ปวารณา
โดย เบน  7 ส.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 13121

คำว่า ปวารณา หมายความว่าอย่างไร



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 8 ส.ค. 2552
คำว่า ปวารณา โดยศัพท์ แปลว่า ยอมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ขอ , ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนฯ ในพระวินัยมี ๒ นัย คือ ๑. คฤหัสถ์บอกกับบรรพชิตว่า ต้องการสิ่งใดก็ให้ขอได้ ยอมตนให้ขอ ๒. ปวารณา เป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งของสงฆ์ เมื่ออยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนทรงอนุญาตให้พระภิกษุปวารณาซึ่งกันและกัน คือเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนฯดังนั้นตามคำถามหมายถึงนัยที่ ๒ ครับ

ความคิดเห็น 2    โดย suwit02  วันที่ 8 ส.ค. 2552

สาธุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

คารวสูตร

................

พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ยังไม่มีมาก็ดี

และพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดในบัดนี้

ผู้ยังความโศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายก็ดี

พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงเคารพพระสัทธรรมอยู่แล้ว

ยังอยู่ และจักอยู่ต่อไป ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 8 ส.ค. 2552

ภิกษุที่จำพรรษาให้คำปวารณา หมายความว่า ถ้าทำอะไรที่อาบัติหรือไม่สมควรก็

อนุญาตให้เพื่อนพรหมจรรย์ว่ากล่าวตักเตือนได้ เพราะผู้ที่ว่ากล่าวตักเตือนในข้อ

บกพร่องเปรียบเหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ ผู้ประพฤติปฏิบัติตามในคำเตือนเป็นผู้เจริญค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย Sam  วันที่ 8 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย วันใหม่  วันที่ 8 ส.ค. 2552
วันปวารณานี้มี ๒ คือ วัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ1. การปวารณาเป็นวิธีการที่เหมาะสมเหมาะสมเพื่อว่ากล่าวกันและกัน 2. การปวารณาเป็นวิธีออกจากอาบัติ3. เป็นวิธีเคารพพระวินัยของพวกเธอ

คำปวารณา

เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดีขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.... เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้ เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ความคิดเห็น 6    โดย noynoi  วันที่ 9 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 7    โดย suwit02  วันที่ 9 ส.ค. 2552

อ้างอิงความเห็น ที่ 5

คำปวารณา

เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดีขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.... เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้ เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

สาธุ


ความคิดเห็น 8    โดย เบน  วันที่ 10 ส.ค. 2552

ขอเรียนถามเพิ่ม... การปวารณาเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง หมายความว่า

ถ้าภิกษุมิได้ปวารณาต่อกัน ก็มิใช่ธรรมเนียมที่ภิกษุบุคคลจะสามารถกล่าวตักเตือน

เพือนภิกษุด้วยกันได้ คงมีแต่อุปัชฌายะเท่านั้นหรือ ที่จะตักเตือนได้เมื่ออาบัติ อีกข้อหนึ่ง ปฏิปทาของภิกษุขณะที่จำพรรษาต่างจากปกติรักษาวินัย

อย่างไรค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย prachern.s  วันที่ 10 ส.ค. 2552

การปวารณาเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง และไม่ใช่สังฆกรรมก็ได้ ถ้าเป็นสังฆกรรม

กระทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ คณะสงฆ์ทั้งหมดทั่วโลกทำกันในวันนี้ แต่การปวารณา

ที่ไม่เป็นสังฆกรรม ทำโดยส่วนตัวแต่ละท่าน ยอมตนให้ผู้อื่นตักเตือน แต่สำหรับหน้าที่

ของพระอุปัชฌาย์ และอาจารย์ท่านมีหน้าที่คอยตักเตือนศิษย์อยู่แล้ว แม้ศิษย์จะไม่

ปวารณา อุปัชฌาย์อาจารย์ท่านย่อมตักเตือนอยู่เสมอ

ส่วนปฏิปทาของภิกษุในระหว่างจำพรรษาและนอกจำพรรษาตามพระวินัยโดยรวม

ไม่ต่างกัน เว้นแต่บางท่านจะสมาทานวัตรพิเศษบางอย่างครับ


ความคิดเห็น 10    โดย เบน  วันที่ 11 ส.ค. 2552

เพือนภิกษุด้วยกัน สามารถกล่าวเตือนกันได้หรือไม่ แม้มิได้ปวารณา อีกข้อหนึ่ง

บุคคลใดบ้างสามารถกล่าวเตือนภิกษุได้ ส่วนการปวารณาที่เป็นสังฆกรรมใน ๑๕

ค่ำ เดือน ๑๑ ท่านปวารณาสิ่งใดต่อกันค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย prachern.s  วันที่ 11 ส.ค. 2552

ตามพระวินัยเพื่อนภิกษุด้วยกัน สามารถกล่าวเตือนกันได้ แต่ต้องขอโอกาสท่าน อนุญาตเสียก่อน แต่ถ้าท่านปวารณาไว้ ก็สามารถเตือนท่านได้เลย การเตือนกันควรจะเป็นพระภิกษุด้วยกัน ส่วนการปวารณาที่เป็นสังฆกรรมนั้นถ้อยคำที่ท่านกล่าวมีนัยตามที่ความเห็นที่ ๕ นำมาลงไว้ครับ คือ

คำปวารณา

เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดีขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.... เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้ เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.