผู้เข้า อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตน- สมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญนาสัญญายตนสมาบัติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าเนวสัญญา- นาสัญญายตนสมาบัติ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การ เปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่.
[๕๙๗] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 507
[๕๙๘] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌาน ที่เป็นชั้น โลกิยะ มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๘] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่าวาจาของผู้ทุติฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ที่เป็นโลกิยะมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๙] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าโลกิยสมาบัติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าโลกิยสมาบัติ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌาน มีอยู่.
[๖๐๐] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกิยะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่ เป็นโลกิยะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 508
[๖๐๑] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติย- ฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ที่เป็นโลกิยะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าจตุตถฌานที่ เป็นโลกิยะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การเปล่งวาจา ของผู้เข้าฌานมีอยู่.
[๖๐๒] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ อยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกิยะมี อยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๓] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าทุติยฌาน ตติยฌาน ฯลฯ
ส. จตุตถฌานที่เป็นโลกิยะ มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๔] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกิยะ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 509
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุต- ตระ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๕] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าทุติยฌาน ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานที่เป็นโลกิยะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุต- ตระ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๖] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าทุติยฌานที่เป็นโลกุตตระ มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๗] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานเป็นโลกุตตระ- มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ- ฌานที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 510
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๘] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าทุติยฌานที่เป็นโลกุต- ตระ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุต- ตระ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๙] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ- ฌานที่เป็นโลกุตตระ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุต- ตระ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิตก วิจารว่าเป็น วจีสังขาร คือธรรมชาติปรุงแต่งวาจา และวิตก วิจารของผู้เข้าปฐมฌาน ก็มีอยู่มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิตก วิจาร ว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 511
เป็นวจีสังขาร และวิตก วิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ ด้วยเหตุนั้น นะท่านจึงต้องกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่.
[๖๑๑] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิตก วิจารว่าเป็น วจีสังขาร และวิตก วิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ การเปล่งวาจาของ ผู้เข้าปฐมฌานนั้นจึงมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิตก วิจาร ของผู้เข้าปฐมฌาน ที่มีปฐวีกสิณ เป็นอารมณ์มีอยู่ การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๒] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิตก วิจาร ว่าเป็น วจีสังขาร และวิตก วิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ การเปล่งวาจาของ ผู้เข้าปฐฌานนั้น จึงมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิตก วิจาร ของผู้เข้าปฐมฌานที่มีอาโปกสิณ เป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีปีตกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีโลหิตกสิณเป็น อารมณ์ ฯลฯ ที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ก็มีอยู่ การเปล่งวาจาของ ผู้เข้าปฐมฌานที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์นั้นก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 512
[๖๑๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวาจาว่ามีวิตกเป็น สมุฏฐาน และวิตก วิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวาจาว่ามีวิตก เป็นสมุฏฐาน และวิตกวิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่.
[๖๑๔] ส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวาจาว่า มีวิตก เป็นสมุฏฐาน และวิตกวิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ ฉะนั้น การ เปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานนั้นจึงมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวาจาว่ามีสัญญาเป็น สมุฏฐาน และสัญญาของผู้เข้าทุติยฌานก็มีอยู่ วิตกวิจารของผู้เข้า ทุติยฌานนั้นจึงมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๕] ส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวาจาว่า มีวิตก เป็นสมุฏฐาน และวิตกวิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ ฉะนั้น การ เปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานนั้นจึงมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 513
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวาจาว่ามีปัญญาเป็น สมุฏฐาน และสัญญาของผู้เข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน อากาสา- นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตน- สมาบัติ ก็มีอยู่ วิตกวิจารของผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น จึงยัง มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๖] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คำว่า วาจาของผู้เข้าปฐมฌานเป็นธรรมชาติ ดับแล้ว ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า คำว่า วาจาของผู้เข้าปฐมฌานเป็น ธรรมชาติดับแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า การ เปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่.
[๖๑๗] ส. คำว่า วาจาของผู้เข้าปฐมฌานเป็นธรรมชาติ ดับไปแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ถึงกระนั้น การเปล่งวาจาของ ผู้นั้น ก็มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คำว่า วิตกวิจารผู้เข้าทุติยฌานเป็นธรรมชาติ
๑. สํ. สฬา. ๑๘/๓๙๒.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 514
ดับแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ถึงกระนั้น วิตกวิจารของผู้นั้น ก็มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๘] ส. คำว่า วาจาของผู้เข้าปฐมฌานเป็นธรรมชาติ ดับไปแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ถึงกระนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้น ก็มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. คำว่า ปีติของผู้เข้าตติยฌานเป็นธรรมชาติ ดับแล้ว ฯลฯ อัสสาสะ ปัสสาสะ ของผู้เข้าจตุตถฌานเป็น ธรรมชาติดับแล้ว รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นธรรมชาติดับแล้ว อากาสนัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญา ณัญจายตนสมาบัติเป็นธรรมชาติดับแล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ของผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นธรรมชาติดับแล้ว อากิญ- จัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็น ธรรมชาติดับแล้ว สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นธรรมชาติดับแล้ว ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง ถึงกระนั้น สัญญา และเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
๑. สํ. สฬา. ๑๘/๓๙๒.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 515
[๖๑๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเสียงว่าเป็นข้าศึกของ ปฐมฌาน มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเสียงว่า เป็น ข้าศึกของปฐมฌาน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า การเปล่งวาจา ของผู้เข้าฌานมีอยู่.
