ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่
เรื่อง วาจาที่ควรและไม่ควรกล่าว ต่อหน้าและลับหลัง (อรณวิภังคสูตร)
โดยหลักพระธรรมคำสอนแสดงเรื่องการพูดไว้ว่า คำพูดใดเมื่อกล่าวออกไปแล้วอกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม คำพูดนั้นไม่ควรกล่าว คำพูดใดเมื่อพูดออกไปแล้วกุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม คำพูดนั้นควรพูดดังข้อความในพระสูตรดังนี้
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่
สิ่งที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าว (สุตสูตร)
แม้จะเป็นเรื่องจริง แต่ก็ต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ด้วยจึงกล่าว เช่น มีประโยชน์หรือไม่ถูกเวลาและสถานที่หรือไม่ ฯลฯ ลองอ่านดูในพระสูตรที่มูลนิธิเคยอธิบายไว้ครับ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 439
๘. วาจาสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต ๕ ประการ
[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน องค์ ๕ ประการเป็นไฉน? คือวาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล ๑ เป็นวาจาที่กล่าวเป็นสัจ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน ๑ เป็นวาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน.
จบวาจาสูตรที่ ๘
อรรถกถาไม่มีขยายความเลย ขอขยายตามที่เข้าใจ คือ ข้อแรก เป็นคำพูดถูกกาละเทสะ คือรู้เวลาที่เหมาะสม ข้อ ๒ เป็นคำพูดที่จริงไม่เท็จ ข้อ ๓ เป็นคำพูดที่ไม่หยาบคาย น่าฟัง อ่อนโยน ข้อ ๔ เป็นคำพูดที่มีสาระ มีประโยชน์ ไม่เพ้อเจ้อ ข้อ ๕ เป็นคำพูดที่ออกจากจิตที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่พูดด้วยความโกรธ อนึ่ง ผู้ที่ไม่หลงลืมสติเห็นโทษของวาจาทุพภาษิต เห็นคุณของวาจาสุภาษิต ย่อมเป็นผู้ระมัดระวังในคำพูดที่จะไม่กล่าวคำพูดที่ไม่ดี ย่อมเป็นผู้มีวาจาสุภาษิตเสมอโดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่ : 02-12-2549
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่
เรื่อง วาจาที่ควรและไม่ควรกล่าว ต่อหน้าและลับหลัง (อรณวิภังคสูตร)
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ถ้าพูดแล้วเกิดประโยชน์ ต่อบุคคลนั้น คือ ให้เขาเปลี่ยนจากอกุศลเป็นกุศล เปลี่ยนจากสิ่งที่ถูกเป็นสิ่งที่ผิด ก็สมควรพูดให้ผู้อื่นฟังเพราะประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นคำจริง และต้องดูกาลเวลาที่จะพูดด้วย ในสมัยพุทธกาล มีพระบางรูปทำผิด ก็มีพระรูปอื่นไปกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบเพื่อประโยชน์กับบุคคลที่ทำผิด คือ พระพุทธเจ้าจะทรงตักเตือนและแสดงธรรมให้บุคคลนั้นจนพระรูปนั้นเปลี่ยนจากอกุศลเป็นกุศลและบรรลุมรรคผลครับ ดังนั้นประโยชน์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ พร้อมๆ กับปัจจัยอื่นๆ ดังข้อความในพระไตรปิฎก ลองอ่านดูนะครับ
เรื่อง ถ้าทำให้เขาเปลี่ยนจากอกุศลเป็นกุศลได้ก็ควรพูด แม้ตัวเองจะลำบากและทำให้ผู้อื่นขัดใจ แต่ก็ควรพูดเพราะประโยชน์ใหญ่คือ เขาเปลี่ยนจากอกุศลเป็นกุศล
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 68
ข้อความบางตอนจาก กินติสูตร
อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธมีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา และความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เจตนาดี มีประโยชน์ เชิญพูด
ยินดีในกุศลจิตค่ะ