๙. มรรคกถา ว่าด้วยมรรค
โดย บ้านธัมมะ  26 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40960

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 429

มหาวรรค

๙. มรรคกถา

ว่าด้วยมรรค หน้า 429

อรรถกถามรรคกถา หน้า 432


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 429

มหาวรรค มรรคกถา

ว่าด้วยมรรค

[๕๒๗] คำว่า มคฺโค ความว่า ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่า กระไร.

ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฏฐิเพราะอรรถว่าเห็น เป็นมรรคและ เป็นเหตุเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความ ผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมพิเศษ เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้ สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งอยู่ในนิโรธ สัมมาสังกัปปะเพราะอรรถว่าดำริ เป็นมรรค และเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ ... สัมมาวาจาเพราะอรรถว่ากำหนดเอา เป็น มรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาวาจา ... สัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็น สมุฏฐาน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉากัมมันตะ ... สัมมาอาชีวะเพราะ อรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาอาชีวะ ... สัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาวายามะ ... สัมมาสติเพราะอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสติ ... สัมมาสมาธิเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสมาธิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดใน เบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อ บรรลุธรรมพิเศษ เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิต ตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 430

[๕๒๘] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฏฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ...

ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฏฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ...

ในขณะอรหัตตมรรค สัมมาทิฏฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ราคานุสัย อวิชชานุสัย เพื่ออุปถัมภ์ สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่ง ปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรม พิเศษ เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ใน นิโรธ.

[๕๒๙] สัมมาทิฏฐิเป็นมรรคแห่งการเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรค แห่งความดำริ สัมมาวาจาเป็นมรรคแห่งการกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นมรรค แห่งสมุฏฐาน สัมมาอาชีวะเป็นมรรคแห่งความผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็น มรรคแห่งความประคองไว้ สัมมาสติเป็นมรรคแห่งความตั้งมั่น สัมมาสมาธิ เป็นมรรคแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งการเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งความประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นมรรค แห่งความแผ่ซ่านไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งความสงบ สมาธิ- สัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นมรรค แห่งการพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวในความ ไม่มีศรัทธา วิริยพละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 431

สติพละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวในความไม่ประมาท สมาธิพละเป็น มรรคแห่งความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นมรรคแห่งความไม่ หวั่นไหวในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นมรรคแห่งความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์ เป็นมรรคแห่งความประคองไว้ สตินทรีย์เป็นมรรคแห่งความตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นมรรคแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์เป็นมรรคแห่งความเห็น อินทรีย์เป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่ หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นมรรคเพราะอรรถว่านำออก ชื่อว่ามรรคเพราะอรรถ ว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นมรรคเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นมรรค เพราะอรรถว่าตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นมรรคเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็น มรรคเพราะอรรถว่าถ่องแท้ สมถะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนา เป็นมรรคเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถะและวิปัสสนาเป็นมรรคเพราะ อรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่ ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าสำรวม จิตวิสุทธิเป็นมรรค เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็น มรรคเพราะอรรถว่าหลุดพ้น วิชชาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติ เป็นมรรคเพราะอรรถว่าปล่อย ญาณในความสิ้นไปเป็นมรรคเพราะอรรถว่า ตัดขาด ฉันทะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นมรรคเพราะ อรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เวทนาเป็น มรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม สมาธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นธรรม อันยิ่งกว่าธรรมนั้น วิมุตติเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นสาระ นิพพานอัน หยั่งลงสู่อมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด.

จบมรรคกถา


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 432

อรรถกถามรรคกถา

บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งมรรคกถา อันพระสารีบุตรเถระแสดงอริยมรรคทำการละวิปลาส ๓ เหล่านั้นกล่าวแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มคฺโคติ เกนฏฺเน มคฺโค บทว่า มคฺโค ชื่อว่า มรรคด้วยอรรถว่ากระไร คือ ในพระพุทธศาสนาท่านกล่าวว่า มรรค ด้วยอรรถว่ากระไร. ในปริยาย ๑๐ มีอาทิว่า มิจฺฉาทิฏฺิยา ปหานาย เพื่อ ละมิจฉาทิฏฐิ ท่านกล่าวถึงมรรคหนึ่งๆ ด้วยสามารถเป็นข้าศึกโดยตรงแห่ง องค์มรรคนั้นๆ. บทว่า มคฺโค เจว เหตุ จ เป็นมรรคและเป็นเหตุ คือชื่อว่า มรรค ด้วยอรรถว่าเป็นทางเฉพาะเพื่อทำกิจนั้นๆ ชื่อว่า เหตุ ด้วยอรรถว่า เป็นผู้ทำให้ถึง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงมรรคมีอรรถว่า เป็นทางเฉพาะ และมีอรรถว่าเป็นผู้นำให้ถึงมรรค มรรคเป็นทางเฉพาะในบทมีอาทิว่า นี้เป็น มรรค นี้เป็นปฏิปทา เหตุเป็นผู้นำให้ถึงในประโยคมีอาทิว่า มรรคมีอรรถว่า นำออกไป มีอรรถว่าเป็นเหตุแห่งมรรค ด้วยบททั้งสองนี้เป็นอันท่านทำการ แก้คำถามว่า มคฺโคติ เกนฏฺเน มคฺโค ดังนี้.

