[เล่มที่ 12] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 120
๘. มหาสีหนาทสูตร
มหาสีหนาทสูตรเรื่องของอเจลกัสสป 260/120
อรรถกถามหาสีหนาทสูตร 136
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 12]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 120
๘. มหาสีหนาทสูตร
เรื่องของอเจลกัสสปะ
[๒๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กัณณกถล มิคทายวัน ใกล้อุชุญญานคร ครั้งนั้น อเจละ ชื่อ กัสสปะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัดค้าน กล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว สมณพราหมณ์เหล่านั้น มักกล่าวตามคําที่พระโคดมผู้เจริญตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่ พระโคดมผู้เจริญ คําไม่จริง และชื่อว่าพยากรณ์ธรรม ตามสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและการกล่าวตามที่ชอบธรรม แม้น้อยหนึ่ง จะไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนแลหรือ ความจริงข้าพเจ้ามิได้มีความประสงค์ ที่จะกล่าวตู่พระโคดมผู้เจริญ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน กัสสปะ สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัดค้านกล่าวโทษ บุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียว ไม่เป็นอันกล่าวตามเรา และไม่ชื่อว่า กล่าวตู่เราด้วยคําที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง. ดูก่อน กัสสปะ เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติตบะ มีอาชีพเศร้าหมองบาง คนในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มีด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 121
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์. ดูก่อน กัสสปะ เรานั้นรู้การมา การไป จุติและอุบัติของบุคคลผู้ประพฤติตบะเหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เราจักติตบะทุกอย่าง จักคัดค้านกล่าวโทษ บุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมอง โดยส่วนเดียวทําไมเล่า.
[๒๖๑] ดูก่อน กัสสปะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด ทําการโต้เถียงผู้อื่น มีท่าทางเหมือนคนแม่นธนูอยู่ พวกเขาน่าจะเที่ยวทําลายทิฏฐิทั้งหลาย ด้วยปัญญา. ก็สมณพราหมณ์พวกนั้น ย่อมลงกับเราในฐานะบางอย่าง ไม่ลงกับเราในฐานะบางอย่าง. บางอย่างที่เขากล่าวว่าดี แม้เราก็กล่าวว่าดี. บางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี แม้เราก็กล่าวว่าไม่ดี. บางอย่างที่เขากล่าวว่าดี เรากลับกล่าวว่าไม่ดี. บางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี เรากลับกล่าวว่าดี. บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวว่าดี.บางอย่างที่เรากล่าวว่าไม่ดี ฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่าดี. บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี ฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่าไม่ดี. บางอย่างที่เรากล่าวว่าไม่ดี ฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่าดี. เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ฐานะที่เราไม่ลงกันจงงดไว้ ในฐานะทั้งหลายที่ลงกัน วิญูชนจงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน เปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายดํา นับว่าเป็นฝ่ายดํา ใครเล่า ละธรรมเหล่านี้ได้ ไม่มีเหลือประพฤติอยู่ พระสมณโคดม หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 122
[๒๖๒] ดูก่อน กัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญูชนเมื่อซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้เหล่าใด เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพนับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐนับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายดํานับว่าเป็นฝ่ายดํา พระสมณโคดม ละธรรมเหล่านี้ได้ ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือว่า ท่านคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อน กัสสปะ วิญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญเราพวกเดียว ในข้อนั้น.
[๒๖๓] ดูก่อน กัสสปะ อีกข้อหนึ่งเล่า วิญูชนจงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนพวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเ ป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษนับว่าไม่มีโทษ ควรเสพนับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐนับว่าเป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายขาวนับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครเล่า สมาทานธรรมเหล่านี้ ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ พระสมณโคดม หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อน กัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้คือ วิญูชน เมื่อซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศลนับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษนับว่าไม่มีโทษ ควรเสพนับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐนับว่าเป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายขาวนับว่าเป็นฝ่ายขาว พระสมณโคดมสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อน กัสสปะ วิญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน ดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญ เราพวกเดียวในข้อนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 123
[๒๖๔] ดูก่อน กัสสปะ อีกข้อหนึ่งวิญูชนจงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน พวกเราเปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศลนับว่าเป็นอกุศล มีโทษนับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพนับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐนับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายดํานับว่าเป็นฝ่ายดํา ใครเล่าละธรรมเหล่านี้ได้ ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หมู่สาวกของพระโคดม หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อน กัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศลนับว่าเป็นอกุศล มีโทษนับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐนับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายดํานับว่าเป็นฝ่ายดํา หมู่สาวกของพระโคดม ละธรรมเหล่านี้ได้ ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อน กัสสปะ วิญูชนทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน ดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญเรา พวกเดียวในข้อนั้น.
[๒๖๕] ดูก่อน กัสสปะ อีกข้อหนึ่ง วิญูชนจงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน พวกเราเปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมทั้งหลายของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศลนับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษนับว่าไม่มีโทษควรเสพนับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐนับว่าเป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายขาวนับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ ไม่มีเหลือประพฤติอยู่ หมู่สาวกของพระโคดม หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อน กัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศลนับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษนับว่าไม่มีโทษ ควรเสพนับว่าควรเสพ เป็นธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 124
ประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว หมู่สาวกของพระโคดมสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสปะ วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญเราพวกเดียวในข้อนั้น. ดูก่อนกัสสปะ มรรคมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ บุคคลปฏิบัติตามแล้วจะรู้เอง จะเห็นเองว่า พระสมณโคดม กล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย. ดูก่อนกัสสปะ มรรคเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน ที่บุคคลปฏิบัติแล้ว จะรู้เอง จะเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย. มรรคมีองค์ ๘ อัน ประเสริฐนี้ คือ ความเห็นชอบ ความดําริชอบ พูดชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ. ดูก่อนกัสสปะ มรรคนี้แล ปฏิปทานี้ ที่บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จะรู้เอง จะเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย.
[๒๖๖] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้ทูลว่าข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ การบําเพ็ญตบะแม้เหล่านี้ นับว่าเป็นสามัญคุณ และนับว่าเป็นพรหมัญคุณของสมณพราหมณ์เหล่านั้น คือ คนเปลือย ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ เชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่แบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่ทําเจาะจง ไม่รับภิกษาที่ได้นิมนต์ไว้ เขาไม่รับภิกษาจากปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูนํามา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นํามา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อม สากนํามา ไม่รับภิกษาของคน ๒ คน ที่กําลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กําลังให้ลูกดูดนม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 125
ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทําไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มของหมักดอง. เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคําเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสองคําบ้าง รับภิกษาที่เรือนเจ็ดหลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวเจ็ดคําบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดใบเดียวบ้าง สองใบบ้าง เจ็ดใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง เจ็ดวันบ้าง. เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ การ บําเพ็ญตบะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ นับว่าเป็นสามัญคุณและเป็นพรหมัญคุณ คือ เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรําเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกํายานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ. ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ การบําเพ็ญตบะ ของสมณพราหมณ์เหล่านี้ จัดเป็นสามัญคุณ และเป็นพรหมัญคุณ คือ เขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทําด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทําด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทําด้วยขนปีกนกเค้าแมวบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืนห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง ประกอบความเพียรในการกระโหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม สําเร็จการนอนบนหนามบ้าง สําเร็จการนอนบนแผ่น-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 126
กระดานบ้าง สําเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีอยู่กลางแจ้ง นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็นขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการอาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง.
[๒๖๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาเป็นผู้เปลือยทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง. สีลสัมปทา จิตตสัมปทา หรือปัญญาสัมปทานี้ เป็นอันเขาไม่ได้อบรมแล้ว ไม่ได้กระทําให้แจ้งแล้ว. ที่แท้ เขายังห่างไกลจากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ. ดูก่อนกัสสปะ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทําให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา มีข้าวฟ่างเป็นภักษา ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ. เพียงเท่านี้ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทา นี้เป็นอันเขาไม่ได้อบรมแล้ว ไม่ได้กระทําให้แจ้งแล้ว. ที่แท้เขายังห่างไกลจากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ. ดูก่อนกัสสปะ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนและทําให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการอาบน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 127
วันละสามครั้งอยู่บ้าง เพียงเท่านี้ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทานี้เป็นอันเขาไม่ได้อบรมแล้ว ไม่ได้กระทําให้แจ้งแล้ว. ที่แท้เขายังห่างไกลจากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ. ดูก่อนกัสสปะ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่ความเบียดเบียน และทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.
