[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 621
ติกนิบาต
วรรคที่ ๕
๑๐. ธรรมสูตร
ว่าด้วยวิชชา ๓ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 621
๑๐. ธรรมสูตร
ว่าด้วยวิชชา ๓ ประการ
[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่า เป็นพราหมณ์โดยธรรม เราย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่าเป็นพราหมณ์ โดยเหตุ เพียงการกล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราย่อมบัญญัติ บุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์โดยธรรม เราย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่า เป็นพราหมณ์โดยเหตุเพียงการกล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว อย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏะและวิวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ จากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนั้นได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้แล้วกำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว กำจัดความมืดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว สมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 622
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ เหล่านี้ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ กำจัดอวิชชา ได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว กำจัดความมืดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว สมเป็น ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุการทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว กำจัดความมืดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว สมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็น พราหมณ์โดยธรรม ย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่าเป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียง กล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว อย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 623
เรากล่าวผู้ระลึกถึงชาติก่อนได้ เห็น ทั้งสวรรค์และอบาย และถึงความสิ้นไป แห่งชาติ เป็นมุนี ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้มีไตรวิชา ด้วยวิชชา๓ ว่าเป็นพราหมณ์ เราไม่กล่าว บุคคลอื่นผู้มีการกล่าวตามที่เขากล่าวไว้ แล้วว่าเป็นพราหมณ์.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบธรรมสูตรที่ ๑๐
จบวรรคที่ ๕
จบติกนิบาต
อรรถกถาธรรมสูตร
ในธรรมสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ญายธรรม คือ โดยเหตุ โดยการณ์ กล่าวคือ สัมมาปฏิบัติ อธิบายว่า ภิกษุย่อมเป็นผู้มีวิชชา ๓ ด้วยปฏิปทาใด ปฏิปทานั้น พึงทราบว่า ธรรมในอธิการนี้. ก็ปฏิปทานั้น คืออะไร? คือ จรณสัมปทา ๑ วิชชาสัมปทา ๑. บทว่า เตวิชฺชํ ความว่า ประกอบแล้วด้วยวิชชา ๓ มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 624
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ เป็นต้น. บทว่า พฺราหฺมณํ ได้แก่ พราหมณ์ ผู้ลอยบาปแล้ว. บทว่า ปญฺาเปมิ ความว่า ให้รู้ทั่ว คือแต่งตั้งให้เป็น พราหมณ์. บทว่า นาญฺํ ลปิตลาปนมตฺเตน ความว่าเราตถาคตไม่บัญญัติ คนอื่น คือผู้เป็นพราหมณ์เพียงโดยกำเนิดว่าเป็นพราหมณ์โดยเหตุเพียงการกล่าวตามที่อัฏฐกฤาษีเป็นต้นเรียกขานแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ลปิตลาปนมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุเพียง เล่าเรียน หรือให้เล่าเรียนมนต์ทั้งหลาย. ก็พราหมณ์ทั้งหลาย เรียกขานผู้ใด ที่มีวิชชา ๓ เพราะการเล่าเรียนหมวด ๓ แห่งพระเวท มีสามเวทเป็นต้น ว่าเป็นพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้านคำของพราหมณ์นั้น แท้จริง โดยปรมัตถ์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภเทศนานี้ไว้ ตามอัธยาศัย ของผู้ที่จะตรัสรู้อย่างนั้น เพื่อจะทรงแสดงว่า ก็พราหมณโภวาทีเหล่านี้ ผู้อัน อวิชชาหุ้มห่อแล้ว เรียกขาน พราหมณ์ผู้ไม่มีวิชชา ๓ เลยว่าเป็นพราหมณ์ ผู้มีวิชชา ๓ แต่ผู้มีวิชชาตามที่กล่าวมานี้ จึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์.
ในอธิการนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ เพราะผู้ที่ถึงพร้อม ด้วยวิชชา ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะโดยแท้ เพราะเว้นจรณสมบัติเสียแล้ว จะมี วิชชาสมบัติไม่ได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะทรงบัญญัติ พราหมณ์ โดยหัวข้อ คือ วิชชาเท่านั้น การทำจรณสมบัติให้หยั่งลงสู่ภายใน ทรงตั้งหัวข้อเทศนาไว้ว่า ธมฺเมนาหํ ภิกฺขเว เตวิชฺชํ พฺราหฺมณํ ปญฺาเปมิ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็น พราหมณ์โดยธรรม) ดังนี้ แล้วทำเป็น กเถตุกัมยตาปุจฉาว่า กถญฺจาหํ ภิกฺขเว ธมฺเมน เตวิชฺชํ พฺราหฺมณํ ปญฺาเปมิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 625
ก็เราตถาคต บัญญัติผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์โดยธรรม อย่างไร ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงจำแนกหมวด ๓ แห่งวิชชา โดยเทศนาที่เป็นบุคลาธิษฐาน จึงตรัสคำมีอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกวิหิตํ ความว่า มีอย่างมิใช่น้อย หรือเป็นไปแล้ว คือพรรณนาแล้ว โดยอเนกประการ. บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ ได้แก่ ขันธสันดานที่ตนเคยอยู่อาศัยแล้วในภพนั้นๆ เริ่มต้นแต่ภพที่เป็นอดีต อันหาระหว่างคั่นไม่ได้. บทว่า นิวุฏํ ความว่า อันตนเคยอยู่อาศัยแล้ว คือเป็นมาแล้วตามลำดับ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดแล้วดับไปในสันดานของตน. อีก อย่างหนึ่ง ได้แก่ ขันธ์มีการอยู่อาศัยแล้วเป็นธรรมดา คือว่าขันธ์ที่ตนเคยอาศัย แล้ว โดยโคจรเป็นทีอยู่อาศัย ได้แก่ ขันธ์ที่รู้แล้วด้วยวิญญาณของตน หรือที่รู้ แล้วด้วยวิญญาณของผู้อื่น ในเพราะการระลึกถึงการหมุนเวียนที่ขาดไปแล้ว เป็นต้น. บทว่า อนุสฺสรติ ความว่า ตามระลึก โดยลำดับชาติ อย่างนี้ว่า ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง หรือได้แก่ระลึกถึงเนืองๆ คือ เมื่อจิตโน้มไปแล้ว ย่อมระลึกในลำดับแห่งบริกรรม.
ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถที่แสดงถึงอาการที่ปรารภ แล้ว. ด้วยบทว่า เสยฺยถีทํ นั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรง แสดงอาการแห่งบุพเพนิวาสญาณนี้ ที่ชื่อว่า เป็นอันพระโยคาวจรปรารภ แล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอกํปิ ชาตึ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกํปิ ชาตึ ได้แก่ ขันธสันดานแม้อันหนึ่ง ซึ่งมีปฏิสนธิเป็นมูล มีจุติ เป็นปริโยสาน นับเนื่องแล้วในภพหนึ่ง. แม้ในบทว่า เทฺวปิ ชาติโย เป็น ต้น ก็มีนัยนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 626
และพึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อเนเกปิ สํวฏฺฏกปฺเป ดังต่อไปนี้ กัปที่เสื่อม ชื่อว่า สังวัฏฏกัป กัปที่เจริญ ชื่อว่า วิวัฏฏกัป. ใน กัปทั้ง ๒ อย่างนั้น สังวัฏฏัฏฐายีกัป ทรงถือเอาแล้วด้วย สังวัฏฏกัป และวิวัฏ- ฏัฏฐายีกัป ทรงถือเอาแล้วด้วยวิวัฏฏกัป เพราะมี สังวัฏฏกัป นั้นเป็น มูล. