ผมพยายามพิจารณาตามความเป็นจริงในลักษณะต่างๆ ตามความเข้าใจส่วนตนในจิต แต่ก็ยังไม่รู้ชัดว่าสภาพเช่นใด คือ "รู้สภาวะตามความเป็นจริงในขณะที่รู้นั้นว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" อยากให้ผู้รู้อธิบาย ประกอบหลักการด้านอภิธรรม เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ในบริบทที่ว่า "เมื่อเกิดผัสสะ ก็ต้องเกิดเวทนา มีสัญญาเกี่ยวกับเรื่องนั้น และคิดเป็นสังขารต่อไปอีก คือ การอธิบายแบบลักษณะกึ่งอภิธรรม
เมื่อมีสภาพรู้เกิดขึ้น คำที่ว่า รู้สภาวะตามความเป็นจริง ในขณะที่รู้นั้นว่าไม่ใช่ สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ฟังดูเหมือนว่าเป็นสภาพ ที่ไม่มีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็ถ้ามีสัญญาเจตสิก เกิดร่วมด้วยแล้ว จะไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งใดตามสัญญาได้อย่างไร หากจิตจะเกิดเห็นว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล สำหรับผมก็คงจะเป็นสัญญาที่หมายซ้ำเข้าไปอีกชั้นว่า สภาพที่ปรากฏนั้นแหละเป็นอนัตตา เป็นความเห็นตามสัญญาผสมมนสิการ มิใช่ปัญญากระมัง
ผมคิดว่าจะมีคนที่เป็นเหมือนผม แล้วคิดว่าถ้ารู้สถาวะตามความเป็นจริงในขณะที่รู้นั้นว่า ไม่ใช่ สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว จะดำรงชีวิตได้อย่างไร จะไม่เป็นก้อนหินตอไม้ไปหรือ ที่มีผู้มีความเห็นเช่นนี้ ก็น่าจะมาจากเข้าใจว่าการรู้อย่างที่กล่าวถึงคงจะมีลักษณะของการดับสัญญาไปเสีย หรืออาจมีสภาพธรรมเป็นสัญญาซ้อนสัญญาอีกชั้น ผสมกับมนสิการเจตสิกออกมาเป็นอะไรสักอย่าง บอกไม่ถูกครับ เพราะยังไม่รู้แจ้งวาระจิต แต่ผลก็คือเข้าใจผิดว่าสภาพนี้แหละ คือรู้แล้วประจักษ์แล้ว ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้น หรืออาจมีผลเป็นว่าไม่สามารถรู้ ตามความเป็นจริงได้"
ดังนั้น อยากให้ยกตัวอย่างประกอบ จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย สัก ๑ รอบคือ ตาเห็นรูป ไปจนถึงตาเห็นรูปต่อไป ว่าระหว่างนั้น ถ้าเป็นจิตที่มีความเห็นถูก จะมีจิตดวงใดเกิดขึ้นบ้าง มีเจตสิกใดเกิดขึ้นบ้าง ผมเข้าใจว่าจิตที่เป็นกุศลมีปัญญาเกิดร่วมด้วยมีหลายดวง ก็ขอให้อธิบายสักวาระครับ เอาดวงที่เห็นรู้แล้วมีลักษณะ "รู้สภาวะตามความเป็นจริงในขณะที่รู้นั้นว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" แล้วขณะจิตที่มีลักษณะเช่นว่านั้น มีเจตสิกสำคัญใดที่ทำให้มีลักษณะเช่นนั้น แล้วต้องมีเจตสิกใดเกิดร่วมด้วย
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่องสัญญา
ตามปกติ สัญญาเจตสิกย่อมเกิดกับจิตทุกดวง อกุศลจิตก็เกิด กุศลจิตก็เกิด ดังนั้น ขณะที่เห็นเป็นสัตว์ บุคคล ก็มีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธัมมะว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ก็มีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยเช่นกัน แต่สัญญานั้น เป็นสัญญาที่จำหมายโดยไม่ใช่สัตว์ บุคคล (อนัตตสัญญา) แต่เมื่อเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางจักขุทวารแล้ว มโนทวารก็เกิดต่อในวาระต่อๆ ไป ก็คิดนึก จำหมายว่าเป็นสัตว์ บุคคลทันที ไม่ได้หมายความว่า เมื่อสติปัฏฐานเกิดแล้ว จะไม่ให้เห็นเป็นสัตว์ บุคคลเลยเป็นไปไม่ได้ครับ เพราะทางมโนทวารเกิดต่อย่อมคิดนึก ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตามสัญญาที่จำหมายไว้ แม้พระพุทธเจ้าก็ยังเห็นเป็นสัตว์ บุคคล สัญญาเจตสิกก็เกิดกับจิตของท่าน แต่ไม่ได้มีความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล เมื่อเห็นเป็นพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ครับ
