“ธัมมารมณ์”
โดย ใหญ่ราชบุรี  12 มิ.ย. 2558
หัวข้อหมายเลข 26621

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเรียนถาม ว่า “ธัมมารมณ์” คือ อะไร จำแนกกี่ประเภท อะไรบ้าง ช่วยยกตัวอย่างคำอธิบายของท่านอาจารย์สุจินต์ และ ในพระไตรปิฎก ด้วยค่ะ

ขอบพระคุณยิ่งนะคะ ในความอนุเคราะห์เกื้อกูล ที่ให้ได้รับความรู้ค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 12 มิ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธัมมารมณ์ เป็นอารมณ์ที่จิตรู้ได้เฉพาะทางใจทางเดียวเท่านั้น มี ๖ อย่าง

๑. จิต ๘๙

๒. เจตสิก ๕๒

๓. ปสาทรูป ๕

๔. สุขุมรูป ๑๖

๕. นิพพาน

๖. บัญญัติ

ธัมมารมณ์ ๕ คือ ปสาทรูป สุขุมรูป จิต เจตสิก นิพพาน เป็นปรมัตถธรรม ธัมมารมณ์ คือ บัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถธรรม

เชิญอ่านคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ ครับ

สุ. บัญญัติเป็นธัมมารมณ์ เพราะว่าเป็นอารมณ์ที่รู้ได้ทางใจทางเดียวเท่านั้น

ก. แล้วธัมมารมณ์นี้ถ้าจะเป็นปรมัตถอารมณ์

สุ. ธัมมารมณ์มี ๖ ประเภท เป็นปรมัตถธรรม ๕ ไม่ใช่ปรมัตถธรรม ๑ ฉะนั้น จะรู้ได้ว่า ขณะใดมีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็คือ..ขณะใดที่ไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ขณะนั้นมีบัญญัติเป็นอารมณ์

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

ธัมมารมณ์

อารมณ์ ๖ - ๖. ธัมมารมณ์

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 12 มิ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธัมมารมณ์ หมายเฉพาะอารมณ์ทุกอย่างซึ่งไม่สามารถจะรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

เพราะเหตุว่าอารมณ์มี ๖ คือ

รูปารมณ์ สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้ ๑

สัททารมณ์ คือ เสียงที่กำลังปรากฏทางหูในขณะนี้ ๑

คันธารมณ์ คือ กลิ่นที่ปรากฏทางจมูก ๑

รสารมณ์ คือ รส ที่ปรากฏทางลิ้น ๑

โผฏฐัพพารมณ์ คือ เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหวที่ปรากฏที่กายในขณะนี้ ๑

ธัมมารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่สามารถจะรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 3    โดย papon  วันที่ 12 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย peem  วันที่ 13 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย ดวงทิพย์  วันที่ 16 มิ.ย. 2558

สาธุขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย chatchai.k  วันที่ 23 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย Jarunee.A  วันที่ 3 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