๗. นิโครธชาดก ว่าด้วยการคบหากับคนดี
โดย บ้านธัมมะ  25 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35907

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 851

๗. นิโครธชาดก

ว่าด้วยการคบหากับคนดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 851

๗. นิโครธชาดก

ว่าด้วยการคบหากับคนดี

[๑๓๙๐] ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงพระนามว่า นิโครธ ท่านสาขะเสนาบดีพูดว่า เราไม่รู้จักคนนี้เลยว่า เป็นใครกัน หรือเป็นเพื่อนของใคร พระองค์จะทรงเข้าพระทัย อย่างไร.

[๑๓๙๑] ลำดับนั้น บุรุษ ผู้ทำตามคำของท่านสาขะเสนาบดี เข้าจับคอ ตบหน้าข้าพระองค์ ขับไสออกไป.

[๑๓๙๒] ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นจอมประชานิกร ธรรมอันไม่ประเสริฐเช่นนี้. อันท่านสาขะเสนาบดี ผู้เป็นเพื่อนเก่าของพระองค์ เป็นคนมีความคิดทราม เป็นคนอกตัญญู ประทุษร้ายมิตร ได้กระทำแล้ว.

[๑๓๙๓] ดูก่อนสหาย เรื่องนี้เราไม่รู้เลย แม้ใครๆ ก็มิได้บอกเรา ท่านมาบอกเราแล้วว่า ท่านสาขะเสนาบดี ฉุดคร่าท่าน.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 852

[๑๓๙๔] ท่านเป็นคนทำเพื่อน ให้มีชีวิตอยู่สบายดี ท่านเป็นคนให้อิสริยยศ คือ ความเป็นใหญ่ ในหมู่มนุษย์แก่เรา และแก่สาขะเสนาบดี ทั้ง ๒ คน เราได้รับความสำเร็จเพราะท่าน ในข้อนี้ เราไม่มีความสงสัยเลย.

[๑๓๙๕] กรรมที่บุคคลทำในอสัตบุรุษ ย่อมฉิบหาย ไม่งอกงาม เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในไฟ ย่อมถูกไฟไหม้ ไม่งอกงาม ฉะนั้น.

[๑๓๙๖] ส่วนกรรม ที่บุคคลทำในคนกตัญญู มีศีล มีความประพฤติประเสริฐ ย่อมไม่ฉิบหายไป เหมือนพืช ที่บุคคลหว่านลงในนาดี ฉะนั้น.

[๑๓๙๗] ราชบุรุษทั้งหลาย จงฆ่าสาขะเสนาบดี ผู้ชั่วช้า มักหลอกลวง มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ คนนี้เสีย ด้วยหอกทั้งหลาย เราไม่อยากให้มัน มีชีวิตอยู่เลย.

[๑๓๙๘] ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์ได้โปรด อดโทษให้แก่เขาเถิด ชีวิตของคนตายแล้ว ไม่


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 853

อาจจะนำกลับคืนมาได้ ขอได้ทรงโปรดอดโทษ แก่อสัตบุรุษเถิด พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ ไม่อยากให้ฆ่าเขา.

[๑๓๙๙] ควรคบแต่ท่านนิโครธเท่านั้น ไม่ควรเข้าไปคบเจ้าสาขะอยู่ ตายเสียในสำนักท่านนิโครธ ประเสริฐกว่า เป็นอยู่ในสำนักเจ้าสาขะ จะประเสริฐอะไร.

จบ นิโครธชาดกที่ ๗

อรรถกถานิโครธชาดกที่ ๗

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า น จาหเมตํ ชานามิ ดังนี้.

