เป็นประโยคที่ฟังเข้าใจง่าย แต่ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า
ขอความอนุเคราะห์ด้วยคะ
สิ่งที่ไม่ใช่สาระหรือไม่เป็นประโยชน์เป็นไปอยู่ เข้าใจว่าเหมือนกัน
ขอเชิญคลิกอ่านที่กระทู้ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไป??
สิ่งที่เราเคยเข้าใจผิดว่าเป็นสาระเป็นไป ความทรงจำเก่าๆ ในบุคคล สถานที่ สิ่งต่างๆ แท้ที่จริง ขณะนั้นไม่มีอะไรที่จะให้ยึดถือเป็นสาระเลย เพราะเป็นไปด้วยความไม่รู้ธรรมล่วงเลยการรู้สาระอันแสนสั้น ที่เป็นอนัตตาที่กำลังปรากฏ และเกิดดับอย่างรวดเร็วในขณะนี้ สิ่งใดเกิดขึ้น ปรากฏ และดับแล้ว สิ่งนั้นล่วงลับไปแล้ว จะไม่หวนกลับมาอีก
ขณะที่เห็น ที่ได้ยิน ฯลฯ ติดข้องผูกพันในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ แต่สำคัญว่าเป็นสาระ
ขณะที่หลงลืมสติชื่อว่าไม่มีสาระ ขณะที่สติเกิดชื่อว่ามีสาระ โดยเฉพาะสติปัฏฐานค่ะ
ผู้ที่เป็นบัณฑิต ท่านจะไม่มีการรั้งรอในการศึกษาธรรมอบรมเจริญปัญญา เพราะว่าในชีวิต ไม่มีอะไรที่จะประเสริฐเท่ากับการรู้ความจริงของสิ่งทั้งปวง ครับ
มีชีวิตอยู่ในแต่ละวันด้วยความไม่รู้ ด้วยการไม่ได้อบรมปัญญา เหมือนมีชีวิต ด้วยความไม่มีสาระเป็นไป ขณะที่เป็นอกุศลในชีวิตประจำวัน เหมือนมีชีวิตด้วยความไม่มีสาระเป็นไป สภาพธรรมที่มีในชีวิตประจำวันที่ผ่านไปแสดงถึงความไม่มีสาระเป็นไปเข้าใจความจริงว่าเป็นธรรมขณะใดเป็นผู้มีสาระเป็นไป แต่ละท่านก็กำลังเริ่มอบรมในสิ่งที่เป็นสาระเป็นไป
สิ่งที่ไม่มีสาระเป็นอกุศลก็เป็นธรรม เป็นธรรมดา อบรมเข้าใจสิ่งที่ไม่มีสาระว่าเป็นธรรม ขณะนั้นจึงมีสาระเป็นไป
เมื่อประมวลทุกความเห็นแล้ว สาระ คือ สติปัฏฐาน เท่านั้น ถูกต้องไหมคะเหมือนคำว่า "พระโอวาท รวมลงในบทเดียว คือความไม่ประมาทอย่างเดียวเท่านั้น"
สีย่อมมีอ่อนจนถึงเข้ม สาระก็มีหลายระดับ อกุศลไม่ใช่สาระเมื่อเปรียบเทียบกับกุศล กุศลที่ประกอบด้วยปัญญาก็เป็นสาระอีกระดับหนึ่ง กุศลที่ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นไปเพื่อการดับกิเลส (สติปัฏฐาน) ก็อีกระดับหนึ่งหรือที่เรียกว่า ศีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ พระนิพพานเป็นสาระสูงสุด คือเป็นสาระที่แท้จริง (ปรมัตถสาระ) ที่สำคัญจึงอบรมและเห็นประโยชน์ของสาระทุกระดับ ทุกประการ
ดังคำกล่าวที่ว่าไม่ประมาทแม้กุศลมีประมาณน้อย
สามารถอ่านเพิ่มเติมในเรื่องสาระ ในพระไตรปิฎกเล่ม 40 หน้า 152
ฉบับบมหามกุฏราชวิทยาลัย
ขออนุโมทนา
สาธุ
เมื่อกล่าวถึงปัจจัยภายนอก การได้เห็น ได้นั่งใกล้ บัณฑิต เป็นสาระ เป็นอุดมมงคล
ขอขอบพระคุณคุณ baramees"
อนุโมทนาค่ะ
สาระ ที่เป็นอุดมมงคล ก็เมื่อศึกษา พิจารณาจนเข้าใจในพระธรรมวินัยและน้อมมาประพฤติปฏิบัติตาม ด้วยความเคารพและนอบน้อมอย่างยิ่ง และต้องไม่ลืมว่าเป็นไปเพื่อละ (ความเห็นผิด) ไม่ใช่เพื่อความติดข้องค่ะ
บุคคลใด ได้เห็น ได้นั่งใกล้บัณฑิต แต่ไม่เห็นธรรม ยังประกอบเนืองๆ ซึ่งทุจริตอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสาระค่ะ ผู้รู้เคยสอนว่าอยู่คนเดียวควรระวังความคิด เช่น ฟังพระธรรม จะได้ไม่ฟุ้งซ่านอยู่กับมิตร ควรระวังวาจา เช่น พูดเรื่องที่มีสาระด้วยถ้อยคำสุภาพเคารพผู้ฟังซึ่งเป็นคุณธรรมของบัณฑิต
และขออนุโมทนาวิทยากรทุกท่าน ที่ตอบคำถามโดยเคารพต่อพระธรรมวินัย หากความเห็นของข้าพเจ้าบกพร่องประการใด ยินดีน้อมรับคำแนะนำค่ะ