[๒๖๘] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะ ได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สามัญคุณทําได้ยาก พรหมัญคุณทําได้ยาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ คํากล่าวนั่นเป็นปกติในโลกแล ที่สามัญคุณทําได้ยาก พรหมัญคุณทําได้ยาก. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาเป็นผู้เปลือยทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนอยู่เช่นนี้บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ สามัญคุณหรือพรหมัญคุณ จักเป็นกิจที่กระทําได้ยาก กระทําได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบําเพ็ญตบะนี้แล้ว ข้อนั้นไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สามัญคุณทําได้ยาก พรหมัญคุณทําได้ยากดังนี้แล ก็คหบดีหรือบุตรคหบดี โดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจทําสามัญคุณและพรหมัญคุณนั้น ได้ด้วยการกล่าวว่า เอาเถอะเราจักเป็นคนเปลือยทอดทิ้งมรรยาท. เลียมือ ฯลฯเ ป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนอยู่เช่นนี้บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ ก็เพราะสามัญคุณ หรือพรหมัญคุณ เป็นกิจที่ทําได้ยาก ทําได้แสนยาก เพราะต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบําเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่าสามัญคุณทําได้ยาก พรหมัญคุณทําได้ยากนั่น สมควรแล้ว. ดูก่อนกัสสปะต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทําให้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 128
แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขา เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ. ดูก่อนกัสสปะ สามัญคุณ หรือพรหมัญคุณ จักเป็นกิจที่ทําได้ยาก กระทําได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบําเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจะต้องกล่าวว่า สามัญคุณทําได้ยาก พรหมมัญคุณทําได้ยาก ดังนี้เลย ก็คหบดีหรือบุตรคหบดีโดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจทําสามัญคุณและพรหมัญคุณนั้นได้ ด้วยการกล่าวว่า เอาเถอะ เราจะเป็นคนเปลือย มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ. ดูก่อนกัสสปะก็เพราะสามัญคุณหรือพรหมัญคุณ เป็นกิจที่ทําได้ยาก กระทําได้แสนยาก เพราะต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบําเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่า สามัญคุณทําได้ยาก พรหมัญคุณทําได้ยาก ดังนี้ สมควรแล้ว. ดูก่อน กัสสปะ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ ประกอบความขวนขวายในการอาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ สามัญคุณหรือพรหมัญคุณ จักเป็นกิจที่กระทําได้ยาก กระทําได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สามัญคุณทําได้ยาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 129
พรหมัญคุณทําได้ยาก ดังนี้เลย. ก็คหบดีหรือบุตรคหบดี โดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจทําสามัญคุณ และพรหมัญคุณนี้ได้ด้วยการกล่าวว่า เอาเถอะเราจะทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ ประกอบความขวนขวายในการลงอาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ ก็เพราะสามัญคุณหรือพรหมัญคุณ เป็นกิจที่กระทําได้ยาก กระทําได้แสนยาก เพราะต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และเพราะต้องเว้นการบําเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่า สามัญคุณทําได้ยาก พรหมัญคุณทําได้ยาก ดังนี้ สมควรแล้ว. ดูก่อนกัสสปะ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.
[๒๖๙] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ คํากล่าวที่ว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก นั่นเป็นปกติในโลกแล. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาเป็นคนเปลือย ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ ฯลฯ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเห็นปานนี้อยู่ ดูก่อนกัสสปะ สมณะหรือพราหมณ์จักรู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบําเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจะต้องกล่าวว่าสมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก ดังนี้เลย. ก็คหบดีหรือบุตรคหบดีโดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจรู้สามัญคุณ และพรหมัญคุณนี้ได้ว่า สมณะหรือพราหมณ์แม้นี้ เป็นคนเปลือย ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ ฯลฯ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือน เช่นนี้บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ ก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 130
เพราะสมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้รู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก เพราะต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบําเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก ดังนี้สมควรแล้ว. ดูก่อนกัสสปะต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ที่หล่นเยียวยาอัตภาพ. ดูก่อน กัสสปะ สมณะหรือพราหมณ์ จักรู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบําเพ็ญตบะนี้ ไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก ดังนี้เลย. ก็สมณะหรือพราหมณ์นั่น อันคหบดีหรือบุตรคหบดีโดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจรู้ได้ว่า สมณะหรือพราหมณ์นี้ เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา มีข้าวฟ่างเป็นภักษา ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ที่หล่นเยียวยาอัตภาพ. ดูก่อนกัสสปะ สมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้รู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก เพราะต้องเว้นจากการปฏิบัติอันมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบําเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น จึงสมควรกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก. ดูก่อนกัสสปะ ก็เพราะภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้างพราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ ประกอบความขวนขวายในการอาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 131
สมณะหรือพราหมณ์ จักรู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติ มีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบําเพ็ญตบะนี้ ไม่น่าจักกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก ดังนี้เลย. ก็สมณะหรือพราหมณ์นั้น อันคหบดีหรือบุตรคหบดีโดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจรู้ได้ว่า สมณะหรือพราหมณ์นี้ ทรงผ้าป่านบ้าง ทรงผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ ประกอบด้วยการขวนขวายในการอาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ เพราะเว้นจากการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้และเว้นจากการบําเพ็ญตบะนี้ สมณะหรือพราหมณ์จะรู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก เพราะฉะนั้น จึงสมควรกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก. ดูก่อนกัสสปะ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง ดังนี้.
[๒๗๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็สีลสัมปทานนั้นเป็นไฉน จิตตสัมปทาเป็นไฉน ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ฯลฯ ดูก่อนกัสสปะ ก็ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ละการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นประกอบพร้อมด้วยศีล สีลขันธ์อันประเสริฐนี้ เสวยสุขอันไม่มีโทษ เป็นไปในภายใน ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ นี้แลสีลสัมปทานั้น ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ นี้เป็นจิตสัมปทาของเธอประการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 132
หนึ่ง นี้แลจิตตสัมปทา ฯลฯ โน้ม น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ. นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการหนึ่ง ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการหนึ่ง นี้แลญาณสัมปทา. ดูก่อนกัสสปะ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทาอย่างอื่นที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทานี้ไม่มีเลย.
[๒๗๑] ดูก่อนกัลสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวศีล สรรเสริญคุณแห่งศีลโดยอเนกปริยาย. ดูก่อนกัสสปะ ศีลอันประเสริฐยอดเยี่ยมมีประมาณเท่าใด เรายังไม่เห็นผู้ใดทัดเทียมเราในศีลนั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน ที่จริงเราผู้เดียว เป็นผู้ยิ่งในศีลนั้น คือ อธิศีล. ดูก่อนกัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวตบะอันกีดกันกิเลส กล่าวสรรเสริญคุณตบะอันกีดกันกิเลสโดยอเนกปริยาย. ดูก่อนกัสสปะ ตบะอันกีดกันกิเลสอันประเสริฐยอดเยี่ยมมีประมาณเท่าใด เรายังไม่เห็นผู้ใดทัดเทียมเราในตบะนั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหนที่จริง เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในตบะนั้น คือ อธิจิต. ดูก่อนกัสสปะ ยังมีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวปัญญา สรรเสริญคุณแห่งปัญญาโดยอเนกปริยาย. ดูก่อนกัสสปะ ปัญญาอันประเสริฐ ยอดเยี่ยมมีประมาณเท่าใด เรายังไม่เห็นผู้ใดทัดเทียมเรา ในปัญญานั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน แท้จริง เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งกว่า ในปัญญานั้นคือ อธิปัญญา. ดูก่อนกัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้กล่าววิมุตติ สรรเสริญคุณแห่งวิมุตติโดยอเนกปริยาย. ดูก่อนกัสสปะ วิมุตติอันประเสริฐยอดเยี่ยมมีประมาณเท่าใด เราไม่เห็นผู้ใดทัดเทียมเราในวิมุตตินั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน แท้จริงเราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งกว่าในวิมุตตินั้นคือ อธิวิมุตติ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 133
[๒๗๒] ดูก่อนกัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท แต่บันลือในเรือนว่างไม่ใช่ในบริษัท. ท่านพึงบอกปริพาชกพวกนั้นว่า พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้เลย. ดูก่อนกัสสปะ ท่านพึงบอกอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท บันลือในบริษัท ไม่ใช่ในเรือนว่าง. ดูก่อนกัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะโคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท ไม่ใช่บันลืออย่างองอาจ. ท่านพึงบอกปริพาชกพวกนั้นว่า พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้เลย. ดูก่อนกัสสปะ ท่านพึงบอกอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ. ดูก่อนกัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานที่จะมีได้ คือ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์จะพึงกล่าวอย่างนี้ พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ แต่เทวดาและมนุษย์มิได้ถามปัญหาเธอ ถึงถามเธอก็พยากรณ์ไม่ได้ ถึงจะพยากรณ์ได้ ก็ยังจิตของเขาให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาไม่ได้ ถึงให้ยินดีได้ เขาก็ไม่สําคัญจะฟัง ถึงฟัง ก็ไม่เลื่อมใส ถึงเลื่อมใสก็ไม่ทําอาการของผู้เลื่อมใส ถึงทําก็ไม่ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ถึงปฏิบัติก็ไม่ชื่นชม. ท่านพึงบอกพวกเขาว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย. ดูก่อนกัสสปะ ท่านพึงบอกอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ เทวดาและมนุษย์ย่อมถามปัญหาพระองค์ พระองค์ถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นได้ ยังจิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมสําคัญปัญหาพยากรณ์ว่า อันตนๆ ควรฟัง ครั้นฟังแล้วย่อมเลื่อมใส ครั้นเลื่อมใสแล้ว ย่อมทําอาการของผู้เลื่อมใส ย่อมปฏิบัติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 134
เพื่อความเป็นอย่างนั้น ครั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมชื่นชม. ดูก่อนกัสสปะ. สมัยหนึ่งเราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. เพื่อนพรหมจรรย์ของท่านคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์นั้น ชื่อว่า นิโครธปริพาชก ได้ถามปัญหาในตบะอันกีดกันกิเลสอย่างยิ่ง เราถูกถามแล้วได้พยากรณ์แก่เขา เมื่อเราพยากรณ์แล้วเขาปลื้มใจเหลือเกิน.