ได้ยินว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภา ถึงเรื่องพระเทวทัต ที่ภิกษุทั้งหลายตักเตือนว่า ดูก่อนท่านเทวทัต พระศาสดา ทรงมีพระอุปการะแก่เธอมา เพราะเธอได้อาศัยพระองค์ จึงได้บรรพชาอุปสมบท ได้เรียนพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก และได้ฌาน แม้ลาภสักการะของเธอ ก็เกิดแต่พระทศพลทั้งนั้น พระเทวทัตยังยก


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 854

สลากหญ้าขึ้น ประกาศว่า อุปการคุณแม้เพียงเท่านี้ เราก็ไม่แลเห็นว่า พระสมณโคดม กระทำให้แก่เรา ดังนี้ พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย นั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัต เป็นอกตัญญูประทุษร้ายมิตร แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็เป็นคนอกตัญญู ประทุษร้ายเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราช ครองราชสมบัติ อยู่ในนครราชคฤห์ ครั้งนั้น เศรษฐีเมืองราชคฤห์ ได้ขอธิดาของเศรษฐีในชนบทมา ให้เป็นภรรยาของบุตรตน นางนั้นเป็นหญิงหมัน ต่อมาภายหลัง ตระกูลนั้น ก็เสื่อมลาภสักการะลง เขาพูดกัน ให้นางนั้นได้ยินว่า เมื่อหญิงหมันมาอยู่ เรือนลูกชายเรา วงศ์ตระกูลจักเจริญได้อย่างไร นางได้ฟังคำนั้น จึงคิดว่า ช่างเถอะ เราจักทำมีครรภ์ลวงคนเหล่านี้ แล้วกล่าวถามหญิงพี่เลี้ยง ที่ไว้วางใจ ถึงวิธีการของหญิงมีครรภ์ว่า ธรรมดาหญิงที่มีครรภ์ จะต้องทำอย่างไรบ้าง? ครั้นได้ฟังแล้ว เมื่อถึงคราวมีระดูก็ปกปิดเสีย แสดงกิริยา ของหญิงแพ้ท้อง มีชอบของเปรี้ยว เป็นต้น ในเวลาที่มือเท้าบวม จึงทุบหลังมือ หลังเท้าให้นูน เอาผ้าเก่าพันท้อง ให้โตขึ้นทุกวันๆ ทำหัวนมให้ดำ แม้จะทำสรีรกิจ ก็ไม่ทำต่อหน้าคนอื่น นอกจากหญิงพี่เลี้ยงคนนั้น แม้สามีก็ได้ช่วยบริหารครรภ์แก่นาง อยู่มาได้ ๙ เดือนด้วยอาการอย่างนี้


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 855

นางจึงลาพ่อผัวแม่ผัว จะไปคลอดบุตร ณ เรือนบิดาในชนบท แล้วก็ขึ้นรถ ออกจากเมืองราชคฤห์ เดินทางไปด้วยบริวารใหญ่.

ข้างหน้านาง มีพวกเกวียนไปพวกหนึ่ง นางไปถึงที่ ซึ่งพวกเกวียนหยุดพักแล้ว ไปในเวลาอาหารเช้า วันหนึ่ง หญิงเข็ญใจคนหนึ่ง ที่อาศัยไปในพวกเกวียนนั้น คลอดบุตรที่โคนต้นไทรต้นหนึ่ง ในกลางคืน ครั้นรุ่งเช้า เมื่อพวกเกวียนออกเดินทาง จึงคิดว่า เราเว้นพวกเกวียนเสียแล้ว ไม่อาจไปได้ แลเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ ก็อาจที่จะได้บุตร ดังนี้แล้ว จึงเอารถ และครรภมลทินมาราดลงที่ควงข่ายต้นไทร แล้วทิ้งบุตรไป เทวดาได้มาอารักขาทารกไว้ เพราะทารกนั้น ไม่ใช่สัตว์สามัญ คือองค์พระโพธิสัตว์ทีเดียว แลครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ได้มาถือปฏิสนธิ เช่นนั้น.