[๖๒๐] ส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเสียงว่า เป็น ข้าศึกของปฐมฌาน ฉะนั้น การเปล่งวาจาของ ของผู้เข้าปฐมฌานจึงมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิตกวิจารว่า เป็น ข้าศึกของทุติยฌาน ฯลฯ ตรัสปีติว่าเป็นข้าศึกของตติยฌาน ตรัส อัสสาสะปัสสาสะว่าเป็นข้าศึกของจตุตถฌาน ตรัสรูปสัญญาว่าเป็นข้าศึก ของผู้เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ตรัสอากาสานัญจายตนสัญญาว่า เป็นข้าศึกของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ตรัสวิญญาณัญจายตน- สัญญาว่าเป็นข้าศึกของผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ตรัสอากิญจัญญา- ยตนสัญญาว่าเป็นข้าศึกของผู้เข้าเนวสัญญานาสูญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 516
ตรัสสัญญาและเวทนาว่า เป็นข้าศึกของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา และเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น จึงมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ สาวกชื่ออภิภู ของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สิขีสถิตอยู่ในพรหมโลก ได้ประกาศกะหมื่นโลก ธาตุด้วยเสียงว่า ท่านทั้งหลายจงเริ่มต้น จงบากบั่น จงประกอบ ความเพียรในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาของพระยามัจจุราช ดุจกุญชรรื้อเรือนที่มุงบัง ด้วยไม้อ้อ ฉะนั้น ด้วยว่า ผู้ที่ไม่ ประมาทอยู่ในธรรมวินัยนี้ จักละชาติสงสารแล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานก็มีอยู่ น่ะสิ. วจีเภทกถา จบ
๑. สํ. สคา. ๑๕/๖๑๘.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 517
อรรถกถาวจีเภทกถา
ว่าด้วยการเปล่งวาจา
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการเปล่งวาจา. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด มีลัทธิคือความเห็นผิด ดุจนิกายทั้งหลาย มีกายปุพพเสลิยะ เป็นต้น ในขณะนี้ว่า เมื่อบุคคลเข้าปฐมฌานในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคเกิด เขาย่อมเปล่งวาจาว่า ทุกข์ ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่หรือ คำตอบรับรอง เป็นของ ปรวาที เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. ถูกถามหมายเอาภพทั้ง ๓ ด้วยคำว่า ใน ภพทั้งปวง อีก ปรวาทีปฏิเสธหมายเอาอรูปภพ. ถูกถามถึงกาลด้วย คำว่า ในกาลทั้งปวง ปรวาทีปฏิเสธโดยหมายเอากาลเป็นที่เข้าฌาน ทั้งปวงอื่นนอกจากการเข้าฌานอันประกอบด้วยปฐมฌานในขณะแห่ง โสดาปัตติมรรค. ถูกถามด้วยคำว่า ของผู้เข้าฌานทั้งปวง ปรวาที ปฏิเสธหมายเอาผู้เข้าโลกียสมาบัติ. ถูกถามว่า ในสมาบัติทั้งปวง หรือ? ก็ตอบปฏิเสธหมายเอาโลกุตตรอันสัมปยุตด้วยทุติยฌาน และ โลกิยสมาบัติทั้งปวงฯ คำว่า การไหวกาย ได้แก่ กายวิญญัติ คือการเคลื่อนไหวทางกาย อันเป็นไปด้วยสามารถแห่งอิริยาบถทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น. สกวาทีนั้นย่อมถามเพื่อท้วงด้วยคำว่า จิตเหล่าใด ย่อมยังวจีวิญญัติให้เกิดขึ้น จิตเหล่านั้นนั้นแหละย่อม ยังกายวิญญัติให้เกิดขึ้นเช่นกัน ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ เพราะ เหตุไร แม้การไหวกายจึงไม่มี. ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วย ตอบรับรองด้วย ด้วยสามารถแห่งลัทธิ.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 518
บัดนี้ ท่านกล่าวปัญหาทั้งหลาย มีคำว่า เมื่อรู้ว่าทุกข์ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าบุคคลนั้นย่อมกล่าววาจาในขณะแห่ง มรรคว่า ทุกข์ ดังนี้ไซร้ เขาก็พึงกล่าวแม้ซึ่งคำว่า สมุทัย เป็นต้น หรือว่าถ้าเขาย่อมไม่กล่าวคำนั้นไซร้ เขาก็ไม่พึงกล่าวคำแม้ นอกนี้ ดังนี้ ฝ่ายปรวาทีตอบรับรองด้วย ตอบปฏิเสธด้วย ด้วยสามารถ แห่งลัทธิของตน จริงอยู่ ลัทธิของเขาว่า บุคคลเข้าโลกุตตรปฐมฌาน แล้วย่อมเห็นแจ้งซึ่งทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้.
คำว่า ญาณ ได้แก่สัจจญาณ อันเป็นโลกุตตระ. คำว่า โสตํ ท่านประสงค์เอาโสตวิญญาณ อธิบายว่า ย่อมฟังเสียงนั้น ด้วยจิตใด.
คำว่า การประชุมแห่งผัสสะทั้ง ๒ ได้แก่ แห่งโสตสัมผัส และมโนสัมผั
ส. ข้อว่า ก็ต้องไม่กล่าวว่า อธิบายว่า ถ้าว่าการ เปล่งวาจามีแก่ผู้เข้าฌานอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การ เปล่งวาจามีแก่ผู้เข้าฌานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คำที่เหลือในที่นี้ พร้อม ทั้งการชำระพระสูตรมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
อนึ่ง พระสูตรที่ปรวาทีนำมาในที่สุดแห่งปัญหาว่า ดูก่อน อานนท์ สาวกชื่อว่า อภิภู ของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สุขี สถิตอยู่ในพรหมโลก ได้ประกาศ กะหมื่นโลกธาตุด้วยเสียงว่า ท่านทั้งหลาย จงเริ่มต้น จงบากบั่น จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาของ พระยามัจจุราช ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 519
ในพระสูตรนั้น การเปล่งวาจานั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยจิตแห่ง สมาบัติใด แม้กายเภทคือการไหวกายก็ย่อมเกิดขึ้นด้วยจิตแห่งสมาบัติ นั้นนั่นแหละ แต่จิตที่ทำให้วจีวิญญัติและกายวิญญัติเกิดนั้น ไม่ใช่ ปฐมฌานจิตที่เป็นโลกุตตระ เพราะฉะนั้น พระสูตรที่ปรวาทีนำมานั้น จึงไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนี้แล.
อรรถกถาวจีเภทกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 520
ทุกขาหารกถา
[๖๒๒] สกวาที การกล่าวว่า ทุกข์ เป็นองค์ของมรรค นับเนืองในมรรค หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ทุกคนที่กล่าวคำว่าทุกข์ ชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๓] ส. ทุกคนที่กล่าวคำว่าทุกข์ ชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พาลปุถุชนที่กล่าวคำว่าทุกข์ ก็ชื่อว่ายังมรรคให้ เกิดได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ฆ่ามารดา ฯลฯ ผู้ฆ่าบิดา ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ผู้ทำโลหิตุบาท ฯลฯ ผู้ทำสังฆเภท กล่าวคำว่าทุกข์ ก็ชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ทุกขาหารกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 521
อรรถกถาทุกขาหารกถา
ว่าด้วยการกล่าวว่าทุกข์
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการกล่าวว่าทุกข์. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่งชน เหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า เมื่อ ผู้ใด กล่าววาจาว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมนำมาซึ่งญาณ ในทุกข์นี้ ท่านเรียกว่า ทุกขาหาร และทุกขาหารนั้นนั่นแหละ ท่าน ว่าเป็นมัคคังคะ คือองค์แห่งมรรค และนับเนื่องด้วยมรรค ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามปรวาทีว่า การกล่าวว่าทุกข์ การ นำมาซึ่งญาณในทุกข์ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาแรก ว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง ปรวาทีหมายเอาผู้ไม่เห็นแจ้ง จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหาข้อที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง หมายเอาผู้เห็นแจ้ง. ก็การเห็น แจ้ง หรือการไม่เห็นแจ้งนั้นสักว่าเป็นลัทธิของปรวาทีนั่นเทียว เพราะ ฉะนั้น เพื่อทำลายวาทะว่าชนเหล่านั้นทั้งปวงเห็นแจ้ง หรือไม่เห็นแจ้ง ของปรวาทีนั้น สกวาทีจึงถามว่า พาลปุถุชน เป็นต้น. ข้อความ นั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
อรรถกถาทุกขาหารกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 522
จิตตฐิติกถา
[๖๒๔] สกวาที จิตดวงหนึ่งอยู่ได้ตลอดวัน หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. กิ่งวันเป็นอุปปาทขณะ กึ่งวันเป็นวยขณะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๕] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ วัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วันหนึ่งเป็นอุปปาทขณะ อีกวันหนึ่งเป็นวยขณะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๖] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ วัน ฯลฯ ตั้งอยู่ ได้ตลอด ๘ วัน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐ วัน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐ วัน ตั้งอยู่ ได้ตลอดเดือน ๑ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ เดือน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ เดือน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ เดือน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐ เดือน ตั้งอยู่ได้ตลอดปี ๑ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๓๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 523
ได้ตลอดกัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ กัลป์ ตั้งอยู่ ได้ตลอด ๘ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๓๒ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๖๔ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๖๐,๐๐๐ กัลป์ ฯลฯ ตั้งอยู่ได้ ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัลป์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ๒,๐๐๐ กัลป์ เป็นอุปปาทขณะอีก ๔๘,๐๐๐ กัลป์ เป็นวยขณะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๗] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ตลอดวัน ๑ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นดับไป แม้มากครั้งในวัน ๑ มีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๘] ส. ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 524
ทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่าง ๑ ที่เปลี่ยน แปลงไปเร็วเหมือนจิตเลย แม้การเปรียบเทียบว่าจิตได้เปลี่ยน แปลงไปเร็วเพียงไร ก็ทำได้ไม่ง่ายเลยทีเดียว ดังนี้๑ เป็นสูตร มีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่าธรรมเหล่านั้น เปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต.
