ขอเรียนถามท่านวิทยากร ดังนี้
1. "กรรม" ผลักดันให้ "จุติ จิต" ไป "ปฏิสนธิ" ในภูมิที่เหมาะสมแก่ "กรรม" และ "สิ่งสั่งสม" อื่นที่อยู่ใน จิต,หรือ"จุติจิต"เป็นผู้พา "กรรม" ซึ่งติดสอย (โดยสาร) มา, ไปเกิดด้วย
2. "โอปปาติกะ" อันมีเทวดา เปรต อสุรกาย สัตว์นรก เป็นต้น ไม่มีกายหยาบเหมือนมนุษย์แต่มีกายละเอียด (กายทิพย์) เป็นกลุ่ม ก้อนพลังงานอันคือภูมิสัตว์ที่ "มีขันธ์ 4 ขันธ์" ใช่หรือไม่?
3. คำว่า "จิตเดิมแท้ประภัสสร" ที่แสดงว่า "จิตที่บริสุทธิ์เดิม" มีอยู่, เป็นเพียง "วาทะกรรม" ใช่หรือไม่?
4. ถ้าแม้ "นิพพานธาตุ" ก็ดับสลายหมดไม่มีส่วนเหลือ, สรุปว่า "ความมีอะไร" มาก มาย (สิ่งทั้งหลายในโลกในจักรวาล) เกิดมาจาก "ความไม่มีอะไร" (ความว่างเปล่า) , เช่นนั้นหรือ?
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
1. "กรรม" ผลักดันให้ "จุติ จิต" ไป "ปฏิสนธิ" ในภูมิที่เหมาะสมแก่ "กรรม" และ "สิ่งสั่งสม" อื่นที่อยู่ใน จิต หรือ "จุติจิต" เป็นผู้พา "กรรม" ซึ่งติดสอย (โดยสาร) มา ไปเกิดด้วย
ตราบใดที่ยังมีกิเลส ก็ย่อมเป็นปัจจัยให้มีการเกิดอีกเมื่อได้สิ้นชีวิตคือ จุติจิตเกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดต่อครับ เพราะมีการกระทำที่เป้นกุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรม บ้าง กรรมนั้นเองย่อมเป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณคือปฏิสนธิวิญญาณที่เป็นปฏิสนธิจิต สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความ กระเสือกกระสนเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมอันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรม ชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.
ดังนั้นเมื่อยังมีกิเลส กรรมที่ทำไว้ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิต คือ เกิดขึ้นในภพ ภูมิใดภูมิหนึ่งอันสมควรแก่กรรม กรรมย่อมทำให้เหล่าสัตว์กระเสือกกระสนไปในภพภูมิ ต่างๆ ครับ
อีกนัยหนึ่งไม่ใช่เพียงกรรมเท่านั้นที่ทำให้เกิดซึ่งเหตุที่แท้จริงคือกิเลส เพราะมีกิเลส มีอวิชชาและตัณหา โลภะ จึงทำให้มีการทำกรรมและทำให้มีการเกิดครับ ตัณหา ที่ทำ ให้มีการเกิดในสังสารวัฏฏ์ จากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งอย่างไม่มีวันจบสิ้น ตัณหา จึง ได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดอย่างแท้จริงเป็นเหมือนมารดาที่ให้กำเนิด ถ้าไม่มีกิเลส คือ โลภะ หรือ ตัณหาแล้ว ย่อมไม่มีการเกิดอีกอย่างแน่นอน สำหรับผู้ที่จะดับตัณหาได้ อย่างเด็ดขาดไม่เกิดอีกเลยนั้น คือพระอรหันต์ พระอรหันต์ เป็นผู้ฆ่ามารดา (คือตัณหา) ได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีทุกข์ ครับ
จิตเป็นสภาพธรรมที่สะสม ดังนั้น เมื่อยังมีกิเลสก็ยังมีเหตุปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นและดับ ไปสืบต่อกันไป ไม่ขาดสาย ดังนั้นขณะใดที่เกิดจิตประเภทกุศลบ้าง อกุศล บ้าง มีการ กระทำทางกายและวาจา ด้วยจิตที่เป็นกุศลและอกุศล สิ่งเหล่านี้ไมหายไปสะสมต่อไป ที่จิตแต่ละขณะ จุติจิตเกิดขึ้น ดับไป ปฏิสนธิจิตเกิดต่อ สิ่งที่สะสมมาไมหายไปไหน สะสมต่อไปจากจุติจิตไปปฏิสนธิจิต ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล ดังนั้น เมื่อพิจารณาด้วย ปัญญา จึงรู้ว่าสิ่งใดควรสะสม อกุศล หรือ กุศล ความเข้าใจพระธรรม ด้วยการศึกษา พระธรรม ฟังพระธรรมจึงเป็นการสะสมที่ประเสริฐที่สุดครับ
2. "โอปปาติกะ" อันมีเทวดา เปรต อสุรกาย สัตว์นรก เป็นต้น ไม่มีกายหยาบเหมือนมนุษย์แต่มีกายละเอียด (กายทิพย์) เป็นกลุ่ม ก้อนพลังงานอันคือภูมิสัตว์ที่ "มีขันธ์ 4 ขันธ์" ใช่หรือไม่?
