๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร ว่าด้วยท่อธารบุญกุศล ๔
โดย บ้านธัมมะ  23 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38842

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 181

ทุติยปัณณาสก์

ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑

๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร

ว่าด้วยท่อธารบุญกุศล ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 181

๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร

ว่าด้วยท่อธารบุญกุศล ๔

[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่อธารบุญท่อทรงกุศล ๔ ประการนี้ นำมาซึ่งความสุข ให้ซึ่งผลอันดีเลิศ มีความสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ เป็นไปเพื่อผลที่ปรารถนาที่รักใคร่ที่ชอบใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ท่อธารบุญกุศล ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 182

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า อิติปิ โส ภควา ฯลฯ พุทฺโธ ภควา ดังนี้ นี่เป็นท่อธารบุญกุศลข้อ ๑ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า สฺวากฺขาโต ภควาตา ธมฺโม ฯลฯ วิญฺญูหิ ดังนี้ นี่เป็นท่อธารบุญกุศลข้อ ๒ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ฯลฯ ปุฺกฺเขตฺตํ โลกสฺส ดังนี้ นี่เป็นท่อธารบุญกุศลข้อ ๓ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยอริยกันตศีล (ศีลที่พระอริยะพอใจ) อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิถูกต้อง เป็นสมาธิ นี่เป็นท่อธารบุญกุศลข้อ ๔ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ท่อธารบุญท่อธารกุศล ๔ นำมาซึ่งความสุข ให้ซึ่งผลอันดีเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ เป็นไปเพื่อผลที่ปรารถนา ที่รักใคร่ที่ชอบใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข

ความเชื่อในพระตถาคต ของผู้ใด ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ศีลของผู้ใดเป็นศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยะพลใจสรรเสริญ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ของผู้ใด มีอยู่และ ความเห็นของผู้ใดเป็นความเห็นตรง บัณ-


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 183

ฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เป็นโมฆะ (คือไม่เปล่าจากแก่นสาร)

เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญารำลึกถึงพระศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบไว้เสมอซึ่งความเชื่อ (ในพระตถาคต) ซึ่งศีล ซึ่งความเลื่อมใส (ในพระสงฆ์) และความเห็นธรรม.

จบทุติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยปุญญาภิสันทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุญุญาภิสันทสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อริยกนฺเตหิ คือด้วยศีลสัมปยุตด้วยมรรคและผล. ก็ศีลเหล่านั้น น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจของพระอริยะทั้งหลาย. คำที่จะพึงกล่าวในพระสูตรก่อน ก็กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

ในคาถาพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า สทฺธา ความว่าท่านประสงค์ ศรัทธาของโสดาบันบุคคล. แม้ศีล ก็เป็นศีลของโสดาบันบุคคลนั่นเอง. บทว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความว่า ความเห็นของท่านผู้สิ้นอาสวะ ชื่อว่าเป็นความเห็นตรง เพราะท่านไม่มีคดทางกายเป็นต้น. บทว่า อาหุ แปลว่า กล่าว. บทว่า ปสาทํ คือซึ่งความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ บทว่า ธมฺมทสฺสนํ คือเห็นสัจธรรม.

จบอรรถกถาทุติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๒