[๖๒๙] ส. ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ลิงเที่ยวไปในป่า ในไพร จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้นแล้ว จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วจับกิ่งอื่น แม้ฉันใด ธรรมชาติที่ เรียกว่า จิต บ้าง ว่า มโน บ้าง ว่า วิญญาณ บ้าง ก็ฉันนั้น เรียกว่า จิต บ้าง ว่า มโน บ้าง ว่า วิญญาณ บ้าง ก็ฉันนั้น แล ดวงอื่นเทียวเกิดขึ้น ดวงอื่นเทียวดับไป ทั้งคืนทั้งวัน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมเหล่านั้น เปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต.
[๖๓๐] ส. จิตดวง ๑ ตั้งอยู่ได้ตลอดวัน ๑ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
๑. องฺ. เอก. ๒๐/๕๒.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 525
ส. จักขุวิญญาณตั้งอยู่ได้ตลอดวัน ๑ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ จิตเป็นอกุศล จิตสหรคตด้วยราคะ จิตสหรคตด้วยโทสะ จิตสหรคตด้วยโมหะ จิตสหรคตด้วยมานะ จิตสหรคตด้วยทิฏฐิ จิต- สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตสหรคตด้วยถีนะ จิตสหรคตด้วยอุทธัจจะ จิต- สหรคตด้วยอหิริกะ จิตสหรคตด้วยอโนตตัปปะ ตั้งอยู่ได้ตลอดวัน ๑ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๑] ส. จิตดวง ๑ ตั้งอยู่ได้ตลอดวัน ๑ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลเห็นรูปด้วยตาทางจิตใจ ก็ฟังเสียงทางหู ด้วยจิตดวงเดียวกันนั่นแหละ ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจด้วยจิตเดียวกัน นั้นแหละ ฯลฯ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจด้วยจิตใด ก็เห็นรูปทางตา ด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายด้วยจิตดวงเดียวกันนั้น แหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๒] ส. จิตดวง ๑ ตั้งอยู่ได้ตลอดวัน ๑ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 526
ส. บุคคลก้าวไปด้วยจิตใจ ก็ถอยกลับด้วยจิตดวง เดียวกันนั้นแหละ ถอยกลับด้วยจิตใด ก็ก้าวไปด้วยจิตดวงเดียวกันนั้น แหละ แลดูด้วยจิตใด ก็เหลียวซ้ายแลขวาด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ เหลียวซ้ายแลขวาด้วยจิตใจ ก็แลดูด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ คู้เข้า ด้วยจิตใด ก็เหยียดออกด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ เหยียดออกด้วย จิตใด ก็คู้เข้าด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๓] ส. เทพทั้งหลายผู้อุบัติในอากาสานัญจายตนภพ มี จิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอดอายุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มนุษย์ทั้งหลายก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอด อายุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๔] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ มี จิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอดอายุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เทพชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ เทพชั้นดาวดึงส์... เทพชั้นยามา... เทพชั้นดุสิต... เทพชั้นนิมมานรตี... เทพชั้นปรนิมมิต- วสวัตตี... เทพชั้นพรหมปาริสัช... เทพชั้นพรหมปุโรหิต... เทพชั้น มหาพรหม... เทพชั้นปริตตาภา... เทพชั้นอัปปมาณาภา... เทพชั้น อาภัสสรา... เทพชั้นปริตตสุภา... เทพชั้นอัปปมาณสุภา... เทพชั้น
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 527
สุภกิณหา... เทพชั้นเวหัปผลา... เทพชั้นอวิหา... เทพชั้นอาตัปปา... เทพชั้นสุทัสสา... เทพชั้นสุทัสสี ฯลฯ เทพชั้นอกนิฏฐา มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่จนตลอดอายุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๕] ส. เทพทั้งหลายผู้อุบัติในอากาสานัญจายตนภพ มี ประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐ กัลป์ เทพเหล่านั้น มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัลป์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มนุษย์ทั้งหลายมีประมาณอายุ ๑๐๐ ปี มนุษย์ เหล่านั้นก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ตลอด ๑๐๐ ปี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๖] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ มี ประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐ กัลป์ เทพเหล่านั้นมีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัลป์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เทพชั้นจาตุมหาราช มีประมาณอายุ ๕๐๐ ปี เทพเหล่านั้นก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐ ปี ฯลฯ ตั้งอยู่ตลอด ๑,๐๐๐ ปี คือชั้นดาวดึงส์ ... ตั้งอยู่ตลอด ๒,๐๐๐ ปี คือชั้นยามา... ตั้งอยู่ตลอด ๔,๐๐๐ ปี คือชั้นดุสิต... ตั้งอยู่ตลอด ๘,๐๐๐ ปี คือชั้น นิมมานรตี ... ตั้งอยู่ ๑๖,๐๐๐ ปี คือชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ตั้งอยู่ ตลอด ๑ ใน ๓ ส่วน ของกัลป์ คือชั้นพรหมปาริสัช... ตั้งอยู่ตลอด
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 528
กึ่งกัลป์ คือชั้นพรหมปุโรหิต ... ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ ๑ คือชั้นมหาพรหม ... ตั้งอยู่ตลอด ๒ กัลป์ คือชั้นปริตตาภา ตั้งอยู่ตลอด ๔ กัลป์ คือชั้น อัปปมาณาภา ... ตั้งอยู่ตลอด ๘ กัลป์ คือชั้นอาภัสสรา ... ตั้งอยู่ ตลอด ๑๖ กัลป์ คือชั้นปริตตสุภา ... ตั้งอยู่ตลอด ๓๒ กัลป์ คือชั้น อัปปมาณสุภา ... ตั้งอยู่ตลอด ๖๔ กัลป์ คือชั้นสุภกิณหา... ตั้งอยู่ ตลอด ๕๐๐ กัลป์ คือชั้นเวหัปผลา ... ตั้งอยู่ตลอด ๑,๐๐๐ กัลป์คือชั้น อวิหา ... ตั้งอยู่ตลอด ๒,๐๐๐ กัลป์ คือชั้นอตัปปา ... ตั้งอยู่ตลอด ๔,๐๐๐ กัลป์ คือ ชั้นสุทัสสา... ตั้งอยู่ตลอด ๘,๐๐๐ กัลป์ คือชั้นสุทัสสี ฯลฯ เทพชั้นอกนิฏฐา มีประมาณอายุ ๑๖,๐๐๐ กัลป์ เทพเหล่านั้น มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่ตลอด ๑๖,๐๐๐ กัลป์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๗] ป. จิตของเทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจาย- ตนภพ เกิดขึ้นครู่หนึ่งๆ ดับไปครู่หนึ่งๆ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ จุติครู่หนึ่งๆ อุบัติครู่หนึ่งๆ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๘] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ตลอดอายุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 529
ส. เทพทั้งหลายผู้อุบัติในอากาสานัญจายตนภพ อุบัติด้วยจิตดวงใด ก็จุติด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
จิตตฐิติกถา จบ
อรรถกถาจิตตัฏฐิติกถา
ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งจิต
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการตั้งอยู่แห่งจิต. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่ง ชนเหล่าใดว่า จิตดวง ๑ เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ตลอดกาลนาน เพราะ เห็นจิตแห่งสมาบัติ และภวังคจิตอันเป็นไปติดต่อกันโดยลำดับ ดุจลัทธิ นิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ อันมีประเภทตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง เพื่อชำระลัทธินั้น สกวาทีจึงถามปรวาทีว่า จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ แม้ตลอดวันหรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่.
ในปัญหาว่า กึ่งวันเป็นขณะเกิด นี้ ท่านทำคำถามด้วย สามารถแห่งความเกิดและความดับโดยนัยเทศนาว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา โดยไม่ถือเอาขณะตั้งอยู่แห่งจิต.