โอปปาติกะคือเหล่าสัตว์ที่โตขึ้นทันที ไม่ต้องเกิดในครรภ์ เป็นต้น ซึ่งก็มี เทวดา เปรต ซึ่งรูปของเทวดา เป็นรูปที่ประณีต เป็นรูปละเอียด เพราะฉะนั้นไม่อาจเห็นได้ ด้วยตามนุษย์ แต่เห็นได้ด้วยตาทิพย์ แต่เมื่อพูดว่าเป็นรูปละเอียดแล้วไมได้หมายความไม่มีรูป ดังนั้น โดยมาก เทวดา จึงเป็นเหล่าสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ คือมีรูปด้วยและมี เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ แต่ไม่ใช่เป็นขันธ์ ๔ คือไม่มีรูป มีแต่นาม
ซึ่งในสัตว์โลก มีทั้งเหล่าสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ มีมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เทวดาส่วนใหญ่ เป็นต้น ส่วนเหล่าสัตว์ที่มีขันธ์ ๔ คือ เว้นรูปก็มีพวก อรูปพรหมนั่นเอง ส่วนเหล่าสัตว์ที่มีขันธ์เดียวคือมีแต่รูป ไม่มีนามคือ อสัญญสัตตาพรหม ดังนั้น โอปปาติกะ จึงมีทั้งที่มีขันธ์ ๕ ขันธ์ ๔ และขันธ์เดียว แต่ไมได้หมายความว่าเมื่อมีรูปละเอียด แล้วจะไม่มีรูป เป็นขันธ์ ๔ ถ้ามีรูปละเอียด มีเทวดา เป็นต้นก็มีขันธ์ ๕ ครับ
3. คำว่า "จิตเดิมแท้ประภัสสร" ที่แสดงว่า "จิตที่บริสุทธิ์เดิม" มีอยู่ เป็นเพียง "วาทะกรรม" ใช่หรือไม่?
ประภัสสร หมายถึง ผ่องใส จิตจะผ่องใสได้ก็ต่อเมื่อเป็นกุศลจิต เพราะประกอบ ด้วยโสภณเจตสิก (เจตสิกฝ่ายดี) เกิดร่วมด้วย จึงผ่องใส และอีกประการหนึ่ง ขณะที่ เป็นภวังคจิต ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้อยู่ อารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฏ ไม่ เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรสไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เพียงชั่วขณะที่จิต ไม่รู้ อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนั้น ไม่มีกิเลสประการต่างๆ เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่ ดังนั้น ขณะที่เป็นภวังคจิต จึงกล่าวว่า เป็นจิตประภัสสร ด้วย
ดังนั้น ขณะที่ไม่มีอกุศลเกิดขึ้น มีกุศลจิตและภวังคจิต ขณะนั้นจิตผ่องใส ผ่องใส เพราะไม่มีกิเลสเกิดขึ้นร่วมด้วยในขณะนั้น เพราะกิเลสเป็นสภาพธรรมที่เศร้าหมอง ดังนั้นจิตที่ประภัสสรจึงมีจริงครับ
4. ถ้าแม้ "นิพพานธาตุ" ก็ดับสลายหมดไม่มีส่วนเหลือ สรุปว่า "ความมีอะไร" มาก มาย (สิ่งทั้งหลายในโลกในจักรวาล) เกิดมาจาก "ความไม่มีอะไร" (ความว่างเปล่า) เช่นนั้นหรือ?
