[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1021
ทิพจักขุญาณนิทเทส
๕๔. อรรถกถาทิพจักขุญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1021
ทิพจักขุญาณนิทเทส
[๒๕๗] ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่าง หรืออย่างเดียวด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักษุญาณอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยฉันทะและสังขารอันเป็นประธาน ฯลฯ ครั้นแล้วย่อมมนสิการถึงอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวัน มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ เจริญจิตให้มีแสงสว่างว่ากลางวันฉันใด กลางคืนฉันนั้น กลางคืนฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1022
ใด กลางวันฉันนั้น ภิกษุนั้นมีจิตอันอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณในจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามธรรมว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือเอาการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิว พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเห็นรูป เป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1023
๕๔. อรรถกถาทิพจักขุญาณนิทเทส
๒๕๗] พึงทราบวินิจฉัยในทิพจักขุญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.
บทว่า อาโลกสญฺํ มนสิ กโรติ - มนสิการอาโลกสัญญา คือ มนสิการแสงพระอาทิตย์ พระจันทร์และแก้วมณี ทั้งกลางวัน กลางคืนว่า อาโลโก - แสงสว่าง. อนึ่ง เมื่อมนสิการอย่างนี้ ท่านกล่าวว่า มนสิการอาโลกสัญญา เพราะยังสัญญาให้เป็นไปในใจว่า อาโลโก.
บทว่า ทิวาสญฺํ อธิฏฺาติ - ตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวัน คือ มนสิการอาโลกสัญญาอย่างนี้แล้ว ตั้งสัญญาว่ากลางวัน.
บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ - กลางวันฉันใด กลางคืนฉันนั้น คือ มนสิการแม้กลางคืนเหมือนเห็นแสงสว่างในกลางวัน ฉะนั้น.
บทว่า ยถา รตฺตึ ตถา ทิวา - กลางคืนฉันใด กลางวันฉันนั้น คือ มนสิการแม้กลางวันเหมือนเห็นแสงสว่างในกลางคืน ฉะนั้น.
บทว่า อิติ วิวฏฺเฏน เจตสา - มีใจเปิดเผยแล้ว คือ มีใจมิได้ปกปิดอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1024
บทว่า อปริโยนทฺเธน - ไม่มีอะไรหุ้มห่อ คือ ไม่หุ้มโดยรอบ.
บทว่า สปฺปภาสํ จิตฺตํ ภาเวติ คือ เจริญจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงจิตมีแสงสว่างด้วยการบริกรรมเป็นอารมณ์ของทิพจักษุ. หรือท่านกล่าวหมายถึงจตุตถฌานมีอาโลกกสิณเป็นอารมณ์. เมื่อภิกษุนั้นเจริญอย่างนี้ จิตมีแสงสว่างปราศจากความมืดปิดกั้น. กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรรมิกะใคร่เพื่อยังทิพจักษุให้เกิด ทำอภิญญามีฌานเป็นบาท มีกสิณเป็นอารมณ์โดยทำนองเดียวกันกับบาลีนี้นั่นแหละ ให้เป็นการควรแก่อภินิหารโดยอาการทั้งปวง. แล้วพึงทำกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งในกสิณ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ เตโชกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑ อาโลกกสิณ ๑ ให้ใกล้ไว้. พึงทำอุปจารฌานให้เป็นอารมณ์แล้วกำหนดให้เจริญไว้. อธิบายว่า ไม่ควรให้อัปปนาเกิดในอุปจารฌานนั้น. เพราะหากว่าให้อัปปนาเกิด ย่อมเป็นนิสัยแห่งฌานเป็นบาทมิใช่นิสัยแห่งบริกรรม.
ในกสิณ ๓ อย่างเหล่านี้ อาโลกกสิณนั่นแหละประเสริฐกว่า. ท่านกล่าวกสิณ ๒ อย่างนอกนั้นด้วยอนุโลมอาโลกกสิณนั่นเอง. เพราะฉะนั้น ควรทำอาโลกกสิณให้เป็นอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งของกสิณ นอกนั้นแล้วยังฌาน ๔ ให้เกิด ตั้งอยู่ในอุปจารภูมิอีกแล้วพึงเจริญกสิณ. พึงเห็นรูปภายในของที่ที่เจริญแล้วๆ. เมื่อภิกษุนั้นเห็นรูปไม่ทำการแผ่ไปแห่งแสงสว่างด้วยจิตบริกรรม ด้วยความขวนขวายนั้น วาระแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1025
บริกรรมย่อมพ้นไป. แต่นั้นแสงสว่างก็หายไป. เมื่อแสงสว่างหายไป แม้รูปก็ไม่ปรากฏ.
