ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 165
อรรถกถาวรรคที่ ๒ ๑
ในบทว่า อปุพฺพํ อจริมํ นี้ กาลก่อนแต่จักรรัตนะปรากฏ ชื่อ ว่า ปุพฺพํ ก่อนภายหลังแต่จักรรัตนะนั้นนั่นแลอันตรธาน ชื่อว่า จริมํ ภายหลัง ในคำนั้น จักรรัตนะอันตรธานย่อมมี ๒ ประการ คือ
พระเจ้าจักรพรรดิสวรรคตหรือทรงผนวช. ก็แต่ว่าการอันตรธานนั้น จะอันตรธานในวันที่ ๗ แต่การสวรรคตหรือแต่การทรงผนวช. เบื้อง หน้าแต่นั้นไป ไม่ห้ามการปรากฏขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเจ้าจักรพรรดิจึงไม่ทรงอุบัติพร้อมกัน ๒ พระองค์ในจักรวาลเดียวกัน? ตอบว่า เพราะจะตัดการวิวาท เพราะ ไม่น่าอัศจรรย์ และเพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก. ด้วยเหตุว่า พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์ทรงอุบัติขึ้น ความวิวาทก็จะพึงเกิดขึ้นว่า
พระบาลีข้อ ๑๖๓-๑๖๙
ราชาของพวกเราเป็นใหญ่ พระราชาของเรา (ต่างหาก) เป็นใหญ่ และจะพึงไม่น่าอัศจรรย์ด้วยสำคัญว่า เป็นจักรพรรดิในทวีปเดียว เป็น จักรพรรดิในทวีปเดียว อนึ่ง ความมีอนุภาพมากของจักรรัตนะที่สามารถ มอบความเป็นใหญ่ให้ในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารแม้ นั้นก็จะเสื่อมไป. พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์ ไม่อุบัติในจักรวาลเดียวกัน ก็เพราะจะตัดความวิวาท ๑ เพราะไม่น่าอัศจรรย์ ๑ และเพราะจักรรัตนะ มีอานุภาพมาก ๑ ด้วยประการฉะนี้
ในบทเหล่านี้ว่า ยํ อิตฺถี อรหํ อสฺส สมฺมาสมฺพุทฺโธ ดังนี้ พุทธภาพความเป็นพระพุทธเจ้าที่สามารถให้สัพพัญญูคุณเกิดแล้วรื้อขึ้น สัตว์ออกจากโลกจงพักไว้ก่อน. สตรีแม้เพียงตั้งความปรารถนา ก็ย่อม ไม่สำเร็จพร้อม (เป็นพระพุทธเจ้า) . เหตุเป็นเครื่องตั้งความปรารถนาให้สำเร็จเหล่านี้ คือ
มนุสฺสตฺตํ ลิงฺคสมฺปตฺตํ เหตุ สตฺถารทสฺสน ปพฺพชฺขา คุณสมฺราตฺติ อธิการโร จ ฉนฺตตรา อฏฺฐธมฺนสโนธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติ. อภินิหารย่อมสำเร็จเพราะประชุมธรรม ๘ ประการ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วย เพศ (บุรุษ) ๑ เหตุ (คืออุปนิสัยอันเป็นเหตุ สร้างกุศลมาก) ๑ การได้พบพระศาสดา ๑ การ ได้บรรพชา ๑ ครามถึงพร้อมด้วยคุณ (มีฌาน สมาบัติเป็นต้น) ๑ อธิการ (คือบุญญาภิสมภารอันยิ่งเช่นบำเพ็ญปัญจมหาบริจาค) ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ (ในพระโพธิญาณ) ๑
สตรีไม่สามารถทำแม้ปณิธาน คือการตั้งความปรารถนาดังกล่าวมานี้ ให้สำเร็จได้ พุทธภาพความเป็นพระพุทธเจ้าจะมีได้แต่ไหน เพราะเหตุ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สั่งสมบุญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส. การสั่งสมบุญ อันบริบูรณ์โดยอาการทั้งปวงเท่านั้น ย่อมทำอัตภาพอันสมบูรณ์ด้วยอาการ ทั้งปวงให้บังเกิดเพราะเหตุนั้น บุรุษจึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้.