เวลาเช้า หญิงหมัน ได้ไปถึงที่นั้น ในเวลาอาหารเช้าคิดว่า จักทำสรีรกิจ จึงไปที่โคนต้นไทรกับหญิงพี่เลี้ยงนั้น เห็นทารกมีวรรณะดังทอง จึงพูดกับพี่เลี้ยงว่า กิจของเราสำเร็จแล้ว แล้วก็แก้ผ้าพันท้องออก เอาโลหิต และครรภมลทิน ทาหน้าขา แล้วบอกว่า ตนคลอดบุตร ทันใดนั้น พวก บริวารชน ต่างพากันร่าเริงยินดี ช่วยกันเอาม่านกั้นให้นาง แล้วมีหนังสือ ส่งไปนครราชคฤห์ ลำดับนั้น พ่อผัวแม่ผัวของนาง มีหนังสือส่งไปว่า เมื่อคลอดแล้ว ก็ไม่ต้องไปตระกูลบิดา จงกลับมาที่นี้เถิด นางจึงกลับเข้านครราชคฤห์ทันที เมื่อจะรับขวัญ ตั้งชื่อทารก ญาติทั้งหลายตั้งชื่อให้ ว่า นิโครธกุมาร เพราะเกิดที่โคนต้นไทร ในวันเดียวกันนั้น หญิง


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 856

สะใภ้ของอนุเศรษฐี ก็ไปตระกูลบิดามารดา เพื่อจะคลอดบุตร ได้คลอดบุตร ที่ใต้กิ่งไม้แห่งหนึ่ง ในระหว่างทาง พวกญาติได้ตั้งชื่อ ให้ทารกนั้นว่า สาขกุมาร และในวันเดียวกันนั้น ภรรยาของช่างชุน ที่อาศัยมหาเศรษฐีอยู่ ก็คลอดบุตร ที่ระหว่างกองผ้าขี้ริ้ว พวกญาติจึงตั้งชื่อ ให้ทารกนั้นว่า โปติกะ.

มหาเศรษฐีทราบว่า ทารกทั้งสองคนนั้น เกิดในวันที่นิโครธกุมารเกิด จึงนำมาบำรุงเลี้ยงไว้ร่วมกับนิโครธกุมาร กุมารทั้ง ๓ นั้น เติบโตมาพร้อมๆ กัน ครั้นเจริญวัยแล้ว จึงไปเมืองตักกศิลา เรียนศิลปะ ๒ บุตรเศรษฐี ให้ทรัพย์เป็นค่าสอนแก่อาจารย์คนละพัน แต่โปติกกุมาร คอยรับเรียนศิลปะ ในสำนักนิโครธกุมาร เมื่อกุมารทั้ง ๓ สำเร็จ การศึกษาแล้ว จึงลาอาจารย์ออกเที่ยวไปตามชนบท ถึงเมืองพาราณสี โดยลำดับ นอนอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง.

ครั้งนั้น เป็นคราวที่พระเจ้าพาราณสี เสด็จสวรรคตได้ ๗ วัน พวกเสนามาตย์ให้ตีกลองประกาศทั่วนครว่า วันพรุ่งนี้ จักเสี่ยงบุศยราชรถ ขณะที่เพื่อนรักทั้ง ๓ พากันนอนหลับอยู่ที่โคนต้นไม้ โปติกะ ลุกขึ้นเวลาเช้ามืด นั่งนวดฟั้นเท้านิโครธกุมารอยู่ บนต้นไม้นั้น มีไก่นอนอยู่ ๒ ตัว ไก่ตัวบนถ่ายอุจจาระ ลงถูกไก่ตัวล่าง ลำดับนั้น ไก่ตัวล่างจึง ถามไก่ตัวบนว่า ใครถ่ายอุจจาระ ไก่ตัวบนตอบว่า เพื่อนอย่าโกรธเลย เราไม่รู้ จึงถ่ายลง ไก่ตัวล่างต่อว่า ไก่ตัวบนว่า เจ้าสัตว์ร้าย เจ้าเข้าใจว่า ตัวข้า เป็นที่ถ่ายอุจจาระของเจ้าหรือ เจ้าไม่รู้จักความดีของข้าหรือ? ไก่


