๒. หรติสูตร
โดย บ้านธัมมะ  9 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37066

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 567

๒. หรติสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 567

๒. หรติสูตร

[๕๓๒] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑ ครุฑที่เป็นชลาพุชะ ๑ ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ๑ ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ ๑ ในครุฑทั้ง ๔ จำพวกนั้น ครุฑที่เป็นอัณฑชะย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 568

นำนาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ อุปปาติกะไปไม่ได้ ครุฑที่เป็นชลาพุชะย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะและชลาพุชะไปได้ นำนาคที่เป็นสังเสทชะ อุปปาติกะไปไม่ได้ ครุฑที่เป็นสังเสทชะย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะและสังเสทชะไปได้ นำนาคที่เป็นอุปปาติกะไปไม่ได้ ครุฑที่เป็นอุปปาติกะย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ และอุปปาติกะไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑมี ๔ จำพวกนี้แล.

จบ หรติสูตรที่ ๒

อรรถกถาหรติสูตรที่ ๒

บทว่า หรนฺติ แปลว่า เฉี่ยวเอาไป. ก็แลครุฑเหล่านั้น เมื่อจะเฉี่ยว ก็จะสามารถเฉี่ยวแต่พวกนาคที่ไม่เท่าเทียมกับตนหรือที่เท่ากับตน (เท่านั้น) (แต่) ไม่สามารถเฉี่ยวพวกนาคที่ประณีตกว่าตนขึ้นไปได้.

ก็ชื่อว่านาคที่ครุฑเฉี่ยวเอาไปไม่ได้ มี ๗ จำพวก คือ นาคที่ชาติสูงกว่าพวกหนึ่ง นาคกัมพลอัสสดรพวกหนึ่ง นาคธตรฐพวกหนึ่ง นาคที่อยู่ในมหาสมุทรสัตตสีทันดรพวกหนึ่ง นาคที่อยู่บนแผ่นดินพวกหนึ่ง นาคที่อยู่ที่ภูเขาพวกหนึ่ง นาคที่อยู่ในวิมานพวกหนึ่ง.

บรรดานาคเหล่านั้น นาคที่เป็นชลาพุชะกำเนิดเป็นต้นสูงกว่านาคที่เป็นอัณฑชะกำเนิดเป็นต้น นาคที่เป็นชลาพุชะกำเนิดเป็นต้นเหล่านั้นอันครุฑเหล่านั้นเฉี่ยวเอาไปไม่ได้. ส่วนนาคพวกกัมพลอัสสดรเป็นนาคเสนาบดี ครุฑทุกตัวเห็นนาคเหล่านั้นในที่ใดที่หนึ่งแล้วก็


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 569

ไม่สามารถจะเฉี่ยวเอาไปได้. นาคธตรฐเป็นนาคราชา แม้นาคธตรฐเหล่านั้น ครุฑตัวไหนก็ไม่สามารถจะเฉี่ยวเอาไปได้.

ส่วนนาคเหล่าใดอยู่ในมหาสมุทรสัตตสีทันดร ครุฑตัวไหนก็ไม่สามารถจะเฉี่ยวเอานาคเหล่านั้นไปได้ เพราะเหตุที่ใครๆ ไม่สามารถจะทำให้หวั่นไหวได้ในที่ไหนๆ (ในมหาสมุทรสัตตสีทันดรนั้น).

สำหรับพวกนาคที่อยู่ตามพื้นดินเป็นต้น จะมีโอกาสที่หลบซ่อนอยู่ ฉะนั้นครุฑจึงไม่สามารถจะเฉี่ยวเอานาคแม้เหล่านั้นไปได้. ส่วนนาคเหล่าใดอยู่บนหลังละลอกคลื่นในมหาสมุทร ครุฑลางตัวที่ทัดเทียมกันหรือประณีตกว่า จะไม่สามารถเฉี่ยวเอานาคเหล่านั้นไปได้. บทที่เหลือมีนัย (ความหมาย) ดังกล่าวแล้วในนาคสังยุตนั่นแล.

จบ อรรถกถาหรติสูตรที่ ๒

จบ อรรถกถาสุปัณณสังยุต