แม้ในบทที่ว่า น อิตฺถี ราชา อสฺส จกฺกวตฺติ ดังนี้เป็นต้น มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่ลักษณะทั้งหลายของสตรีไม่ครบถ้วน เพราะสตรี ไม่มีของลับอันเป็นวัตถุที่ตั้งอยู่ในฝัก รัตนะ ๗ ประการก็ไม่ถึงพร้อม เพราะไม่มีอิตถีรัตนะ ทั้งอัตภาพอันยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งปวงก็ไม่มี ฉะนั้น จึงตรัสว่า ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ดังนี้ .อนึ่ง เพราะเหตุฐานะทั้ง ๓ มีความเป็นท้าวสักกะเป็นต้น เป็น ฐานะสูงส่ง ส่วนเพศสตรีเป็นเพศต่ำ ฉะนั้น สตรีนั้นจึงเป็นท้าวสักกะ เป็นต้น ไม่สำเร็จเด็ดขาด. ถามว่า แม้เพศบุรุษก็ไม่มีในพรหมโลก เหมือนเพศสตรีมิใช่หรือ. เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า ข้อที่บุรุษ พึงครอบครองความเป็นพรหมนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ตอบว่า ไม่ควร กล่าวหามิได้. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะบุรุษในโลกนี้ บังเกิดในพรหมโลกนั้นได้.
ก็ในบทว่า พฺรหฺมตฺตํ ท่านหมายเอาความเป็นท้าวมหาพรหม. อนึ่ง สตรีบำเพ็ญฌานโลกนี้ กระทำกาละ (ตาย) ไปแล้ว ย่อม
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 168
เข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกพรหมปาริสัชชา (พรหมที่เป็นบริษัท) ไม่เข้าสงความเป็นท้าวมหาพรหม ส่วนบุรุษไม่พึงกล่าวว่าไม่เกิดในพรหม โลกนั้นอนึ่ง ในพรหมโลกนั้น แม้เพศทั้งสองจะไม่มี พรหมทั้งหลายก็ มีสัณฐานทรวดทรงเหมือนบุรุษทั้งนั้น ไม่มีสัณฐานทรวดทรงเหมือนสตรี เลย เพราะฉะนั้น พระดำรัสที่ตรัสไว้นั้น เป็นตน เป็นอันตรัสไว้ดีแล้วนั่นแล.
ในบทว่า กายทุจฺจริตสฺส เป็นต้น มีอธิบายว่า พืชสะเดา และบวบขม ย่อมไม่ทำผลมีรสหวานให้บังเกิด ได้แต่ทำผลอันมีรสไม่น่า ชอบใจไม่มีรสหวานให้บังเกิดอย่างเดียว ฉันใด กายทุจริตเป็นต้น ย่อม ไม่ทำผลอันมีรสอร่อยให้บังเกิด ย่อมทำผลอันไม่อร่อยเท่านั้นให้บังเกิด ฉันนั้น พืชอ้อยและพืชข้าวสาลีย่อมให้ผลมีรสหวานอร่อยทั้งนั้นให้บังเกิด ย่อมไม่ทำผลที่ไม่แช่มชื่น ผลเผ็ดร้อนให้บังเกิด ฉันใด กายสุจริต เป็นต้น ย่อมทำวิบากผลอันอร่อยทั้งนั้นให้บังเกิด ไม่ทำผลที่ไม่อร่อยให้ บังเกิด ฉันนั้น. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น คน สาเหตุดี ย่อมได้ผลดี ส่วนคนทำเหตุชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว.
เพราะฉะนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อฏฺฐานเมตํ ภิกฺขเว อนวกาโส ยํ กายทุจฺจริตสฺ ส ดังนี้ .
ความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียง ๕ อย่าง คือ ความเป็นผู้มีความ พร้อมเพรียงด้วยการสั่งสม ๑ ความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยเจตนา ๑ ความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกรรม ๑ ความเป็นผู้มีความพร้อม เพรียงด้วยวิบาก ๑ ความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความปรากฏ ๑ ชื่อว่าเป็นผู้มีความพร้อมเพรียง ในบทว่า กายทุจฺจริตสมงฺคี ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียง อย่างนั้น ความเป็นผู้มี ความพร้อมเพรียงในขณะสั่งสมกุศลกรรมและอกุศลกรรม ท่านเรียกว่า ความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยการสั่งสม. ความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียง ด้วยเจต นา ก็เหมือนกัน. ก็สัตว์ทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัตเพียงใด สัตว์แม้ทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยเจตนา เพราะเป็น ผู้พร้อมเพรียงด้วยเจตนาที่สะสมเอาไว้ในกาลก่อนเพียงนั้น นี้ชื่อว่า ความ เป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยเจตนา.