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 857

ตัวบน กล่าวกะไก่ตัวล่างนั้นว่า เจ้าสัตว์ร้าย เมื่อข้า ซึ่งเป็นผู้ไม่รู้ ยอมรับแล้วว่า ถ่ายเอง เจ้ายังโกรธอยู่อีก อะไรนะ ที่เป็นความดีของเจ้า ไก่ตัวล่างตอบว่า ผู้ใดฆ่าเราแล้วกินเนื้อ ผู้นั้น จะได้ทรัพย์พันหนึ่งแต่เช้าทีเดียว ฉะนั้น ข้าจึงถือตัวนัก ไก่ตัวบนกล่าวกะไก่ตัวล่างนั้นว่า เจ้าสัตว์ ร้าย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เจ้ายังถือตัวได้ เรานี่สิ ถ้าใครฆ่าแล้ว กินเนื้อกล้ามของเรา เขาจะได้เป็นพระราชา แต่เช้าทีเดียว คนที่กินเนื้อกลางๆ จะได้เป็นเสนาบดี คนที่กินเนื้อติดกระดูก จะได้เป็นขุนคลัง โปติกะ ได้ยินถ้อยคำของไก่ทั้งสองนั้น จึงคิดว่า จะเป็นประโยชน์อะไร ด้วยทรัพย์ พันหนึ่ง ราชสมบัติเท่านั้น ประเสริฐ จึงค่อยๆ ขึ้นต้นไม้ ไปจับไก่ตัวที่นอนบน ลงมาฆ่า ย่างบนถ่านไฟ แล้วฉีกเนื้อกล้าม ให้นิโครธกุมาร ให้เนื้อกลางๆ แก่สาขกุมาร ตัวเองบริโภคเนื้อติดกระดูก ก็แลครั้นบริโภคกันแล้ว โปติกะจึงพูดว่า เพื่อนนิโครธ วันนี้ท่านจักได้เป็นพระราชา เพื่อนสาขะ วันนี้ท่านจักได้เป็นเสนาบดี ส่วนเราจักได้เป็นขุนคลัง ถูกสองสหายถามว่า ท่านรู้ได้อย่างไร? จึงเล่าเรื่องราวให้ฟังทุกประการ.

สามสหายนั้น ครั้นถึงเวลาบริโภคอาหารเช้า ก็พากันเข้าเมืองพาราณสี บริโภคข้าวปายาส ที่ระคนด้วยเนยใส และน้ำตาลกรวด ที่เรือนพราหมณ์คนหนึ่ง แล้วออกจากเมือง เข้าพระราชอุทยาน นิโครธกุมาร นอนบนแผ่นศิลา สองกุมารนอนข้างนอก ขณะนั้นพวกเสนามาตย์ ทั้งหลาย ได้เอาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์วางไว้ ภายในบุศยราชรถแล้วปล่อยไป ความพิสดารของการเรื่องบุศยราชรถนั้น จักมีแจ้งในมหา-


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 858

ชนกชาดก บุศยราชรถไปถึงพระราชอุทยาน ก็หันกลับหยุดอยู่ ประหนึ่งว่า เตรียมการคอยท่าให้คนขึ้น ปุโรหิตคิดว่า สัตว์ผู้มีบุญ คงจะมีในพระราชอุทยาน จึงเข้าพระราชอุทยาน เห็นกุมารเข้า ก็เลิกผ้าปลายเท้าขึ้น พิจารณาลายลักษณ์ที่เท้าทั้งสอง ก็ทราบชัดว่า ราชสมบัติเมืองพาราณสี ยังคงดำรงอยู่ต่อไป กุมารนี้ สมควรเป็นราชาธิราชใหญ่ยิ่ง ทั่วชมพูทวีป จึงสั่งให้ประโคมขึ้น.

