ขออนุญาตเรียนถามท่านวิทยากรว่า คำว่า "ทิฏฐิที่เสมอกัน" มีกล่าวไว้ในอรรถกถาหรือไม่ และมีความหมายอย่างไรครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
คำว่า ทิฏฐิเสมอกัน หมายถึง มีความเห็นถูกต้องตรงกัน เหมือนกัน ส่วนใหญ่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาหมายถึงสัมมาทิฏฐิขั้นอริยะคือ สัมมาทิฏฐิของพระอริยบุคคล
ดังข้อความจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาตอนหนึ่งว่า
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำออกไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้แล
อรรถกถาขยายความว่า
บทว่า ยายํ ทิฏฐิ ได้แก่สัมมาทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยมรรค
บทว่าอริยา ได้แก่ ไม่มีโทษ
บทว่า นิยฺยาติ ได้แก่ นำทุกข์ออกไป
บทว่า ตกฺกรสฺส ได้แก่ ผู้กระทำอย่างนั้น.
บทว่า สพฺพทุกฺขกฺขยาย ได้แก่ เพื่อ ความสิ้นทุกข์ในวัฏฏะทั้งปวง
บทว่า ทิฏฐิสามญฺ คตา ความว่า จักเป็นผู้เข้าถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกันอยู่
ขอบคุณมากและขออนุโมทนาครับ
เป็นคำถามและคำตอบที่ดีมากครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
บางคนคบกันด้วยธาตุ เช่น มีศีลเสมอกัน มีทิฏฐิเสมอกัน ฯลฯ
ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