สัตว์แม้ทั้งปวง ท่านเรียกว่าเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรม เพราะหมายเอากรรมที่ควรแก่วิบากซึ่งได้สะสมเอาไว้ในกาลก่อน ตราบ เท่าที่ยังไม่บรรลุพระอรหัต นี้ ชื่อว่าความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยกรรม . ความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยวิบาก พึงทราบเฉพาะในขณะแห่ง วิบากเท่านั้น. ก็สำหรับเหล่าสัตว์ที่จุติจากภพนั้นๆ ไปเกิดในนรกก่อน นรกย่อมปรากฏโดยอาการปรากฏทั้งหลายมีเปลวไฟและหม้อโลหกุมภี เป็นต้น. สำหรับเหล่าสัตว์ผู้จะต้องถึงความเป็นคัพภไสยกสัตว์ ครรภ์ของ มารดาย่อมปรากฏ. สำหรับเหล่าสัตว์ผู้จะเกิดในเทวโลก เทวโลกย่อม ปรากฏโดยอาการที่ปรากฏต้นกัลปพฤกษ์และวิมานเป็นต้น อุปบัตินิมิตย่อม ปรากฏอย่างนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้ ตราบเท่าที่เหล่านั้นยังไม่บรรลุพระ อรหัต ดังนั้น ความที่สัตว์เหล่านั้นยังไม่พ้นจากความปรากฏแห่งอุปบัตินิมิตนี้ จึงชื่อว่าความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยความปรากฏ ความเป็นผู้ พร้อมเพรียงด้วยความปรากฏนั้นไม่แน่นอน. ส่วนความเป็นผู้มีความ พร้อมเพรียงที่เหลือ (๔ ประการ) แน่นอน. จริงอยู่ แม้เมื่อนรก ปรากฏขึ้นแล้ว เทวโลกก็ปรากฏขึ้นได้ แม้เมื่อเทวโลกปรากฏขึ้นแล้ว นรกก็ปรากฏขึ้นได้ แม้เมื่อมนุษยโลกปรากฏแล้ว เดียรฉานกำเนิดก็ ปรากฏได้ และแม้เมื่อเดียรฉานกำเนิดปรากฏแล้ว มนุษยโลกก็ปรากฏ ขึ้นได้เหมือนกัน.
ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง :-
ได้ยินว่า มีพระธรรมกถึกรูปหนึ่ง ชื่อว่า โสณเถระ อยู่ใน เขลวิหาร ใกล้เชิงเขาโสณคีรี. บิดาของท่านชื่อว่า สุนขราชิก . พระ เถระแม้จะห้ามบิดาก็ไม่สามารถจะให้อยู่ในความสังวรได้ คิดว่า คนผู้ ยากไร้อย่าฉิบหายเสียเลย ดังนี้ จึงให้ท่านบิดาบวชในตอนแก่ทั้งที่ไม่อยาก บวช. นรกปรากฏแก่ท่านผู้นอนอยู่บนที่นอนสำหรับคนป่วย. พวกสุนัขตัว ใหญ่ๆ มาจากเชิงเขาโสณคีรี รุมล้อมทำทีดังจะกัดกิน. ท่านกลัวต่อ มรณภัยจึงกล่าวว่า พ่อโสณะ ห้ามที พ่อโสณะ ห้ามที. พระโสณะ ถามว่า ห้ามอะไร ท่านมหาเถระ. พระเถระผู้บิดาพูดว่า พ่อไม่เห็นหรือ แล้วบอกเรื่องราวนั้น. พระโสณเถระคิดว่า บิดาของคนเช่นเรา จักเกิด ในนรกได้อย่างไรเล่า แม้เราก็จักเป็นที่พึ่งของท่าน ดังนี้แล้ว จึงสั่ง สามเณรทั้งหลายให้นำดอกไม้นานาชนิดมา แล้วทำเครื่องบูชาที่ตั้งกับพื้น และเครื่องบูชาบนแท่น ที่ลานพระเจดีและลานโพธิ์ แล้วให้บิดานั่งบน เตียง พูดว่า เครื่องบูชานี้ พระมหาเถระทำเพื่อประโยชน์แก่ท่าน ท่าน จงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เครื่องบรรณาการของคนยากนี้ เป็นของข้าพระองค์ ดังนี้ แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำจิตให้ เลื่อมใสเถิด. พระมหาเถระเห็นเครื่องบูชาแล้วจึงกระทำตามนั้น ทำจิต ให้เลื่อมใสแล้ว ในขณะนั้นเองเทวโลกปรากฏแก่ท่าน สวนนันทวัน สวนจิตรลดาวัน สวนมิสกวัน และวิมานทั้งหลาย กับทั้งเทพนักฟ้อนรำ ได้เป็นประหนึ่งว่าห้อมล้อมอยู่. พระมหาเถระพูดว่า หลีกไป พ่อโสณะ. พระโสณะถามว่า นี้เรื่องอะไรกัน. พระมหาเถระพูดว่า นั่นมารดาของ ลูกกำลังมา. พระเถระคิดว่า สวรรค์ปรากฏแก่พระมหาเถระแล้ว.
