๖. ขุชชโสภิตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระขุชชโสภิตเถระ
โดย บ้านธัมมะ  19 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40580

[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 257

เถรคาถา ติกนิบาต

วรรคที่ ๑

๖. ขุชชโสภิตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระขุชชโสภิตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 257

๖. ขุชชโสภิตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระขุชชโสภิตเถระ

[๓๑๒] ได้ยินว่า พระขุชชโสภิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

สมณะเหล่าใดกล่าวธรรมอันวิจิตร เป็นปกติ เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านขุชชโสภิตะ ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ นี้เป็นรูปหนึ่งในจำนวนสมณะ เหล่านั้น. สมณะเหล่าใดเป็นผู้กล่าวธรรม อันวิจิตร เป็นปกติ เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านรูปนี้ ผู้มากด้วยฤทธิ์ ดุจลมพัด ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 258

เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสมณะเหล่านั้น. ท่านผู้นี้ประสบความสุข ด้วยอาการอย่างนี้คือ ด้วยการรบอย่างดี ด้วยความปรารถนาดี (ของกัลยาณมิตร) ด้วยชัยชนะใน สงคราม และด้วยพรหมจรรย์ ที่ประพฤติมาแล้ว ตามลำดับ.

อรรถกถาขุชชโสภิตเถรคาถา

คาถาของท่านพระขุชชโสภิตเถระ มีคำขึ้นต้นว่า เย จิตฺตกถี พหุสฺสุตา. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ทราบว่า ท่านพระขุชชโสภิตเถระนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปกับภิกษุสงฆ์จำนวนมาก มีใจเลื่อมใสได้กล่าวชมเชยด้วยคาถา ๑๐ คาถา.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านได้ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในนครปาฏลีบุตร ได้ มีนามว่าโสภิตะ. แต่เพราะเป็นผู้ค่อมเล็กน้อย จึงปรากฏ ชื่อว่าขุชชโสภิตะ นั่นเทียว. ท่านเจริญวัยแล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้บวชในสำนักของท่านพระอานนทเถระ ได้อภิญญา ๖. ด้วยเหตุนั้นในอปทาน ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 259

พระนราสภ ผู้ทรงเป็นเทพเจ้าของเทพทั้งหลาย เสด็จดำเนินไปบนถนน งดงามเหมือนเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงยังความมืดมนอนธการให้พินาศไป ให้คนจำนวนมากข้ามฟากได้ ทรงโชติช่วงอยู่ด้วยแสงสว่าง คือ พระญาณ ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนายกโลก ทรงนำสัตวโลกไป ทรงยกสัตวโลกจำนวนมากขึ้นด้วย (พระปรีชาญาณ) จำนวนแสน ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงย่ำกลอง คือ พระธรรม บดขยี้หมู่เดียรถีย์ บันลือสีหนาทอยู่ ใครเล่าเห็นแล้ว จะไม่เลื่อมใส ทวยเทพพร้อมทั้งพระพรหม ตั้งแต่พรหมโลก พากันมาทูลถามปัญหาที่ละเอียด ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส เหล่ามนุษย์พร้อมทั้งเทวดาพากันมาประนมมือทูลวิงวอนต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ก็ได้บุญ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส ปวงชนพากันมาชุมนุม ห้อมล้อมพระองค์ผู้มีพุทธจักษุ พระองค์ผู้อันเขาทูลเชิญแล้ว ก็ไม่ทรงสะทกสะท้าน ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด เสด็จเข้าพระนคร กลองจะดังขึ้นมากมาย ช้างพลายที่เมามัน ก็พากันบันลือ ใครเล่าเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว จะไม่เลื่อมใส


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 260

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด เสด็จดำเนินไปตามถนน พระรัศมีของพระองค์ จะพวยพุ่งขึ้นสูง สม่ำเสมอทุกเมื่อ ใครเล่าเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้วจะไม่เลื่อมใส เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสออกไป จะได้ยินกันทั้งจักรวาล ให้สรรพสัตว์เข้าใจกันทั่ว ใครเล่าเห็นพระองค์แล้วจะไม่เลื่อมใส ในกัปที่แสน แต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าพระองค์ใดไว้ ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติเลย นี้คือผลแห่งการสรรเสริญพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น. กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ท่านเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในสมัยมหาสังคายนาครั้งแรก ท่านถูกพระสงฆ์ ผู้ประชุมกันที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ มีบัญชาว่า ท่านจงไปนิมนต์ท่านพระอานนทเถระมา จึงได้ดำดินลงไป โผล่ขึ้นตรงหน้าพระเถระ กราบเรียนให้ทราบแล้ว ตนเองได้ล่วงหน้าไปทางอากาศถึงประตูถ้ำ สัตตบรรณคูหาก่อน. ก็สมัยนั้น เทวดาบางองค์ ที่หมู่เทวดาส่งไปเพื่อห้ามพญามาร และพรรคพวกของพญามาร ได้ยืนที่ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหา พระขุชชโสภิตเถระ เมื่อจะบอกการมาของตนแก่เทวดาองค์นั้นได้กล่าวคาถาแรก ไว้ว่า

