[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 298
เถรคาถา อัฏฐกนิบาต
๓. มหาปันถกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหาปันถกเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 298
๓. มหาปันถกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหาปันถกเถระ
[๓๖๘] เมื่อใด เราได้เห็นพระศาสดาผู้ปลอดภัยเป็นครั้งแรก เมื่อนั้นความสลดใจได้เกิดมีแก่เรา เพราะได้เห็นพระศาสดาผู้อุดมบุรุษ ผู้ใดนอบน้อมพระศาสดาผู้ทรงสิริ ที่ พระบาทด้วยมือทั้งสอง ผู้นั้นพึงทำพระศาสดาให้ทรงยินดี โปรดปราน ครั้งนั้นเราได้ละทิ้งบุตร ภรรยา ทรัพย์ และธัญญาหาร ปลงผมและหนวดออกบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ สำรวมดีแล้วในอินทรีย์ ทั้งหลาย ถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่ พ่ายแพ้ต่อมาร ครั้งนั้น ความตั้งใจปรารถนาสำเร็จแก่เรา เราไม่ได้นั่งอยู่เปล่าแม้เพียงครู่เดียว ในเมื่อยังถอนลูกศร คือตัณหาขึ้นไม่ได้ ขอจงดูความเพียร ความบากบั่น ของเราผู้อยู่ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น เราได้บรรลุวิชชา ๓ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว เราระลึก ชาติก่อนๆ ได้ ได้ชำระทิพยจักษุหมดจดแล้ว เป็น พระอรหันต์ ผู้ควรแก่ทักษิณา หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิ ต่อเมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมา เราทำ ตัณหาทั้งปวงให้เหือดแห้งไป จึงเข้าไปสู่ภายในกุฎีโดย บัลลังก์.
จบมหาปันถกเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 299
พระเถระ ๓ องค์ ได้กล่าวคาถาไว้ในอัฏฐกนิบาตองค์ละ ๘ คาถา รวมเป็น ๒๔ คาถา คือ ๑.พระมหากัจจายนเถระ ๒.พระสิริมิตตเถระ ๓.พระมหาปันถกเถระ.
จบอัฏฐกนิบาต
อรรถกถามหาปันถกเถรคาถาที่ ๓
มีคาถา ของท่านพระมหาปันถกเถระว่า ยทา ปมมทฺทกฺขึ ดังนี้เป็นต้น. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร.
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านมหาปันถกนี้ เป็นกุฎุมพี สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ในหังสวดีนคร วันหนึ่งกำลังฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดากำลังตั้งภิกษุ รูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในการเปลี่ยน แปลงทางสัญญา แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญมหาทาน ให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว ตั้ง ความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในที่สุด ๗ วันแต่วันนี้ไป พระองค์ทรงแต่งตั้งภิกษุใดไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ กว่าภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางสัญญา ในศาสนาของเรา ดังนี้ ขอด้วยพลังแห่งกุศลกรรมที่สั่งสมไว้นี้ แม้ข้าพระองค์ก็พึงเป็น ผู้เลิศในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล เหมือน ภิกษุนั้นเถิด.
ฝ่ายน้องชายของท่านกุฎุมพีนั้น บำเพ็ญกุศลกรรมสั่งสมไว้ใน พระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ แล้วตั้งปณิธานไว้ โดยนัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 300
ดังกล่าวแล้วนั่นแล คือด้วยองค์ ๒ ได้แก่การนิรมิตร่างกายที่สำเร็จด้วย ใจ และความเป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นว่าความปรารถนาของตนทั้งสองจะสำเร็จโดยไม่มีอันตราย จึงทรง พยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัป ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ความปรารถนาของพวกเธอจักสำเร็จ.
คนทั้งสองนั้น บำเพ็ญบุญเป็นอันมากในอัตภาพนั้นจนตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้น ก็พากันไปบังเกิดในเทวโลก. ในคนสองคนนั้นท่าน ไม่ได้กล่าวถึงกัลยาณธรรม ที่มหาปันถกกระทำไว้ในระหว่างเลย.
ฝ่ายจูฬปันถก บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะ ทำโอทาตกสิณตลอด ๒๐,๐๐๐ ปีแล้ว บังเกิดในเทวบุรี. ส่วนในอปทาน มาแล้วว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ จูฬปันถกเป็นดาบสอยู่ในหิมวันตประเทศ พบพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่นั้นแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยฉัตรดอกไม้. เมื่อคนสองคนนั้น ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์นั่นแล แสนกัปล่วงไป. ต่อมาพระศาสดา ของพวกเรา บรรลุอภิสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงยังพระธรรมจักร อันบวรให้เป็นไป ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร.