เมื่อเป็นเช่นนั้นภิกษุนั้นควรเข้าฌานเป็นบาทบ่อยๆ ครั้นออกจากฌานนั้นควรแผ่แสงสว่างไปตามลำดับอย่างนี้แสงสว่างย่อมมีกำลังมาก ด้วยประการฉะนี้. แสงสว่างจะตกอยู่ในฐานะที่กำหนดไว้ว่า แสงสว่างจะมีในที่นี้ดังนี้. การเห็นรูปย่อมมีแก่ภิกษุผู้นั่งดูแม้ตลอดวัน. เมื่อใดรูปนี้ คือ รูปที่ไม่ไปสู่คลองแห่งจักษุ รูปอยู่ภายในท้อง รูปอาศัยหทยวัตถุ รูปอาศัยภายใต้พื้นดิน รูปที่อยู่นอกฝา ภูเขา และ กำแพง รูปที่อยู่ในจักรวาลอื่น ย่อมมาสู่คลองแห่งญาณจักษุของภิกษุนั้น ดุจเห็นด้วยมังสจักษุ. เมื่อนั้นทิพจักษุย่อมเกิด. ทิพจักษุนั้นสามารถเห็นรูปในที่นี้ได้. มิใช่จิตส่วนเบื้องต้น.
ในบทมีอธิบายดังต่อไปนี้ ลำดับการเกิดของทิพจักษุทำรูปมีประการดังกล่าวแล้วให้เป็นอารมณ์เกิดในมโนทวาราวัชชนะ เมื่อมโนทวาราวัชชนะดับ ทำรูปนั้นนั่นแหละให้เป็นอารมณ์ พึงทราบตามนัยดังกล่าวแล้วว่า ชวนจิต ๔ หรือ ๕ ครั้ง ย่อมเกิด.
อนึ่ง ญาณนี้ท่านกล่าวว่า จุตูปปาตญาณของสัตว์ทั้งหลายบ้าง ทิพจักขุญาณบ้าง. ญานนั้นเป็นอันตรายแก่ปุถุชน. เพราะปุถุชนนั้นอธิษฐานว่าแสงสว่างจงมีในทุกที่. ญาณนั้นๆ ก็จะทะลุไปในแผ่นดิน สมุทรและภูเขา เกิดเป็นแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. เมื่อเป็นดังนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1026
ภิกษุนั้นเห็นรูปมียักษ์รากษสเป็นต้น ที่น่ากลัวในที่นั้นก็จะเกิดความกลัวขึ้น. ด้วยเหตุนั้นภิกษุจะถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต เป็นผู้พลาดไปจากญาณ. เพราะฉะนั้น ไม่ควรประมาทในการเห็นรูป.
บทว่า สตฺตานํ จุตูปปาตาณาย คือ เพื่อญาณในจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ความว่า เพื่อญาณที่รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย. อธิบายว่า เพื่อทิพจักขุญาณ.
บทว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา นี้มีความดังได้กล่าวแล้ว.
บทว่า วิสุทฺเธน - บริสุทธิ์ ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะเหตุที่ความเห็นบริสุทธิ์ด้วยการเห็นจุติและอุปบัติ. จริงอยู่ ผู้ใดเห็นเพียงจุติเท่านั้น ไม่เห็นอุบัติ ผู้นั้นย่อมยึดถืออุจเฉททิฏฐิ ผู้ใดเห็นอุบัติเท่านั้น ไม่เห็นจุติ ผู้นั้นย่อมยึดถือทิฏฐิ คือ ความปรากฏแห่งสัตว์ใหม่.
ส่วนผู้ใดเห็นทั้งสองอย่างนั้น. ผู้นั้นย่อมละเลยทิฏฐิแม้สองนั้นได้. เพราะฉะนั้น การเห็นของผู้นั้น ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งความเห็นบริสุทธิ์. พุทธบุตรทั้งหลายย่อมเห็นทั้งสองอย่างนั้น. ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า วิสุทฺธํ เพราะเหตุแห่งความเห็นบริสุทธิ์ด้วยการเห็นจุติและอุปบัติ. ชื่อว่า อติกฺกนฺตมานุสกํ เพราะเห็นรูปล่วงอุปจาระของมนุษย์. ชื่อว่า อติกฺกนฺตมานุสกํ เพราะล่วงมังสจักษุของมนุษย์ ด้วยจักษุอันเป็นทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1027
บทว่า สตฺเต ปสฺสติ - เห็นสัตว์ทั้งหลาย คือ แลดูสัตว์ทั้งหลาย ดุจด้วยมังสจักษุของมนุษย์.
