ทำนองเดียวกันกับเดิน แม้แต่ในอิริยาบถอื่นๆ ก็โดยนับเดียวกันทั้งสิ้น เราก็รู้สิ่งที่ปรากฎให้เรารู้ได้ สิ่งที่ปรากฎนั้น ต้องเป็นสภาพธรรมที่มีอยู่จริงๆ ด้วยนะ ไม่ใช่ไปคิดเอา สมมติเอาว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ธรรมต้องมีปรากฎจริงๆ ด้วย ไม่ว่าจะปรากฎแก่ใคร ไม่ต้องเรียกชื่อด้วย เมื่อปรากฎจะต้องรู้เหมือนกันทั้งหมด อย่างเจ็บปวดปรากฎที่กายปสาท แขกปรากฎก็รู้สึกเหมือนกัน คนไทยก็รู้สึกว่าเจ็บ ฝรั่ง จีน จะบอกว่าอะไร ศัพท์เดียวกันนี้แหละ ถ้าเราไปติดคำ ก็ไม่รู้ความจริงที่ปรากฎ ถ้าเรารู้สภาพธรรมที่เป็นจริงในขณะนั้น จึงเรียกว่า รู้สภาพธรรมที่ปรากฎตามความเป็นจริง เมื่อรู้สภาพธรรมที่ปรากฎตามความเป็นจริงมันก็ถอน "สัตตูปลัทธิ" คือ ความเห็นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนได้ ถ้าเห็นว่า นั่ง นอน ยืนเดิน เมื่อไรจะถอนได้ ไม่มีทางที่จะถอนได้
จาก สนทนาเรื่องการปฏิบัติธรรม เมื่อ ... วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
จิต เจตสิก รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
จิต เจตสิก รูป ที่เที่ยง เป็นอัตตาไม่มี
ถอนสัตตูปลัทธิ ..ความเห็นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
สัตตูปลัทธิคือ ความเห็นว่ามีสัตว์ บุคคล ซึ่งเป็นความเห็นผิดเพราะจริงๆ แล้วเป็นเพียงแต่ นามธรรม รูปธรรม ตามปกติปุถุชน ก็ยังมีความยึดถือว่ามีสัตว์บุคคล (สัตตูปลัทธิ) ซึ่งเป็นเหตุให้ ไม่พ้นไปจากสังสารวัฏฏ์ฎ์ และไม่สามารถดับกิเลสได้แต่หนทางการจะละความยึดถือว่า มีสัตว์ บุคคล (สัตตูปลัทธิ) ก็ด้วยหนทางเดียว คือ " สติปัฏฐาน" สติปัฏฐาน คืออะไร ในเมื่อไม่มีสัตว์ บุคคล แล้วมีอะไร ก็มีธรรมะ และหนทางที่จะรู้ว่าเป็นธรรมะ ก็คือสติปัฏฐาน ที่สำคัญเป็นหน้าที่ของธรรมะที่จะรู้ว่า เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา ก็คือ สติและปัญญา ดังนั้น สติปัฏฐาน ก็คือ การระลึก สภาพธรรมะที่มีในขณะนี้ ว่าเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา จึงจะละความเห็นผิดว่ามี สัตว์ บุคคล (สัตตูปลัทธิ) แต่กว่าจะถึงสติระลึกสภาพธรรมะว่าไม่ใช่เรา ก็ต้องเริ่มจากการฟังเสียก่อนว่า อะไรคือธรรมครับ จะขอยกตัวอย่าง ในพระไตรปิฎกที่แสดงเรื่อง (สัตตูปลัทธิ) ความเห็นว่า มีสัตว์ บุคคล และจะละความเห็นนี้ด้วยสติปัฏฐานอย่างไร ซึ่งข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า มิใช่ให้รู้ว่า เรากำลังเดิน ยืน แม้สัตว์ก็รู้ แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน แต่ที่ถูกคือ รู้ว่าเป็นธรรมะไม่มีสัตว์เดิน แต่เป็นสติที่เกิดระลึกสภาพธรรมะว่าขณะเดินก็มีธรรมะ และรู้ว่าไม่ใช่เราครับ
เชิญคลิกอ่านได้ที่
วาโยธาตุ [โดยอิริยาบถ]
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ยินดีในกุศลจิตค่ะ