คำว่า "ทุมมังกุ" มีที่มาอย่างไรในพระไตรปิฎกครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า ทุมมังกุ (ทุมฺมงฺกุ) แปลเป็นไทย ก็คือ ภิกษุผู้เก้อ ยาก มีปรากฏในพระไตรปิฎก ซึ่งหมายถึง ภิกษุผู้หน้าด้าน ผู้ไม่ละอาย เป็นผู้ทุศีล มีความประพฤติผิด ซึ่งเป็นผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ แล้วไม่ยอมรับ และยังรุกรานสงฆ์อีก ด้วยถ้อยคำว่า "เรื่องอะไรที่พวกท่านเห็นมาแล้ว เรื่องอะไรที่พวกท่านได้ฟังมาแล้ว สิ่งอะไรที่พวกข้าพเจ้าทำแล้ว พวกท่านยกอาบัติไหน ในเพราะวัตถุอะไรขึ้นข่มพวกข้าพเจ้า"
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอาศัยอานาจประโยชน์หลายประการในการทรงบัญญัติสิกขาบท หนึ่งในนั้น คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ตามข้อความใน [เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๓๗ - ๗๓๘ ดังนี้
"หลายบทว่า ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย ความว่า บุคคลผู้ทุศีล ชื่อว่า บุคคลผู้เก้อยาก, ภิกษุเหล่าใด แม้อันภิกษุทั้งหลายจะให้ถึงความเป็นผู้เก้อ ย่อมถึง ได้โดยยาก, กำลังกระทำการละเมิด หรือกระทำแล้ว ย่อมไม่ละอาย, เพื่อประโยชน์แก่อันข่มภิกษุเหล่านั้น.
จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น เมื่อสิกขาบทไม่มี จักเบียดเบียนสงฆ์ ด้วยถ้อยคำว่า เรื่องอะไรที่พวกท่านเห็นมาแล้ว เรื่องอะไรที่พวกท่านได้ฟังมาแล้ว สิ่งอะไรที่พวกข้าพเจ้าทำแล้ว พวกท่านยกอาบัติไหนในเพราะวัตถุอะไรขึ้นข่มพวกข้าพเจ้า, ก็เมื่อสิกขาบทมีอยู่ สงฆ์จักอ้างสิกขาบทแล้วข่มภิกษุพวกนั้น โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสนา (คำสอนของพระศาสดา) . เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เพื่อข่มเหล่าบุคคลผู้เก้อยาก"
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาครับ
อนุโมทนาสาธุด้วยครับ