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ อสังไขยกัป ๔ เหล่านั้นใดที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อสงไขยกัป เหล่านี้มี ๔, ๔ อย่างคืออะไรบ้าง? คือ สังวัฏฎกัป (ระยะกาลที่จักรวาลเริ่มถูกทำลาย ด้วยไฟ น้ำ หรือลม ทุกสิ่งในจักรวาล สลายไปสู่ธาตุเดิม ย่อยไปไม่มีเหลือ) ๑ สังวัฏฏัฏฐายีกัป (ระยะกาล ที่ไม่มีอะไร ไปจนถึงเริ่มกำเนิดของและสิ่งต่างๆ) ๑ วิวัฏฏกัป (ระยะกาล เริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ ของสิ่งทั้งหลาย จนถึงทุกสิ่งในจักรวาลเจริญเต็มที่) ๑ วิวัฏฏัฏฐายีกัป (ระยะกาลที่จักรวาลสมบูรณ์จนถึงเริ่มเสื่อมสลายอีก) ๑ อสังไขยกัปเหล่านั้น ย่อมเป็นอันพระองค์ทรงกำหนดถือเอาแล้ว. ในอสังไขยกัป ๔ อย่างเหล่านั้น สังวัฏฏกัป มี ๓ คือ เตโชสังวัฏฏกัป ๑ อาโป สังวัฏฏกัป ๑ วาโยสังวัฏฏกัป ๑. เขตแห่งสังวัฏฏกัปมี ๓ คือ ชั้น อาภัสสรพรหม ๑ สุภกิณหพรหม ๑ เวหัปผลพรหม ๑. เวลาที่กัป พินาศด้วยไฟ ไฟไหม้ต่ำกว่าชั้นอาภัสสรพรหม เวลาที่กัปพินาศด้วยน้ำ ย่อม ทำลายต่ำกว่าชั้นสุภกิณหพรหม เวลาที่กัป พินาศด้วยลม ลมพัดทำลายต่ำกว่า ชั้นเวหัปผลพรหม. แต่ว่าโดยพิสดารแล้ว แสนแห่งจักรวาล ย่อมพินาศร่วม กันหมด.
ภิกษุเห็นปานนี้ นี้ เมื่อระลึกถึงขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน ดัง พรรณนามานี้ ย่อมระลึกได้หลาย สังวัฏฏกัป บ้าง หลายวิวัฏฏกัป บ้าง หลายสังวัฏฏวิวัฏฏกัป บ้าง. ระลึกได้อย่างไร? ระลึกได้โดยนัยมีอาทิว่า อมุตฺราสึ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 627
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมุตฺราสึ ความว่า เราได้ (เกิด) มีแล้ว ในสังวัฏฏกัปโน้น หรือในภพโน้น หรือในกําเนิดโน้น หรือใน คติโน้น หรือในวิญญาณฐิติโน้น หรือในสัตตาวาสโน้น หรือในสัตตนิกาย โน้น. บทว่า เอวํ นาโม ความว่า เรามีชื่อว่า ติสสะ หรือมีชื่อว่า ปุสสะ. บทว่า เอวํ โคตฺโต ความว่า เราเป็นโคดมโคตรหรือ เราเป็น กัสสปโคตร. บทว่า เอวํ วณฺโณ ความว่า เรามีสีขาว หรือมีสีคล้ำ. บทว่า เอวมาหาโร ความว่า เรามีข้าวสุกแห่งข้าวสาลี และเนื้อเป็นอาหาร หรือบริโภคผลไม้ที่เป็นไปแล้ว. บทว่า เอวํสุขทุกฺขปฏิสํเวที ความว่า หรือเราเสวยสุขและทุกข์ ต่างโดยเป็นสามิสสุขและนิรามิสสุขเป็นต้น อันเป็น ไปทางกาย และทางใจ มีประการมิใช่น้อย. บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า เรามีอายุประมาณ ๑๐๐ ปีเป็นกำหนด หรือมีอายุประมาณ ๘๔ แสนกัป เป็นกำหนด. บทว่า โส ตโต จุโต อมุตฺร อุทปาทึ ความว่า เรานั้น ครั้นจุติจากภพ จากกำเนิด จากคติ จากวิญญาณฐิติ จากสัตตาวาส หรือ จากสัตตนิกายนั้นๆ แล้ว มาเกิด ในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ ในสัตตาวาส หรือในสัตตนิกายชื่อโน้น. บทว่า ตฺตราปาสึ ความว่า หรือ ว่าเราเป็นเช่นนั้นมาแล้ว ได้กลับมามีในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ ในสัตตาวาส หรือในสัตตนิกายแม้นั้นอีก. บทว่า เอวนฺนาโม เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะคำว่า เราได้มีแล้วในภพโน้น นี้เป็นการระลึกถึง ตามสมควรแก่อภินิหาร ตามกำลังของตน ของพระโยคาวจรผู้พิจารณาเจริญ ขึ้นไปโดยลำดับ คำว่า เรานั้นจุติจากภพนั้นแล้วนี้ เป็นการพิจารณาของพระโยคาวจรผู้พิจารณาย้อนหลัง ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อมุตฺร อุทปาทึ (เราได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 628
เกิดในภพโน้น) ในลำดับแห่งการบังเกิดในภพนี้ นี้ว่า อิธูปปนฺโน (เรา เกิดแล้วในภพนี้).