ก็สมัยนั้น ลูกสาวของท่านธนเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ลักลอบได้ กันกับทาสของตน กลัวพวกญาติ จึงถือเอาทรัพย์ที่พอเป็นสาระติดมือ หนีไปกับทาสคนนั้น อยู่กันในที่อื่น อาศัยการอยู่ร่วมกันนั้น จึงตั้งครรภ์ พอครรภ์แก่เต็มที่ คิดว่าเราจักไปตลอดยังเรือนของญาติ แล้วก็เดินไป คลอดบุตรในระหว่างทางนั่นเอง ถูกสามีตามให้กลับแล้ว ก็อยู่ในที่ที่ตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 301
อยู่ก่อน ได้ทำการตั้งชื่อบุตรว่า ปันถก เพราะเกิดในหนทาง. ในเวลา ที่นางย้อนกลับมา กลับไปอยู่นั้น อาศัยเหตุนั้นนั่นแล จึงได้ตั้งครรภ์ขึ้น เป็นครั้งที่สอง พอครรภ์แก่เต็มที่ ก็คลอดบุตรในระหว่างหนทาง โดย นัยดังกล่าวแล้วในตอนต้นเหมือนกัน ถูกสามีตามให้กลับแล้ว ตั้งชื่อ ลูกชายคนโตว่า มหาปันถก ตั้งชื่อลูกชายคนเล็กว่า จูฬปันถก อยู่ในที่ ที่เคยอยู่แล้วนั่นแล. เมื่อเด็กทั้งสองเจริญวัยโดยลำดับ ถูกเด็กทั้งสองคน นั้นรบเร้าอยู่ว่า แม่! บอกตระกูลคุณตาคุณยายแก่พวกผมบ้างเถิด จึงส่ง เด็กทั้งสองคนไปหามารดาบิดา. จำเดิมแต่กาลนั้นมา เด็กทั้งสองคน ก็เจริญวัย ในเรือนของท่านธนเศรษฐี.
ในเด็กทั้งสองคนนั้น จูฬปันถก ยังเป็นเด็กเล็กนัก ส่วนมหาปันถก ไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้ากับคุณตาแล้ว เห็นพระศาสดาแล้ว พร้อมกับการเห็นก็ได้เกิดศรัทธา ฟังธรรมแล้ว เพราะค่าที่ตนสมบูรณ์ ด้วยอุปนิสัย เป็นผู้มีความประสงค์จะบรรพชา จึงบอกลาท่านตา. ท่านตา นั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระศาสดาแล้ว ก็ให้เขาบรรพชา. เขา บรรพชาแล้ว เล่าเรียนพระพุทธพจน์ได้เป็นจำนวนมาก พอมีอายุครบ ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว ทำมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยพิเศษ เป็น ผู้ได้อรูปฌาน ๔ ออกจากอรูปฌาน ๔ นั้นแล้ว ก็พยายามยกจิตขึ้นสู่ วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเป็นเลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางสัญญา ท่านยับยั้งอยู่ด้วยความสุข อันเกิดแต่ฌาน และความสุขอันเกิดแต่ผล. วันหนึ่งจึงพิจารณาถึงข้อปฏิบัติ ของตน อาศัยข้อปฏิบัติที่คนได้บรรลุแล้ว ได้เกิดโสมนัส เมื่อจะบันลือ สีหนาท จึงกล่าวคาถา๑เหล่านั้นว่า
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 302
เมื่อใด เราได้เห็นพระศาสดาผู้ปลอดภัยเป็นครั้งแรก เมื่อนั้นความสลดใจได้เกิดมีแก่เรา เพราะได้เห็นพระศาสดาผู้อุดมบุรุษ ผู้ใดนอบน้อมพระศาสดาผู้ทรงสิริ ที่ พระบาทด้วยมือทั้งสอง ผู้นั้นพึงทำพระศาสดาให้ทรง ยินดีโปรดปราน ครั้งนั้นเราได้ละทิ้งบุตร ภรรยา ทรัพย์ และธัญญาหาร ปลงผมและหนวดออกบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ สำรวมดีแล้วในอินทรีย์ ทั้งหลาย ถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่ พ่ายแพ้ต่อมาร ครั้งนั้นความตั้งใจปรารถนาสำเร็จแก่เรา เราไม่ได้นั่งอยู่เปล่าแม้เพียงครู่เดียว ในเมื่อยังถอนลูกศร คือตัณหาขึ้นไม่ได้ ขอจงดูความเพียร ความบากบั่น ของเราผู้อยู่ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น