[๒๗๓] อเจลกัสสปะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่า ฟังธรรมของผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จะไม่ปลื้มใจอย่างเหลือเกิน แม้ข้าพระองค์ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยังปลื้มใจเหลือเกิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตไพเราะยิ่งนักข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตไพเราะยิ่งนักเปรียบเหมือนหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจะเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.
[๒๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน ต่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วจึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้. อเจลกัสสปะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชาหวังอุปสมบท ในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน ต่อล่วง ๔ เดือนภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุไซร้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 135
ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาส ๔ ปี ต่อล่วง ๔ ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วจึงให้บรรพชาให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ. อเจลกัสสปะได้บรรพชา ได้อุปสมบท ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
ก็ท่านกัสสปะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกแต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่นานนัก ก็ทําให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้. ก็ท่านกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจํานวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนี้แล.
จบมหาสีหนาทสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 136
อรรถกถามหาสีหนาทสูตร
มหาสีหนาทสูตรว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในเมืองอุรุญญา (๑) เป็นต้น ในมหาสีหนาทสูตรนั้นมีการ พรรณนาตามลําดับบท ดังต่อไปนี้
บทว่า อุรฺุายํ ความว่าคําว่า อุรุญญา นี่แหละเป็นชื่อของแคว้น บ้าง ของเมืองบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมืองอุรุญญาประทับอยู่. บทว่า ในสวนกวางชื่อกัณณกถละ คือ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง ชื่อ กัณณกถละมีอยู่ในที่ไม่ไกลแห่งเมืองนั้น. ภูมิภาคนั้น เรียกว่า สวนกวาง เพราะพระราชทานอภัยแก่กวาง ในสวนกวางชื่อกัณณกถละนั้น.
บทว่า เปลือย คือ นักบวชเปลือย. บทว่า กัสสปะ เป็นชื่อของ นักบวช นั้น. บทว่า ผู้มีตบะ คือ ผู้อาศัยตบะ. บทว่า ผู้มีการเลี้ยงชีพ เศร้าหมอง คือ การเลี้ยงชีพของนักบวชนั้นเศร้าหมองด้วยอํานาจแห่งความเปลือย และการมีความประพฤติเสียเป็นต้น เหตุนั้น จึงชื่อว่ามีการเลี้ยงชีพเศร้าหมอง ผู้มีการเลี้ยงชีพเศร้าหมองนั้น. บทว่า ย่อมติเตียน คือ ย่อม ตําหนิ. บทว่า ย่อมว่าร้าย คือ ย่อมเย้ยหยัน ย่อมเพิดเพ้ย. บทว่า และ ย่อมพยากรณ์ธรรมตามสมควรแก่ธรรม คือ ย่อมกล่าวเหตุสมควรแก่เหตุที่ พระโคตมะผู้เจริญตรัสแล้ว. บทว่า วาทะและอนุวาทะ เป็นไปกับด้วยธรรม คือ วาทะและอนุวาทะของท่าน มีเหตุด้วยเหตุที่คนอื่นกล่าวแล้วคือเหตุอัน
(๑) บาลีเป็น อุชุญญา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 137
ผู้รู้พึงติเตียนว่า ใครๆ แม้ไม่ประมาท ก็ไม่มาหรือ. คํานี้ ท่านกล่าวไว้ว่าเหตุที่ควรติเตียนในเพราะวาทะของท่านไม่มีหรือ. คําว่า ไม่ต้องการกล่าวตู่ คือ ไม่ต้องการกล่าวด้วยคําไม่เป็นจริง.
ในคําว่า ผู้มีตบะ มีการเลี้ยงชีพเศร้าหมองบางคน เป็นต้น พึงทราบดังนี้ คนในโลกบางคนมีตบะ เพราะอาศัยตบะมีการบวชเป็นอเจลกเป็นต้น คิดว่า เราจักเลี้ยงชีวิตด้วยของเศร้าหมอง จึงยังตนให้ลําบากด้วยประการต่างๆ มีกินหญ้าและขี้วัว เป็นต้น และไม่ได้การ ดําเนินชีวิตด้วยความสุขเพราะมีบุญน้อย. เขาบําเพ็ญทุจริต ๓ แล้วเกิดในนรก. อีกคนหนึ่ง อาศัยตบะเช่นนั้นเป็นผู้มีบุญ ย่อมได้ลาภสักการะ. เขาเข้าใจว่า บัดนี้ คนเช่นเราไม่มีแล้ว ยกย่องตนไว้อยู่ในฐานะสูงคิดว่า จักยังลาภให้เกิดยิ่งๆ ขึ้น และบําเพ็ญทุจริต ๓ ด้วยอํานาจแห่งอเนสนา แล้วจะเกิดในนรก นัยต้นกล่าวหมายถึงบรรพชิตทั้งสองนี้.
อีกคนหนึ่ง เลี้ยงชีพเศร้าหมอง แม้อาศัยตบะ เป็นผู้มีบุญน้อย ย่อมไม่ได้การดําเนินชีวิตด้วยความสุข. เขาคิดว่า ความเป็นอยู่สบาย ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา เพราะไม่ได้ทําบุญไว้ในก่อน เอาละ บัดนี้ เราจะทําบุญดังนี้แล้วบําเพ็ญสุจริต ๓ จะเกิดในสวรรค์.
อีกคนหนึ่ง เลี้ยงชีพเศร้าหมอง เป็นผู้มีบุญ ย่อมได้การดําเนินชีวิตด้วยความสุข เขาคิดว่า ความเป็นอยู่สบายย่อมเกิดแก่เรา เพราะเป็นผู้ทําบุญไว้ในก่อน ละอเนสนาแล้ว บําเพ็ญสุจริต ๓ จะเกิดในสวรรค์. นัยที่ ๒ กล่าวหมายถึงบรรพชิตทั้งสองนี้.
ส่วนผู้บําเพ็ญตบะคนหนึ่ง มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยความประพฤติภายนอก เป็นดาบส หรือเป็นปริพาชกที่ปกปิด ย่อมไม่ได้ปัจจัยที่ชอบใจเพราะมีบุญน้อย. เขาบําเพ็ญทุจริต ๓ ด้วยอํานาจแห่งอเนสนา ตั้งตนไว้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 138
ในความสุข จะเกิดในนรก. อีกรูปหนึ่งมีบุญ เกิดมานะขึ้นว่า บัดนี้ คนเช่นเราไม่มี หรือยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นด้วยอํานาจอเนสนา. คิดส่งๆ เป็นต้น ด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิว่า ความสัมผัสแห่งปริพาชิกาสาวรุ่น ผู้มีขนอ่อนนุ่มนี้เป็นความสุข หรือถึงความดื่มด่ําในกาม บําเพ็ญทุจริต ๓ จะตกนรก. นัยที่ ๓ กล่าวถึงบรรพชิตทั้งสอง.
ส่วนอีกรูปหนึ่ง มีทุกข์น้อย มีบุญน้อย. เขาคิดว่า เราไม่ได้ชีวิตด้วยความสุข เพราะไม่ได้ทําบุญไว้แม้ในก่อน ดังนี้แล้วบําเพ็ญสุจริต ๓ จึงเกิดในสวรรค์. อีกรูปหนึ่ง มีบุญ. เขาคิดว่า เราได้ความสุข เพราะทําบุญไว้ในก่อน แม้บัดนี้ ก็จักทําบุญเหมือนกัน จึงบําเพ็ญสุจริต ๓ จะเกิดในสวรรค์. นัยที่ ๔ กล่าวถึงบรรพชิตสองรูปนี้. การกระทํานี้มาด้วยอํานาจแห่งเดียรถีย์ ไม่ได้แม้ในศาสนา.