ถูกสกวาทีถามว่า ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่า จิตหรือ ปรวาทีนั้นเมื่อไม่เห็นธรรมทั้งหลายเกิดดับเร็วกว่าจิต จึง ตอบปฏิเสธ ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านปรารถนาความตั้งอยู่อันเป็นเวลา นานแห่งจิตใด โดยหมายเอาจิตนั้น จึงตอบรับรอง.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 530
ในปัญหาทั้งหลายว่า จิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอดอายุ หรือ ความว่า ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธโดยเว้นอรูป และย่อมตอบ รับรองผู้ที่เกิดในอรูปด้วยสามารถแห่งพระบาลีว่า เทวดาทั้งหลาย เหล่าใด ย่อมตั้งอยู่ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัลป์ เป็นต้น ดังนี้.
ในปัญหาว่า จิตย่อมเกิดขึ้นครู่หนึ่ง. เป็นของปรวาที สกวาทีตอบรับรองเพราะกลัวผิดจากพระสูตรว่า สังขารทั้งหลายมี ความเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นต้นแต่ ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาความตั้งอยู่แห่งจิตด้วยสามารถแห่งลัทธิของ ตน. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล.
อรรถกถาจิตตัฏฐิติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 531
กุกกุฬกถา
[๖๓๙] สกวาที สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้าลึง คือร้อนระอุ ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. สุขเวทนา สุขทางกาย สุขทางใจ สุขเป็นทิพย์ สุขของมนุษย์ สุขในลาภ สุขในสักการะ สุขในการไป สุขในการนอน สุขในความเป็นใหญ่ สุขในความเป็นอธิบดี สุขของคฤหัสถ์ สุขของ สมณะ สุขมีอาสวะ สุขไม่มีอาสวะ สุขมีอุปธิ สุขไม่มีอุปธิ สุขมี อามิส สุขไม่มีอามิส สุขมีปีติ สุขไม่มีปีติ สุขในฌาน สุขคือความ หลุดพ้น สุขในกาม สุขในการออกบวช สุขเกิดแต่ความวิเวก สุข คือความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ มีอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สุขเวทนา ฯลฯ สุขเกิดแก่ความตรัสรู้ มีอยู่ ก็ไม่ต้องกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
[๖๔๐] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารทั้งปวงเป็นทุกขเวทนา เป็นทุกข์ทางกาย เป็นทุกข์ทางใจ เป็นความโศกความร่ำไร ทุกขโทมนัส อุปายาส
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 532
คือความคับแค้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๔๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่ มีระยะว่างเว้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็น ของร้อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นของร้อน รูปทั้งหลาย เป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความรู้สึกเสวย อารมณ์อันใด เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้ อันนั้น ก็เป็นของร้อน ร้อนด้วยอะไร ร้อนด้วยไฟคือราคะ ด้วย ไฟคือโทสะ ด้วยไฟคือโมหะ ร้อนด้วยชาติ ด้วยชรามรณะ ด้วยโศก ด้วยปริเทวะ ด้วยทุกข์ ด้วยโทมนัส ด้วยอุปายาส เรากล่าวว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ฉะนี้ โสตะเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ มานะเป็นของร้อน กลิ่น ทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็น ของร้อน ฯลฯ ภายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ มโนเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน มโนวิญญาณ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 533
เป็นของร้อน มโนสัมผัสเป็นของร้อน ความรู้สึกเสวยอารมณ์ อันใด เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม เกิด ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน ร้อน ด้วยอะไร ร้อนด้วยไฟราคะ ด้วยไฟคือโทสะ ด้วยไฟคือโมหะ ร้อนด้วยชาติ ด้วยชรามรณะ ด้วยโศก ด้วยปริเทวะ ด้วยทุกข์ ด้วยโทมนัส ด้วยอุปายาส เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ฉะนี้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารทั้งปวงก็เป็นดุจเถ้าลึง ไม่มี ระยะว่างเว้นน่ะสิ.
[๖๔๒] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ กามคุณมี ๕ ประการนี้ ๕ ประการอะไรบ้าง รูปทั้งหลายอันเป็น วิสัยแห่งจักขุวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพึงใจ มีลักษณะ น่ารัก ยั่วกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงทั้งหลายอันเป็น วิสัยแห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ กลิ่นทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งฆาน-
๑. วิ. มหา. ๔/๕๕.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 534
วิญญาณ ฯลฯ รสทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งชิวหาวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งกายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น้ำใคร่ น่าพึงใจ มีลักษณะน่ารักยั่วกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้แล ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็น ดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
[๖๔๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่ มีระยะว่างเว้น หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เป็นลาภของพวกเธอ พวกเธอได้ดีแล้ว ขณะเพื่อการ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอแทงตลอดแล้ว ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราได้เห็นนรกชื่อว่า ฉผัสสายตนิกา ในนรกชื่อว่า ฉผัสสายตนิกานั้น บุคคลเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจักษุ ย่อม เห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา มิได้เห็นรูปที่มีลักษณะน่า ปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าใคร่ มิได้เห็นรูปที่มี ลักษณะน่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ มิได้เห็น
๑. สํ. สฬา. ๑๘/๔๑๓, องฺ. นวก. ๒๓/๒๓๘.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 535
รูปที่มีลักษณะน่าพึงใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่าหนึ่งด้วยโสต ฯลฯ ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจ ย่อมรู้แจ้งแต่ ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มี ลักษณะน่าปรารถนา ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่า ใคร่ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าใคร่ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมา- รมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่า พึงใจ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารทั้งปวงก็เป็นดุจเถ้าลึง ไม่ มีระยะว่างเว้นน่ะสิ.
[๖๔๔] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เป็นลาภของพวกเธอ พวกเธอได้ดีแล้ว ขณะเพื่ออยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอแทงตลอดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย เราได้เห็นสวรรค์ ชื่อว่าฉผัสสายตนิกา ในสวรรค์ชื่อ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 536
ฉผัสสายตนิกานั้น บุคคลเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจักษุ ย่อม เห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าปรารถนา มิได้เห็นรูปที่มีลักษณะไม่น่า ปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าใคร่ มิได้เห็นรูปที่มี ลักษณะไม่น่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าพึงใจ มิได้เห็น รูปที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยโสต ฯลฯ ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใด อย่างหนึ่งด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย กาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจ ย่อมรู้แจ้ง ในธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าปรารถนา มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มี ลักษณะที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มี ลักษณะน่าใคร่ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าใคร่ ย่อม รู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าพึงใจ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ มีลักษณะไม่น่าพึงใจ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็น ดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
[๖๔๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่ มีระยะว่างเว้น หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 537
เป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาค- เจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
[๖๔๖] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทาน มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่เป็นที่ฟูใจ มีผล แสลง มีทุกข์เป็นกำไร เป็นทุกข์เป็นวิบาก หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯล ฯ ภาวนา ฯล ฯ พรหม- จรรย์มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่เป็นที่ฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทาน มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็น ที่น่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า ทานมีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มี ผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ก็ต้องไม่
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 538
กล่าวว่า สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
ส. ศีล ฯล ฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯล ฯ พรหม- จรรย์มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มี สุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พรหมจรรย์มีผลน่าปรารถนา มีผลน่า ใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
[๖๔๗] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ความสงัด ของบุคคลผู้ยินดีแล้ว ผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว เห็นอยู่ เป็นสุข ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขใน โลก ความคลายกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุข ในโลก การที่นำอัสมิมานะออกเสียได้ นี่แลเป็นสุขอย่างยิ่ง๑ สุขยิ่งกว่าความสุขนั้น เราได้ถึงแล้วนั้นเป็นสุขเต็มที่ทีเดียว วิช- ชา ๓ เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว ข้อนี้แลเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
๑. ขุ. อุ. ๒๕/๕๑.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 539
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็น ดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
กุกกุฬกถา จบ
อรรถกถากุกกุฬกถา
ว่าด้วยเถ้าลึง คือความร้อนระอุ
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเถ้าลึง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิคือ มีความเห็นผิดดุจนิกายโคลิกะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้าลึง คือเป็นเช่นกับฉาริกนรกอันเจือด้วยถ่านเพลิง โดยแน่ นอน เพราะไม่พิจารณาถือเอาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน สังขารทั้งปวงเป็น ทุกข์ ดังนี้เป็นต้น คำถามของสกวาทีเพื่อวิพากษ์ คือตำหนิ ลัทธิ นั้นด้วยการชี้แจงถึงความสุขมีประการต่างๆ ของสังขารเหล่านั้น. คำ ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหานั้น คำว่า ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ ได้แก่ ไม่ทำเขตแดนส่วนหนึ่ง คือหมายความว่า ไม่ทำสิ่ง ทั้งปวงนั่นแหละให้แปลกกัน. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง พึงทราบโดยนัย ที่แสดงไว้แล้วในบาลี พร้อมทั้งการชำระพระสูตรนั่นแล.
อรรถกถากุกกุฬกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 540
อนุปุพพาภิสมยกถา
[๖๔๘] สกวาที การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลยังโสดาปัตติมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลยังโสดาปัตติมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลได้โดยลำดับ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๔๙] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลยังสกทาคามิมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลยังสกทาคามิมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 541
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลได้โดยลำดับ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๐] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลยังอนาคามิมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลยังอนาคามิมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลได้โดยลำดับ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๑] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลยังอรหัตตมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 542
ส. บุคคลยังอรหัตตมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลได้โดยลำดับ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๒] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์?
ป. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และ บรรดากิเลสพวกเดียวกัน ได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.
ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน, ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งโสดาปัตติผล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งโสดาปัตติผล ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระ- โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ใน พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยอริยกันตศีล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่ ประกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละ อะไรด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็น มรรค.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 543
ป. ละ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.
ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน, ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งโสดาปัตติผล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งโสดาปัตติผล, ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโส- ดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ใน พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยอริยกันตศีล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่ ประกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ.
[๖๕๓] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์.
ป. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.
ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี. ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำ แจ้ง เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งสกทามิผล อีก ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ถูกต้องด้วยนามกาย อยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 544
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการ เห็นมรรค.
ป. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.
ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี, ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้ แจ้ง เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๔] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์.
ป. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.
ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามิ อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล, อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล, ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนา- คามีผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขาร- ปรินิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐ-
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 545
คามี อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐ- คามี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการ เห็นมรรค.
ป. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.
ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี, ๑ ใน ๔ สวน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายซึ่งอนาคามิผล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล, ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปริ- นิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๕] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์.
ป. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 546
และบรรดากิเลสพวกเดียวกัน ๑ ใน ๔ ส่วน.
ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอรหันต์, ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอรหัตตผล, อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอรหัตตผล, ๑ ใน ๔ ส่วนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุ ประโยชน์ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพ สิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอัน ถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะ วางภาระแล้ว หมดเครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่าน กำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิด แล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละธรรมที่ควรละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการ เห็นมรรค.
ป. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 547
และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.
ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ อีก ๓ ใน ๔ ไม่เป็นพระอรหันต์, ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้า ถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอรหัตตผล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่ถูก ต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอรหัตตผล. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุ ประโยชน์ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ มีลิ่มสลักอันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียด อันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะ แล้ว มีเครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนด รู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละ ธรรมที่ควรละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๖] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล เมื่อ เห็นทุกข์ พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อเห็นทุกข์แล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ตั้งอยู่แล้วใน ผล หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 548
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ พึงกล่าว ว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อเห็นนิโรธแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ตั้งอยู่แล้วใน ผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๗] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล เมื่อ เห็นมรรค พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นมรรคแล้ว พึงกล่าว ว่า ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อเห็นทุกข์ พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อ เห็นทุกข์แล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อเห็นมรรค พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นมรรคแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ตั้งอยู่แล้ว ในผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ พึงกล่าว
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 549
ว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นนิโรธแล้ว พึง กล่าวว่า ตั้งอยู่แล้วในผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๘] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล เมื่อ เห็นทุกข์ พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นทุกข์แล้ว ไม่พึงกล่าว ว่า เป็นผู้ที่ควรกล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อเห็นมรรค พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นมรรคแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า เป็นผู้ที่ควรกล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ พึงกล่าว ว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นนิโรธแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า เป็นผู้ที่ควร กล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อเห็นมรรค พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นมรรคแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า เป็นผู้ที่ควร กล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๙] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล เมื่อ เห็นทุกข์ พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นทุกข์แล้ว ไม่พึงกล่าว
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 550
ว่า เป็นผู้ที่ควรกล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเห็นทุกข์ไร้ประโยชน์ หรือ
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ พึงกล่าว ว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นนิโรธแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า เป็นผู้ที่ควร กล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การเห็นนิโรธไร้ประโยชน์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๖๐] ป. เมื่อเห็นทุกข์แล้ว สัจจะ ๔ ก็เป็นอันได้เห็น แล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ป. ทุกขสัจเป็นสัจจะ ๔ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่านั้น ฯลฯ
[๖๖๑] ส. เมื่อเห็นรูปขันธ์โดยความไม่เที่ยงแล้ว ขันธ์ ๕ ก็เป็นอันได้เห็นโดยความไม่เที่ยง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปขันธ์เป็นขันธ์ ๕ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 551
[๖๖๒] ส. เมื่อเห็นจักขายตนะโดยความไม่เที่ยงแล้ว อาย- ตนะ ๑๒ ก็เป็นอันได้เห็นโดยความไม่เที่ยง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จักขายตนะเป็นอายตนะ ๑๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๖๓] ส. เมื่อเห็นจักขุธาตุโดยความไม่เที่ยงแล้ว ธาตุ ๑๘ ก็เป็นอันได้เห็นโดยความไม่เที่ยง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จักขุธาตุเป็นธาตุ ๑๘ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๖๔] ส. เมื่อเห็นจักขุนทรีย์ โดยความไม่เที่ยงแล้ว อินทรีย์ ๒๒ ก็เป็นอันได้เห็นโดยความไม่เที่ยง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จักขุนทรีย์ เป็นอินทรีย์ ๒๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๖๕] ส. บุคคลทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลได้ด้วยญาณ ๔ หรือ๑?
๑. ญาณ ๔ คือ ญาณในอริยสัจ ๔.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 552
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสดาปัตติผล เป็น ๔ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลได้ด้วยญาณ ๘ หรือ๑?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสดาปัตติผลเป็น ๘ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลได้ด้วยญาณ ๑๒ หรือ๒?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสดาปัตติผลเป็น ๑๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔๔ หรือ๓?
ป. ถูกแล้ว.
๑. ญาณ ๘ คือ ญาณในอริยสัจ ๔ และญาณในปฏิสัมภิทา ๔. ๒. ญาณ ๑๒ คือ ญาณในปฏิจจสมุปบาทอันมีองค์ ๑๒. ๓. ญาณ ๔๔ คือ ญาณวัตถุ ๔๔ ที่มาใน สํ. นิ. ๑๖/๑๑๙.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 553
ส. โสดาปัตติผล เป็น ๔๔ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลได้ด้วยญาณ ๗๗ หรือ๑?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสดาปัตติผลเป็น ๗๗ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๖๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย มหาสมุทรลาดไปโดยลำดับ ลุ่มไปโดยลำดับ ลึกไป โดยลำดับ มิได้ลึกเป็นเหวแต่เบื้องต้นทีเดียว แม้ฉันใด ใน ธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเทียวแล เป็นการศึกษาโดยลำดับ เป็น การกระทำโดยลำดับ เป็นการปฏิบัติโดยลำดับ มิได้เป็นการแทง ตลอดโดยรู้ทั่วถึงแต่เบื้องต้นทีเดียว ดังนี้๒ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
๑. ญาณ ๗๗ คือ ญาณวัตถุ ๗๗ ที่มาใน สํ. นิ. ๑๖/๑๒๗. ๒. องฺ อฏฺก. ๒๓/๑๑๐.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 554
ป. ถ้าอย่างนั้น การตรัสรู้ธรรมก็เป็นการตรัสรู้ โดยลำดับน่ะสิ.