บทว่า ตตฺราปาสึ ความว่า เราได้ (เกิด) มีแล้วในภพ ฯลฯ หรือ ในสัตตนิกาย แม้นั้น. บทว่า เอวํ นาโม ความว่า เราชื่อ ทัตตะ หรือชื่อ มิตตะ. บทว่า เอวํ โคตฺโต ความว่า เราเป็นวาสิฏฐโคตร หรือกัสสปโคตร. บทว่า เอวํวณฺโณ ความว่า เรามีสีดำหรือสีขาว. บทว่า เอวมาหาโร ความว่า เรามีอาหารบริสุทธิ์ หรือมีข้าวสุกแห่งข้าวสาลีเป็นต้น เป็นอาหาร. บทว่า เอวํสุขทุกฺขปฏิสํเวที ความว่า เราเสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือเสวย สุขและทุกข์อันเป็นของมนุษย์. บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า เรา มีอายุเท่านั้นๆ เป็นอย่างยิ่ง เป็นกำหนดอย่างนี้. บทว่า โส ตโต จุโต ความว่า เรานั้นจุติจากภพเป็นต้น นั้นๆ. บทว่า อิธูปปนฺโน ความว่า เราเกิดเป็นมนุษย์ในภพสุดท้ายนี้. บทว่า อิติ แปลว่า ด้วยประการฉะนี้. บทว่า สาการํ สอุทฺเทสํ ความว่า พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยสามารถแห่ง นามและโคตรเป็นต้น พร้อมทั้งอาการด้วยสามารถแห่งวรรณะเป็นต้น, อธิบาย ว่า สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเรียกร้องกันว่า ติสสะ ว่าโคตมะ โดยชื่อและโคตร ย่อมปรากฏโดยความแตกต่างกัน เป็นคนผิวคล้ำ เป็นคนผิวขาว โดยวรรณะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น นามและโคตร จึงเป็นอุเทศ นอกนี้เป็นอาการ.
บทว่า อยมสฺส ปมา วิชฺชา อธิคตา ความว่า วิชชานี้ ชื่อว่า ที่หนึ่ง โดยเป็นวิชชาที่ภิกษุนี้ได้บรรลุเป็นครั้งแรก คือ วิชชา ย่อม ชื่อว่า เป็นอันภิกษุบรรลุแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอรรถว่า กระทำให้ ปรากฏ. ถามว่า ก็ภิกษุนี้ กระทำอะไร ให้แจ่มแจ้ง? ตอบว่า กระทำ บุพเพนิวาสญาณให้แจ่มแจ้ง. โมหะอันปกปิดเสียซึ่ง วิชชานั้น ท่านเรียกว่า อวิชชา เพราะอรรถว่ากระทำบุพเพนิวาสญาณนั้นแหละ ไม่ให้ปรากฏ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 629
ตโม ความว่า โมหะนั่นแหละท่านเรียกว่า ตโม (ความมืด) เพราะอรรถว่า ปกปิดไว้. บทว่า อาโลโก ความว่า วิชชานั่นแหละ ชื่อว่า อาโลกะ เพราะ อรรถว่า กระทำเพื่อแสงสว่าง. ก็ในบทว่า อาโลโกนี้ ได้ความดังนี้ว่า วิชชา อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว. บทที่เหลือเป็นการกล่าวสรรเสริญ. ก็ใน อธิการนี้ บัณฑิตพึงประกอบ ความว่า วิชชานี้แล อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว คือ ความไม่รู้ ซึ่งวิชชาที่ภิกษุนั้น บรรลุแล้ว อันเธอกำจัดแล้ว คือ ทำ ให้พินาศแล้ว. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะวิชชา บังเกิดแล้ว. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ.