นักบวชบางคน เป็นผู้มีความเป็นอยู่เศร้าหมองด้วยอํานาจแห่งการสมาทานธุดงค์ หรือเที่ยวไปทั่วบ้าน ก็ไม่ได้อาหารเต็มท้อง เพราะมีบุญน้อย. เขาคิดว่าจักยังปัจจัยให้เกิดขึ้น จึงทําอเนสนาด้วยอํานาจเวชกรรมเป็นต้น โอ้อวดพระอรหัต หรือซ่องเสพเรื่องโกหก ๓ ประการ ย่อมเกิดในนรก. อีกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีบุญเช่นนั้นเหมือนกัน. เขายังมานะให้เกิดขึ้นเพราะบุญสมบัตินั้น ประสงค์จะทําลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้มั่นคง จึงบําเพ็ญทุจริต ๓ ด้วยอํานาจ อเนสนา ย่อมเกิดในนรก.
อีกรูปหนึ่ง สมาทานธุดงค์ เป็นผู้มีบุญน้อย ย่อมไม่ได้การดําเนินชีวิตโดยความสุข. เขาคิดว่า เราไม่ได้อะไรๆ เพราะไม่ได้ทําบุญไว้ในก่อน ถ้าบัดนี้ จักทําอเนสนาแล้ว แม้ต่อไป ก็จักได้ความสุขยาก ดังนี้แล้ว บําเพ็ญสุจริต ๓ เมื่อไม่อาจบรรลุพระอรหัต ก็จะเกิดในสวรรค์. อีกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีบุญ. เขาคิดว่า เดี๋ยวนี้ เรามีความสุข เพราะทําบุญไว้ในก่อน แม้บัดนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 139
ก็จักทําบุญ ดังนี้แล้ว ละอเนสนา บําเพ็ญสุจริต ๓ เมื่อไม่อาจบรรลุพระอรหัตก็จะเกิดในสวรรค์
คําว่า ซึ่งที่มาด้วย คือคนเหล่านี้มาจากที่โน้น ฉะนั้นจึงชื่อว่า ที่มาอย่างนี้. บทว่า คติฺจ ความว่า สถานที่จะพึงไปในบัดนี้. คําว่า ซึ่งที่จุติด้วย คือ เคลื่อนจากที่นั้นด้วย. คําว่า ซึ่งที่เกิดด้วย คือ ความเกิดอีก ของผู้จุติจากที่นั้น คําว่า เราจักติเตียนตบะทั้งปวงทําไม คือ เราจักติเตียนด้วยเหตุไร. ด้วยว่า เราย่อมติเตียนสิ่งที่ควรติเตียน สรรเสริญสิ่งที่ควรสรรเสริญ. จริงอยู่ เขาก็เหมือนช่างย้อมผ้า กระทําการห่อผ้า ไม่แสดงว่า เราจักทําผ้าที่ซักแล้ว และยังไม่ได้ซักไว้ห่อเดียวกัน. บัดนี้ เมื่อพระองค์จะประกาศความข้อนั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีอยู่.
คําว่า เขา (กล่าว) ถึงบางอย่าง คือศีล ๕ . ก็ไม่มีใครในโลกกล่าวศีล ๕ นั้นว่า ไม่ดี. คําว่า เขา (กล่าว) ถึงบางสิ่ง อีก คือเวร ๕ .ไม่มีใครๆ กล่าวถึงเวรนั้นว่าดี. คําว่า เขา (กล่าว) ถึงบางสิ่ง อีก คือความไม่สํารวมในทวาร ๕. ได้ยินว่า เขากล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า จักษุไม่ถูกปิดเสีย ก็จะพึงเห็นรูปอันน่าพอใจด้วยจักษุ. นัยนี้ ย่อมมีในทวารอื่น มีโสตะ เป็นต้น. คําว่า เขา (กล่าว) ถึงบางสิ่ง คือความสํารวมในทวาร ๕. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเสมอและไม่เสมอแห่งวาทะของพระองค์กับวาทะของผู้อื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงความเสมอและไม่เสมอแห่งวาทะของผู้อื่น กับวาทะของพระองค์ จึงตรัสคําเป็นต้นว่า เรา....ใด.
แม้ในข้อนั้น ก็พึงทราบเนื้อความด้วยอํานาจศีล มีศีล ๕ เป็นต้น. คําว่า สมนุยุญฺชนฺตํ คือ จงซักไซ้. ก็แลในที่นี้ เมื่อถามถึงความเห็น ชื่อว่า ย่อมสอบถาม. เมื่อถามถึงเหตุ ชื่อว่า ย่อมซักถาม เมื่อถามถึงทั้งสองอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 140
ชื่อว่า ย่อมสอบสวน. คําว่า ซึ่งศาสดากับศาสดา คือเปรียบเทียบศาสดากับศาสดาว่าศาสดาของท่านละธรรมเหล่านั้นโดยประการทั้งปวงอย่างไร หรือว่า พระสมณโคดม. แม้ในบทที่ ๒ ก็อย่างนี้เหมือนกัน. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประกอบเนื้อความนั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า คนใด....แห่งผู้เจริญเหล่านี้.
ในคําเหล่านั้น คําว่า ที่เป็นอกุศล ที่นับว่า เป็นอกุศล อธิบายว่า ที่เป็นอกุศลด้วย ที่นับว่า ที่รู้ว่า เป็นอกุศลด้วย หรือว่า ที่ตั้งไว้เป็นส่วน.นัยในบททั้งปวงก็อย่างนี้. อนึ่ง ในบทเหล่านี้ คําว่า มีโทษ คือเป็นไปกับด้วยโทษ. คําว่า ไม่ประเสริฐ คือไม่อาจ ไม่สามารถ เพื่อเป็นธรรมอันประเสริฐ โดยอรรถว่าไม่มีโทษ.
คําว่า ผู้รู้เมื่อสอบถามอันใด คือ เมื่อผู้รู้ถามเรา และผู้อื่น ด้วยข้อใด พึงกล่าวอย่างนี้ ฐานะนั้นมีอยู่ ความว่า มีเหตุนั้น. คําว่า ก็หรือว่า คณาจารย์อื่น.....อันใด คือ ก็ท่านคณาจารย์อื่นละเหตุอันมีประมาณน้อยนั้นตามมีตามได้เป็นไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคํานี้ว่า พึงสรรเสริญเราโดยมากในข้อนั้น ดังนี้ ทั้งในการสอบถามศาสดากับศาสดา ทั้งในการสอบถามสงฆ์กับสงฆ์เพราะเหตุไร. เพราะแม้การสรรเสริญพระสงฆ์ ก็เป็นอันสรรเสริญศาสดาเหมือนกัน. จริงอยู่ แม้เมื่อผู้รู้เลื่อมใสก็ย่อมเลื่อมใสในสงฆ์ พร้อมด้วยพระพุทธเจ้า และย่อมเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์.
จริงอย่างนั้น ผู้รู้เห็นความสําเร็จแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือฟังพระธรรมเทศนาแล้วกล่าวว่าดูก่อนผู้เจริญ เป็นลาภของพระสาวกผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสํานักของศาสดาเป็นปานนี้หนอ ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในพระสงฆ์ พร้อมทั้งพระพุทธสมบัติอย่างนี้ ก็ผู้รู้ทั้งหลาย เห็นอาจาระโคจร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 141
และอิริยาบถ มีการก้าวไปถอยกลับเป็นต้นของภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้กล่าวว่าดูก่อนผู้เจริญ นี้เป็นอิริยาบถของพระสาวกผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสํานัก ก็แลคุณคือความสงบนี้ของพระศาสดาจักมีเพียงไร ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ ดังนั้น การสรรเสริญพระศาสดาก็เป็นอันสรรเสริญพระสงฆ์ แม้การสรรเสริญพระสงฆ์ ก็เท่ากับสรรเสริญพระศาสดาเหมือนกันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงสรรเสริญเราโดยมากในข้อนั้น ในนัยแม้ทั้ง ๒. เพราะแม้การสรรเสริญพระสงฆ์ก็เป็นอันสรรเสริญพระศาสนาเหมือนกัน พระสมณะโคดมทรงละธรรมเหล่านี้ทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นไป. ก็นี้เป็นความประสงค์ในข้อนี้ แม้ในคําเป็นต้นว่า ก็หรือว่า คณาจารย์ผู้เจริญอื่นใด.
