ดิฉันจะไปศรีลังกา เพื่อกราบนมัสการพระเขี้ยวแก้ว ในเดือน มิถุนายนที่จะถึงนี้ จึงได้ค้นคว้าหาข้อมูลทาง Internet และหนังสือ (เพื่อที่จะศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยว
กับการไปแสวงบุญ) มาอ่านศึกษาให้เข้าใจเพื่อให้คุ้มกับการที่จะเดินทางไปซึ่งการไป
ศรีลังกาในครั้งนี้เป็นการไปครั้งแรกและมีผู้ใจดีท่านหนึ่งได้มอบหนังสือ " ธรรมจาริก
ในศรีลังกา " ซึ่งเขียนโดย คุณนีน่า วัน กอร์คอม และได้รับการแปลโดยท่าน พ.อ.
ดร.ชินวุธ สุนทรสีมะ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านผู้เขียน ท่านผู้แปล และ ท่าน
ผู้มอบหนังสือเล่มนี้ให้ดิฉัน เมื่อได้อ่านมาถึงบทที่2 หน้า 73 สองบรรทัดสุดท้าย มี
ใจความว่า
" ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นได้ว่า ความเข้าใจจิตต่างๆ ของตนเอง ย่อมเป็นประโยชน์ที่สุด
ในการเจริญกุศล "
ช่วยอธิบายขยายความให้ทราบได้ไหมค่ะว่า " ความเข้าใจจิต " เข้าใจอย่างไร (ถึง
จะเข้าใจถูก) ขอกราบขอบพระคุณค่ะ
อกุศลจิต เมื่อนั้นก็เป็นปัญญาขั้นหนึ่ง
ขออนุโมทนาและขอบพระคุณค่ะ แต่บางครั้งอกุศลเกิดแล้ว (ด้วยกำลังของกิเลส)
มาพิจารณาได้ทีหลัง อารมณ์ขุ่นมัวเพราะมีความเป็นเราใช่ไหมคะ แต่บังคับบัญชา
ก็ไม่ได้อีก
สาธุ
ปัญญารู้ตรงลักษณะของนามธรรมที่เป็นอกุศลไม่ใช่เรา เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับไป
ไม่เหลือค่ะ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12073 ความคิดเห็นที่ 3 โดย Nareopak
ขออนุโมทนาและขอบพระคุณค่ะ แต่บางครั้งอกุศลเกิดแล้ว (ด้วยกำลังของกิเลส)
มาพิจารณาได้ทีหลัง อารมณ์ขุ่นมัวเพราะมีความเป็นเราใช่ไหมคะ แต่บังคับบัญชา
ก็ไม่ได้อีก
ถูกต้องครับเพราะมีกิเลสสะสมมามาก จึงเป็นปัจจัยให้เกิดโทสะ ความขุ่นใจขึ้นมาอีก
แสดงให้เห็นถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ซึ่งการอบรมปัญญาเพื่อเข้าใจตัวจริง
ของสภาพธรรม คือการรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนั้นครับ
ย้ำนะครับ ในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่ถ้าคิดนึกถึงสภาพธรรมที่ดับไปแล้วนั่น
ไม่ใช่สติปัฏฐานเพราะไม่ได้รู้ลักษณะ แต่เป็นเพียงการคิดนึกถึงชื่อเรื่องราวของสภาพ
ธรรมนั้นครับ แต่ไม่ได้ห้ามให้คิดนึกถึงเรื่องสภาพธรรม เพราะห้ามไม่ได้ แต่อาศัยความ
เข้าใจที่ถูกต้องจึงรู้ว่าขณะใดเป็นสติปัฏฐานและไม่ใช่สติปัฏฐานครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่มีรูปร่าง ล่องลอยไม่ได้ เป็นนามธรรม เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และจิตมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป ด้วยอำนาจของสภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วย คือ เจตสิก และมีความแตกต่างกัน เพราะมีอารมณ์ต่างกัน เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ชีวิตที่ดำเนินไปนั้นไม่พ้นไปจากจิตเลย มีจิต เกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา เป็นกุศลจิตบ้าง อกุศลจิตบ้าง วิบากจิตบ้าง และกิริยาจิต (ปัญจทวาราวัชชนจิต, มโนทวาราวัชชนจิต) บ้าง จิตเป็นจิต ไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่ควรรู้ ควรศึกษา ดังนั้น จึงมีการฟัง การศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ จนกระทั่งปัญญา ความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น เจริญขึ้น การที่ปัญญาจะเจริญขึ้นสมบูรณ์ขึ้นได้นั้น ก็ย่อมเป็นไปตามลำดับขั้น โดยที่ไม่มีตัวตนที่จะไปทำ ไปบังคับให้เกิดผลสำเร็จขึ้นได้ และประการที่สำคัญจุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรม นั้นก็เพื่อที่จะรู้ความจริงว่าธรรม เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...