อิสสา
โดย บ้านธัมมะ  11 ต.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 5079

อิสสา

ขณะใดที่อิสสา คือริษยา ขณะนั้นก็ไม่เป็นมิตรกับผู้ที่ถูกริษยาแน่นอน ฉะนั้นในวันหนี่งๆ ผู้เจริญเมตตาจริงๆ จึงต้องระลึกรู้ลักษณะอาการสนิทสนม ที่จะต้องปราศจากความริษยาในบุคคลอื่นๆ ด้วย

ในอัฏฐสาลินี อธิบายนิทเทส

อิสสาสัญโญชน์

[๑๑๒๖] มีข้อความวินิจฉัยความหมายของริษยา (อิสสาสัญโญชน์) ว่า คำว่า"การริษยา" ในลาภสักการะ การกระทำความเคารพ การนับถือ การไหว้ การบูชา ของคนอื่นอันใดนั้น ความว่า การริษยาซึ่งมีการขึ้งเคียดสมบัติของคนอื่นเป็นลักษณะว่า "จะประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้แก่คนเหล่านี้" ในลาภเป็นต้นของคนเหล่าอื่นอันใด

พระโสดาบันบุคคล ดับความริษยาเป็นสมุจเฉท เพราะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครสามารถบันดาลลาภสักการะความเคารพนับถือ การไหว้ การบูชา ของบุคคลอื่นได้ แต่จะต้องมีเหตุปัจจัยที่ทำให้แต่ละบุคคลได้ลาภสักการะ การเคารพนับถือ กราบไหว้ บูชาจากบุคคลอื่น

ฉะนั้น จึงไม่ควรที่จะริษยาใครเลย ขณะใดที่ริษยา ขณะนั้นไม่ใช่เมตตา ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา กุศลธรรม และอกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ผู้ที่ไม่ใช่พระอริยบุคคล ยังริษยาได้แม้บุคคลที่เป็นวงศาคณาญาติมิตรสหาย ไม่ใช่ริษยาแต่เพียงบุคคลอื่นเท่านั้น

ขอเชิญเปิดอ่าน...

..จากหนังสือ เมตตา



ความคิดเห็น 1    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 11 ต.ค. 2550

อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย ตุลา  วันที่ 11 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย Komsan  วันที่ 12 ต.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 4    โดย orawan.c  วันที่ 12 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 5    โดย wannee.s  วันที่ 12 ต.ค. 2550

คนที่อิสสาทำให้ตกนรก ภายหลังกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ทำให้เกิดในตระกูลต่ำค่ะ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 6    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 15 ก.ย. 2557

ขอบพระคุณ สาธุ

อนุโมทนา ค่ะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

จาก ใหญ่ราชบุรี – ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี


ความคิดเห็น 7    โดย chatchai.k  วันที่ 26 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