ก็แล วิรัติมี ๓ ด้วยอํานาจแห่งสัมปัตตวิรัติ สมาทานวิรัติ และเสตุฆาตวิรัติ ในวิรัติเหล่านั้น เพียงแต่สัมปัตตวิรัติ และสมาทานวิรัติ ย่อมมีแก่ผู้อื่น ส่วนเสตุฆาตวิรัติไม่มีเลย โดยประการทั้งปวง. ก็ในตทังคปหานวิขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน ๕ อย่าง เพียงแต่ตทังคปหาน และวิขัมภนปหาน ย่อมมีแก่ผู้อื่น ด้วยอํานาจแห่งสมาบัติ ๘ และด้วยอํานาจเพียงวิปัสสนา ปหาน ๓ นอกจากนี้ไม่มีเลยโดยประการทั้งปวง. จริงอย่างนั้น สังวร ๕ คือ ศีลสังวร ขันติสังวร ญาณสังวร สติสังวร วิริยสังวร ในสังวรเหล่านั้น เพียงแต่ศีล ๕ และเพียงแต่อธิวาสนขันติ ย่อมมีแก่ผู้อื่น ที่เหลือย่อมไม่มีเลยโดยประการทั้งปวง. ก็อุเทศแห่งอุโบสถนี้มี ๕ อย่าง ในอุเทศแห่งอุโบสถเหล่านั้น เพียงแต่ศีล ๕ เหล่านั้น ย่อมมีแก่ผู้อื่น ปาฏิโมกขสังวรศีล ย่อมไม่มีเลยโดยประการทั้งปวง. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบันลือสีหนาทว่า ในวิรัติ ๓ ในปหานะ ๕ ในสังวร ๕ ในอุเทศ ๕ ในการละอกุศล และในการสมาทานกุศล เราเองด้วย สงฆ์สาวกของเราด้วย ย่อมปรากฏในโลก จริงอยู่ ชื่อว่าศาสดาเช่นเรา และชื่อว่าสงฆ์เช่นกับสงฆ์สาวกของเรา ย่อมไม่มี. ครั้นพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 142
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันลือสีนาทหอย่างนี้แล้ว จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ มรรคย่อมมีเพื่อรู้ความไม่วิปริตแห่งสีหนาทนั้น.
บรรดาคําเหล่านั้นคําว่า มรรค คือโลกุตตรมรรค. คําว่า ปฏิปทา คือข้อปฏิบัติเบื้องต้น. คําว่า พูดถูกกาล เป็นต้น พรรณนาไว้แล้วในพรหมชาลสูตร. บัดนี้ เมื่อจะแสดงมรรคและปฏิปทาทั้งสองเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสคําเป็นต้นว่า (มรรคประกอบด้วยองค์ ๘) อันประเสริฐนี้.
ก็แล อเจละ ได้ฟังคํานี้แล้วจึงคิดว่า พระสมณโคดม สําคัญว่ามรรคและปฏิปทามีอยู่แก่เราเท่านั้น ไม่มีแก่คนอื่น จึงสําคัญว่า เอาเถิด เราจักกล่าวมรรคของเราทั้งหลาย แก่พระสมณโคดมนั้น. ลําดับนั้น จึงกล่าวถึงปฏิปทาของอเจลกะ. เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะ จึงกราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า แม้การบําเพ็ญตบะเหล่านี้แล ฯลฯ ประกอบด้วยการขวนขวาย ในการลงอาบน้ำอยู่.
ในคําเหล่านั้น คําว่า "การบําเพ็ญตบะ" หมายความว่า ปรารภตบะ ทำตบะ. คําว่า นับว่าความเป็นสมณะ คือนับว่า การงานของสมณะ. คําว่า นับว่าความเป็นพราหมณ์ คือนับว่า การงานของพราหมณ์. คือ อเจลกะ หมายความว่า ไม่มีผ้านุ่งห่ม อธิบายว่า เป็นคนเปลือย. คําว่า ไร้มรรยาท คือทอดทิ้งมรรยาท. ในมรรยาททั้งหลายมีการถ่ายอุจจาระเป็นต้น เขาเว้นจากมรรยาทของกุลบุตรชาวโลก ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เคี้ยว และกิน. คําว่า เลียมือ คือเมื่อก้อนข้าวในมือหมดแล้ว ก็เลียมือด้วยลิ้น. หรือถ่ายอุจจาระก็เอามือเช็ดก้นแทนไม้. เขากล่าวว่า พระคุณเจ้า นิมนต์มารับภิกษาก็ไม่มา ฉะนั้น จึงชื่อว่าพระคุณเจ้าไม่มา. ก็แล แม้เขากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าจงหยุด ก็ไม่หยุด ฉะนั้นจึงชื่อว่าพระคุณเจ้าไม่หยุด. ได้ยินว่า เขาคิดว่า คําของผู้นี้ จักเป็นอันกระทําแล้ว จึงไม่ทําทั้ง ๒ อย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 143
คําว่า ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งเอาไว้ก่อน คือ (ไม่) รับภิกษา ที่เอาไว้เสียก่อนจึงนํามา. คําว่า ไม่รับภิกษาที่เขาทําอุทิศให้ คือ (ไม่รับ) ภิกษาที่เขายกมาถวายโดยกล่าวอย่างนี้ว่า (จงรับภิกษา) ที่พวกเราทําเฉพาะท่านทั้งหลายนี้. คําว่า ไม่รับนิมนต์ คือไม่ยินดี ไม่ถือเอาภิกษาที่เขานิมนต์ว่าขอท่านทั้งหลาย พึงเข้าไปสู่ครอบครัว หรือถนน หรือหมู่บ้านโน้น.
คําว่า ไม่รับภิกษาจากปากหม้อ คือ ไม่รับเอาภิกษาที่เขาคดจากหม้อถวาย. คําว่า ไม่รับภิกษาจากปากหม้อข้าว คือคําว่า "กโฬปิ" ได้แก่หม้อข้าว หรือกระติบ ไม่รับ (ภิกษา) จากหม้อข้าวหรือกระติบนั้น. เพราะเหตุไร. หม้อ และหม้อข้าวอาศัยเรา จึงถูกประหารด้วยจวัก.
คําว่า ไม่ (รับ) ภิกษาที่เขายืนคร่อมประตูให้ คือ ไม่รับภิกษาที่เขาทําธรณีประตูให้อยู่ในระหว่างมอบให้. เพราะเหตุไร. ผู้นี้อาศัยเราจึงได้การกระทําในระหว่าง แม้ในท่อนไม้ และสาก ก็มีนัยอย่างเดียวกัน.
คําว่า ไม่ (รับภิกษา) ของคน ๒ คน (ที่กําลังบริโภคอยู่) คือในเมื่อคน ๒ คนกําลังบริโภคอยู่ เมื่อคนหนึ่งลุกขึ้นให้ก็ไม่รับ. เพราะเหตุไร.เพราะอันตรายที่กลืนคําข้าวย่อมมีแก่คนหนึ่ง. ก็ในคําว่า ไม่ (รับภิกษา) ของคนมีท้อง เป็นต้น ความว่า เขาคิดว่า เด็กในท้องของหญิงมีท้องย่อมลําบาก เมื่อหญิงกําลังให้ลูกดื่มน้ำนม อันตรายในการดื่มน้ำนม ย่อมมีแก่เด็ก อันตรายแห่งความยินดีย่อมมีแก่หญิงผู้อยู่ในระหว่างผู้ชาย. คําว่า ที่เตรียมกันไว้ คือ ในภัตรที่เตรียมกันทําไว้. ได้ยินว่า ในคราวที่ข้าวยากหมากแพง สาวกของอเจลกะรวบรวมข้าวสารเป็นต้นจากที่นั้นๆ หุงข้าวเพื่อประโยชน์แก่อเจลกทั้งหลาย. อเจลกะผู้เคร่งครัดยังไม่รับแม้จากที่นั้น.
คําว่า ไม่ (รับภิกษา) ในที่มีสุนัข คือ ในที่ใดมีสุนัขที่เขาเลี้ยงไว้มันคิดว่า เราจักได้ก้อนข้าวย่อมไม่รับ (ภิกษา) ที่เขาไม่ให้มันในที่นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 144
นํามา. เพราะเหตุไร. เพราะอันตรายในก้อนข้าวย่อมมีแก่สุนัขนั้น. คําว่า แมลงวันตอม คือ ตอมเป็นหมู่ๆ ก็ถ้าฝูงคนเห็นอเจลกะแล้วคิดว่า เราจักให้ภิกขาแก่อเจลกะนั้น เข้าไปสู่โรงครัว ก็แลเมื่อพวกเขาเข้าไป แมลงวันซ่อนอยู่ที่ปากหม้อข้าวเป็นต้นบินว่อนเป็นกลุ่มๆ ก็ไม่ถือเอาภิกษาที่นํามาจากที่นั้น เพราะเหตุไร. เพราะเขาคิดว่าอันตรายแห่งการเที่ยวหากินของแมลงวันเกิดเพราะอาศัยเรา.