สมณะเหล่าใดกล่าวถ้อยคำไพเราะ เป็นปกติ เป็นพหสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านพระขุชชโสภิตะ ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูถ้ำนี้ เป็นรูปหนึ่งในจำนวนสมณะเหล่านั้น.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 261

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตกถี คือเป็นผู้แสดงธรรมไพเราะ เป็นปกติ อธิบายว่า เป็นผู้มีปกติพูดธรรม เหมาะกับอัธยาศัยของผู้อื่น โดยนัยต่างๆ มีอาทิอย่างนี้คือ ย่อ พิสดาร ทำให้ลึกซึ้ง ทำให้ตื้น (ง่าย) บรรเทาความสงสัยได้ ให้ผู้ฟังตั้งมั่นอยู่ในธรรมได้.

บทว่า พหุสฺสุตา ความว่า ชื่อว่าเป็นพหูสูต เพราะบริบูรณ์ด้วยความเป็นพหูสูต ทั้งทางปริยัติและปฏิเวธ ชื่อว่า เป็นสมณะ เพราะระงับบาปได้ โดยประการทั้งปวง.

บทว่า ปาฏลิปุตฺตวาสิโน เตสญฺตฺโร ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าอยู่ประจำกรุงปาฏลีบุตร เพราะอยู่ที่นครปาฏลีบุตร เป็นปกติ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ท่านผู้มีอายุ คือท่านผู้มีอายุยืนนี้ เป็นรูปใดรูปหนึ่ง.

บทว่า ทฺวาเร ติฏฺิ ความว่า ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหา อธิบายว่า เพื่อจะเข้าไปตามอนุมัติของสงฆ์. เทวดาครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงประกาศการมาของพระเถระให้พระสงฆ์ทราบ ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

สมณะเหล่าใด เป็นผู้กล่าวธรรมวิจิตร เป็นปกติ เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านรูปนี้มาด้วยฤทธิ์ ดุจลมพัด ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ เป็นรูปหนึ่งในจำนวนสมณะเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลุเตริโต ความว่า ผู้มาแล้ว ด้วยลมที่เกิดจากฤทธิ์ของจิต อธิบายว่า มาแล้วด้วยกำลังฤทธิ์.

พระเถระผู้ที่พระสงฆ์ให้โอกาสแล้ว ตามที่เทวดาองค์นั้น ได้ประกาศให้ทราบอย่างนี้แล้ว เมื่อไปสำนักสงฆ์ ได้พยากรณ์พระอรหัตตผล ด้วยคาถา ที่ ๓ นี้ว่า


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 262

ท่านผู้นี้ ประสบความสุข ด้วยอาการอย่างนี้ คือ ด้วยการรบอย่างดี ด้วยความปรารถนา (ของกัลยาณมิตร) ด้วยชัยชนะในสงคราม และด้วยพรหมจรรย์ ที่ประพฤติมาแล้ว ตามลำดับ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุยุทฺเธน ความว่า ด้วยการรบอย่างดีกับกิเลสทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งตทังคปหาน (การละได้ด้วยองค์นั้น) และวิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้).

บทว่า สุยิฏฺเน ความว่า ด้วยธรรมทานเป็นที่สบายที่กัลยาณมิตรทั้งหลายให้แล้ว ในระหว่างๆ. บทว่า สงฺคามวิชเยน จ ความว่า และด้วยชัยชนะในสงความที่ได้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉทปหาน (การละได้โดย เด็ดขาด). บทว่า พฺรหฺมจริยานุจิณฺเณน ความว่า ด้วยมรรคพรหมจรรย์ชั้นยอด ที่ประพฤติมาแล้วตามลำดับ. บทว่า เอวายํ สุขเมธติ ความว่า ท่านพระขุชชโสภิตเถระนี้ ย่อมประสบ อธิบายว่า เสวยอยู่ซึ่งความสุขคือพระนิพพานและความสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ ด้วยประการอย่างนี้ คือ ด้วยประการ ดังที่กล่าวมาแล้ว.

จบอรรถกถาขุชชโสภิตเถรคาถา