[๖๖๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับ หรือ? ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ผู้เป็นปราชญ์ พึงกำจัดมลทินของตนทีละน้อยๆ ทุกๆ ขณะโดยลำดับ ดุจช่าง ทองกำจัดมลทินทอง ฉะนั้น ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น การตรัสรู้ธรรมก็เป็นการตรัสรู้โดย ลำดับน่ะสิ.
[๖๖๘] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านพระควัมปติเถระได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ ว่า คำนี้ข้าพเจ้าได้สดับมาโดยตรง ได้รับมาโดยตรงต่อพระผู้มี- พระภาคเจ้าว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อม เห็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ด้วย ย่อมเห็นธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ด้วย ย่อมเห็นปฏิปทาอันให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ด้วย ผู้ใด เห็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นทุกข์ด้วย ย่อมเห็นธรรม
๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๘.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 555
เป็นที่ดับแห่งทุกข์ด้วย ย่อมเห็นปฏิปทาให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่ง ทุกข์ด้วย ผู้ใดเห็นธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นทุกข์ ด้วย ย่อมเห็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ด้วย ย่อมเห็นปฏิปทาอัน ให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ผู้ใดเห็นปฏิปทาอันให้ถึงธรรมเป็น ที่ดับแห่งทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นทุกข์ด้วย ย่อมเห็นเหตุเกิดขึ้น แห่งทุกข์ด้วย ย่อมเห็นธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ด้วย ดังนี้๑ เป็น สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การตรัสรู้ธรรม เป็นการตรัสรู้โดยลำดับ.
[๖๖๙] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ ถึงพร้อมด้วยทัศนะของท่าน พระโสดาบัน ท่าน ฯลฯ เป็น ผู้ไม่ควรทำความผิดสถานหนัก ๖ ประการ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การตรัสรู้ธรรม เป็นการตรัสรู้โดยลำดับ.
๑. สํ. มหา. ๑๙/๑๗๑๑.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 556
[๖๗๐] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย สมัยใดธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากผงฝ้า ได้เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา สมัยนั้น พร้อมกับความเกิดขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกนั้นละสัญโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การตรัสรู้ธรรม เป็นการตรัสรู้โดยลำดับ. อนุปุพพาภิสมยกถา จบ
อรรถกถาอนุปุพพาภิสมยกถา
ว่าด้วยการตรัสรู้โดยลำดับ
บัดนี้ เป็นเรื่องการตรัสรู้โดยลำดับ. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งการ ตรัสรู้ต่างๆ ของชนเหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะ นิกายสัพพัตถิกะ นิกายสมิติยะ และนิกายภัทรยานิกะทั้งหลายในขณะนี้อันเกิดขึ้นแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 557
อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ย่อมละกิเลส ทั้งหลายได้บางอย่างด้วยการเห็นซึ่งทุกข์ ย่อมละกิเลสบางอย่างได้ด้วย การเห็นสมุทัย ... นิโรธ ... มรรคโดยทำนองเดียวกัน และย่อมละกิเลส ทั้งหลายที่เหลือ เพราะทำการละกิเลสโดยลำดับ ๑๖ ส่วนอย่างนี้ ด้วย ประการฉะนี้ จึงบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ดังนี้ โดยไม่พิจารณา ถือเอาพระสูตรทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ผู้มีปัญญา พึงกำจัดมลทินของตนที- ละน้อยๆ ทุกๆ ขณะ ดุจช่างทองกำจัดมลทิน- ทอง ฉะนั้น ดังนี้.
เพื่อตำหนิลัทธิแห่งชนเหล่านั้น สกวาทีจึงถามว่า การตรัสรู้ ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับหรือ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ถูกถามว่า บุคคลยังโสดาปัตติมรรคให้เกิดได้โดยลำดับหรือ ปราวาทีปฏิเสธเพราะกลัวว่า การตรัสรู้มีจำนวนมากมายของมรรคเดียว. ถูกถามครั้งที่ ๒ ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งการเห็นทุกข์เป็นต้น. อีก อย่างหนึ่ง ปรวาทีย่อมตอบรับรองว่า ญาณแม้ทั้ง ๔ เหล่านั้น เป็น โสดาปัตติมรรคหนึ่งเท่านั้น แต่ย่อมปรารถนาผลเพียงหนึ่ง เพราะ ฉะนั้น จึงปฏิเสธ. แม้ในสกทาคามิมรรค เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในปัญหาว่า เมื่อเห็นมรรคแล้วพึงกล่าวว่าตั้งอยู่แล้วใน ผลหรือ อธิบายว่า การเห็นทุกข์เป็นต้นยังไม่สำเร็จ แต่การเห็น นั้นชื่อว่าสำเร็จด้วยการเห็นของมรรคแล้ว จากนั้นจึงถึงซึ่งการนับว่าผู้
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 558
นั้นตั้งอยู่ในผล เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบรับรองว่า ใช่.
คำถามของปรวาทีว่า เมื่อเห็นทุกข์แล้ว สัจจะทั้ง ๔ ก็ เป็นอันได้เห็นแล้วหรือ สกวาทีตอบรับรองด้วยสามารถแห่งการ ตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔ นั้นพร้อมกัน เมื่อซักอีกว่า ทุกขสัจจะเป็น สัจจะทั้ง ๔ หรือ สกวาทีนั้นนั่นแหละตอบปฏิเสธ เพราะสัจจะทั้ง ๔ มีสภาวะต่างกัน. คำถามว่า เมื่อเห็นรูปขันธ์โดยความเป็นของ ไม่เที่ยงแล้ว เป็นของสกวาที. คำรับรองเป็นของปรวาที เพราะ ลัทธิของท่านว่า เมื่อบุคคลแทงตลอดธรรมอันหนึ่งโดยความเป็นของ ไม่เที่ยงแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้แทงตลอดธรรมแม้ทั้งปวง ดุจบุคคลรู้รส แห่งน้ำเพียงหยาดเดียวจากสมุทร ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ารู้รสน้ำที่เหลือ ดังนี้.
คำว่า ด้วยญาณ ๔ ได้แก่ ด้วยญาณในทุกข์เป็นต้น ได้ แก่ ญาณในอริยสัจจ์ ๔. คำว่า ด้วยญาณ ๘ ได้แก่ ด้วยสัจจ- ญาณ ๔ อันทั่วไป แก่พระสาวกทั้งหลาย และปฏิสัมภิทาญาณ ๔. คำว่า ด้วยญาณ ๑๒ ได้แก่ ด้วยญาณในปฏิจจสมุปบาทอันมีองค์ ๑๒. คำว่า ด้วยญาณ ๔๔ ได้แก่ ด้วยญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทาน. วรรคอย่างนี้ว่า ญาณในชรา มรณะ และญาณในเหตุเกิดขึ้นแห่งชรา และมรณะ. คำว่า ด้วยญาณ ๗๗ ได้แก่ ด้วยญาณที่ท่านกล่าว ไว้ในนิทานวรรคนั้นนั่นแหละอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชรา และมรณะเป็นของไม่เที่ยงเป็นสังขตะเกิดขึ้นเพราะอาศัยกัน มีความ สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 559
ธรรมดา. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยแห่งพระบาลีพร้อมกับการ ชำระพระสูตร นั้นแล.
อรรถกถาอนุปุพพาภิสมยกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 560
โวหารกถา
[๖๗๑] สกวาที พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็น โลกุตตระ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบ โสตที่เป็นโลกุตตระ ไม่กระทบโสตที่เป็นโลกิยะ รับรู้ได้ด้วยวิญญาณ ที่เป็นโลกุตตระ รับรู้ไม่ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ พระสาวกทั้งหลาย รับรู้ได้ ปุถุชนทั้งหลายรับรู้ไม่ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๗๒] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบ โสตที่เป็นโลกิยะ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตที่เป็นโลกิยะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ
[๖๗๓] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า รับรู้ได้ ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของพระ-
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 561
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นโลกุตตระ.
[๖๗๔] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าปุถุชน ทั้งหลายรับรู้ได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ปุถุชนรับรู้พระดำรัสของพระผู้มีพระ- ภาคพุทธเจ้าได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นโลกุตตระ.
[๖๗๕] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น โลกุตตระหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดา- ปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิผล เป็นอนาคามิมรรค เป็นอนาคามิผล เป็นอรหัตตมรรค เป็นอรหัตตผล เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็น พละ เป็นโพชฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๗๖] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น โลกุตตระ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ใครๆ ที่ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธ- เจ้าได้ มีอยู่หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 562
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลกุตตรธรรม พึงรับรู้ได้ด้วยโสต กระทบที่ โสตมาสู่คลองแห่งโสต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๗๗] ส. โลกุตตรธรรม ไม่พึงรับรู้ได้ด้วยโสตไม่กระทบ ที่โสตไม่มาสู่คลองแห่งโสต มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า โลกุตตรธรรมไม่พึงรับรู้ได้ด้วยโสต ไม่ กระทบที่โสต ไม่มาสู่คลองแห่งโสต ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นโลกุตตระ.
[๖๗๘] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น โลกุตตระ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ใครๆ ที่พึงยินดีในพระดำรัสของพระผู้มีพระ- ภาคพุทธเจ้ามีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นที่ตั้งแห่ง ความยินดี เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้ง แห่งความติด เป็นที่ตั้งแห่งความสยบ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 563
[๖๗๙] ส. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นที่ตั้ง แห่งความยินดี ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความติด ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสยบ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่ เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ มัวเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความติด ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสยบ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ.
[๖๘๐] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น โลกุตตระ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ใครๆ ที่พึงขัดเคืองพระดำรัสของพระผู้มีพระ- ภาคพุทธเจ้ามีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่ง ความขัดเคือง เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๘๑] ส. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้ง แห่งความขัดเคือง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 564
ส. หากว่า โลกุตตรธรรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นโลกุตตระ.
[๖๘๒] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น โลกุตตระ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ใครๆ ที่พึงหลงในพระดำรัสของพระผู้มีพระ- ภาคเจ้ามีอยู่จริง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ กระทำความ ไม่รู้ กระทำให้ตาบอด เป็นที่เสื่อมสิ้นแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่ง ความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๘๓] ส. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่กระทำ ความไม่รู้ ไม่กระทำให้ตาบอด เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่าย แห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่ กระทำความไม่รู้ ไม่กระทำให้ตาบอด เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็น ฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นโลกุตตระ.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 565
[๖๘๔] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น โลกุตตระ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฟังพระดำรัสของพระผู้มี- พระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชนเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๘] ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฟังพระดำรัสของพระผู้มี- พระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชนเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พาลปุถุชน ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค- พุทธเจ้าอยู่ พาลปุถุชนก็ชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. คนทำมาตุฆาต ฯลฯ คนทำปิตุฆาต... คนทำ อรหันตฆาต... คนทำโลหิตุปบาท ฯลฯ คนทำสังฆเภท ฟังพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ คนทำสังฆเภท ก็ชื่อว่ายังมรรคให้เกิด ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๘๖] ป. กองข้าวก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าทองชี้บอก ได้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 566
ป. เหมือนกันนั่นแหละ ธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่ เป็นโลกุตตระก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสด้วยพระดำรัสที่เป็น โลกุตตระ
[๖๘๗] ส. กองข้าวก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าต้นละหุ่ง ชี้บอกก็ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เหมือนกันนั่นแหละ ธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่ เป็นโลกุตตระก็ดี พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมตรัสด้วยพระดำริที่เป็น โลกิยะ.
[๖๘๘] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัส โลกิยธรรมก็เป็นโลกิยะ เมื่อเป็นโลกุตตรธรรม ก็เป็นโลกุตตระ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อตรัสโลกิยธรรม พระดำรัสนั้น กระทบโสต ที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม ก็กระทบโสตที่เป็นโลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ชนทั้งหลายรับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ เมื่อ ตรัสโลกุตตรธรรม ก็รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกุตตระ เมื่อตรัส โลกิยธรรม ปุถุชนทั้งหลายรับรู้ได้ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม พระสาวก ทั้งหลายรับรู้ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 567
[๖๘๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาค- พุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรม ก็เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม ก็เป็นโลกุตตระ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสทั้งโลกิยธรรมและ โลกุตตรธรรม มิใช่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสทั้งโลกิย- ธรรมและโลกุตตรธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรม ก็เป็นโลกิยะ เมื่อ ตรัสโลกุตตรธรรม ก็เป็นโลกุตตระ.
[๖๙๐] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัส โลกิยธรรม ก็เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม ก็เป็นโลกุตตระ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อตรัสมรรค ก็เป็นมรรค เมื่อตรัสธรรมมิใช่ มรรค ก็เป็นธรรมมิใช่มรรค เมื่อตรัสผล ก็เป็นผล เมื่อตรัสธรรม มิใช่ผล ก็เป็นธรรมมิใช่ผล เมื่อตรัสนิพพาน ก็เป็นนิพพาน เมื่อ ตรัสธรรมมิใช่นิพพาน ก็เป็นธรรมมิใช่นิพพาน เมื่อตรัสสังขตะ ก็ เป็นสังขตะ เมื่อตรัสอสังขตะ ก็เป็นอสังขตะ เมื่อตรัสรูป ก็เป็นรูป
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 568
มิใช่เวทนา ก็เป็นธรรมมิใช่เวทนา เมื่อตรัสสัญญา ก็เป็นสัญญา เมื่อตรัสธรรมมิใช่สัญญา ก็เป็นธรรมมิใช่สัญญา เมื่อตรัสสังขาร ก็เป็นสังขาร เมื่อตรัสธรรมมิใช่สังขาร ก็เป็นธรรมมิใช่สังขาร เมื่อ ตรัสวิญญาณ ก็เป็นวิญญาณ เมื่อตรัสธรรมมิใช่วิญญาณ ก็เป็นธรรม มิใช่วิญญาณ หรือ.
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
โวหารกถา จบ
อรรถกถาโวหารกถา
ว่าด้วยโวหาร
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องโวหาร คือถ้อยคำที่กล่าวเรียกสิ่งต่างๆ. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใดในขณะนี้ดุจลัทธิของนิกายอันธกะ ทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมตรัสรู้ เรียก ด้วยคำอันเป็นโลกุตตระ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที ด้วยสามารถแห่งลัทธิ. คำว่า โสตที่ เป็นโลกุตตระ เป็นต้น ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงความที่ปรวาที นั้นไม่ควรจะกล่าว คือเป็นคำที่ไม่ถูกต้อง. ในข้อนี้ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ว่า สัททายตนะนั่นแหละ ท่านไม่ควรกล่าวว่า เป็นโลกุตตระ หรือว่า แม้โสตะ เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 569
ในข้อว่า หากว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตที่เป็นโลกิยะ นี้ความว่า บุคคลไม่พึงถือเอาเนื้อความ อย่างนี้ว่า ถ้าว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคนั้นพึงกระทบโลกุตตระ ทั้งหลาย พระดำรัสนั้นพึงเป็นโลกุตตระไซร้. ในข้อนี้ ก็เมื่อพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคกระทบอยู่ซึ่งโลกิยะ พระดำรัสนั้น มิได้ชื่อว่า เป็น โลกุตตระ. แม้ในคำว่า ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ นี้ได้แก่ ด้วยโลกีย์เท่านั้น. ความเป็นโลกีย์โดยประการอื่นนั้น มีประการมิใช่ น้อย. จริงอยู่โลกุตตระย่อมรู้ได้ด้วยญาณแม้อันเป็นโลกีย์. บัณฑิตพึง ทราบเนื้อความทั้งปวง โดยสมควรอย่างนี้.