คําว่า กะแช่ คือ น้ำหมักที่ทําด้วยเปลือกข้าวทั้งปวง. ก็ในที่นี้การดื่มเหล้าย่อมมีโทษ ส่วนผู้นี้สําคัญว่ามีโทษ แม้ในน้ำเมาทั้งปวง. คําว่า รับภิกษาในเรือนเดียว คือ ได้ภิกษาในเรือนเดียวเท่านั้นก็กลับ. คําว่า กินคําเดียว คือ ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารคําเดียว. แม้ในการรับภิกษาในเรือนสองห้อง ก็มีนัยเดียวกัน. คําว่า ในถาดเดียว คือในถาดใบเดียว. ที่ชื่อว่า ทตฺติ ได้แก่ถาดเล็กๆ ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ใส่ยอดภิกษาวางไว้. คําว่า ค้างไว้วันหนึ่ง คือ อยู่ในระหว่างวันหนึ่ง. คําว่า ค้างกึ่งเดือน คือ อยู่ในระหว่างกึ่งเดือน. คําว่า กินภัตรโดยปริยาย คือกินภัตรตามวาระ ได้แก่ กินภัตรอันมาตามวาระแห่งวันอย่างนี้ คือ ตามวาระวันเดียว ตามวาระ ๒ วัน ตามวาระครึ่งเดือน.
คําว่า มีผักดองเป็นอาหาร คือ มีผักดองสดๆ เป็นอาหาร. คําว่า มีข้าวฟ่างเป็นอาหาร คือมีข้าวสารข้าวฟ่างเป็นอาหาร. ในลูกเดือย เป็นต้น ข้าวเปลือกที่เกิดเองในป่า ชื่อว่า ลูกเดือย. คําว่า กากข้าว คือกากที่ช่างหนังขีดหนังทิ้งไว้. คําว่า หตํ หมายถึง ยางบ้าง สาหร่ายบ้าง. คําว่า กณํ คือรํา. คําว่า ข้าวตัง คือ ข้าวไหม้ที่ติดอยู่ในหม้อข้าว. เขาถือเอาข้าวตังนั้นจากที่ที่คนเขาทิ้งไว้มากิน. เขาเรียกว่า ปลายข้าวสุกก็มี. คําว่า กํายาน เป็นต้น ชัดเจนแล้ว. คําว่า กินผลไม้ที่เป็นไป คือ กินผลไม้หล่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 145
คําว่า ผ้าป่าน คือผ้าปอป่าน. คําว่า ผ้าแกม คือผ้าปนกัน. คําว่า ผ้าห่อศพ คือผ้าที่เขาทิ้งไว้จากร่างคนตาย หรือผ้านุ่งที่เขากรองต้นตะไคร้น้ำและหญ้าเป็นต้นทําไว้ คําว่า ผ้าบังสุกุล คือผ้าเปื้อนที่เขาทิ้งไว้บนดิน. คําว่า เปลือกไม้ คือผ้าเปลือกไม้. คําว่า หนังเสือ คือผ้าหนังเสือ. คําว่า อชินกฺขิปํ คือหนังเสือนั้นเอง ถูกผ่ากลาง. คําว่า คากรอง คือผ้าที่เขากรองหญ้าคาทําไว้. แม้ใยปอและใยป่าน ก็นัยนี้แหละ คําว่า ผ้ากัมพลที่ทําด้วยผม คือผ้ากัมพลที่ทําด้วยผมมนุษย์. คําที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามุ่งหมายตรัสไว้ว่า แม้ฉันใดก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้ากัมพลที่ทอด้วยผมนับว่าเลวที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผ้ากัมพลที่ทอด้วยผม เย็นในเวลาเย็น และร้อนในเวลาร้อน มีค่าน้อยมีสีทราม มีกลิ่นเหม็นคลุ้ง และระคาย. คําว่า ผ้ากัมพลทําด้วยหางสัตว์ คือผ้ากัมพลที่ทําด้วยหางม้า. คําว่า ผ้าที่ทําด้วยปีกนกเค้า คือ ผ้านุ่งที่ผูกปีกนกเค้าทําไว้.
คําว่า ประกอบความเพียรเขย่ง คือ ประกอบความเพียรเขย่ง แม้เดินไปก็เขย่งเดินโหย่งๆ . คําว่า นอนบนหนาม คือ ทิ่มหนามเหล็กหรือหนามธรรมดาไว้บนพื้นดิน ลาดหนังไว้ในที่นั้นแล้วทําเป็นที่ยืนและที่จงกรมเป็นต้น. คําว่า นอน คือแม้เมื่อนอนก็นอนในที่นั้นเอง. คําว่า ที่นอนแผ่นกระดาน คือที่นอนทําด้วยแผ่นไม้. คําว่า ที่นอนสูง คือที่นอนในพื้นที่สูงๆ . คําว่า นอนตะแคงข้างเดียว คือนอนโดยข้างเดียวเท่านั้น. คําว่า หมกฝุ่น คือทาร่างกายด้วยน้ำมันแล้วยืนในที่ฝุ่นฟุ้ง ลําดับนั้น ฝุ่นจะติดที่ร่างกายของเขา ให้ฝุ่นนั้นเกาะอยู่. คําว่า นั่งบนอาสนะตามที่ปูลาดไว้ คือไม่ยังอาสนะให้กําเริบ ได้อาสนะอย่างใดก็นั่งในอาสนะอย่างนั้นเป็นปรกติ. คําว่า กินขี้ คือกินขี้เป็นปรกติ. คูถ เขาเรียกว่าขี้. คําว่า ไม่ดื่มน้ำเย็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 146
คือห้ามดื่มน้ำเย็น. คําว่า อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง ในเวลาเย็น คือ เวลาเย็นเป็นครั้งที่ ๓ อเจลกะคิดว่า เราจักลอยบาปวันละ ๓ ครั้ง คือ เช้า เที่ยง เย็น จึงประกอบการขวนขวายลงอาบน้ำ.
ลําดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงความที่การพยายามบําเพ็ญตบะนั้น เว้นจากสีลสัมปทา เป็นต้น เป็นการกระทําที่ไร้ประโยชน์จึงตรัสขึ้นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าอเจลกะ ดังนี้.
ในคําเหล่านั้น คําว่า ไกล คือ ในที่ไกล. คําว่า ไม่มีเวร คือเว้นจากเวรที่ให้เกิดโทษ. คําว่า ไม่เบียดเบียน คือเว้นจากความเบียดเบียนที่ให้เกิดโทมนัส. คําว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ (ความเป็นสมณะและความเป็นพราหมณ์) ทํายาก นี้ ท่านกัสสปะกล่าวแสดงว่า เมื่อก่อน พวกข้าพระองค์เข้าใจว่า ความเป็นสมณะ และความเป็นพราหมณ์ เพียงเท่านี้ แต่พระองค์ตรัสความเป็นสมณะและความเป็นพรหมณ์เป็นอย่างอื่น.
คําว่า คํานี้เป็นปรกติแล คือคํานี้เป็นปรกติ. คําว่า ดูก่อนกัสสปะถ้า (ความเป็นสมณะหรือความพราหมณ์ทํายาก) ด้วยประมาณนี้ คือว่าดูก่อนกัสสปะ ผิว่าความเป็นสมณะหรือความเป็นพราหมณ์ ด้วยประมาณนี้ ได้แก่ด้วยข้อปฏิบัติเล็กน้อยอย่างนี้ จักชื่อว่าทําได้โดยยาก ได้แก่ทําได้ยากยิ่งแล้ว แต่นั้น ข้อนี้จักไม่ควรกล่าวว่า ความเป็นสมณะทําได้ยาก ความเป็นพราหมณ์ทําได้ยากดังนี้ นี้เป็นอรรถาธิบายกับด้วยการเชื่อมบทในข้อนี้. การเชื่อมบทในที่ทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.
คําว่า รู้ยาก นี้ อเจลกัสสปะ นั้น กล่าวหมายเอาคํานี้ว่า เมื่อก่อนพวกข้าพระองค์เข้าใจเอาว่า เป็นสมณะหรือเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเท่านี้ แต่พระองค์ตรัสโดยประการอื่น.
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธคําโต้แย้งนั้น ของท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 147
กัสสปะนั้นแล้ว ทรงเปิดเผยความเป็นผู้รู้ยากตามสภาพแล้วตรัสคําขึ้นต้นว่า"เป็นปรกติแล" อีก. พึงเชื่อมบทแล้วทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวแล้วแม้ในข้อนั้น. เพราะเหตุไร อเจลกัสสปะ จึงถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญก็สีลสัมปทาเป็นไฉนเป็นต้น. ได้ยินว่า อเจลกัสสปะนี้เป็นคนฉลาด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ จึงศึกษาถ้อยคํา ภายหลังรู้การปฏิบัติของตนว่า ไม่เป็นประโยชน์ จึงคิดว่า พระสมณโคดมตรัสคําเป็นต้นว่า ก็สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทานี้ อันเขาไม่ได้อบรมแล้ว ไม่ได้ทําให้แจ้งแล้ว เขาห่างจากความเป็นสมณะ โดยแท้แล ดังนี้ เอาเถิด บัดนี้เราจะถามถึงสมบัติเหล่านั้นต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลถามเพื่อรู้แจ้งสีลสัมปทาเป็นต้น.