เบื้องต้นของสังสารวัฏฏ์ย่อมไม่ปรากฎแต่เพราะมีอวิชชา ความไม่รู้จึงมีการกระทำ ต่างๆ มีสภาพธรรมต่างๆ จนเป็นปัจจัยใหมีการเกิดขึ้นและเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้น สุดเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนั้น คงไม่สามารถหาคำตอบในสิ่งที่เหลือวิสัยว่าเริ่ม แรกเป็นอย่างไร และพระพุทธองค์ก็ไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้เพราะไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ คือ เพื่อละคลายกิเลสได้เพราะแม้ตอบไป สัตว์โลกไม่ได้รู้ด้วยปัญญา เหมือนพระองค์ก็มีแต่จะสงสัยอยู่ดี ไม่แน่ใจและสงสัยเพิ่มเพราะตัวเองไมได้ประจักษ์ ในสิ่งเหล่านั้นเหมือนพระองค์ทรงแสดง แต่พระองค์ทรงแสดงว่าเมื่อมีการเกิดขึ้น ก็ต้องมีสภาพธรรมที่ดับ ดับความเกิดขึ้นที่เป็นสังขารธรรมทั้งหมดไม่เหลือเลย นั่นคือ พระนิพพาน แต่ด้วยหนทางการอบรมปัญญา
เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ ปัญหาที่ทำให้เหล่าสัตว์เจริญขึ้นด้วยปัญญา อันให้ถึงการประจักษ์ความจริงและถึงการ ดับกิเลสได้หมด มี อวิชชา เป็นต้น อันเป็นเหตุของการเกิดขึ้นและดับไปสังขารธรรม มีจิต เจตสิกที่เป็นสังสารวัฏฏ์ที่ไม่มีสิ้นสุด ให้สิ้นสุดได้ ดังนั้น พระองค์จึงทรง แสดงธรรมที่ประกอบด้วประโยชน์มีการเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อให้ เหล่สัตว์ดับกิเลสด้วยหนทางที่ถูกต้องนี้ ครับ
ขออนุโมทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ผมเพียงคิดว่า พระอรหันต์เมื่อคลิกดับ "กิเลส" หมดสิ้นแล้วกลายเป็น "ไม่มีอะไร" (ดับไม่มี ส่วนเหลือ = ว่างเปล่า) ก็เลยคิด "ย้อนกลับ" (Backspace) ว่า เมื่อ "สิ่งที่มีอะไร" สามารถ "ดับสูญสิ้น" หายวับเป็น "ไม่เหลือเศษส่วนอะไรเลย" ก็แปลว่า "สิ่งไม่มีอะไร" (ความว่าง เปล่า) แล้วอยู่ๆ ก็ต้องสามารถสร้างสิ่งต่างๆ (รวมสภาพธรรมต่างๆ) ขึ้นมาจาก "ความว่าง เปล่าไม่มีอะไรเลยแต่เดิม" ได้ด้วยเช่นกัน (ซึ่งผิดหลัก "ตรรกะ" อย่างยิ่ง) เป็นเช่นนั้นได้ หรือ มึนครับ (ถ้าอย่างนี้ยังพอเข้าใจได้ เช่น ฟองน้ำที่เป่าจากน้ำละลายผงซัก ฟอก เห็นเป็นฟอง แต่สักหน่อยก็แตกออก แต่ก็พอรู้ได้ว่ากลายเป็นละออง น้ำเล็กๆ กระจายไป)
เพิ่มเติม "ตรรกะ" คือ "ความไม่มีอะไรเลย" (ความว่างเปล่าไม่มี "อณู" ใดๆ ไม่ว่าจะเป็น อณูของ "สสาร" อณูของ "พลังงาน" หรืออณูของ "วิญญาณธาตุ") ทำอย่างไรเสียก็ไม่มี ทางที่จะ "ผลิต" ผลเป็น "อะไร" ขึ้นมาได้อย่างแน่นอน "ความว่างเปล่า" ย่อมเป็นได้แค่ "ความว่างเปล่า" เช่นเดิมเท่านั้น... ดังนั้น สิ่งที่มีอะไรอยู่เมื่อ "ดับสลาย" ก็คงต้องเหลือ "ธาตุดั้งเดิม" (ซึ่งไม่ใช่ "อัตตภาพ" ปัจจุบันล่าสุด และไม่ใช่ "ตัวตนใหม่" ใดๆ ของใคร เลย) หลงเหลืออยู่ ถ้าจะบอกไม่เหลือแม้แต่อณูของ "จุณ" เลย ตาม "ตรรกะ" แล้วไม่น่า เป็นไปได้
เรียนความคิดเห็นที่ 5 และ 6 ครับ
