[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 398
๕. ปฐมปฐวีสูตร
ว่าด้วยบุรุษวางก้อนดิน ๗ ก้อนไว้ที่แผ่นดินใหญ่
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 398
๕. ปฐมปฐวีสูตร
ว่าด้วยบุรุษวางก้อนดิน ๗ ก้อนไว้ที่แผ่นดินใหญ่
[๓๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 399
ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนไว้ที่แผ่นดินใหญ่ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้กับแผ่นดินใหญ่ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมากกว่า ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้ เมื่อเทียบเข้ากับแผ่นดินใหญ่ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.
[๓๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.
จบปฐมปฐวีสูตรที่ ๕
อรรถกถาปฐมปฐวีสูตรที่ ๕
ในปฐมปฐวีสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มหาปวิยา ความว่า ยกขึ้นไว้บนแผ่นดินใหญ่ภายในจักรวาล.
บทว่า โกลฏฺิมตฺติโย ได้แก่ ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา.
บทว่า คุฬิกา ได้แก่ ก้อนดินเหนียว.
บทว่า อุปนิกฺขิเปยฺย ความว่า พึงวางไว้ในที่หนึ่ง.
จบอรรถกถาปฐมปฐวีสูตรที่ ๕