การบรรลุธรรม - พระภัททิยะ
โดย บ้านธัมมะ  1 ก.ย. 2549
หัวข้อหมายเลข 1980

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 245

ในกาลแห่งพระศาสดาของเราทั้งหลาย เขาบังเกิดในตระกูลที่มีโภคะมากโนกรุงสาวัตถี ไค้มีชื่อว่า ภัททิยะ แต่เพราะเป็นคนเตี้ย จึงปรากฏชื่อว่า ลกุณฑกภัททิยะ ลกุณฑกภัททิยะนั้น ได้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้ศรัทธาบวชแล้ว เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึกแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่นด้วยเสียงอันไพเราะ ครั้นในวันมหรสพวันหนึ่งหญิงคณิกาคนหนึ่ง ไปรถกับพราหมณ์คนหนึ่ง เห็นพระเถระ จึงหัวเราะจนเห็นฟัน พระเถระถือเอานิมิตในกระดูกฟันของหญิงนั้น แล้วทำฌานให้เกิดขึ้น กระทำฌานนั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาได้เป็นพระอนาคามี ท่านอยู่ด้วยกายคตาสติเป็นเนืองนิตย์ วันหนึ่ง อันท่านพระธรรมเสนาบดีโอวาทอยู่ ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 ก.ย. 2549

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 664

๒. ทุติยภัททิยสูตร

ว่าด้วยบุคคลตัดวัฏฏะได้แล้วย่อมสิ้นทุกข์

[๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร สำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ จึงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาโดยอเนกปริยายยิ่งกว่าประมาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระสารีบุตรสำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ ชี้แจงให้เห็นแจ้งให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา โดยอเนกปริยายยิ่งกว่าประมาณ ฯลฯ

ข้อความอธิบายจากอรรถกถา
บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย แปลว่า ยิ่งโดยประมาณ อธิบายว่า ยิ่งเกินประมาณ จริงอยู่ ท่านลกุณฏกภัททิยะ นั่งอยู่ตามเดิมนั่นแหละบรรลุธรรมเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยโอวาทแรกตามวิธีดังกล่าวในสูตรแรก ฝ่ายพระธรรมเสนาบดีไม่ทราบการบรรลุพระอรหัตนั้นของท่าน โดยมิได้คำนึงถึง สำคัญว่ายังเป็นพระเสขะอยู่ตามเดิม เหมือนบุรุษผู้มีใจกว้างขวาง เขาขอน้อยก็ให้มากฉะนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อสิ้นอาสวะ โดยอเนกปริยายยิ่งๆ ขึ้นไปทีเดียว. ฝ่ายท่านลกุณฏกภัททิยะมิได้คิดว่า บัดนี้ เราทำกิจเสร็จแล้ว จะมีประโยชน์อะไรด้วยโอวาทนี้ จึงฟังโดยเคารพเหมือนในกาลก่อนทีเดียว เพราะความเคารพในพระสัทธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นดังนั้น ประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎีนั่นแหละ ทรงกระทำโดยที่พระธรรมเสนาบดี รู้ธรรมเป็นที่สิ้นกิเลสของท่าน ด้วยพุทธานุภาพ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตนโข ปน สมเยน เป็นต้น


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 6 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น