๗. ปฐมพันธนาสูตร และ ๘. ทุติยพันธนสูตร
โดย บ้านธัมมะ  2 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 39573

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 397

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๗. ปฐมพันธนาสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 397

๗. ปฐมพันธนาสูตร

[๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมถูกชายไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง ๘ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมถูกชาย ไว้ด้วยรูป ๑ ด้วยการยิ้มแย้ม ๑ ด้วยคำพูด ๑ ด้วยเพลงขับ ๑ ด้วยการร้องไห้ ๑ ด้วยอากัปกิริยา ๑ ด้วยของกำนัล ๑ ด้วยผัสสะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมผูกชายไว้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ถูกผูกด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล ชื่อว่า ถูกผูกด้วยบ่วง.

จบ ปฐมพันธนสูตร ๗

๘. ทุติยพันธนสูตร

[๑๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมผูกหญิงไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง ๘ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมผูกหญิง ไว้ด้วยรูป ๑ ด้วยการยิ้มแย้ม ๑ ด้วยคำพูด ๑ ด้วยเพลงขับ ๑ ด้วยการร้องไห้ ๑ ด้วยอากัปปกิริยา ๑ ด้วยของกำนัล ๑ ด้วย ผัสสะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมผูกหญิงไว้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ถูกผูกด้วยอาการ ๘ อย่าง นี้แล ชื่อว่าถูกผูกด้วยบ่วง.

จบ ทุติยพันธนสูตรที่ ๘


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 398

อรรถกถาพันธนสูตรที่ ๗ - ๘

พันธนสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โรณฺเณน ได้แก่ ด้วยการร้องไห้. บทว่า อากปฺเปน ได้แก่ ด้วยวิธีการมีการนุ่งและการห่มเป็นต้น. บทว่า วนภงฺเคน ความว่า ด้วยเครื่องบรรณาการ มีดอกไม้และผลไม่ป่าที่ตนหักได้ มาจากป่า.

แม้สูตรที่ ๘ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน

จบ อรรถกถาพันธนสูตรที่ ๗ - ๘