ในปัญหาทั้งหลายว่า ชนเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่ายังมรรค ให้เกิดได้หรือ ปรวาทีย่อมปฏิเสธ เพราะหมายเอาเฉพาะผู้ไม่ได้ มรรค แต่รับรอง หมายเอาผู้ได้มรรค. คำว่า ใช้ไม้เท้าทอง ได้แก่ไม้เท้าสำเร็จแล้วด้วยทองคำ อุทาหรณ์นี้เป็นของปรวาที. คำว่า ไม้เท้าต้นละหุ่ง ได้แก่ ไม้เท้าที่ทำจากต้นละหุ่ง คำนี้เป็นอุทาหรณ์ ของสกวาที.
อนึ่ง ลัทธิหนึ่งของนิกายอันธกะบางพวกว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสโลกิยธรรมก็เป็นโลกิยธรรม ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น แล.
อรรถกถาโวหารกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 570
นิโรธกถา
[๖๙๑] ส. นิโรธ เป็น ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทุกขนิโรธ เป็น ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทุกขนิโรธ เป็น ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นิโรธสัจจะ เป็น ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. นิโรธสัจจะ เป็น ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทุกขสัจจะ เป็น ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. นิโรธสัจจะ เป็น ๒ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สมุทยสัจจะ เป็น ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. นิโรธสัจจะ เป็น ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มรรคสัจจะ เป็น ๒ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 571
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. นิโรธสัจจะ เป็น ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ตาณะ๑ คือที่ต้านทาน เป็น ๒ หรือ? ฯลฯ เลณะ คือที่เร้น เป็นที่ สอง หรือ. . . สรณะ คือ ที่พึ่ง เป็น ๒ หรือ. . . ปรายนะ คือที่หมาย เป็น ๒ หรือ. . . อัจจุตะ คือที่มั่น เป็น ๒ หรือ . . . อมตะ เป็น ๒ หรือ ฯลฯ นิพพาน เป็น ๒ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. นิพพาน เป็น ๒ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสูงและต่ำ ความเลวและประณีต ความ ยิ่งและหย่อนเขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ระหว่าง แห่งนิพพาน ทั้ง ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๙๒] ส. นิโรธ เป็น ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา คือโลกุตตรญาณ จะพิจารณาแล้วให้ดับได้ มิใช่ หรือ ?
๑. คำว่า ตาณะ เป็นต้นนี้ เป็นไวพจน์ของ นิพพาน.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 572
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สังขารที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณา จะพิจารณาแล้วให้ดับได้ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า นิโรธเป็นสอง.
[๖๙๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า นิโรธเป็น ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ป. สังขารทั้งที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจาร- ณา ทั้งที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ต่างก็ย่อยยับไปสิ้นแล้ว มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า สังขารทั้งที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณา ทั้งที่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ต่างก็ย่อยยับ ไปสิ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า นิโรธเป็น ๒
[๖๙๔] ส. นิโรธเป็น ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ชื่อว่าดับแล้วเพราะอาศัยอริยมรรค หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. แม้สังขารที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจาร- ณา ก็ชื่อว่าดับแล้วเพราะอาศัยอริยมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 573
[๖๙๕] ส. นิโรธเป็น ๒ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ย่อมไม่เกิดขึ้นได้อีก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารที่มิได้ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นได้อีก หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า นิโรธเป็น ๒.
นิโรธกถา จบ
อรรถกถานิโรธกถา
ว่าด้วยนิโรธ
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องนิโรธคือความดับ. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใด มีความเห็นว่ารวมนิโรธทั้ง ๒ คืออัปปฏิสังขานิโรธ คือการดับโดยไม่ ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา และปฏิสังขานิโรธ คือการดับโดยใช้ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ทั้ง ๒ นี้เข้าด้วยกัน จึงชื่อว่า นิโรธสัจจะ ดังนี้ ดุจนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามว่า นิโรธเป็น ๒ หรือ คำตอบ รับรองเป็นของพระปรวาที. ในปัญหาว่า ทุกขนิโรธเป็น ๒ หรือ ปรวาทีไม่ปรารถนาทุกขสัจจะเป็น ๒ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงตอบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 574
ปฏิเสธ แต่ปรารถนาว่าทุกข์ย่อมดับไปโดยอาการ ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. ในปัญหาว่า นิโรธสัจจะเป็น ๒ หรือ ปรวาที เมื่อไม่ปรารถนาด้วยสามารถแห่งการดับทุกขสัจจะทั้ง ๒ อย่าง จึงตอบ ปฏิเสธ แต่ย่อมตอบรับรองเพราะการดับทุกข์โดยอาการทั้ง ๒ อย่าง. ในคำทั้งหลาย แม้คำว่า ตาณะเป็น ๒ หรือ เป็นต้น ก็ในนี้ นั่นแหละ ตาณะ คือ ธรรมเป็นเครื่องต้านทาน เป็นต้น นี้เป็นไวพจน์ ของพระนิพพาน.
ในคำถามทั้งหลายมีคำว่า มีความสูงและต่ำแห่งนิพพาน ทั้ง ๒ หรือ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็นพระนิพพานมีการสูงต่ำ เป็นต้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า สังขารที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณา ดังนี้ อธิบายว่า สังขารเหล่าใดไม่ดับไปด้วยโลกุตตรญาณอันเป็นเครื่องพิจารณา ท่านเรียกสังขารเหล่านั้นว่า ดับไปแล้ว ตามปกติของตนเอง หรือเพราะไม่มีการปฏิบัติด้วยสามารถแห่งการ สอบถามอุทเทสเป็นต้น. คำว่า สังขารที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณา ได้แก่ สังขารเหล่านั้นย่อมดับไปด้วยโลกุตตรญาณ คือ ย่อมถึงซึ่งความไม่เกิดขึ้นอีก. คำถามว่า สังขารทั้งที่ยังไม่ดับด้วย ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ทั้งที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณา ต่างก็ย่อยยับไปสิ้นแล้วมิใช่หรือ ดังนี้ เป็นของปรวาที. ในคำวิสัชนานั้น สกวาทีย่อมตอบรับรองซึ่งความที่สังขารทั้งหลายเหล่านั้นมีการแตกดับไปเป็นธรรมดา โดยมิต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เพราะการแตกดับแห่งสังขารทั้งหลายเป็นสภาพต้องแตกดับไปโดยส่วน-
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 575
เดียว หรือว่าความที่สังขารเหล่านั้น เมื่ออริยมรรคเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้อง แตกดับไปเพราะการแตกดับนั้นเทียว. คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความตื้น ทั้งนั้นแล.
อรรถกถานิโรธกถา จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
๑. ปรูปหารกถา ๒. อัญญาณกถา ๓. กังขากถา ๔. ปรวิตารณกถา ๕. วจีเภทกถา ๖. ทุกจาหารกถา ๗. จิตตฐิติกถา ๘. กุกกุฬกถา ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา ๑๐. โวหารกถา ๑๑. นิโรธกถา.
วรรคที่ ๒ จบ