บทว่า ยถา ในบทว่า ยถาตํ นี้ ใช้ในอรรถว่า อุปมา. บทว่า ตํ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ชื่อว่า ผู้ไม่ประมาท เพราะไม่อยู่ปราศจาก สติ ชื่อว่า มีความเพียร เพราะมีความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน ชื่อว่า ผู้มีตนอันส่งไปแล้ว คือมีจิตอันส่งไปแล้ว เพราะไม่อาลัย ในร่างกาย และ ชีวิต. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ ดังนี้ เมื่อภิกษุ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้ว อยู่ อวิชชา พึงถูกกำจัด วิชชา พึงบังเกิดขึ้น ความ มืดพึงถูกกำจัด แสงสว่าง พึงเกิดขึ้นฉันใด อวิชชา อันภิกษุนั้นกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดอันภิกษุนั้นกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว ฉัน นั้นเหมือนกัน เธอได้ผลอันสมควรแก่การตามประกอบความเพียรนั้นแล้วอยู่ ดังนี้.
ในบทว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา นี้ คำใดที่ควรกล่าว คำนั้นข้าพเจ้า กล่าวไว้หมดแล้วในหนหลัง. บทว่า วิสุทฺเธน ความว่า ทิพยจักษุ ชื่อว่า ย่อมบริสุทธิ์ เพราะเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ โดยมองเห็นสัตว์ผู้จุติและอุปบัติ. อธิบายว่า ภิกษุใดเห็นเพียงสัตว์ที่จุติเท่านั้น ไม่เห็นสัตว์ที่อุปบัติ ภิกษุนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 630
ย่อมถือเอาซึ่งอุจเฉททิฏฐิ. ภิกษุใดเห็นเพียงสัตว์ที่อุปบัติเท่านั้น ไม่เห็นสัตว์ที่ จุติ ภิกษุนั้นย่อมถือเอานวสัตตปาตุภาวทิฏฐิ (ทิฏฐิคือความปรากฏในสัตตาวาส ๙). ก็เพราะเหตุที่ภิกษุผู้เห็นทั้งสองอย่าง ย่อมก้าวล่วงทิฏฐิแม้ทั้งสองได้ ฉะนั้น ทัสสนะนั้นของภิกษุนั้น จึงเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ. ก็ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรนี้ ย่อมเห็นทั้งสองอย่าง (ทั้งสัตว์ที่กำลังจุติ และสัตว์ที่กำลังอุปบัติ). ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิพยจักษุชื่อว่า วิสุทธิ เพราะความเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ โดยมองเห็นสัตว์ผู้จุติและอุปบัติ. อีกอย่างหนึ่ง ทิพยจักษุ ชื่อว่า วิสุทธิ เพราะเว้นจากอุปกิเลส ๑๑ อย่าง. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ทิพยจักษุ ชื่อว่าบริสุทธิ์ แล้ว เพราะไม่เข้าไปเศร้าหมองด้วยอุปกิเลส ๑๑ อย่าง ที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนอนุรุทธะ เพราะเรารู้ว่า วิจิ- กิจฉาเป็นอุปกิเลสของจิต ดังนี้ แล้วจึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย รู้ว่าอโยนิโสมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความเย่อหยิ่ง ความชั่วร้าย ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป เป็นอุปกิเลสของจิต ดังนี้แล้ว จึงละถีนมิทธะ ฯลฯ ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป อันเป็นอุปกิเลส ของจิตเสีย * ดังนี้. ชื่อว่าก้าวล่วงจักษุอันเป็นของมนุษย์ เพราะเห็นรูปได้ไกล. เกินกว่า (ทัสสนวิสัย) อันเป็นอุปจารของมนุษย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าก้าวล่วงจักษุอันเป็นของมนุษย์ เพราะก้าวล่วงมังสจักษุอันเป็นของมนุษย์. ด้วย ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงเสียซึ่งจักษุของมนุษย์นั้น. บทว่า สตฺเต ปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็นคือมองดู ได้แก่เล็งเห็นหมู่สัตว์ทั้งหลาย เหมือนมนุษย์ มองดูด้วยมังสจักษุ.