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เมื่อจะตรัสถึงแบบแผน เพื่อแสดงถึงความถึงพร้อมเหล่านั้น จึงตรัสคําขึ้นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ (ตถาคตเกิดขึ้นในโลก) นี้. คําว่า ดูก่อนกัสสปะ ก็ (สีลสัมปทาอื่นอันยิ่งกว่า ประณีตกว่า) สีลสัมปทาน (ไม่มี) ตรัสหมายถึงพระอรหัตตผล. จริงอยู่ ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระอรหัตตผลเป็นที่สุด เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ความถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้นอื่นอันยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า ความถึงพร้อมด้วยศีลจิต และปัญญาอันประกอบด้วยพระอรหัตตผลไม่มี ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงบันลือสีหนาทอันยิ่ง จึงตรัสคําขึ้นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ มีสมณพราหมณ์อยู่พวกหนึ่ง.
ในคําเหล่านั้น คําว่า ประเสริฐ คือ ปราศจากอุปกิเลส บริสุทธิ์อย่างยิ่ง. คําว่า อย่างยิ่ง คือสูงสุด. ก็ศีลนับแต่ศีลห้าเป็นต้น ตลอดถึงปาฏิโมกขสังวรศีล ชื่อว่า ศีลเหมือนกัน ส่วนศีลที่ประกอบด้วยโลกุตตรมรรค และผล ชื่อบรมศีล. คําว่า เรา (ไม่เห็น) ในศีลนั้น มีอรรถว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 148
เราไม่เห็นบุคคลผู้เสมอๆ ของตน ได้แก่บุคคลผู้เสมอกับเราด้วยศีล อันเสมอด้วยศีลของเรา แม้ในศีล แม้ในบรมศีลนั้น. คําว่า เราเอง ยิ่งในศีลนั้น คือ เราเท่านั้นเป็นผู้สูงสุดในศีลนั้น. ถามว่า ตรัสไว้ในไหน. ตอบว่า ในอธิศีล.
คําว่า อธิศีล อธิบายว่า อธิศีลนี้ เป็นอุดมศีล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบันลือสีหนาทนี้เป็นครั้งแรก ดังนี้.
คําว่า เป็นผู้กล่าวเกลียดชังด้วยตบะ คือ บุคคลที่ติเตียนตบะ. ในคํานั้นความเพียรใด ย่อมเผา (กิเลส) ฉะนั้น ความเพียรนั้น ชื่อว่า"ตบะ" นั้นเป็นชื่อของความเพียรที่เผากิเลส. ตบะนั้น ย่อมเกลียดกิเลสเหล่านั้น เหตุนั้น ตบะนั้นชื่อความเกลียดชัง.
ในบทว่า อริยะ อย่างยิ่ง นี้ ความว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะปราศจากโทษ ความเกลียดชังด้วยตบะ กล่าวคือ ความเพียรด้วยวิปัสสนาเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งวัตถุมีอารมณ์ ๘ ประการ ชื่อความเกลียดชังด้วยตบะนั้นเอง. ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล ชื่อว่า ยอดเยี่ยม. ความเกลียดชังในบทนี้ว่า อธิเชคุจฺฉํ เป็นความเกลียดชัง ความเกลียดชังอย่างอุดม ชื่อว่า อธิเชคุจฺฉํ เพราะฉะนั้น พึงเห็นอรรถในบทนั้นอย่างนี้ว่า คือ อธิเชคุจฉะ เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในอธิเชคุจฉะ นั้น.
มีอธิบายแม้ในปัญญาธิการ. กัมมัสสกตาปัญญา และวิปัสสนาปัญญา ชื่อว่า ปัญญา. ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล ชื่อว่า ปรมปัญญา. ในคําว่า อธิปญฺญํ นี้พึงทราบว่าเป็นลิงควิปัลลาส อรรถในบทนั้นมีอย่างนี้คือชื่อว่า อธิปัญญานี้ใดเราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในอธิปัญญานั้น.
ใน วิมุตตาธิการ มีอรรถดังนี้. ตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ ชื่อว่า วิมุตติ. ส่วนสมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 149
พึงทราบว่า เป็นปรมวิมุตติ. ก็ในบทนี้ว่า ยทิทํ อธิวิมุตฺติ มีอรรถว่า อธิวิมุตตินี้ใด เราผู้เดียว เป็นผู้ยิ่งในอธิวิมุตตินั้น.
บทว่า สฺุญาคาเร อธิบายว่า นั่งคนเดียวในเรือนว่างเปล่า. บทว่า ปริสาสุ จ ความว่า ในบริษัท ๘. สมจริงดังพระพุทธดํารัสที่ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เวสารัชชญาณสี่นี้ที่ตถาคตถึงพร้อมแล้ว จึงปฏิญาณอาสภสถานบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ดังนี้. พระสูตรพึงให้พิสดาร. บทว่า ปญฺหญฺจ นํ ปุจฺฉนฺติ ความว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตรวบรวมปัญหาแล้ว ย่อมทูลถาม. บทว่า พฺยากโรติ ความว่า ทรงแก้ในขณะนั้นทันที. บทว่า จิตฺตํ อาราเธติ ความว่า ทรงยังจิตของมหาชนให้เอิบอิ่มด้วยการแก้ปัญหา. บทว่า โน จ โข โสตพฺพํ มฺญนฺติ ความว่าแม้เมื่อพระองค์ตรัสทําจิตให้ยินดี คนเหล่าอื่นก็ไม่สนใจที่จะฟัง อธิบายว่าพึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า โสตพฺพญฺจสฺส มฺญนฺติ ความว่า เทวดาก็ดี มนุษย์ก็ดี ย่อมสนใจฟังด้วยความอุตสาหะใหญ่ บทว่า ปสีทนฺติ ความว่าเป็นผู้เลื่อมใสดีแล้ว มีจิตควร มีจิตอ่อน. บทว่า ปสนฺนาการํ กโรนฺติ ความว่า ไม่เป็นผู้เลื่อมใสงมงาย เมื่อบริจาควัตถุมีจีวรเป็นต้นอันประณีต และมหาวิหารมีเวฬุวันวิหารเป็นต้น ชื่อว่ากระทําอาการแห่งผู้เลื่อมใส. บทว่า ตถตฺตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรมใด ย่อมปฏิบัติเพื่อความมีแห่งธรรมโดยประการนั้น คือ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. บทว่า ตถตฺตาย จ ปฏิปชฺชนฺติ ความว่า ย่อมปฏิบัติเพื่อความมีอย่างนั้น. จริงอยู่ เทวดาและมนุษย์ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว บางพวกตั้งอยู่ในสรณะ บางพวกตั้งอยู่ในศีลห้า พวกอื่นออกบวช. บทว่า ปฏิปนฺนา จ อาราเธนฺติ ความว่า ก็ผู้ปฏิบัติปฏิปทา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 150
นั้นย่อมอาจเพื่อให้บริบูรณ์ แต่ให้บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง พึงกล่าวว่าย่อมยังจิตของพระโคดมผู้เจริญนั้นให้ยินดีด้วยการบําเพ็ญการปฏิบัติ. ก็บัณฑิตดํารงอยู่ในโอกาสนี้ แล้วพึงประมวลสีหนาททั้งหลาย.
ก็สีหนาทหนึ่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เราเห็นผู้บําเพ็ญตบะบางคนเกิดในนรก. สีหนาทหนึ่งว่า เราเห็นคนอื่นเกิดในสวรรค์. สีหนาทหนึ่งว่า เราผู้เดียว เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในการละอกุศลธรรม. สีหนาทหนึ่งว่าเราผู้เดียวเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแม้ในการสมาทานกุศลธรรม. สีหนาทหนึ่งว่าสงฆ์สาวกของเราเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในการละอกุศลธรรม. สีหนาทหนึ่งว่า สงฆ์สาวกเราเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแม้ในการสมาทานกุศลธรรม. สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มีผู้ใดเช่นเราด้วยศีล. สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มีผู้ใดเช่นเรา ด้วยวิริยะ. สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มีผู้ใดเช่นเราด้วยปัญญา. สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มีผู้ใดเช่นเราด้วยวิมุตติ.
สีหนาทหนึ่งว่า เราบันลือสีหนาท ก็นั่งในท่ามกลางบริษัทบันลือ. สีหนาทหนึ่งว่า เราเป็นผู้องอาจบันลือ. สีหนาทหนึ่งว่า เทวดาและมนุษย์ย่อมถามปัญญากะเรา. สีหนาทหนึ่งว่าเราจะแก้ปัญหา. สีหนาทหนึ่งว่า เราจะยังจิตของคนอื่นให้ยินดีด้วยการแก้. สีหนาทหนึ่งว่า ฟังแล้ว ย่อมสนใจที่จะฟัง. สีหนาทหนึ่งว่า ฟังแล้ว ย่อมเลื่อมใสเรา. สีหนาทหนึ่งว่า เลื่อมใสแล้ว ย่อมทําอาการของผู้เลื่อมใส. สีหนาทหนึ่งว่า เราแสดงการปฏิบัติใด เทวดาและมนุษย์ย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น. สีหนาทหนึ่งว่าและย่อมให้เรายินดีด้วยการปฏิบัติ.