ในบทนี้ว่า จวมาเน อุปปชฺชมาเน มีอธิบายว่า ไม่สามารถเห็นด้วยทิพจักษุในขณะจุติหรือในขณะอุปบัติ. อนึ่ง สัตว์เหล่าใดใกล้จุติจักเคลื่อนในบัดนี้ ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ากำลังจุติ. ส่วนสัตว์เหล่าใดถือปฏิสนธิแล้วหรือเกิดแล้วเดี๋ยวนี้ สัตว์เหล่านั้นท่านประสงค์ว่ากำลังอุปบัติ. ท่านแสดงว่า ย่อมเห็นสัตว์เหล่านั้นเห็นปานนี้กำลังจุติ. และกำลังอุปบัติ.
บทว่า หีเน - เลว คือ น่าเกลียด น่าเหยียดหยาม น่าดูหมิ่น น่าดูแคลนด้วยสามารถแห่งชาติตระกูลและโภคะเป็นต้นอันเลว เพราะประกอบด้วยผลของโมหะ.
บทว่า ปณีเต - ประณีต คือ ตรงกันข้ามกับเลว เพราะประกอบด้วยผลของอโมหะ.
บทว่า สุวณฺเณ - มีผิวพรรณดี คือ มีผิวพรรณน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพราะประกอบด้วยผลของอโทสะ.
บทว่า ทุพฺพณฺเณ - มีผิวพรรณทราม คือ มีผิวพรรณไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพราะประกอด้วยผลของโทสะ. อธิบายว่า ไม่สวย มีรูปผิดปกติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1028
บทว่า สุคเต - ได้ดี คือ ไปดีหรือมั่งคั่งมีทรัพย์มาก เพราะประกอบด้วยผลของอโลภะ.
บทว่า ทุคฺคเต - ตกยาก คือ ถึงความลำบาก หรือยากจนมีข้าวน้ำน้อย เพราะประกอบด้วยผลของโลภะ.
บทว่า ยถากมฺมูปเค - เป็นไปตามกรรม คือ เป็นไปตามกรรมที่สะสมไว้. ท่านกล่าวถึงกิจของทิพจักษุด้วยมีอาทิว่า จวมาเน บทก่อน. แต่ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงหน้าที่ของยถากัมมูปคญาณ - ญาณกำหนดรู้ว่า สัตว์เป็นไปตามกรรม.
อนึ่ง ลำดับแห่งการเกิดของฌานนั้นมีดังนี้ ภิกษุในศาสนานี้เจริญอาโลกกสิณมุ่งไปสู่นรกเบื้องต่ำ ย่อมเห็นสัตว์นรกทั้งหลายเสวยทุกข์ยิ่งใหญ่. การเห็นนั้นนั่นแหละ เป็นกิจของทิพจักษุ. ภิกษุนั้นมนสิการอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรไว้หนอ จึงต้องเสวยทุกข์นั้น. ครั้นแล้วญาณมีกรรมนั้นๆ เป็นอารมณ์เกิดแก่ภิกษุนั้นว่า เพราะทำกรรมนี้.
อนึ่ง ภิกษุเจริญอาโลกกสิณมุ่งไปสู่เทวโลกเบื้องบน เห็นสัตว์ทั้งหลายเสวยมหาสมบัติในสวนนันทนวัน มิสสกวัน และปารุสกวัน เป็นต้น. การเห็นแม้นั้นก็เป็นกิจของทิพจักษุนั้นเอง. ภิกษุนั้นมนสิการอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรไว้หนอ จึงต้องเสวยสมบัตินี้ ครั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1029
แล้วญาณมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์เกิดแก่ภิกษุนั้นว่า เพราะทำกรรมนี้ชื่อว่ายถากัมมูปคญาณ. การบริกรรมต่างออกไปจากนี้ไม่มีแก่ภิกษุนี้. แม้อนาคตังสญาณก็เหมือนญาณนี้. จริงอยู่ ญาณเหล่านี้มีทิพจักขุญาณเป็นบาท ย่อมสำเร็จพร้อมด้วยทิพจักษุนั่นเอง.
บทว่า อิเม ในบทมีอาทิว่า อิเม วต โภนฺโต เป็นบทขยายความของผู้เห็นด้วยทิพจักษุ.
