พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 16
บทว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุบางรูปในศาสนานี้พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตนว่า รูปอันใด เราก็อันนั้น เราอันใดพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตนว่า รูปอันใด เราก็อันนั้น เราอันใดรูปก็อันนั้น พิจารณาเห็นรูปและอัตตาว่าเป็นอย่างเดียวกัน. ภิกษุบางรูปในศาสนานี้พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ พิจารณาเห็นรูปและตนว่าเป็นอย่างเดียวกัน รวมความว่า ย่อมเห็นรูปด้วยทิฏฐิว่า ตนเหมือนประทีปน้ำมันที่กำลังตามอยู่ คนย่อมเห็นเปลวไฟและสีเป็นอย่างเดียวกันว่า เปลวไฟอันใด สีก็อันนั้น สีอันใด เปลวไฟก็อันนั้น. บทว่า รูปวนฺตํวา อตฺตานํ ความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปว่าเป็นตน ย่อมพิจารณาเห็นสิ่งที่ไม่มีรูปนั้นว่ามีรูป เหมือนเห็นต้นไม้ที่มีเงา. บทว่า อตฺตนิ วา รูปํความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปนั่นแหละว่าเป็นตน พิจารณาเห็นรูปในตนเหมือนกลิ่น ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปนั่นแหละว่าเป็นตน พิจารณาเห็นรูปในตน เหมือนกลิ่นในดอกไม้. บทว่า รูปสฺมึ วา อตฺตานํ ความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปนั่นแลว่าตน พิจารณาเห็นตนนั้นในรูป เหมือนแก้วมณีในขวด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ ความว่าท่านกล่าว รูปล้วนๆ นั่นแลว่าตน.อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าว สิ่งที่ไม่มีรูปในฐานะ ๗ เหล่านี้ว่า พิจารณาเห็นตนมีรูป หรือ รูปในตน หรือตนในรูป๑ เวทนา โดยเป็น ตน ๑ ฯลฯ สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยเป็นตนกล่าว ตน ที่ระคนปนกับรูปและอรูปในฐานะ ๑๒ โดยขันธ์ ๓ ในบรรดาขันธ์ ๔ อย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นตนมีเวทนา หรือเวทนาในตนหรือตนในเวทนา ในบรรดาขันธ์เหล่านั้น ท่านกล่าวอุจเฉททิฏฐิ ในฐานะว่า พิจารณาเห็นรูปโดยเป็นตน พิจารณาเห็นเวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณโดยเป็นตน. ในทิฏฐิที่เหลือ สัสสตทิฏฐิ ย่อมเป็นอย่างนี้สรุปความว่า ในปัญจขันธ์เหล่านี้ ภวทิฏฐิ ๑๕ (วิภวทิฏฐิ ๕) ย่อมเป็นอย่างนี้ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมห้ามมรรค ไม่ห้ามสวรรค์อันโสดาปัตติมรรค พึงฆ่า.
จากข้อความในอรรถกถาอธิบายว่า เห็นรูปโดยความเป็นตน คือ มีความเห็นผิด คือยึดถือรูปล้วนๆ ว่าเป็นตัวตน ส่วนข้อที่เหลือยึดถือทั้งรูปและนาม
ขออนุโมทนาครับ