สีหนาททั้งหลายเป็นต้นว่า บันลือในบริษัททั้งหลายแห่งบริษัทก่อน อย่างละสิบเป็นต้น รวมเป็นบริวารอย่างละสิบด้วยประการฉะนี้. สีหนาทมีหนึ่งร้อยสิบคือ สีหนาทสิบเหล่านั้นรวมเป็นหนึ่งร้อยด้วยอํานาจแห่งบริวาร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 151
ของสีหนาทสิบก่อนและสีหนาทสิบก่อน. ก็ในพระสูตรอื่นจากพระสูตรนี้ สีหนาทมีประมาณเพียงนี้ หาได้ยาก เพราะเหตุนั้น สูตรนี้จึงเรียกว่า มหาสีหนาทสูตร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปฏิเสธวาทะและอนุวาทะอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมบันลือสีหนาทแล แต่บันลือในเรือนว่างเปล่า บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงสีหนาท ซึ่งเคยบันลือแล้วในบริษัทอีกจึงตรัสเป็นอาทิว่า เอกมิทาหํ ด้วยประการฉะนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร มํ อฺตโร เต สพฺรหฺมจารี ความว่า เพื่อนพรหมจารีของท่านคนหนึ่ง ชื่อ นิโครธปริพาชก (ได้ถามปัญหา) กะเราผู้อยู่ที่เขาคิชกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์นั้น. บทว่า อธิชิคุจฺเฉ ความว่าถามปัญหาในเรื่องการเกลียดชังบาปด้วยวิริยะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในมหาวิหารข้างเขาคิชฌกูฏ ทรงสดับถ้อยคําสนทนาของนิโครธปริพาชก และสันธานอุบาสก ผู้นั่งในอุทยานของพระนางอุทุมพริกาเทวี ด้วยทิพยโสตธาตุ เสด็จเหาะมาประทับนั่งบนอาสนะที่ปูแล้วในสํานักของท่านทั้งสองนั้นแล้ว ทรงแก้ปัญหาที่นิโครธปริพาชกทูลถามในเรื่องเกลียดชังอย่างยิ่งนี้ใด ท่านกล่าวหมายถึงปัญหานั้น. บทว่า ปรํ วิย มตฺตาย ความว่า โดยประมาณอย่างยิ่ง คือ โดยประมาณใหญ่มาก.
บทว่า โก หิ ภนฺเต ความว่า คนอื่นที่เป็นชาติบัณฑิตเว้นอันธพาล ผู้มีทิฏฐิใคร่เล่าที่ฟังพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกล่าวว่า ไม่พึงดีใจ. เขาคิดว่า เราประกอบตนในส่วนที่ไม่นําออกจากทุกข์ได้รับความลําบากเป็นเวลานานหนอ เราอาบน้ำในฝังแม่น้ำแห้งขอด เราเหมือนกลิ้งกลับไปกลับมาเหมือนโปรยแกลบ ก็ไม่ยังประโยชน์อะไรให้สําเร็จได้ เอาเถอะเราจักประกอบตนไว้ในความเพียร จึงทูลว่า ข้าพระองค์พึงได้ ดังนี้.
อนึ่ง เดียรถีย์ปริวาสใดที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในขันธกะ ซึ่งผู้เคย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 152
เป็นอัญญเดียรถีย์ดํารงอยู่ในสามเณรภูมิ จะต้องสมาทานอยู่ปริวาสโดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ชื่อนี้ หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์อยู่ปริวาสตลอดสี่เดือน ดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงเดียรถีย์ปริวาสนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะผู้ใดแลเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชฺชํ ท่านกล่าวด้วยอํานาจความสละสลวยแห่งวจนะเท่านั้น. เพราะไม่อยู่ปริวาสเลย ย่อมได้บรรพชา. แต่ผู้ต้องการอุปสมบทพึงอยู่ปริวาสบําเพ็ญวัตรแปดประการเป็นต้นว่า การเข้าบ้านตามกาลพิเศษ. บทว่า อารทฺธจิตฺตา ความว่า มีจิตยินดีด้วยการบําเพ็ญวัตรแปด. ความสังเขปในบทนั้นดังนี้. ส่วนเดียรถีย์ปริวาสนั้นพึงกล่าวโดยพิสดาร ด้วยนัยที่กล่าวไว้ในปัพพัชชาขันธกวัณณนา ในวินัยอรรถกถา ชื่อ สมันตปาสาทิกา นั้นเทียว.
บทว่า อปิ เมตฺถ ความว่า แต่ว่าเรารู้ (ความต่างแห่งบุคคล) ในข้อนี้. บทว่า ปุคฺคลเวมตฺตตา วิทิตา ความว่า เรารู้ความแตกต่างแห่งบุคคล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่าบุคคลนี้ ควรอยู่ปริวาส นี้ไม่ควรอยู่ปริวาส จึงทรงแสดงว่า ข้อนี้ปรากฏแก่เรา. ลําดับนั้น กัสสปะคิดว่า โอหนอพระพุทธศาสนาเป็นของอัศจรรย์ที่บุคคลทั้งหลาย ประกาศแล้วกระพือแล้วอย่างนี้ ย่อมถือเอาสิ่งที่ควรเท่านั้น ละทิ้งสิ่งที่ไม่ควร มีความอุตสาหะเกิดขึ้นพร้อมในบรรพชาดียิ่งกว่านั้น จึงทูลว่า สเจ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.
ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่กัสสปะนั้นเป็นผู้มีฉันทะแรงกล้าว่า กัสสปะไม่ควรอยู่ปริวาส จึงตรัสเรียกภิกษุรูปอื่นมาว่า ดูก่อนภิกษุเธอจงไป พากัสสปะนั้นอาบน้ำแล้วให้บรรพชานํามา. ภิกษุนั้นได้กระทําตามพระดํารัสอย่างนั้นแล้วให้กัสสปะบวชแล้ว พากันไปสู่สํานักของพระผู้มีพระ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 153
ภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้กัสสปะนั้นนั่งในท่ามกลางคณะแล้วทรงให้อุปสมบท. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อเจลกัสสปะได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า อจิรูปสมฺปนฺโน ความว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วไม่นาน. บทว่า วูปกฏโ ความว่าเป็นผู้มีกายและจิตสงบจากวัตถุกาม และกิเลสกามทั้งหลาย. บทว่า อปฺปมตฺโต ความว่าไม่ละสติในกรรมฐาน. บทว่า อาตาปี ความว่า มีความเพียรด้วยวิริยะ กล่าวคือ ความเพียรทางกายและทางใจ. บทว่า ปหิตตฺโต ความว่า มีจิตส่งแล้ว คือมีอัตภาพสละแล้วเพราะความเป็นผู้ไม่มีความเยื่อใยในกายและชีวิต. บทว่า ยสฺสตฺถาย ความว่า เพื่อผลอันใด. บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่ กุลบุตรผู้มีมรรยาท. บทว่า สมฺมเทว ความว่าด้วยเหตุเทียว ด้วยการณ์เทียว. บทว่า ตทนุตฺตรํ ความว่า ประโยชน์อันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสานํ ความว่าพระอรหัตตผลอันเป็นที่สุดรอบแห่งมรรคพรหมจรรย์. ก็กุลบุตรทั้งหลายย่อมบวชเพื่อผลอันนั้น. บทว่า ทิฏเว ธมฺเม ความว่า ในอัตภาพนี้เทียว. บทว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ความว่า กระทําให้ประจักษ์ด้วยปัญญาด้วยตนเอง คือรู้โดยไม่มีคนอื่นเป็นปัจจัย. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ ความว่า บรรลุแล้ว ให้ถึงพร้อมแล้วอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงภูมิแห่งปัจจเวกขณะของกัสสปะนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุเมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้แจ้งว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯลฯ ยังเทศนาให้จบลงด้วยยอดธรรม คือ พระอรหัตจึงตรัสว่า ก็ท่านกัสสปะเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจํานวนพระอรหันต์ทั้งหลายดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญตโร ความว่า รูปหนึ่ง. บทว่า อรหตํ ความว่า แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย. ในบทนั้นมีอธิบายอย่างนี้ว่า เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจํานวนพระอรหันตสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็บท
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 154
ใดๆ ไม่ได้กล่าวไว้ตามลําดับ บทนั้นๆ ปรากฏแล้วเทียวเพราะได้กล่าวแล้ว ในที่นั้นๆ ดังนี้แล.
มหาสีหนาทสูตรวัญณนา ในทีฆนิกายอรรถกถา ชื่อสุมังคลวิลาสินี จบด้วยประการฉะนี้
จบมหาสีหนาทสูตรที่ ๘