บทว่า วต เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งความรำพึงถึง
บทว่า โภนฺโต คือ ผู้เจริญทั้งหลาย. ชื่อว่าทุจริต เพราะประพฤติด้วยความชั่ว. หรือประพฤติความชั่ว เพราะเน่าด้วยกิเลส. ชื่อว่ากายทุจริต เพราะประพฤติชั่วทางกาย. หรือความประพฤติชั่วเกิดขึ้นทางกาย. แม้ในบทนอกนั้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า สมนฺนาคตา - ประกอบแล้ว คือ มีความพร้อมแล้ว.
บทว่า อริยานํ อุปวาทกา - ติเตียนพระอริยเจ้า คือ เป็นผู้ใคร่ความพินาศแก่พระอริยเจ้า ผู้เป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกโดยที่สุด แม้แก่คฤหัสถ์ผู้เป็นโสดาบัน ติเตียนด้วยอันติมวัตถุ หรือด้วยการกำจัดคุณ. อธิบายว่า ด่า ติเตียน. กล่าวว่า สมณธรรมไม่มีแก่ท่านเหล่านี้ ท่านเหล่านี้มิใช่สมณะ. พึงทราบว่า ชื่อว่าติเตียนด้วยอันติมวัตถุ. กล่าวคำมีอาทิว่า ฌาน วิโมกข์ มรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1030
หรือผล ไม่มีแก่ท่านเหล่านี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าติเตียนด้วยการกำจัดคุณ. แต่ผู้นั้นรู้หรือไม่รู้พึงติเตียน. แม้ทั้งสองอย่าง ชื่อว่าเป็นอันติเตียนพระอริยเจ้า. กรรมหนักห้ามสวรรค์และห้ามมรรคเช่นเดียวกับอนันตริยกรรม แต่เป็นสเตกิจฉา คือ พอเยียวยาได้. เพราะฉะนั้น ผู้ใดติเตียนพระอริยเจ้า. หากพระอริยเจ้าเป็นผู้ใหญ่กว่าตน ควรไปหาพระอริยเจ้านั้นนั่งกระโหย่งขอขมาว่า กระผมได้กล่าวคำนี้ๆ กะท่าน ขอท่านได้โปรดอดโทษให้แก่กระผมเถิด.
หากพระอริยเจ้าอ่อนกว่า ควรนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ขอให้ยกโทษว่า ท่านขอรับกระผมได้กล่าวคำนี้ๆ กะท่าน ขอท่านได้โปรดอดโทษให้แก่ผมเถิด.
หากพระอริยเจ้าหลีกไปในทิศ. ควรไปเองหรือส่งสัทธิวิหาริก เป็นต้น ไปขอให้ท่านอดโทษ.
หากไม่สามารถไปได้หรือไม่สามารถส่งไปได้ ควรไปหาภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในวิหารนั้น.
หากภิกษุทั้งหลายอ่อนกว่า ควรนั่งกระโหย่ง. หากแก่กว่า ควรปฏิบัติโดยนัยดังกล่าวแล้วในพระอริยเจ้าผู้ใหญ่นั่นแหละ. แล้วกล่าวว่า ท่านขอรับกระผมได้กล่าวคำนี้ๆ กะพระคุณเจ้าชื่อโน้น. ขอพระคุณเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1031
โน้นจงอดโทษให้แก่กระผมเถิด. แม้เมื่อไม่ขอขมาต่อหน้าก็ควรทำเช่นนี้แหละ.
หากภิกษุเที่ยวไปรูปเดียว ที่นั้นมิใช่ที่อยู่ของภิกษุนั้น. ที่ไปก็ไม่ปรากฏ. ควรไปหาภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งแล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ กระผมได้กล่าวคำนี้ๆ กะพระคุณเจ้าชื่อโน้น. เมื่อกระผมนึกถึงคำนั้น จึงมีความร้อนใจ กระผมจะทำอย่างไรดี. ภิกษุรูปนั้นจักกล่าวว่า อย่าคิดมากไปเลยคุณ. พระเถระอดโทษให้คุณแล้ว จงสงบใจเสียเถิด.
