[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 312
ตติยปัณณาสก์
เกสีวรรคที่ ๒
๖. อัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาทโดยฐานะ ๔ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 312
๖. อัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาทโดยฐานะ ๔ ประการ
[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ควรทำความไม่ประมาทโดยฐานะ ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละกายทุจริต จงเจริญกายสุจริต และอย่าประมาทในการละกายทุจริตและการเจริญกายสุจริตนั้น จงละวจีทุจริต จงเจริญวจีสุจริต และอย่าประมาทในการละวจีทุจริตและการเจริญวจีสุจริตนั้น จงละมโนทุจริต จงเจริญมโนสุจริต และอย่าประมาทในการละมโนทุจริตและการเจริญมโนสุจริตนั้น จงละมิจฉาทิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 313
จงเจริญสัมมาทิฏฐิ และอย่าประมาทในการละมิจฉาทิฏฐิ และการเจริญสัมมาทิฏฐินั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต ละมิจฉาทิฏฐิ เจริญสัมมาทิฏฐิได้แล้ว ในกาลนั้น เธอย่อมไม่กลัวต่อความตาย อันจะมีในภายหน้า.
จบอัปปมาทสูตรที่ ๖
อรรถกถาอัปปมาทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัปปมาทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยโต โข คือ เมื่อใดแล. บทว่า สมฺปรายิกสฺส นั้น เป็นเพียงเทศนา. แต่พระขีณาสพไม่กลัวต่อความตายอันจะมีมาในกาลภายหน้า ทั้งไม่กลัวต่อความตายอันจะมีในปัจจุบัน. ก็พระขีณาสพนั้นท่านประสงค์ในที่นี้ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ท่านประสงค์เอาพระอริยะทั้งหลายแม้ทั้งปวงตั้งต้น แต่พระโสดาบัน เพราะพระบาลีว่า สมฺมาทิฏิ ภาวิตา เจริญสัมมาทิฏฐิ แล้ว.
จบอรรถกถาอัปปมาทสูตรที่ ๖