นิโครธกุมารตื่นขึ้น เลิกผ้าคลุมหน้าออก แลเห็นคนประชุมกันมาก พลิกกลับมานอน ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีกหน่อยหนึ่ง แล้วลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิบนแผ่นศิลา ลำดับนั้น ปุโรหิตคุกเข่าลงกล่าวกะ นิโครธกุมารนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ราชสมบัติถึงแก่พระองค์แล้ว เมื่อนิโครธกุมารกล่าวว่า ดีแล้ว ก็จัดราชพิธีให้นั่งเหนือกองแก้ว ณ ที่นั้น แล้วอภิเษกตามราชประเพณี นิโครธกุมารนั้น ครองราชสมบัติแล้ว พระราชทานตำแหน่งเสนาบดี แก่ราชกุมาร แล้วเสด็จเข้า พระนคร ด้วยสักการะใหญ่ แม้โปติกะก็ตามเสด็จเข้าไปด้วย จำเดิมแต่นั้นมา พระมหาสัตว์ได้ครองราชสมบัติ ในนครพาราณสีโดยธรรม วันหนึ่งพระองค์ทรงระลึกถึงมารดาบิดา จึงกล่าวกะสาขะว่า แน่ะเพื่อน เราไม่อาจอยู่ โดยปราศจากมารดาบิดาได้ ท่านพร้อมด้วยบริวารใหญ่ จงไปหามารดาบิดาของเรามา. สาขเสนาบดีทูลปฏิเสธว่า ข้าพระองค์ไม่มีกิจ ที่จะต้องไปในที่นั้น ต่อจากนั้น พระราชารับสั่งโปติกะ ให้ไปรับ โปติกกุมารรับพระราชบัญชาว่า ได้พระเจ้าข้า แล้วก็ไป ณ ที่นั้น เข้าไปหา


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 859

พระชนกชนนีของพระเจ้านิโครธราช แจ้งว่า นิโครธกุมารบุตรของท่าน ได้ราชสมบัติแล้ว มาเถิดท่านเราจักไป ณ ที่นั้น พระชนกชนนีจึงห้ามว่า อย่าให้เราไปเลย สมบัติของเราก็มีอยู่แล้ว. โปติกกุมาร จึงมาบอก มารดาบิดาของสาขเสนาบดี ท่านทั้งสองนั้นก็ไม่ยอมไป จึงได้มาหา มารดาบิดาของตน อ้อนวอนจะให้ไปอยู่ด้วย ท่านทั้งสองนั้นก็ห้ามเสียว่า ลูกรัก เราจักขอเป็นอยู่ด้วยทำการชุนเช่นนี้ อย่าให้เราต้องไปเลย โปติกะกุมาร ครั้นไม่ได้มารดาบิดาไปแล้ว ก็กลับมายังเมืองพาราณสี คิดว่า จะไปพักที่เรือนของเสนาบดี ให้หายเหนื่อย แล้วจึงจะเข้าเฝ้าพระเจ้านิ- โครธราช ต่อภายหลัง จึงไปที่ประตูเรือนเสนาบดี กล่าวกะนายประตูว่า จงไปบอกท่านเสนาบดีว่า นายโปติกะสหายของท่าน มาหานายประตูได้ ทำตามนั้น.

ฝ่ายสาขเสนาบดีผูกเวร ในโปติกุมารว่า โปติกะนี้ ไม่ให้ราชสมบัติแก่เรา ไปให้แก่นิโครธกุมารผู้สหายเสีย พอสาขเสนาบดีได้ฟังคำนั้น เท่านั้น ก็โกรธออกมาด่าว่า ใครเป็นสหายของไอ้คนนี้ มันเป็นคนบ้า ลูกอีทาสี จงจับมันไป แล้วให้บ่าวใช้มือเท้า ศอกเข่า ทุบถองจับคอไสออกไป โปติกกุมารนั้นคิดว่า ไอ้สาขะมันได้ตำแหน่งเสนาบดี ก็เพราะเรา มันยังอกตัญญูประทุษร้ายมิตร ให้คนทุบถองขับไล่เรา แต่ท่านนิโครธเป็นบัณฑิตกตัญญู เป็นสัตบุรุษ เราจักไปเฝ้าท่าน แล้วไปยังประตูพระราชวัง ให้นายประตูเข้าไปกราบทูล แด่พระราชาว่า นัยว่า พระสหายของพระองค์ชื่อว่า โปติกะ มาเฝ้าอยู่ที่ประตู พระราชารับสั่งให้เข้ามา ครั้นทอดพระเนตรเห็น นายโปติกะมา ก็เสด็จลุกจากพระราช-


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 860

อาสน์ออกต้อนรับ ทรงปฏิสันถาร ตรัสสั่งให้ช่างกัลบก มาแต่งผม และหนวด แล้วให้ประดับเครื่องสรรพาภรณ์ และให้บริโภคโภชนะ อันประณีตที่มีรสอันเลิศ แล้วประทับตรัสด้วย ถามฉันมิตรกับโปติกะ ตรัสถาม ถึงข่าวคราวของพระชนกชนนี ทรงทราบว่าท่านไม่ยอมมา.