ในบทว่า จวมาเน อุปปชฺชมาเน นี้ ท่านแสดงความว่า ใน
* ม. ๑๔/๓๐๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 631
ขณะที่จุติ หรือในขณะที่อุปบัติ พระอริยบุคคลไม่สามารถเพื่อจะเห็นได้ แม้ ด้วยจักษุอันเป็นทิพย์ แต่สัตว์เหล่าใดใกล้จะจุติ (หรือ) จักจุติในบัดนี้ สัตว์ เหล่านั้น ท่านประสงค์เอาว่ากำลังจุติ และสัตว์เหล่าใด ถือปฏิสนธิแล้ว หรือ เกิดแล้วในบัดเดี๋ยวนี้ สัตว์เหล่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า กำลังอุปบัติ พระ อริยบุคคลย่อมเห็นสัตว์เหล่านั้นผู้กำลังจุติ ผู้กำลังอุปบัติเห็นปานนี้. บทว่า หีเน ความว่า น่าดูหมิ่น น่าดูแคลน ด้วยสามารถแห่งชาติ ตระกูล และ โภคะเป็นต้น เพราะประกอบไปด้วยผลของโมหะ. บทว่า ปณีเต ความว่า ตรงข้ามกับความเลวทรามนั้น เพราะประกอบไปด้วยผลของอโมหะ. บทว่า สุวณฺเณ ความว่า ประกอบแล้วด้วยวรรณะอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอ ใจ เพราะประกอบด้วยผลของอโทสะ. บทว่า ทุพฺพณฺเณ ความว่า ประ กอบไปด้วยวรรณะอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพราะประกอบไปด้วยผลของโทสะ. อธิบายว่า มีรูปงาม มีรูปชั่ว. บทว่า สุคเต ความว่า ไปสู่สุคติ (ได้ดี) หรือมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก เพราะประกอบไปด้วย วิบากคืออโลภะ. บทว่า ทุคฺคเต ความว่า ไปสู่ทุคติ (ตกยาก) หรือ ยากจน มีน้ำและข้าวไม่บริบูรณ์ เพราะประกอบไปด้วยผลคือโลภะ. บทว่า ยถากมฺมูปเค ความว่า ในหมู่สัตว์ผู้ไปตามกรรม ตามที่ตนสั่งสมไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น กิจของทิพยจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยบทมีอาทิว่า ปุริเมหิ จวมาเน ดังนี้. ก็ด้วยบทนี้ เป็นอันพระองค์ตรัส ถึงกิจของญาณที่ต้องเข้าไปกำหนดว่าสัตว์ทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม. และ ลำดับแห่งการบังเกิดขึ้นนี้ของญาณนั้น ดังนี้. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญ อาโลกกสิณ มุ่งหน้าตรงไปยังนรกเบื้องล่าง ย่อมเห็นเหล่าสัตว์นรก กำลังเสวย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 632
ทุกข์อย่างมหันต์ การเห็นนี้เป็นกิจของทิพยจักขุญาณอย่างเดียว. ก็ภิกษุนั้น มนสิการอยู่อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้กระทำกรรมอะไรหนอแล จึงเสวยทุกข์เช่น นี้. ลำดับนั้น ญาณมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ว่ากระทำกรรมชื่อนี้ จะเกิด แก่ภิกษุนั้น. ในเบื้องบนก็เหมือนกัน ภิกษุเจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าตรง ไปยังเทวโลก ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายในสวนนันทนวัน มิสสกวัน และ ปารุสกวันเป็นต้น กำลังเสวยสมบัติอยู่ แม้การเห็นนี้ ก็จัดเป็นกิจของทิพยจักขุญาณเหมือนกัน. ภิกษุนั้นมนสิการอยู่อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้กระทำกรรม อะไรหนอแล จึงเสวยสมบัตินี้. ลำดับนั้น เธอจะเกิดญาณที่มีกรรมนั้นเป็น อารมณ์ว่า ทำกรรมชื่อนี้. นี้ชื่อว่า ยถากมฺมูปคญาณ (ญาณที่จะต้องเข้า ไปกำหนดว่าสัตว์ทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม) และแม้ยถากัมมูปคญาณนี้ ก็ไม่มีการแยกบริกรรม แม้อนาคตังสญาณก็ไม่มีการแยกบริกรรม เหมือน ยถากัมมูปคญาณฉะนั้น. อธิบายว่า ญาณเหล่านี้มีทิพยจักษุเป็นบาททั้งนั้น ย่อมสำเร็จพร้อมกันกับทิพยจักษุ. คำใดที่จะต้องกล่าวในบทมีอาทิว่า กายทุจฺจริเตน คำนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้หมดแล้วในหนหลัง.
ในวาระนี้ วิชชาที่สัมปยุตด้วยทิพยจักขุญาณ ชื่อว่า วิชชา. อวิชชา ที่ปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายไว้ ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัย ดังกล่าวแล้วทั้งหมด. ในตติยวาร วิชชาที่สัมปยุตด้วยอรหัตตมรรคญาณ ชื่อว่า วิชชา. อวิชชาที่ปกปิดสัจจธรรมทั้ง ๔ ไว้ ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือเข้าใจ ได้ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวไว้แล้วในหนหลัง. บทว่า เอวํ โข เป็นต้น เป็นนิคมนพจน์
ในพระคาถาทั้งหลาย มีความย่อดังต่อไปนี้ ภิกษุใดได้รู้แล้วคือบรรลุ ซึ่งบุพเพนิวาสญาณ ตามที่กล่าวแล้ว ได้แก่รู้โดยกระทำให้ปรากฏ ตามนัย ทีกล่าวแล้ว. ปาฐะเป็น โย เวทิ ก็มี. อธิบายว่า ภิกษุใดกระทำบุพเพ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 633
นิวาสญาณให้ปรากฏ ดำรงอยู่แล้ว. ภิกษุย่อมเห็นสวรรค์ กล่าวคือเทวโลก ๒๖ ชั้น และอบาย ๔ อย่าง ด้วยทิพยจักษุ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
บทว่า อถ ความว่า ต่อแต่นั้น เธอถึงคือบรรลุพระอรหัตกล่าวคือ ความสิ้นไปแห่งชาติ หรือพระนิพพานนั่นเอง ลำดับนั้น เธอรู้สัจจธรรมทั้ง ๔ อันพระอริยบุคคลพึงรู้ด้วยมรรคปัญญา ที่ตั้งมั่นเพราะอภิญญา ชื่อว่าอยู่จบ พรหมจรรย์ คือประสบความสำเร็จแล้ว เพราะเสร็จกิจแล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี คือเป็นพระขีณาสพ เพราะประกอบด้วยโมไนยธรรม ย่อมชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้มีวิชชา ๓ เพราะประกอบด้วยวิชชา ๓ ตามที่กล่าวแล้วเหล่านี้ และเพราะ ลอยบาปได้แล้ว โดยประการทั้งปวง ด้วยวิชชาที่ ๓ ต่อแต่นั้น เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เราตถาคตจึงเรียกภิกษุนั้นแหละ ว่าเป็นพราหมณ์ผู้มีวิชชา ๓ แต่เราตถาคตไม่เรียกคนอื่น คือคนผู้มีการกล่าวตามที่เขาเรียกขาน ได้แก่ บุคคลอื่นผู้ท่องบทแห่งมนต์ มียชุเพทเป็นต้น ว่าเป็นพราหมณ์ผู้มีวิชชา ๓.
ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พึงทราบว่า ในวรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะไว้ในสูตรที่ ๒ ตรัสวิวัฏฏะไว้ในสูตรที่ ๕ ที่ ๘ และที่ ๑๐ ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในพระสูตรนอกนี้.
จบอรรถกถาธรรมสูตรที่ ๑๐
จบวรรควรรณนาที่ ๕
จบอรรถกถาติกนิบาต อิติวุตตกะ
ในอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อว่าปรมัตถทีปนี
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปสาทสูตร ๒. ชีวิตสูตร ๓. สังฆาฎิสูตร ๔. อัคคิสูตร ๕. อุปปริกขยสูตร ๖. อุปปัตติสูตร ๗. กามสูตร ๘. กัลยาณสูตร ๙. ทานสูตร ๑๐. ธรรมสูตร และอรรถกถา.