เราจะทราบได้อย่างไรว่า การคิด พูด หรือลงมือทำอะไรสักอย่างของบุคคลหนึ่งแก่เรา เข้าข่ายเป็นกุศลหรืออกุศล มีหลักเกณฑ์ใดที่จะใช้วินิจฉัยกรรมที่บุคคลเคยทำ กำลังทำ และคิดจะทำหรือไม่
ตัววัดว่าการกระทำหนึ่งๆ เป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมอยู่ที่เจตนา คือ ถ้าเจตนา ดีเป็นกุศลกรรม ถ้าเจตนาไม่ดีเป็นอกุศลกรรม แม้ว่าดูภายนอกจะมีการกระทำเหมือน กันแต่เจตนาต่างกัน เช่น การหยิบสิ่งของมีค่าของผู้อื่นที่หล่นหรือลืมไว้ ถ้าหยิบเพื่อ เก็บไว้ให้เจ้าของเป็นกุศลเจตนา ถ้าหยิบเพื่อถือเอาเป็นของตน เป็นอกุศลเจตนา เป็นอกุศลกรรม แต่ถ้าถามว่าใครจะรู้ว่ามีเจตนาอย่างไร เป็นกุศลหรืออกุศล ตนเอง เท่านั้นรู้ ผู้อื่นรู้ไม่ได้ (เว้นแต่ผู้มีอภิญญาจิต) แต่ทางออกของกรรมมี ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อกุศลกรรมทางกายมี ๓ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติ ผิดในกาม ทางวาจามี ๔ คือ พูดเท็จ พูดส่อเสีอด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ทางใจ ๓ มีอภิชฌา มีพยาบาท มีความเห็นผิด ถ้าเป็นทางฝ่ายกุศลกรรมมีนัยตรงกันข้าม คือ เว้นจากทุจริตทางกาย ๓ เว้นจากทุจริตทางวาจา ๔ เว้นจากทุจริตทางใจ ๓ รวมเป็น กุศลกรรมบถ ๑๐
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจตนาที่เป็นกุศลจิตที่ช่วยไม่หวังอะไร หรือช่วยเพราะโลภะ ก็ได้ เช่น เขาอาจจะชอบพอเราก็เลยช่วยและอยากให้เราดีกับเขา เจตนานี้ก็เป็น อกุศล เจตนา เราก็ได้แต่เดา แต่จริงๆ กุศลจิตเกิดสลับกับอกุศลจิตก็ได้ บางที เขาอาจจะมีกุศลจิตที่ช่วยจริงๆ หลังจากนั้นก็มีอกุศลจิตแทรกก็ได้ แต่ผลของ กุศลทำให้เราได้เจอมิตรแท้ ผลของอกุศลก็ทำให้เราเจอคนเทียมมิตร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบุญ หรือกรรมที่จะได้เจอมิตรประเภทไหน
เจตนาเป็นตัวกรรม เจตนา เป็น เจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิต ทุกประเภท และ ทุก ขณะเจตนา ที่เกิดร่วมกับ กุศลจิต ก็เป็นกุศลเจตนา ที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต ก็เป็น อกุศลเจตนาจึงไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ที่กระทำกรรมดี และกรรมชั่ว แต่เป็นเพราะ สภาพธรรมนั้น เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย และกุศลจิต กับ อกุศลจิต ก็เกิดดับสลับกัน รวดเร็วมากในชีวิตประจำวัน อกุศลจิตเกิดมากมายนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะ โลภมูลจิตที่เป็นอุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ) ดังนั้น การที่จะทราบว่า ขณะให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น เป็นกุศลเจตนา หรืออกุศลเจตนา ผู้นั้นควรมีความสังเกต และพิจารณาสภาพธรรมขณะนั้นจึงจะทราบได้ และตัวเองเท่านั้นที่จะรู้ ผู้อื่นที่ไม่มีอภิญญาจิต ไม่สามารถรู้ได้ ครับ
ถ้าสมมติเจตนาต้องการให้เขามีความสุข แต่ผลที่ได้คือทำให้เขามีความทุกข์ หรือ มีความสุขจอมปลอมเพิ่มพูนกิเลสตัณหาแก่เขา โดยที่เราไม่ได้เจตนาให้เขาทำกรรม ที่ไปนรก แบบนี้เราได้ทำอกุศลกรรมหรือเปล่าคะ
ถ้ามีเจตนาดีจริงๆ คือ กุศลเจตนา เจตนาดีอย่างนี้ไม่มีโทษ แต่ถ้าเป็นผู้ไม่ฉลาดในสภาพจิตของตน คิดว่ามีเจตนาดี แต่ความจริงเป็นเจตนาที่ไม่ดี เช่น ให้สิ่งที่มีโทษหรือเห็นคนเจ็บป่วยทุกข์ทรมาน ช่วยให้ผู้ป่วยพ้นจากทุกข์ด้วยการทำให้เขาตายอย่างนี้ไม่ใช่เจตนาดี เข้าใจว่าเจตนาดี แต่จริงๆ แล้วเจตนาไม่ดี เพราะการให้สิ่งที่มีโทษและการฆ่าผู้อื่นไม่ใช่เจตนาดี เจตนาอย่างนี้มีโทษ เป็นอกุศล
เราจะทราบได้อย่างไรว่า การคิด พูด หรือลงมือทำอะไรสักอย่างของบุคคลหนึ่งแก่ เรา เข้าข่ายเป็นกุศลหรืออกุศล มีหลักเกณฑ์ใดที่จะใช้วินิจฉัยกรรมที่บุคคลเคยทำ กำลังทำ และคิดจะทำหรือไม่
การที่จะรู้ว่าบุคคลนั้น ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะเป็นกุศลหรืออกุศลนั้น คนนั้นจะต้องมีปัญญา ตรงนี้สำคัญที่สุด ถ้าไม่มีปัญญาแล้่ว เราก็จะไปเหมาเอาว่า การกระทำ พูด หรือ คิดของบุคคลนี้ที่มีกับเรา เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศลทั้งหมด ขาดปัญญาไม่ได้ และอีกประการหนึ่งเมื่อยังเป็นปุถุชน ก็ย่อมมีกิเลส แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ปุถุชน กุศลจะเกิดไม่ได้เลย บางขณะ ทำด้วยอกุศล หรือบางขณะก็ทำด้วยกุศล ความหวัง ดีจริงๆ ก็ได้ครับ แต่ที่สำคัญเราจะรู้จักคนอื่น หรือการกระทำที่มีกับเรา ก็ต้องมีปัญญา และต้องใช้เวลานาน อย่าเพิ่งรีบตัดสินครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก ดังนี้
เชิญคลิกอ่านที่นี่...
ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ [ชฎิลสูตร]
อีกประการหนึ่ง คนที่จะรู้จักบุคคลนั้นว่าเป็นอย่างไร การกระทำนั้นเป็นกุศลหรืออกุศลต้องเป็นสัตบุรุษ ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่...
สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษ [จูฬปุณณมสูตร]
แต่ที่สำคัญที่สุด คือ เมื่อเราได้รับการกระทำทาง กาย วาจา ใจ จากบุคคลอื่นแล้ว จิตเป็นอย่างไร เป็นกุศล มีเมตตา หรือเป็นอกุศล ประโยชน์ของการศึกษาธัมมะคือการ พิจารณาจิตของตนเองครับ ควรมีเมตตากันนะ อบรมบารมีในชีวิตประจำวันครับ
ขออนุโมทนาครับ