ความไม่ประมาทคืออะไร ?
โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  27 มี.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 11787

ความไม่ประมาทคืออะไร คงตอบกันในหลายนัย ขึ้นกับ เพศ วัย ความรู้ อาชีพ

แท้จริงแล้วความไม่ประมาทคืออะไรครับท่านอาจารย์ที่เคารพ



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 28 มี.ค. 2552

ขอเชิญคลิกอ่านที่ ความหมายของความไม่ประมาท ความไม่ประมาท


ความคิดเห็น 2    โดย wannee.s  วันที่ 28 มี.ค. 2552

ไม่ประมาทในชีวิต ไม่ประมาทในการเจริญกุศลแม้เพียงเล็กน้อย เช่น การช่วยเหลือผู้

อื่น การให้ทาน การใส่บาตร การปล่อยสัตว์ที่มีชีวิต สูงสุดคือการเจริญสติปัฏฐานค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย เมตตา  วันที่ 28 มี.ค. 2552

ในชีวิตประจำวันอกุศลจิตเกิดมากกว่ากุศลจิต จึงเป็นผู้ที่ประมาทเกือบทั้งวัน และอกุศลที่สะสมในแต่ละวันจนมีกำลังมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยให้กระทำอกุศลกรรมทางกาย

ทางวาจา และทางใจ จึงเป็นผู้ที่ประมาทเพราะจะต้องได้รับผลของอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ ฉะนั้นควรที่จะไม่ประมาทด้วยการอบรมเจริญกุศลทุกประการในชีวิตประจำ-วัน เพราะขณะที่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นไม่ปราศจากสติค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย happyindy  วันที่ 29 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย Komsan  วันที่ 29 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 6    โดย tanakase  วันที่ 1 เม.ย. 2552
อนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 7    โดย นิคิกร  วันที่ 3 เม.ย. 2552

คำว่า ไม่ประมาท ทรงหมายถึง เพียรตั้งสติไว้ในที่ ๔ แห่ง (สติปัฏฐาน๔) อยู่ทุกเมื่อ หรือโดยอรรถธรรมหมายถึง เห็นสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเกิดดับอยู่ทุกขณะจิต (เห็นด้วยญาณมิใช่คิดเอา) เมื่อเห็นอยู่เช่นนั้น ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ สังขารทั้งปวงระงับ และเสื่อมไป จิตย่อมปล่อยวางจากภายในโดยตัวของมันเอง เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งความเกิดดับของจิตในจิตอยู่เช่นนั้นแม้มีเจตนาว่า เราจักยึดมั่นในรูปนามนี้ ก็หาเป็นไปตามเจตนาไม่

ประโยคเต็มที่ทรงตรัสก่อนปรินิพพาน ที่ว่า "สังขารทั้งหลายย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด" ทรงตรัสจากผล ไปหาเหตุ คือสังขารที่เสื่อมไปเป็นผล การเจริญสติปัฏฐาน ๔ (ไม่เผลอ,มีสติตั้งไว้ในที่ ๔ แห่งทุกขณะจิต) เป็นเหตุ ซึ่งเป็นการตรัสเรื่อง"มรรค" เป็นเคล็ดวิชาโดยย่อ แต่คนโดยมากเข้าใจเพียงว่า เราจักต้องตายแน่ จงรีบทำแต่ความดี ซึ่งคนที่ทำความดีก็จะไปสวรรค์ ซึ่งจักเวียนว่ายตายแล้วเกิดอีก แต่พุทธเจตนาทรงสั่งเสียให้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ต่างหาก