คำว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ ความว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบคือพึงมีสติเดิน พึงมีสติยืน พึงมีสตินั่ง พึงมีสตินอนพึงมีสติก้าวไปข้างหน้า
๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๖๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 37
พึงมีสติถอยกลับ พึงมีสติแลดู พึงมีสติเหลียวดู พึงมีสติคู้เข้า พึงมีสติเหยียดออก พึงมีสติทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร พึงมีสติเที่ยวไป พึงมีสติอยู่ คือ เป็นไป เปลี่ยนแปลง รักษา บำรุง เยียวยา ให้เยียวยาเพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าภิกษุไม่พึงติดใจในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง พึงมีสติเว้นรอบ.
[๙๙] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค)
ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน
ผู้มีฉันทะร่วมกัน มีประโยคร่วมกัน มีความประสงค์ร่วมกันมีความอบรมวาสนาร่วมกัน กับอชิตพราหมณ์นั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดาและจิตของอชิตพราหมณ์นั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้าลักจั่น น้ำ ผม และหนวดของอชิตพราหมณ์หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัต. อชิตพราหมณ์นั้น เป็นภิกษุ
ครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร เพราะการปฏิบัติตามประโยชน์นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบอชิตมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑
พึงมีสติเว้นรอบ คือมีสติทุกเมี่อ ทุกอิริยาบถเช่น ยืน เดิน นั่ง นอนก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับ แลดู เหลียวดู คู้เข้า เหยียดออกครองผ้าสังฆาฏิ บาตรจีวร พีงมีสติเที่ยวไป
พึงมีสติอยู่ในที่ทั่วไป กระทำกิจการงานทุกอย่าง คิดนึกทุกอย่างคือเป็นผู้มีปกติเจริญสติ เนืองๆ บ่อยๆ ปัญญาก็ค่อยๆ เจริญขึ้นจนบรรลุมรรคผล นิพพานได้
ขออนุโมทนาบุญครับ
ขออนุโมทนาค่ะ ผู้ไม่ประมาท ... คือไม่ผู้ปราศจากสติ.