๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายในทั้งสามกาล
โดย บ้านธัมมะ  9 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37118

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 8

๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายในทั้งสามกาล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 8

๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร (๑)

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายในทั้งสามกาล

[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของ ไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงจักษุอันเป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่


(๑) อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๑๐ แก้รวมกันไว้ท้ายสูตรที่ ๑๐.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 9

เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน.

จบ อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตรที่ ๗