ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสว่าความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยากชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยากการได้ฟังพระสัทธรรม เป็นของยากการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยากยิ่ง พระผู้มีพระภาคฯ ตรัส ธรรม ๘ ประการ ที่น่าอภิรมย์ของภิกษุ ว่า
๑. พระธรรมวินัยนี้มีการศึกษา เป็นไปตามลำดับ มีการปฏิบัติ เป็นไปตามลำดับมิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตโดยตรงทีเดียว
๒. ในธรรมวินัยนี้ สาวก ไม่ล่วงสิกขาบทที่บัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต
๓. ในธรรมวินัยนี้สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลผู้ทุศีล ฯ
๔. บุคคล ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตย่อมละนามและโคตรเดิม ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ แพศย์ ศูทร ธรรมวินัยนี้ นับว่าเป็นสมณศากยบุตรเสมอกันทั้งนั้น
๕. แม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน หรือ อนุปาทิเสสนิพพานนิพพานธาตุ ก็มิได้ปรากฏว่า จะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น
๖. ธรรมวินัย มีรสเดียว คือ วิมุตติรส
๗ ในธรรมวินัยนี้ มีรัตนะมากมายคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕ โพชฌงค์ ๗ และ อริยมรรคมีองค์ ๘
๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยของบุคคลเหล่านี้ คือ พระโสดาบัน ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง โสดาปัตติผล.พระสกทาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง สกทาคามิผล พระอนาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง อนาคามิผล.พระอรหันต์ ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง อรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสว่า ดูก่อน เมฆิยะผู้มีใจยังม่หลุดพ้นจากอาสวะ ควรแสวงหาธรรม ๕ ประการก่อน คือ ต้องมีมิตรดี ๑ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ แม้มีประมาณน้อย ๑ มีความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา และพิจารณาความเกิด และ ความดับ ๑ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ ๑ ผู้มีปัญญา พึงทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้ยาก ห้ามได้ยากให้ตรง เหมือนช่างดัดลูกศร ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคฯ ตรัส "กถาวัตถุ" คือ เรื่องที่ควรพูด ๑๐ ประการ ว่าชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ๑ ชักนำให้สันโดษ ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ๑ ชักนำให้เกิดความสงบ ๑ ชักนำไม่ให้คลุกคลีกับหมู่คณะ ๑ ชักนำให้ปรารภความเพียร ๑ ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล ๑ ชักนำให้มีจิตตั้งมั่น ๑ ชักนำให้เกิดปัญญา ๑ ชักนำให้ยินดีในการหลุดพ้นจากกิเลส ๑ ชักนำให้เกิดความรู้ถึงผลดีของการละกิเลส ๑
พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสสอนเรื่อง "ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ" แก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายบุคคล ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นเป็นอันละไปแล้ว สิ่งใดยังมาไม่ถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้บุคคล ควรเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจักรู้ความตายในวันพรุ่งเพราะความผัดเพี้ยนต่อมัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย บุคคล ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวันและกลางคืนเรากล่าวว่า เป็นผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ดังนี้แล
พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดง "อัปปมาทสูตร" ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายรอยเท้าของสัตว์ทั้งมวล ที่เที่ยวไปบนแผ่นดิน เหล่าใดเหล่าหนึ่งรอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงความรวมลงในรอยเท้าช้างเพราะรอยเท้าช้าง ใหญ่กว่าบรรดารอยเท้าของสัตว์ทั้งปวงในโลก แม้ฉันใด กุศลธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล"กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด" ย่อมรวมลงใน "ความไม่ประมาท"บัณฑิตกล่าวว่า "ความไม่ประมาทเป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น"
... ขออนุโมทนา ...
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