ตามตรรก คือ ตามเหตุผลของมนุษย์ ตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่เป็นความคิดของปุถุชนก็อย่างหนึ่ง ส่วนสัจจะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระปัญญา ตรัสรู้ด้วย พระองค์เอง โดยไม่ใช่การคิดนึก แต่ประจักษ์ความจริงด้วยปัญญา ของผู้ไม่มีกิเลส เลย จึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น การเอาความคิดทางโลกที่เป็นตรรก ที่คิดว่าถูก มาตัดสินพระธรรมที่เป็นสัจจะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง โดยใช้ความคิดทางโลกเป็นมาตรฐาน นั่นก็ไม่ถูกต้อง ครับ
พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงว่าเงื้อนเบื้องต้นของสังสารวัฏฏ์ไม่ปรากฎ แต่เพราะมี อวิชชา จึงมีการเวียนว่ายตายเกิด มีการเกิดขึ้นของสภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิก เกิด ขึ้นและดับไป ไม่มีที่สิ้นสุด แต่เมื่อดับเหตุคือ กิเลส มี อวิชชาและตัณหา เหมือนการ ดับเชื้อของไฟ ไฟก็ไม่เกิดขึ้น เพราะสิ้นเชื้อครับ
เมื่อพระอรหันต์ดับขันธปรินิพพาน ก็ไม่มีการเกิดขึ้นของสังขารธรรม ไม่มีการเกิดขึ้น ของขันธ์ ๕ อีกต่อไปครับ จึงถึงการนับว่าไม่สามารถบัญญัติอะไรได้เพราะไม่มีการเกิด ขึ้นของสังขารธรรมอีกแล้ว เพราะดับเชื้อคือกิเลสได้แล้ว นี่คือปัญญาของพระ พุทธเจ้าที่ตรัสรู้ความจริงครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ....
พระอรหันต์ ย่อมถึงความไม่มี [จูฬนิทเทส ]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 218
พระผู้นี้พระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสถามว่า ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งมีในอดีตดับไปก่อนแล้ว คือ ถึงความเป็นผู้หาบัญญัติไม่ได้ ได้แก่ ดับไปเหมือนเปลวประทีปฉะนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าดับไป คือ ถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้อย่างนี้ เธอจักรู้ ได้อย่างไร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
พระองค์ทั้งพระสาวก รุ่งโรจน์แล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟโพลงแล้วก็ดับไป พระวรฤทธิ์ด้วย พระยศด้วย จักรรัตนะที่พระยุคลบาทด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทุกอย่างก็ว่างเปล่า แน่แท้
ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ เช่น พระโคธิกะ ท่านฆ่าตัวตาย แต่ก่อนตาย ท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์ เมื่อท่านตายก็ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลายเห็นกลุ่มควัน พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า นั้นเป็นมารผู้มีบาป กำลังค้นหาิวิญญาณ พระโคธิกะ แต่ก็หาไม่เจอ เพราะพระอรหันต์เมื่อปรินิพพานแล้ว ไม่เกิดอีกเลยค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๕๓
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ว่า “ชนทั้งหลาย บางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ (เกิดเป็นมนุษย์) ผู้มีกรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่งสุคติ ย่อมไปสวรรค์ ผู้ไม่มีอาสวะ (คือ ไม่มีกิเลส) ย่อมปรินิพพาน” (จาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๒๘๒
พระมหาโกฏฐิกะ ถามท่านพระสารีบุตรว่า "ทำอย่างไรครับท่าน จึงจะไม่มีการเกิดภพใหม่ขึ้นมาอีกต่อไป" ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า "เพราะสำรอกความไม่รู้ ทำความรู้ให้เกิดขึ้น ดับความทะยานอยากได้โดยไม่เหลือ แบบนี้ซิคุณ จึงจะไม่มีการเกิดภพใหม่ขึ้นมาอีกต่อไป"
(จาก พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาเวทัลลสูตร)
ทุกคนที่ยังเป็นผู้มีกิเลส ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ จากชาตินี้ไปสู่ชาติหน้า จากชาติหน้าก็ไปสู่ชาติต่อๆ ไปอีก ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของนามธรรม คือ จิต เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นอย่างนี้มานานแล้ว เนื่องจากว่าเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน แล้วเมื่อใดจักเป็นผู้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก และจะไม่ถึงการสิ้นสุดสังสารวัฏฏ์ได้โดยไม่ได้อบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง ขัดเกลากิเลสจนกว่ากิเลสทั้งปวงจะหมดสิ้นถึงความเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เพราะท่านดับกิเลสอันเป็นเหตุให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ คือ อวิชชา ความไม่รู้ และ ตัณหา หรือ โลภะได้หมดสิ้นแล้ว พระอรหันต์ เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่มีการเกิดอีก ไม่มีจิต เจตสิก และ รูป เกิดขึ้นอีก เป็นผู้สิ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง
พระอรหันต์ทั้งหลายในอดีต ดับขันธปรินิพพานแล้ว ส่วนเรา ยังเป็นผู้เต็มไปด้วยกิเลส เพราะฉะนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่จะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ค่อยๆ สะสมความเข้าใจพระธรรมเพิ่มขึ้น ขัดเกลาความไม่รู้และอกุศลธรรมประการอื่นๆ ต่อไป ปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด ทำให้ไม่ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
สาธุ อ่านแล้ว แต่เดี่ยวจะเข้ามาอ่านในหัวข้อนี้อีก ชอบมาก ยิ่งอ่านยิ่งได้ความรู้เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อเดิมหรือหัวข้อใหม่
แรกๆ ผมก็คิดเหมือนคุณ วินิจ นั่นแหละ ครับพยายามที่จะหาจุดเริ่มต้นของสรรพสิ่ง ทั้งหลาย แม้กระทั่งการเกิดขึ้น ของจักรวาล มีจุดกำเนิดอย่างไร ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ ก็พยายามที่จะหาคำ อธิบายจุดกำเนิดของจักรวาล โดยอาศัย ของการสังเกต พฤติกรรมต่างๆ ของดวงดาว และข้อมูลที่ได้จาก กล้องโทรทัศน์ที่ แม้กระทั่ง ส่งยานอวกาศไปนอกโลก แต่ก็ยัง อธิบายไม่ได้ จะมีเพียงทฤษฎีที่ไกล้เคียงที่สุด แต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี เลยไม่ต่างอะไรกับการศึกษา อดีตของจักรวาล และดวงดาว เพราะสิ่งต่างที่นักดาราศาสตร์ ศึกษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลายล้าน ปีแสงแล้ว ข้อมูลใหม่ที่ได้รับ ก็จะกลายเป็นเรื่องเก่า ของดาวดวงนั้น เผลอๆ ดาวดวงนั้นอาจจะดับ ไปนานแล้วก็ได้ แต่แสงเพิ่งเดินทางมาถึงโลกที่เราอยู่ แต่แท้จริงสิ่งต่างที่ปรากฎทางตา แม้ไม่ใช้กล้องโทรทัศน์ ส่องมอง ก็ปรากฎให้เห็นอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแต่เราเองขาดแนวทาง ที่ถูกต้องที่ศึกษา นั่นคือ สติและปัญญา ที่เรียกว่าสัมมาสติ
ไม่ต่างอะไรกับการตั้งคำถามเรื่องเราเกิดมาอย่างไร จิตเดิมแท้คืออะไร เมื่อจิตเดิมแท้ ประภัสสร แล้วมีกิเลสจรเข้ามาได้อย่างไร จากที่ไม่มี กลายเป็นมี ทั้งที่แท้จริงมันมีมาแต่ไหนแต่ไร คงไม่ต่างอะไรกับที่คุณวินิจ พูด "จิตเดิมแท้ประภัสสร เป็นเพียงวาทะกรรม" พระพุทธเจ้าท่านกล่าวไว้ว่า ๑ โลกวิสัย ๒ กรรมวิสัย๓.พุทธวิสัย ๔.ฌานวิสัย เป็น ๔ อจินไตยไม่ควรคิด
แต่ท่านเองสอนวิธีที่จะออกจากวัฏฏะ สังสารวัฏฏ์ยาวนานจนหาโดยจุดเริ่มต้นไม่ได้ทุกที่ที่เราย่างเหยียบ อาจจะเคยเป็นหลุมศพ ตัวเอง ญาติมิตร พี่น้อง ไม่รู้กี่แสนโกฏ มาแล้ว เมื่อจุดเริ่มต้นเราไม่ทราบ แต่จุดสิ้นสุดพระพุทธเจ้าท่านก็ได้มีพระมหากรุณาคุณถ่ายทอดธรรมะ ที่ท่านได้บำเพ็ญมาบารมี มานานแสนานในสมัยท่านเป้นพระโพธิสัตว์ จนตรัสรู้ในชาติสุดท้าย ไม่แน่นะ จุดเริ่มต้นกับสิ้นสุดอาจจะเป็นจุดเดียวกัน เริ่มต้นด้วยการเจริญสติปํฎฐาน สิ้นสุดด้วยการสติปัฏฐาน เมื่อสติเว้นรอบ (๑๐๐%) กรรมคือ เจตนา (สังขารในปฏิจจสมุปบาท) ย่อมไม่มีช่องที่จะเกิดได้ เมื่อไม่มีกรรมหรือ การกระทำโดยอำนาจของกิเลส เชื้อของการเกิดย่อมไม่มี หรือ ที่เรียกว่า เมื่อ วิชชาเกิด อวิชชาก็ดับ เมื่อ อวิชชา (ซึ่งเป็นปัจจัยของสังขาร) ดับสนิท การเกิด ย่อมไม่มี หรือ นี่อาจจะเป็นแนวทาง ที่พระพุทธเจ้าที่ชี้ทางบอกสัตว์โลก ให้ออกจาก กงกรรม กงเกวียน ที่หมุนวนรอบมานานแสนนาน และอาจจะย่ำรอยเดิม คล้ายกับโลกหมุนรอบ ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์โคจรรอบจักรวาล จักรวาลน้อยโคจรรอบจักรวาลใหญ่ และตัวจักรวาลน้อยใหญ่ก็ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปตลอดเวลา ไม่ต่างอะไรกับ การเกิดดับของจิตของบรรดาสัตว์โลก แต่สัตว์โลกก็ขาดสติปัญญาที่จะเรียนรู้ คนที่เรียนและรู้ก็ออกจากวัฏฏะได้ ที่ไม่รู้ก็ยังวนเวียนต่อไป โดยที่ในท้ายสุดก็ไปได้ "คนเดียว เส้นทางเดียว แต่ไม่เหยียบรอยกัน" ดังคำกล่าวที่ครูบาอาจารย์ บางท่านกล่าวไว้ หรือ จะเรียกว่า เอกานยมรรค ก็ว่าได้
ผมขออนุญาติใช้จินตนาการ อธิบายในสิ่งที่คุณ วินิจและทุกท่านสงสัยแล้วกันนะครับ ตัวผมเองเคยคิด อย่างนี้มานาน แต่ทุกวันนี้ ก็ไม่ใช่ว่าไม่คิด คิดเหมือนเดิม แต่คิดว่าจะออกจากวัฏฏะนี้อย่างไร (บางคนอาจจะแนะนำว่า โดยการฟังให้เข้าใจ ซึ่งผมก็ขอขอบคุณล่วงหน้าด้วยนะครับ)
ตัวผมเองไม่คล่อยคล่องในการพิมพ์ ใช้เวลานานมากจะเสร็จ เวลาก็ไม่ค่อยจะมี และไม่ได้เจตนาที่จะอวดภูมิธรรมแต่อย่างไร แต่เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น อาจจะยังพอมีประโยชน์อยู่บ้าง ได้แต่กรุณาผู้ดูแลอย่าลบทิ้งเลย อาจจะใช้คำพูดที่ขัดกับ พระไตรปิฎกบ้างแต่ ก็เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่เข้าใจได้ยาก และยินดีรับความเมตตาทุกท่านในการแลกเปลียนความเห็น ในฐานะชาวพุทธด้วยกัน
อนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ
สำหรับประสบการณ์ของผมตอนแรกผมก็สงสัยนั่นนี่มากมาย ตอนนี้ก็ใช่ว่าแจ้งประจักษ์ต่อความสังสัยข้างต้น แต่เมื่อศึกษามาเรื่อยทั้งจากพุทธพจน์ จากคนที่ผมถือวิสาสะเป็นอาจารย์ของผมๆ ผุ้นำมาอธิบายต่อ แม้แต่จากนิยายอิงธรรมะที่มีผลทางอารมณ์ด้วยนอกจากทางปัญญา โดยรวมก่อให้เกิดศรัทธาแน่นหนาขึ้น ประกอบกับเมื่อพยายามเจริญวิปัสสนา แม้จะยังมิใช่ขั้นสติปัฏฐาน ก็ได้ผลเป็นความรู้ความเห็นในบางเสี้ยวบางมุม ของสิ่งที่เกิดปรากฏ ประกอบกับการสังเกตสิ่งที่เกิดกับตน เกิดกับคนอื่นในโลกนี้ ก็ไม่ผิดไปจากหรือจะคัดค้านพุทธพจน์ได้เลย นานไปจึงปลงใจศรัทธาในส่วนที่ผมเองไม่รู้ไม่เห็นเอง แต่ก็ต้องระลึกรู้ว่านั่นคือศรัทธา หาใช่ญาณไม่
ผมขอออกความเห็นว่า อย่าพึ่งเดือดร้อน ถ้าหากยังหาคำตอบให้ตนเองไม่ได้ หรือมิความคิดเชิงตรรกะที่ไม่ลงตัว ผมเคยผ่านมาทางนี้ ควรวางไว้ก่อน หากอดคิดไม่ได้ก็ไม่เป็นปัญหาครับ แต่อย่ายึดมั่นในความคิดเหล่านั้นมากนัก โดยคิดเสียว่ายังไม่ถึงเวลาที่เราจะเข้าใจ หมั่นศึกษาพระสุตร พระอภิรรม ให้มากๆ สำหรับผมปัญญาไม่แก่กล้า ก็อาศัยฟังธรรมบรรยายจากอาจารย์สุจินต์อีกที อธิบายความ เมื่อเจริญสติไปเรื่อยๆ พิจารณาปัญหาตรรกเทียบกับความรู้ทางปรมัตถธรรมเรื่องจิตกับเจตสิก และรูปบ้าง ไม่ท้อถอย ด้วยอำนาจแห่งธรรมปัญหาในใจจะค่อยๆ ได้รับคำตอบเองครับ เป็นไปตามเหตุปัจจัย ใจเย็นๆ อีกอย่างหนึ่ง ในชีวิตของผมที่ผ่านมาได้แจ้งแก่ใจจากประสบการณ์ว่า สิ่งที่เราคิดว่าคิดดีแล้ว ละเอียดแล้ว สมเหตุสมผลแล้ว ต่อมาเมื่อความรู้ความเห็นเจริญขึ้น ความคิดความเห็นที่ก็ต้องหลีกไป บางเรื่องอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ บางเรื่องเมื่อนึกย้อนไปก็เห็นว่าคิดหรือเชื่อเช่นนั้นได้ไง เมื่อต่อมาถึงหายฉงนที่แท้เราศึกษามาน้อย ฟังมาน้อยแม้ในแง่ปริยัตินั้นเอง มิต้องล่วงไปถึงทางวิปัสสนาเลย
เชิญอ่านข้อความพระไตรปิฎก เรื่องจังกีสูตรได้ที่นี่ครับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
ขอบคุณสำหรับ "ข้อคิดความเขียน" ของคุณ akrapat และคงต้องอ่านทบทวนเป็นระยะ, ขอบคุณสำหรับความพากเพียรในการเคาะแป้นพิมพ์และซาบซึ้งสำหรับเจตนาอันบริสุทธิ์,
ขออนุโมทนาครับ...
ขอขอบคุณสำหรับ คห.12 ที่เป็นเพื่อนร่วมเดินทาง และให้กำลังใจ ขอรับคำแนะนำไว้ใช้ประโยชน์ตามกาละ
ขอบคุณมากครับ
ขออนุโมทนาครับ