แม้สาขเสนาบดีก็คิดว่า นายโปติกะ คงทำลายเราในสำนักพระราชา แต่เมื่อเราไปเฝ้า เขาคงไม่อาจกล่าวโทษอะไรๆ คิดดังนี้แล้วจึงไปเฝ้า ณ พระราชสำนักนั้นแหละ นายโปติกะได้กราบทูล พระราชาต่อหน้า สาขเสนาบดีนั้นแลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์เหน็ด เหนื่อยมาตามทาง คิดว่าจะไปเรือนท่านสาขะพักผ่อนแล้ว จักเข้าเฝ้า แต่ท่านสาขะ กล่าวกะข้าพระองค์ว่า จำข้าพระองค์ไม่ได้ ให้คนทุบถอง จับคอไสออกไป ขอพระองค์ได้ทรงเชื่อ ดังนี้เถิด แล้วกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงนามว่า นิโครธ ท่านสาขะเสนาบดีพูดว่า เราไม่รู้จักคนนี้เลยว่า เป็นใครกัน หรือเป็นเพื่อนของใคร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยอย่างไร.

ลำดับนั้น บุรุษ ผู้ทำตามคำของท่านสาขะเสนาบดี เข้าจับคอ ตบหน้าข้าพระองค์ ขับไส ออกไป.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 861

ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นจอมประชานิกร กรรมอันไม่ประเสริฐเช่นนี้ อันท่านสาขะเสนาบดี ผู้เป็นเพื่อนเก่า ของพระองค์ เป็นคนมีความคิดทราม เป็นคนอกตัญญู ประทุษร้ายมิตร ได้กระทำแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺติ มญฺสิ ความว่า ท่านสาขเสนาบดี ได้กล่าวกะข้าพระองค์อย่างใด พระองค์จะทรงเข้าพระทัยอย่างนั้น หรือไม่ อธิบายว่า ท่านสาขเสนาบดี กล่าวอย่างนี้กะข้าพระองค์ พระองค์จงทรงเชื่อหรือไม่?

บทว่า คลวินีเตน คือ จับที่คอ. บทว่า ทุพฺภินา ได้แก่ ผู้ประทุษร้ายมิตร.

พระเจ้านิโครธราช ได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสพระคาถา ๔ พระคาถาว่า :-

ดูก่อนสหาย เรื่องนี้เราไม่รู้เลย แม้ใครๆ ก็มิได้บอกเรา ท่านมาบอกเราแล้วว่า ท่านสาขะเสนาบดี ฉุดคร่าท่าน.

ท่านเป็นคนทำเพื่อน ให้มีชีวิตอยู่สบายดี ท่านเป็นคนให้อิสริยยศ คือ ความเป็นใหญ่ใน


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 862

หมู่มนุษย์แก่เรา และแก่สาขะเสนาบดี ทั้ง ๒ คน เราได้รับความสำเร็จ เพราะท่าน ในข้อนี้ เราไม่มีความสงสัยเลย.

กรรม ที่บุคคลทำในอสัตบุรุษ ย่อมฉิบหาย ไม่งอกงาม เหมือนพืชที่บุคคล หว่านลงในไฟย่อมถูกไฟไหม้ไม่งอกงาม ฉะนั้น.

ส่วนธรรม ที่บุคคลทำในคนกตัญญู มีศีล มีความประพฤติประเสริฐ ย่อมไม่ฉิบหายไป เหมือนพืชที่บุคคล หว่านลงในนาดี ฉะนั้น.