เราได้บรรลุวิชชา ๓ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว เราระลึก ชาติก่อนๆ ได้ ได้ชำระทิพยจักษุหมดจดแล้ว เป็น พระอรหันต์ผู้ควรแก่ทักษิณา หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิ ต่อเมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมา เราทำ ตัณหาทั้งปวงให้เหือดแห้งไป จึงเข้าไปสู่ภายในกุฎีโดย บัลลังก์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ปมํ แปลว่า ตั้งแต่ครั้งแรก. บทว่า อทฺทกฺขึ แปลว่า ได้เห็นแล้ว. บทว่า สตฺถารํ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 303
บทว่า อกุโตภยํ แปลว่า ผู้ไม่มีภัย. ก็เนื้อความในข้อนั้น มี ดังต่อไปนี้ :- ในเวลาที่เราไปพร้อมกับคุณตาของเราได้เห็นเป็นครั้งแรก ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ชื่อว่า สัตถา เพราะทรงพร่ำสอน เวไนยสัตว์ ด้วยทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และ ปรมัตถประโยชน์ ตามสมควร พระองค์ผู้ไม่มีภัย มีความแกล้วกล้าด้วย เวสารัชญาณ พระองค์ชื่อว่าเป็นผู้ปลอดภัย เพราะไม่มีภัยแม้ในที่ไหนๆ เพราะเหตุแห่งภัยทั้งหมด พระองค์ละได้แล้ว ที่ควงไม้มหาโพธินั่นแล, เพราะได้เห็นพระศาสดานั้น ผู้อุดมบุรุษ คือผู้เป็นบุคคลชั้นยอดในโลก พร้อมทั้งเทวโลก เพราะเหตุแห่งการเห็นนั้น คือเพราะการเห็นนั้น ภายหลังความสลดใจจึงได้เกิดมีแก่เราว่า ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ เรา ไม่ได้โอกาสเพื่อจะเห็นพระศาสดา และเพื่อจะได้ฟังธรรมเลย คือมีญาณ พร้อมด้วยโอตตัปปะบังเกิดขึ้นแล้ว. ก็เรามีความสลดใจเกิดขึ้นแล้ว จึงได้ คิดอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงแสดงด้วยคาถาว่า สิรึ หตฺเถหิ ดังนี้เป็นต้น.
เนื้อความแห่งบาทคาถานั้น มีดังต่อไปนี้ :- บุคคลใดคือบุรุษผู้ ต้องการด้วยความเจริญคิดว่า เราจักเป็นผู้อุปัฏฐากอยู่ในสำนักของพระองค์ ดังนี้แล้ว ใช้มือบีบนวดพระบาทนอบน้อม คือพึงนำร่างกายมีสิริเข้าไป ไว้บนที่นอน บุรุษผู้อาภัพนั้น ต่อเห็นปานนั้น จะให้พระศาสดา คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้เช่นนั้นทรงยินดีแล้ว คือให้ได้เพียง ใน ๙ ขณะนี้แล้ว พึงให้โปรดปราน ข้อนั้นพึงผิดหวัง เพราะบุรุษ นั้นไม่ทำตามพระโอวาท อธิบายว่า ส่วนข้าพเจ้าไม่ได้ทำอย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 304
เลย, ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ตทาหํ ฯเปฯ อนคาริยํ ดังนี้ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉฑฺฑยึ แปลว่า เราละแล้ว. บาลีว่า ฉฑฺฑิยํ ดังนี้ก็มี. ถามว่า พระเถระนี้ ไม่ได้เคยมีภรรยาครอบครองมา บวช (แต่เล็กๆ) แล้ว มิใช่หรือ เพราะเหตุไร ท่านจึงได้กล่าวว่า เรา ละทิ้งบุตรและภรรยาเล่า? ตอบว่า เปรียบเหมือนบุรุษ ตัดต้นไม้ที่ยัง ไม่เกิดผล เมื่อตัดแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เสื่อมจากผลที่ได้แล้วจากต้นไม้ นั้นฉันใด คำอุปมาเป็นเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้ บัณฑิตก็พึงทราบ ฉันนั้น.