บทว่า สหชาตานํ ธมฺมานํ อุปตฺถมฺภนาย เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม คือ เพื่อความเป็นการอุปถัมภ์อรูปธรรมอันเกิดพร้อมกับตน โดย ความเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัยและนิสสยปัจจัยเป็นต้น. บทว่า กิเลสานํ ปริยาทาย เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย คือ เพื่อให้กิเลสที่เหลือ ดังกล่าวแล้ว อันมรรคนั้นๆ ทำลายให้สิ้นไป. ในบทนี้ว่า ปฏิเวธาทิวิโสธนาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ มีความดังนี้ เพราะศีลและ ทิฏฐิเป็นเบื้องต้น แห่งสัจจปฏิเวธโดยพระบาลีว่า อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศล-


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 433

ธรรมทั้งหลาย ศีลบริสุทธิ์ด้วยดีและทิฏฐิอันตรง ศีลและทิฏฐินั้นย่อมบริบูรณ์ ด้วยมรรคในเบื้องต้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าว ปฏิเวธาทิวิโสธนาย ดังนี้. บทว่า จิตฺตสฺส อธิฏฺานาย เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต คือ เพื่อความ ตั้งมั่นในกิจของตนแห่งจิตอันสัมปยุตกัน. บทว่า จิตฺตสฺส โวทานาย เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต คือ เพื่อบริสุทธิ์แห่งจิต. บทว่า วิเสสาธิคมาย เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ คือ เพื่อได้เฉพาะคุณวิเศษกว่าธรรมเป็นโลกิยะ. บทว่า อุตฺตริปฏิเวธาย เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง คือ เพื่อแทงตลอดธรรมอัน ยิ่งกว่าธรรมเป็นโลกิยะ. บทว่า สจฺจาภิสมยาย เพื่อตรัสรู้สัจจะ คือ เพื่อ ตรัสรู้ธรรมเอกแห่งอริยสัจ ๔ คือ เพื่อแทงตลอดธรรมเอกด้วยสามารถยังกิจ ให้สำเร็จ. บทว่า นิโรเธปติฏาปนาย เพื่อให้จิตตั้งอยู่ในนิโรธ คือ เพื่อ ให้จิตหรือบุคคลตั้งอยู่ในนิพพาน. ท่านทำองค์แห่งมรรค ๘ เป็นอันเดียวกัน แล้ว กล่าวถึงการละกิเลสอันมรรคนั้นๆ ทำลายในขณะแห่งสกทาคามิมรรค เป็นต้น เหตุในเพราะกล่าวอย่างนี้ท่านกล่าวแล้วในหนหลัง เพราะการชำระ ในเบื้องต้นด้วยดีและความผ่องแผ้วแห่งจิตด้วยดี ย่อมมีได้ด้วยมรรคสูงๆ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวบททั้งหลายแม้เหล่านั้น.

ด้วยบทมีอาทิว่า ทสฺสนมคฺโค เป็นมรรคแห่งการเห็นท่านกล่าวถึง อรรถแห่งมรรคด้วยสามารถแห่งลักษณะของธรรมนั้นจนถึงที่สุด. บทแม้ ทั้งหมดเหล่านั้น มีความดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในอภิญไญยนิเทศ (ชี้แจงถึง ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง). ในบทนี้ ท่านชี้แจงถึงมรรคอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ ตามที่เกิดอย่างนี้. ท่านชี้แจงถึงมรรคด้วยอรรถว่าเป็นเหตุ. อนึ่ง เพราะมรรค นั้นเป็นมรรคโดยตรง ท่านจึงไม่กล่าวว่า มคฺโค. บทมีอาทิว่า อธิปเตยฺยฏฺเน อินฺทฺริยา ชื่อว่า อินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 8 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 434

อรรถของอินทรีย์เป็นต้น. อนึ่ง ในบทว่า สจฺจานิ นี้ได้แก่สัจจญาณ. ธรรม เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า มรรค ด้วยอรรถว่า เป็นทางปฏิบัติเพื่อนิพพาน. อนึ่ง นิพพานท่านกล่าวไว้ในที่สุด พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่ามรรคเพราะ สัตบุรุษผู้ถูกสังสารทุกข์ครอบงำ ผู้ต้องการพ้นจากทุกข์แสวงหา.

จบอรรถกถามรรคกถา