บรรดาเหล่านั้น บทว่า สํสติ แปลว่า บอกกล่าว. บทว่า กฑฺฌนํ กตํ ได้แก่ ทำการฉุดคร่า กล่าวคือ การฉุดมาฉุดไป โดยโบย และทุบตี. บทว่า สขีนํ สาชีวงฺกโร ความว่า ดูก่อนโปติกะ ผู้สหาย ท่านเป็นคนทำเพื่อน ให้มีชีวิตอยู่สบาย คือ เป็นผู้ให้ความอยู่ เกิดขึ้นแก่เพื่อน. บทว่า มม สาขสฺส จูภยํ คือ แก่เรา และแก่สาขเสนาบดี ผู้เป็นเพื่อนกันทั้ง ๒ คน. บทว่า ตฺวํ โนปิสฺสริยํ ความว่า อนึ่ง ท่านเป็นผู้ให้อิสริยยศ แก่พวกเรา คือ พวกเราได้อิสริยยศนี้ เพราะท่าน. บทว่า มหคฺคตํ ความว่า คือความเป็นใหญ่.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 863

แลเมื่อพระเจ้านิโครธราช กำลังตรัสอยู่อย่างนี้ สาขเสนาบดี ได้ยืนอยู่ ณ ที่นั่นเอง ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามเขาว่า ท่านสาขะ ท่านจำโปติกะนี้ ได้ไหม? สาขเสนาบดีได้นั่งอยู่ พระองค์เมื่อจะลง พระราชอาญาแก่เขา ได้ตรัสพระคาถาที่ ๘ ว่า :-

ราชบุรุษทั้งหลาย จงฆ่าสาขะเสนาบดี ผู้ชั่วช้า มักหลอกลวง มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ คนนี้ เสียด้วยหอกทั้งหลาย เราไม่อยากให้มัน มีชีวิตอยู่เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชมฺมํ แปลว่า ผู้เลวทราม. บทว่า เนกติกํ แปลว่า ผู้หลอกลวง.

นายโปติกะได้ฟังดังนั้น คิดว่า ไอ้คนพาลนี้ จงอย่าฉิบหาย เพราะเราเลย จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์ได้โปรดอดโทษ ให้แก่เขาเถิด ชีวิตของคนตายแล้ว ไม่ อาจจะนำกลับคืนมาได้ ขอได้ทรงโปรดอดโทษ แก่อสัตบุรุษเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ไม่ อยากให้ฆ่าเขา.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 864

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขมตสฺส คือ ขมตทสฺส ความว่า ขอพระองค์ได้โปรดอดโทษ ให้แก่อสัตบุรุษนี้เถิด. บทว่า ทุปฺปฏิอานยา คือ อันชีวิตของคนที่ตาย อันใครๆ ไม่อาจที่จะนำกลับคืนมาได้.

พระราชาได้ทรงสดับถ้อยคำ ของโปติกะแล้ว ก็ทรงยกโทษให้สาขะ พระองค์ประสงค์จะพระราชทานตำแหน่ง เสนาดีแก่นายโปติกะ แต่เขาไม่ประสงค์ ลำดับนั้น พระองค์จึงทรงพระราชทานตำแหน่งขุนคลัง เพิ่มอำนาจให้ มีหน้าที่ตรวจตราราชการทั้งหมด ได้ยินว่า ฐานันดร เช่นนั้น แต่ก่อนไม่เคยมี เพิ่งมีขึ้นแต่นั้นมา ต่อมาท่านขุนคลังโปติกะ เจริญด้วยบุตรธิดา กล่าวสอนบุตรธิดาของตน ด้วยคาถาสุดท้ายว่า :-

ควรคบแต่ท่านนิโครธเท่านั้น ไม่ควรเข้าไปคบ เจ้าสาขะอยู่ ตายเสียในสำนักท่าน นิโครธ ประเสริฐกว่า เป็นอยู่ในสำนักเจ้าสาขะ จะประเสริฐอะไร.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนาเรื่องนี้ มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็เป็นคนอกตัญญู อย่างนี้แหละ แล้วทรงประชุมชาดกว่า สาขเสนาบดีในครั้งนั้นได้มา เป็นพระเทวทัตในบัดนี้ โปติกะขุนคลังในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ ในบัดนี้ ส่วนพระเจ้านิโครธราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา นิโครธชาดกที่ ๗