สนทนา ไทย - ฮินดี วันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๗
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 367
[๖๔] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่าย ไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.
[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
[๓๓๐] สัทธรรม ๗ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้มีพหูสูต
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง
๗. เป็นผู้มีปัญญา.
คุณสุคิน: พอดีวันนั้นอาคิ่ลโทรมาถามถึงความหมายของสติปัฏฐาน ผมเลยพูดถึงว่า ความหมายตรงนี้ ก็คือมีความหมายต่างๆ กัน หนึ่งในนั้น ก็คือความจริงที่ปรากฏอยู่ตรงนี้เป็นฐานของสติ และปัญญา
ผมเลยเอาศัพท์นี้ สติปัฏฐาน เป็นตัวอย่างให้รู้ว่า การศึกษาธรรม ก็คือไม่ใช่ศึกษาจากตัวหนังสือ จากเล่มนั้นเล่มนี้ แต่ว่ามีใครพูดมา เราจำคำพูดนั้นไว้แต่ว่าธรรมที่ปรากฏอยู่นี้ นี่คือศึกษา ก็คือศึกษาธรรมที่กำลังปรากฏอยู่ครับ
ท่านอาจารย์: เริ่มรู้จักพระพุทธเจ้าหรือยัง?
อาช่า: เริ่มค่ะ
ท่านอาจารย์: ถ้าคิดว่า เริ่มรู้จักวิตกแล้ว แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร อะไรถูก?
อาช่า: พระพุทธองค์ตรัสถูก
ท่านอาจารย์: เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยัง?
คุณสุคิน: ทั้งอาช่า และอาคิ่ลก็กล่าวชม แล้วก็พูดว่า คุณของพระพุทธองค์นี่เยอะขนาดไหน ผมก็บอกว่า นี่ก็ยังไม่ตรงไม่เท่าคนที่รู้จริงๆ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เข้าใจธรรม ไม่รู้จักธรรม รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม? หนทางเดียวที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เคารพพระองค์เพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อยเมื่อได้เข้าใจธรรมเท่านั้น
เพราะฉะนั้น เราพูดถึงธรรมที่สงบ สัทธรรม ๗ เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจ คำว่า สัทธรรมะ ก่อนว่าคืออะไร?
เพราะฉะนั้น ต้องศึกษาทีละหนึ่งใช่ไหม? ถ้าไม่รู้จัก สัทธรรม ๗ จะบอกว่าคนนั้นสงบคนนี้สงบได้ไหม?
อาช่า: ไม่รู้ว่าใครสงบ
ท่านอาจารย์: คุณอาคิ่ลสงบไหม?
อาคิ่ล: ไม่สงบ
ท่านอาจารย์: ทำไมไม่สงบ รู้จักสงบหรือ?
อาคิ่ล: ไม่รู้จัก
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ขณะที่ไม่รู้จัก ไม่สงบเลย เพราะฉะนั้น เมื่อฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสามารถจะรู้ได้ว่า สงบหรือเปล่า และสงบจริงๆ หรือเปล่า?
ขอเชิญอ่านได้ที่ ...
องค์ธรรมของความสงบของจิต
ความสงบในชีวิตประจำวัน
ขอเชิญฟังได้ที่ ...
พระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความสงบทั้งปวง
สมถะคือความสงบ มีความต่างกัน ๒ ประเภท
คุณนามที่ใครก็มีไม่ได้
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