พึงทราบว่า ความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยการปรากฏ ย่อมไม่แน่ นอนตัว ประการอย่างนี้. ในควานเป็นผู้พร้อมเพรียงเหล่านี้ คำว่าความ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยกายทุจริต ดังนี้เป็นต้น ตรัสไว้ในที่นี้ ก็ด้วย อำนาจความพร้อมเพรียงด้วยการสั่งสม เจตนา และกรรม และด้วย อำนาจความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยกายทุจริต. ในคำว่า ความเป็นผู้พร้อม เพรียงด้วยกายทุจริ ต เป็นต้นนั้น ท่านอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ในขณะ ใด เขาสั่งสมเอากรรมไว้ ในขณะนั้นแหละไม่ห้ามสวรรค์สำหรับเขา. ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ธรรมดากรรนอันเป็นเครื่องประมวลมา ได้วาระคือคราวให้วิบากบ้าง ไม่ได้บ้าง มีอยู่ ในเรื่องกรรมอันเป็น เครื่องประมวลมานั้นโนกาลใด กรรมได้วาระไห้วิบากในกาลนั้นเท่านั้น จึงห้ามสวรรค์สำหรับเขา. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาวรรคที่ ๒
จบอรรถกถาอัฏฐานบาลี
วรรคที่ ๓ ๑
ว่าด้วยฐานะและอฐานะ
[๑๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่ น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งกายสุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่ โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งกายสุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งวจีสุจรติจะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งวจีสุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอัน ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งมโนสุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งมโนสุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อม ด้วยกายทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะ ความเพียบพร้อมด้วยกายทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพียบพร้อม ด้วยกายทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
๑. วรรคที่ ๓ ไม่มีอรรถกถาแก้.
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 173
[๑๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อม ด้วยวจีทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะความ เพียบพร้อมด้วยวจีทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่ โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วย วจีทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ ความเพียบพร้อมด้วยวจีทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อม ด้วยมโนทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะความ เพียบพร้อมด้วยมโนทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่ โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วย มโนทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยมโนทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาบ ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อม ด้วยกายสุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเช้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคล ผู้เพียบพร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
จบวรรคที่๓
จบอัฏฐานบาลี
ยาทิสัง วะปะเตพีชัง ตาทิสังละภะผลัง กัลยาณะการี กัลยาณัง ปาปะการี จะปาปะกังคนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น คนทำเหตุดี ย่อมได้ผลดี ส่วนคนทำเหตุชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
อนุโมทนาขอบพระคุณค่ะ
ยังมึ อฐาน และ ฐาน อีกคือ ทาน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะและย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ
ชาณุสโสณีสูตร - ฐานะ และ อฐานะ
ขอกล่าวถึงข้อความใน อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ชาณุสโสณีสูตร ซึ่งจะทำให้ท่านได้เข้าใจข้อความตอนนี้เพิ่มเติม เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสกับชาณุสโสณีพราหมณ์ว่า ทานที่อุทิศให้ผู้ล่วงลับย่อมสำเร็จในฐานะ และย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ
อฐานะ คือ ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลที่เกิดในนรก สัตว์ดิรัจฉาน มนุษย์ เทวโลก
ส่วนฐานะนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกร พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ และอกุศลธรรมอื่นๆ ไปจนถึงมีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย