ผู้มีเมตตา...ย่อมไม่ถือตัว
การอบรมเจริญเมตตานั้นจะเป็นไปได้เมื่อรู้ลักษณะของเมตตา คือไมตรี ความรู้สึกเป็นมิตร ความสนิทสนม ความเกื้อกูล ความนำประโยชน์สุขให้ ขณะใดที่เมตตาเกิด ขณะนั้นจิตอ่อนโยนปราศจากมานะ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ยกตน สำคัญตน และข่มบุคคลอื่น การอบรมเจริญเมตตาจริงๆ นั้นจะขัดเกลาอกุศลธรรมหลายอย่างปกติอาจจะไม่รู้สึกตัวว่ามีมานะ อิสสา มัจฉริยะ โทสะ และอกุศลธรรมอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน เมื่ออบรมเจริญเมตตาขึ้นอกุศลธรรมเหล่านั้นก็จะละคลายลดน้อยไปด้วย ผู้ที่ใคร่จะขัดเกลามานะและเจริญเมตตาเพิ่มขึ้นควรรู้ลักษณะของมานะ
ซึ่งข้อความในอัฏฐสาลินี นิกเขปกัณฑ์ อธิบายนิทเทสมานสังโญชนฺ์ (๑๑๒๑) มีว่า ที่ชื่อ "ความถือตัว" เนื่องด้วยกระทำมานะ คำว่า "กิริยาถือตัวความถือตัว" แสดงขยายถึงอาการและภาวะ ที่ชื่อว่า "การยกตน" เกี่ยวกับการเชิดชูตน การยกตนเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ย่อมยังบุคคลนั้นให้เทิดขึ้น คือสถาปนาตนยกขึ้นไว้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า "ความเทิดตน" ที่ชื่อว่า "การเชิดชูตนดุจธง" โดยความหมายว่า ทำตัวให้เด่นขึ้น (ทำให้เด่นหรือสำคัญขึ้น)
ที่ชื่อว่า "การยกจิตขึ้น" ด้วยอรรถว่า ประคองจิตไว้โดยความหมายว่ายกขึ้นไว้บรรดาธงหลายคัน ธงที่ยกขึ้นสูงกว่าเขา ชื่อว่า "เกตุ" หมายความว่า ธงเด่น แม้มานะเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็เปรียบได้กับธงเด่น โดยเทียบกับมานะต่อๆ มา เหตุฉะนั้นจึงชื่อว่า "เกตุ" แปลว่าดุจธงเด่น ธรรมชาติที่ชื่อว่า "เกตุกมฺย" ด้วยอรรถว่าปรารถนาเป็นดุจธง ภาวะแห่งธรรมชาติที่ต้องการ ดุจธง ชื่อว่า เกตุกมฺยตา แปลว่า ความต้องการเป็นดุจธง และความต้องการเป็นดุจธงนั้นเป็นของจิต ไม่ใช่ของตน ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า "ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง" จริงอยู่ จิตที่สัมปยุตต์ด้วยมานะ ย่อมปรารถนาเป็นดุจธงและภาวะแห่งจิตนั้น ชื่อว่าความต้องการเป็นดุจธง ได้แก่ "มานะ" ที่นับว่าเป็นดุจธง
ที่กล่าวถึงลักษณะของมานะก็เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะของอกุศลธรรม ซึ่งไม่ใช่ลักษณะอาการที่อ่อนโยนสนิทสนม เป็นไมตรีกับผู้อื่น ผู้ที่อบรมเจริญเมตตานั้น เมื่อสติสัมปชัญญะเกิด จึงจะรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล ขณะใดมีมานะ ขณะนั้นไม่ใช่เมตตา
..จากหนังสือ "เมตตา" เปิดอ่าน --> คลิกที่นี่
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
อนุโมทนาเช่นกันครับ
ผู้มีเมตตา ใครอยู่ใกล้ก็มีความสุข
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