เรื่อง การยกตัวอย่างจิตในการเจริญสติปัฏฐาน การอบรมปัญญาที่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่ให้ไปหาชื่อก่อน (ว่าเป็นจิตดวงใด) แล้วจึงมาเข้าใจสภาพธรรม แต่การเจริญสติปัฏฐานนั้น สภาพธรรมกำลังมี กำลังปรากฏอยู่ มีลักษณะให้รู้ ขณะที่รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนั้นไม่ได้ คิดเลยครับว่า เป็นมหากุศลจิต อสังขาริก ประกอบด้วยปัญญา ประกอบด้วยเวทนา อะไร เป็นต้นเลย แต่ขณะนั้นรู้ว่าเป็นธรรม รู้ตามความเป็นจริง ส่วนจะเป็นกุศลขั้นใดก็แล้วแต่เหตุปัจจัยของสภาพธรรมนั้น ไม่ได้ระบุตายตัวว่าจะเป็นกุศลที่ประกอบด้วย ปัญญาดวงไหน และไม่ใช่หาชื่อครับ ขณะนี้กำลังมีสภาพธรรม
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ความเห็นผิดอยู่แฝงอยู่ในขันธ์ใดครับ เวทนาคงไม่ใช่ มันอยู่ในสัญญาหรือสังขาร ถ้าจะกล่าวว่ากิเลส อยู่ในสัญญาและสังขาร ถูกหรือไม่ครับ
อีกประการหนึ่งผมขออนุโมทนา และขอบพระคุณ คุณแล้วเจอกันด้วยครับ และผมก็ เข้าใจที่ท่านกรุณาชี้แจง อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่านอกจากการโน้มระลึกรู้สภาพธรรมที่ มีอยู่จริงในขณะนี้แล้ว เครื่องมือที่ช่วยคือมนสิการครับ สำหรับผมเป็นเช่นนั้น ไม่รู้ถูก หรือผิดนะครับ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 3 โดย WS202398
ความเห็นผิดอยู่แฝงอยู่ในขันธ์ใดครับ เวทนาคงไม่ใช่ มันอยู่ในสัญญาหรือสังขาร ถ้าจะกล่าวว่ากิเลส อยู่ในสัญญาและสังขาร ถูกหรือไม่ครับ
ความเห็นผิดเป็นสังขารขันธ์ เป็นธรรมที่มีจริง แต่ให้เข้าใจว่า สภาพธรรมไม่ใช่ไปอยู่ในที่หนึ่งที่ใดก่อน แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น เปรียบเหมือนเสียงพิณ ไม่ใช่เก็บในที่หนึ่งที่ใด แต่เมื่อประกอบด้วยเหตุปัจจัยพร้อม ทั้งพิณ สายพิณและคนดีดพิณ เสียงจึงเกิดขึ้นครับ เช่นเดียวกับสภาพธรรมก็เช่นกัน เมื่อมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น
ขออนุโมทนาครับ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 4 โดย WS202398
อีกประการหนึ่งผมขออนุโมทนา และขอบพระคุณ คุณแล้วเจอกันด้วยครับ และผมก็ เข้าใจที่ท่านกรุณาชี้แจงอย่างไรก็ตามผมเชื่อว่านอกจากการโน้มระลึกรู้สภาพธรรมที่ม อยู่จริงในขณะนี้แล้ว เครื่องมือที่ช่วย คือ มนสิการครับ สำหรับผมเป็นเช่นนั้น ไม่รู้ถูกหรือผิดนะครับ
ต้องเข้าใจก่อนครับ ว่ามนสิการคืออะไร มนสิการ คือเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง ทั้งกุศลและอกุศลก็ได้ ขณะที่กุศลเกิดก็เป็นโยนิโสมนสิการ ถ้าเป็นอกุศลเกิดก็เป็นอโยนิโสมนสิการ ต้องเข้าใจก่อนว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่มีตัวเรา ไปทำ ไปมนสิการ ยกตัวอย่างครับ ขณะที่โกรธเป็นอกุศล มีมนสิการเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นอโยนิโสมนสิการเจตสิก ขณะที่โกรธ ต้องคิดที่จะอโยนิโสมนสิการก่อนหรือเปล่า เปล่าครับ แต่เมื่อโกรธก็เป็นอโยนิโสมนสิการแล้ว เช่นเดียวกันครับ ขณะที่เป็นกุศล ก็ไม่ได้เตรียมตัวที่จะโยนิโส แต่ขณะที่เป็นกุศลก็มีโยนิโสมนสิการเจตสิกเกิดร่วมด้วย อธิบายโยนิโสมนสิการเจตสิกในระดับต่างๆ
