๑๗. อุปปันนติกะ - อนุโลมติกปัฏฐาน
โดย บ้านธัมมะ  23 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42221

[เล่มที่ 87] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๓

อนุโลมติกปัฏฐาน

๑๗. อุปปันนติกะ

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย 579

๑. เหตุปัจจัย 579

๒. อารัมมณปัจจัย 579

๓. อธิปติปัจจัย 581

๔. สหชาตปัจจัย 582

๕. อัญญมัญญปัจจัย 583

๖. นิสสยปัจจัย 584

๗. อุปนิสสยปัจจัย 585

๘. ปุเรชาตปัจจัย 587

๙. ปัจฉาชาตปัจจัย 588

๑๐. กัมมปัจจัย 588

๑๑. วิปากปัจจัย 588

๑๒. อาหารปัจจัย 589

๑๓. อินทริยปัจจัย 589

๑๔. ฌานปัจจัย ฯลฯ ๑๗. วิปปยุตตปัจจัย 590

๑๘. อัตถิปัจจัย 591

๑๙. อวิคตปัจจัย 592

การนับจํานวนวาระในอนุโลม 592

ปัจจนียนัย 593

การยกปัจจัยในปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ 593

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 594

อนุโลมปัจจนียนัย 594

การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 594

ปัจจนียานุโลมนัย 594

การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 594


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 87]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 579

๑๗. อุปปันนติกะ

ปัญหาวาระ (๑)

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๑๘๘๘] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

๒. อารัมมณปัจจัย

[๑๘๘๙] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นจักษุที่เป็นอุปปันนธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนันตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ จักษุนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.


๑. ติกะนี้ ไม่มีวาระ ๖ มีปฏิจจวาระเป็นต้น.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 580

บุคคลพิจารณาเห็นโสตะที่เป็นอุปปันนธรรม ฯลฯ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อม เกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๘๙๐] ๒. อนุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็น รูปที่เป็นอนุปปันนธรรมฯสฯ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปปันนธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๘๙๑] ๓. อุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นจักษุที่เป็นอุปปาทิธรรม ฯลฯ กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอุปปาทิธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนันตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 581

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ ฯลฯ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๓.อธิปติปัจจัย

[๑๘๙๒] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นอุปปันนธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่นแล้ว ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลย่อมยินดีย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำโสตะที่เป็นอุปปันนธรรม ฯลฯ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ โสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๑๘๙๓] ๒. อนุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 582

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำรูปที่เป็นอนุปปันนธรรม เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปปันนธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำรูปเป็นต้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

[๑๘๙๔] ๓. อุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นอุปปาทิธรรม ฯลฯ กายะ รูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาทิธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

๔. สหชาตปัจจัย

[๑๘๙๕] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๒ แต่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 583

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ ฯลฯ.

มหาภูตรูปทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็น อุปาทารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

พาหิรรูป... อาหารสมุฏฐานรูป... อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ. ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ ฯลฯ , มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูปทั้งหลาย ด้วย อำนาจของสหชาตปัจจัย.

๕. อัญญมัญญปัจจัย

[๑๘๙๖] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 584

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.

ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.

หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.

มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

พาหิรรูป... อาหารสมุฏฐานรูป... อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.

ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ ฯลฯ.

๖. นิสสยปัจจัย

[๑๘๙๗] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย อำนาจของนิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ. หทยวัตถุเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย.

มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

พาหิรรูป... อาหารสมุฏฐานรูป... อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.

ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ มหาภูตรูปทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูปทั้งหลาย.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 585

จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

๗. อุปนิสสยปัจจัย

[๑๘๙๘] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยอุตุที่เป็นอุปปันธรรมแล้วยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนา ฯลฯ ยังมรรค ฯลฯ ยังอภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติ ฯลฯ ก่อมานะ, ถือทิฏฐิ.

บุคคลเข้าไปอาศัยโภชนะที่เป็นอุปปันนธรรม ฯลฯ อาศัยเสนาสนะ แล้วยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนา ฯลฯ ยังมรรค ฯลฯ ยังอภิญญา ฯลฯ ยัง สมาบัติ ฯลฯ ก่อมานะ, ถือทิฏฐิ.

อุตุที่เป็นอุปปันนธรรม ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่เป็นอุปปันนธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 586

[๑๘๙๙] ๒. อนุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลปรารถนาวรรณสมบัติที่เป็นอนุปปันนธรรม ย่อมให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม.

บุคคลปรารถนาสัททสมบัติที่เป็นอนุปปันนธรรม ฯลฯ คันธสมบัติ รสสมบัติ โผฏฐัพพสมบัติฯสฯ ปรารถนาขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปปันนธรรมแล้ว ย่อมให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ

วรรณสมบัติที่เป็นอนุปปันนธรรม ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นอุปปันนธรรม แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๙๐๐] ๓. อุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลปรารถนาจักขุสมบัติที่เป็นอุปปาทิธรรม ย่อมให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 587

บุคคลปรารถนาโสตสมบัติที่เป็นอุปปาทิธรรม ฯลฯ กายสมบัติ วรรณสมบัติ คันธสมบัติ รสสมบัติ โผฏฐัพพสมบัติ ฯลฯ ปรารถนาขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอุปปาทิธรรมแล้ว ย่อมให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ.

จักขุสมบัติที่เป็นอุปปาทิธรรม ฯลฯ กายสมบัติ วรรณสมบัติ ฯลฯ โผฏฐัพพสมบัติ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ เป็นอุปปันนธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๘. ปุเรชาตปัจจัย

[๑๙๐๑] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ

ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้น นั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 588

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่

จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ หทยวัตถุ ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

๙. ปัจฉาชาตปัจจัย

[๑๙๐๒] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

๑๐. กัมมปัจจัย

[๑๙๐๓] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

๑๑. วิปากปัจจัย

[๑๙๐๔] อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 589

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปปันนธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

๑๒. อาหารปัจจัย

[๑๙๐๕] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย อำนาจของอาหารปัจจัย

คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของ อาหารปัจจัย.

๑๓. อินทริยปัจจัย

[๑๙๐๖] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 590

รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

๑๔. ฌานปัจจัย ฯลฯ ๑๗. วิปปยุตตปัจจัย

[๑๙๐๗] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันธรรม ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 591

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

๑๘. อัตถิปัจจัย

[๑๙๐๘] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

มี ๕ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และ อินทริยะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปปันนธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ และจิตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ.

พาหิรรูป..อาหารสมุฏฐานรูป... อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ

ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ.

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 592

จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม ด้วยอำนาจ ของอัตถิปัจจัย

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ฯลฯ.

รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

๑๙. อวิคตปัจจัย

[๑๙๐๙] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๑๙๑๐] ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 593

๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย

การยกปัจจัยในปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ

[๑๙๑๑] ๑. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

[๑๙๑๒] ๒. อนุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๙๑๓] ๓. อุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 594

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๑๙๑๔] ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียนัย จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ

[๑๙๑๕] เพราะเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ใน โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจนียานุโลมนัย

การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม

[๑๙๑๖] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 595

ปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ปัจจนียานุโลมนัย จบ

ปัญหาวาระ จบ

อุปปันนติกะที่ ๑๗ (๑) จบ


(๑) อรรถกถาของติกะนี้ แสดงคู่กับอตีตติกะที่ ๑๘ ต่อจากติกะนี้.