[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 395
ปัณณาสก์
มหาวรรคที่ ๒
๖. ทูตสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 395
๖. ทูตสูตร
[๑๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ควรไปเป็นทูตได้ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รับฟัง ๑ ให้ผู้อื่นรับฟัง ๑ เรียนดี ๑ ทรงจำไว้ดี ๑ รู้เอง ๑ ให้ผู้อื่นรู้ ๑ เป็นผู้ฉลาดต่อสิ่ง ที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ๑ ไม่ก่อการทะเลา ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรไป เป็นทูตได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ประการ ควรไปเป็นทูตได้ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รับฟัง ๑ ให้ผู้อื่นรับฟัง ๑ เรียนดี ๑ ทรงจำไว้ดี ๑ รู้เอง ๑ ให้ผู้อื่นรู้ ๑ เป็นผู้ฉลาดต่อสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นไม่มีประโยชน์ ๑ ไม่ก่อการทะเลาะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรไปเป็นทูตได้.
ภิกษุใดแล สอนบริษัทได้เรียนให้อ่าน ไม่สะทกสะท้าน ไม่ให้เสียคำที่พูด ไม่ให้เสีย คำสอน ชี้แจงให้เขาหมดสงสัย และเมื่อถูกซัก ถามก็ไม่โกรธ ภิกษุเช่นนี้นั้นแล ควรไปเป็นทูต ได้.
จบ ทูตสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 396
อรรถกถาทูตสูตรที่ ๖
ทูตสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทูเตยฺยํ ได้แก่ ทูตกรรม กรรมคือความเป็นทูต. บทว่า คนฺตุมหรติ ความว่า ภิกษุควรจะทรงสาส์นแสดงความเป็นทูตนั้น นำไปมอบให้. บทว่า โสตา ได้แก่ รับฟังผู้ที่ตนมอบสาส์นให้. บทว่า สาเวตา ได้แก่ ภิกษุเรียนสาส์นนั้นแล้วทบทวนว่า ท่าน อ่านสาส์นชื่อนี้แล้ว. บทว่า อุคฺคเหตา ได้แก่ รับเอาด้วยดี. บทว่า ธาเรตา ได้แก่ ทรงจำไว้ด้วยดี. บทว่า วิญฺาตา ได้แก่ รู้ความ หมายแห่งสิ่งที่เป็นประโยชย์และไม่เป็นประโยชน์. บทว่า วิญฺาเปตา ได้แก่ ให้ผู้อื่นรู้แจ้ง (ความหมายนั้น). บทว่า สหิตาสหิตสฺส ความว่า เป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์เกื้อกูล และมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล อย่างนี้ว่า นี้เป็นประโ ชน์เกื้อกูล นี้มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล คือ เป็นผู้เฉียบแหลมในข้อที่ดำเนินได้และข้อที่ดำเนินไม่ได้ เมื่อจะ บอกสาส์น กำหนดแต่สิ่งที่มีประโยชน์เกื้อกูลแล้วจึงบอก. บทว่า น พฺยาธติ ได้แก่ ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่หวาดกลัว. บทว่า อสนฺทิฏฺํ ได้แก่ หมดความสนเท่ห์ ปราศจากความสงสัย. บทว่า ปุจฺฉิโต ความว่า ถูกเขาซักถามเพื่อต้องการทราบปัญหาว่าเป็นอย่างไร?
จบ อรรถกถาทูตสูตรที่ ๖