บทว่า สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน ความว่า ในที่ที่ภิกษุทั้งหลายเป็น อยู่ร่วมกัน มีชีวิตอย่างเดียวกัน มีความประพฤติเสมอกัน ด้วยอธิศีลสิกขา ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสาชีพ คือสิกขาบท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความเป็น ภิกษุ ทำสิกขาให้บริบูรณ์ และเป็นผู้ไม่ยอมก้าวล่วงสาชีพ ชื่อว่าเป็นผู้ ทำสิกขาและสาชีพทั้งสองนั้นให้ถึงพร้อม. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงแสดง ถึงความตั้งมั่นในศีลคือพระปาติโมกข์ อันหมดจดด้วยดี.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ สุสํวุโต ความว่า เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยดี ใน อินทรีย์ทั้งหลายที่มีใจเป็นที่ ๖ คือผู้มีจักษุทวารเป็นต้น อันปิดดีแล้ว ด้วยบานประตูคือสติ ด้วยอำนาจการห้ามความเป็นไป แห่งกิเลสมีอภิชฌา เป็นต้น ที่จะมาปรากฏในอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น.
ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อว่าโดยเนื้อความ แม้ศีลที่นอกไปจากนี้ ก็เป็น อันพระเถระได้แสดงไว้แล้วทีเดียว ด้วยการแสดงความถึงพร้อมแห่งศีล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 305
คือปาฏิโมกขสังวรและอินทรียสังวร เพราะเหตุนั้น พระเถระครั้นแสดง ความถึงพร้อมแห่งจตุปาริสุทธิศีลของตนแล้ว จึงกล่าวถึงภาวนานุโยค ในพุทธานุสสติ ด้วยคำเป็นต้นว่า นมสฺสมาโน สมฺพุทฺธํ นี้.
บทว่า วิหาสึ อปราชิโต ความว่า เราเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ต่อมาร มีกิเลสมารเป็นต้นอยู่, คือไม่ถูกมารมีกิเลสมารเป็นต้นเหล่านั้น ครอบงำได้ จนได้บรรลุถึงพระอรหัต ได้แก่ โดยที่แท้ เราครอบงำกิเลสมารเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแลอยู่.
บทว่า ตโต ความว่า เพราะเป็นผู้มีศีลหมดจดด้วยดี เลื่อมใสยิ่ง ในพระศาสดา ดำรงอยู่ในข้อปฏิบัติเพื่อครอบงำกิเลส.
บทว่า ปณิธี ได้แก่ ปณิธาน ความตั้งใจแน่วแน่, หรือเพราะ มีความปรารถนาที่ตั้งใจจริง.
บทว่า อาสิ คือ อโหสิ แปลว่า ได้มีแล้ว.
บทว่า เจตโส อภิปตฺถิโต ได้แก่ ความปรารถนาทางใจของเรา. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็ความปรารถนานั้น เป็นเช่นไร? ท่านจึง กล่าวว่า เราไม่ได้นั่งอยู่เปล่าแม้เพียงครู่เดียว ในเมื่อยังถอนลูกศรคือ ตัณหาขึ้นไม่ได้ ความว่า ความปรารถนาที่ตั้งใจจริง ได้มีแก่เราอย่างนี้ว่า เราไม่พึงนั่ง คือไม่พึงสำเร็จการนั่งอยู่เปล่า แม้เพียงครู่เดียว ในเมื่อยัง ถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้จากหัวใจของเรา ด้วยแหนบคืออรหัตตมรรค.
ก็พระเถระอธิษฐานจิตอย่างนี้แล้ว เริ่มเจริญภาวนา ให้ราตรี ล่วงไปด้วยการยืนและการจงกรมเท่านั้น ออกจากรูปสมาบัติแล้ว เริ่มตั้ง วิปัสสนา โดยมีองค์ฌานเป็นประธานแล้ว ก็ทำให้แจ้งได้ซึ่งพระอรหัต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 306
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตสฺส เม ดังนี้เป็นต้น. บทว่า นิรูปธิ ได้แก่ ไม่มีอุปธิ เพราะไม่มีอุปธิกิเลสเป็นต้น.
บทว่า รตฺยาวิวสาเน ได้แก่ ในเมื่อส่วนแห่งราตรีสิ้นไปแล้ว คือ เมื่อราตรีสว่างแล้ว.
บทว่า สูริยุคฺคมนํ ปติ ได้แก่ ทำการขึ้นไปแห่งพระอาทิตย์ ให้เป็นลักษณะ.
บทว่า สพฺพํ ตณฺหํ ได้แก่ ทำกระแสแห่งตัณหาทั้งหมด อันต่าง โดยประเภทมีกามตัณหาเป็นต้น ให้แห้ง คือให้แห้งเหือดไปด้วยพระอรหัตตมรรคได้ ก็เพราะท่านมั่นคงต่อคำปฏิญาณว่า เราไม่ได้นั่งอยู่เปล่า ในเมื่อยังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้.
บทว่า ปลฺลงฺเกน อุปาวิสึ ความว่า เรานั่งคู้บังลังก์. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถามหาปันถกเถรคาถา
จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา
อัฏฐกนิบาต