พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า นำไปให้วิเศษด้วยธรรม มิใช่ด้วยอาชญา เป็นต้น, สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :- คนบางพวกฝึกด้วยท่อนไม้ ด้วยขอ และด้วยแส้ ทั้งหลาย พระผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ทรงฝึกผู้ประเสริฐ มิ ใช่ด้วยอาชญา มิใช่ด้วยศัสตรา. และว่า สำหรับผู้ฝึก โดยธรรม ผู้รู้แจ้งอยู่จะต้องขะมักเขม้นอะไร.
ผู้ฝึกตนเป็นผู้ประเสริฐค่ะ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่อง พระพุทธเจ้า ทรงฝึกสัตว์โลกทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าทรงฝึก ด้วย 3 วิธี คือ 1.วิธีละม่อม คือแสดงกุศลเป็นอย่างไรและผลของกุศลคืออย่างไร สวรรค์เป็นอย่างไร2.วิธีรุนแรงคือ อกุศลเป็นอย่างไร และผลของอกุศลคืออย่างไร นรกเป็นอย่างไร
3.วิธีทั้งละม่อมและรุนแรงคือ กุศลเป็นอย่างไร และผลของกุศลคืออย่างไร อกุศล เป็นอย่างไร และผลของอกุศลคืออย่างไร นรก สวรรค์เป็นอย่างไร เป็นต้น ถ้าสอนไม่ได้ ก็ฆ่าด้วยการ ไม่กล่าวพร่ำสอนอีกต่อไป
เรื่อง การฝึกของพระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 298 ข้อความบางตอนจาก เกสีสูตร
พ. ดูก่อนเกสี เราแล ย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง
รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง ดูก่อนเกสี ในวิธีทั้ง ๓ นั้น การฝึก
ดังต่อไปนี้ เป็นวิธีละม่อม คือ กายสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็น
ดังนี้ วจีสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นดังนี้ มโนสุจริตเป็นดังนี้
วิบากแห่งมุโนสุจริตเป็นดังนี้ เทวดาเป็นดังนี้ มนุษย์เป็นดังนี้ การฝึกดังต่อ
ไปนี้เป็นวิธีรุนแรง คือ กายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้
วจีทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นดังนี้ มโนทุจริตเป็นดังนี้ วิบาก
แห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้ นรกเป็นดังนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้ ปิตติวิสัย
เป็นดังนี้
การฝึกดังต่อไปนี้ เป็นวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง คือ กายสุจริต
เป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้ กายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกาย
ทุจริตเป็นดังนี้ วจีสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นดังนี้ วจีทุจริต
เป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นดังนี้ มโนสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโน-
สุจริตเป็นดังนี้ มโนทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้ เทวดา
เป็นดังนี้ มนุษย์เป็นดังนี้ นรกเป็นดังนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้
ปิตติวิสัยเป็นดังนี้.........................
ก็แต่ว่าบุรุษที่ควรฝึกใด ย่อมไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง
ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกนั้นว่า ควรว่ากล่าว
ควรสั่งสอน แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนก็ย่อมไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว
ควรสั่งสอน ดูก่อนเกสี ข้อที่ตถาคต ไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝีกว่า ควรว่ากล่าว
ควรสั่งสอนแม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว
ควรสั่งสอนนี้เป็นการฆ่าอย่างดี ในวินัยของพระอริย.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์