โยนิโสมนสิการเจตสิกเกิดกับจิตที่เป็นกุศลทุกดวง ขณะที่ให้ทานก็เป็นโยนิโสมนสิการเจตสิก แต่โยนิโสมนสิการเจตสิกขั้นทานนี้เป็นไปเพื่อการอบรมปัญญา เพื่อสติปัฏฐาน เกิดหรือไม่ครับ ไม่แน่นอนครับ โยนิโสมนสิการเจตสิก ในขั้นศีลก็เช่นกัน ทำนอง เดียวกับขั้นทานไม่เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด โยนิโสขั้นสมถภาวนาก็เช่นกัน ส่วนโยนิสมนสิการที่พิจารณาอย่างไรที่ทำให้สติปัฏฐานเกิด คือเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม เข้าใจว่าธรรมคืออะไร และธรรมอยู่ในขณะนี้ เมื่อเข้าใจมั่นคง (สัจจญาณ) ก็จะทำให้สติปัฏฐานเกิด ได้ครับ ต่างกับการศึกษาชื่อ รู้ว่าจิตมีกี่ดวง มีเจตสิกเท่าไหร่ คิดถูกเป็น โยนิโสมนสิการเช่นกัน แต่ถ้าไม่เข้าใจว่าธรรมอยู่ในขณะนี้จนมั่นคง ก็จะหาชื่อ ลืม ความเข้าใจว่าธรรมอยู่ในขณะนี้ จึงไม่เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดครับ นี่คือความต่าง ของมนสิการและโยนิโสมนสิการระดับต่างๆ และโยนิโสมนสิการที่เป็นปัจจัยให้สติปัฏ ฐานเกิดครับ เข้าใจธรรมอยู่ในขณะนี้ ไม่มีชื่อแต่มีลักษณะให้รู้
ขอนุโมทนาครับ
ขณะที่กุศลจิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นทาน ศีล ภาวนา จะต้องมีโสภณสาธารณเจตสิกเกิดร่วม ด้วยทั้ง ๑๙ ดวง ถ้าเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาก็มากกว่า ๑๙ ดวง ค่ะ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 3 โดย WS202398
ถ้าจะกล่าวว่า กิเลส อยู่ในสัญญาและสังขาร ถูกหรือไม่ครับ
ก่อนอื่นต้องรู้จักคำว่า "กิเลส" ก่อนครับ กิเลส คือ ธรรมะฝ่ายอกุศล มีหลายระดับ มีทั้งกิเลสอย่างละเอียด กิเลสอย่างกลาง และกิเลสอย่างหยาบ ธรรมที่ เป็นกิเลสมีอะไรบ้าง เชิญอ่านด้านล่าง ครับ
ความคิดเห็นที่ 2 โดย : มศพ.
[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๗๔
กิเลสโคจฉกะ
[๗๙๑] ธรรมเป็นกิเลส เป็นไฉน กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ
กิเลสทั้ง ๑๐ จัดอยู่ในสังขารขันธ์ทั้งหมด ไม่ได้จัดอยู่ในสัญญาขันธ์ เพราะฉะนั้น กิเลสไม่อยู่ในสัญญาขันธ์ แต่สัญญาเจตสิกที่เกิดร่วมกับกิเลสอย่างกลาง และกิเลส อย่างหยาบ จะต้องเป็นอกุศลสัญญา ซึ่งจะเป็นสัญญาที่วิปลาส ส่วนกิเลสอย่าง ละเอียดไม่เกิด แต่จะเป็นเชื้อให้กิเลสอย่างกลางและกิเลสอย่างหยาบเกิดได้ตามเหตุปัจจัยครับ
เชิญคลิกอ่าน...
อนุสัย
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 4 โดย WS202398
จากการโน้มระลึกรู้สภาพธรรมที่มีอยู่จริงในขณะนี้แล้ว เครื่องมือที่ช่วย คือมนสิการ ครับ สำหรับผมเป็นเช่นนั้น ไม่รู้ถูกหรือผิดนะครับ
ถ้าพูดโดยสภาพธรรมะแล้ว ไม่มีอะไร หรือใครผิดครับ เพราะธรรมะแต่ละอย่าง ก็ทรงไว้ซึ่งลักษณะเฉพาะของธรรมะนั้นๆ กุศลก็ทรงไว้ซึ่งกุศล อกุศลก็ทรงไว้ซึ่งอกุศล ซึ่งในชีวิตประจำวันของปุถุชน ส่วนใหญ่เป็นอกุศลธรรมที่ทรงไว้ซึ่งอกุศลธรรมครับ แล้วก็มีเหตุปัจจัยให้กุศลธรรมเกิดเพื่อทรงไว้ซึ่งสภาพของตนได้บ้าง โดยจะเป็นไปในทาน ศีล หรือภาวนาครับ และก็มีเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตชาติใดแล้ว ก็จะเป็นไปกับจิตชาตินั้น เช่น มนสิการเจตสิก ตามที่คุณ WS202398 ได้กล่าวไว้นั้น ผมคิดว่า เราคงเอาธรรมะมาเป็นเครื่องมือไม่ได้นะครับ เพียงแต่ว่าสามารถที่จะอบรมเจริญเหตุให้ธรรมะที่เป็นกุศลเกิดบ่อยขึ้นได้ แล้วมนสิการที่เกิดกับจิตฝ่ายดีก็จะเกิดขึ้นทำกิจของตนเอง โดยจะเป็นเครื่องมือแก่ธรรมะที่เกิดร่วมกัน ซึ่งเราเรียกกันจาก การศึกษาโดยชื่อว่า "โยนิโสมนสิการ" ครับ
ขออนุโมทนาในความสนใจธรรมะครับ
ขออนุโมทนา ขอขอบพระคุณครับ
ขออนุโมทนาครับ