แม้ด้วยเหตุนั้น ก็ควรประคองอัญชลีไปทางทิศที่พระอริยเจ้าไป แล้วกล่าวว่า ขอได้โปรดอดโทษเถิด. ผิว่า พระอริยเจ้านั้นปรินิพพานเสียแล้ว. ควรไปยังเตียงที่ปรินิพพาน แล้วไปยังป่าช้าขอให้อดโทษให้. เมื่อทำอย่างนี้ไม่ห้ามสวรรค์. ไม่ห้ามมรรค. เป็นไปตามปกติ.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกา ได้แก่ มีความเห็นวิปริต.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกมฺมสมาทานา - ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ คือ ผู้ที่ชักชวนแม้ผู้อื่นในกายกรรมเป็นต้น มีมิจฉาทิฏฐิเป็นมูล ชื่อว่าเป็นอันยึดถือกรรมมีอย่างต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งมิจฉาทิฏฐิ.
อนึ่ง การกล่าวบททั้งสองนี้ ในการติเตียนพระอริยเจ้าด้วยศัพท์ว่า วจีทุจริต และในมิจฉาทิฏฐิ แม้ที่ท่านสงเคราะห์ด้วยศัพท์ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1032
มโนทุจริต พึงทราบว่า เพื่อแสดงถึงความมีโทษมาก. จริงอยู่ การติเตียนพระอริยเจ้ามีโทษมาก เพราะเช่นกับอนันตริยกรรม. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา พึงยังอรหัตตผลให้สำเร็จในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด. ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจาเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะไปสู่นรก. (๑)
อนึ่ง โทษอื่นมีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิไม่มี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างเดียวที่มีโทษมากเหมือนมัจฉาทิฏฐินี้เลย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจาฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง. (๒)
บทว่า กายสฺส เภทา - เพราะกายแตก คือ เพราะสละขันธ์มีใจครอง.
๑. ม. มู. ๑๒/๑๖๗.
๒. องฺ. เอกก. ๒๐/๑๙๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1033
บทว่า ปรมฺมรณา - เมื่อตายไป คือ ในการถือเอาขันธ์ที่เกิดในลำดับนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กายสฺส เภทา คือ เพราะตัดชีวิตินทรีย์.
บทว่า ปรมฺมรณา คือ ก่อนจุติจิต.
บททั้งปวงมีอาทิอย่างนี้ว่า อปายํ เป็นไวพจน์ของนรก. ชื่อว่า นิริยะ เพราะปราศจากความเจริญอันสมมติว่าเป็นบุญอันเป็นเหตุแห่งสวรรค์และนิพพาน. ชื่อว่า อบาย เพราะไม่มีความสุขหรือความเจริญ. ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นทางเป็นที่อาศัยของทุกข์.
อีกอย่างหนึ่ง คติเกิดด้วยกรรมชั่ว เพราะมีโทษมาก ชื่อว่า ทุคติ. ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ตกไปแห่งความหมดอำนาจของคนทำชั่ว.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ตกไปแห่งความพินาศ คือ อวัยวะน้อยใหญ่ทำลายพินาศไป. ชื่อว่า นิรยะ เพราะไม่มีความเจริญ ที่รู้กันว่าเป็นความชื่นใจ.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดงถึงกำเนิดเดียรัจฉานด้วย อปาย ศัพท์. กำเนิดเดียรัจฉาน ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากสุคติ. ทุคติมิใช่อบาย เพราะนาคราชเป็นต้น ผู้มีศักดิ์ใหญ่ก็เกิด. ท่านแสดงปิตติวิสัย คือที่อยู่ของเปรต ด้วย ทุคฺคติ ศัพท์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1034
จริงอยู่ปิตติวิสัยเป็นทั้งอบายและทุคติ เพราะปราศจากสุคติ และเพราะเป็นทางไปแห่งทุกข์. ส่วนวินิบาตไม่ใช่ปีตติวิสัย เพราะไม่ตกไปเช่นอสูร. ท่านแสดงอสุรกาย ด้วย วินิปาต ศัพท์. เพราะอสุรกายนั้นเป็นทั้งอบายและทุคติด้วยอรรถดังกล่าวแล้ว. ท่านเรียกว่า วินิบาต เพราะร่างกายทั้งหมดตกไป. ท่านแสดงนรกเท่านั้นมีประการไม่น้อย มีอเวจีเป็นต้น ด้วย นิรย ศัพท์.
บทว่า อุปปนฺนา คือ เข้าถึงแล้ว ได้แก่ เกิดแล้ว. พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
ต่อไปนี้เป็นความพิเศษ. ท่านสงเคราะห์คติของมนุษย์ด้วย สุคติ ศัพท์. สงเคราะห์คติของเทวดา ด้วย สัคค ศัพท์.
ในบทว่า สุคตึ สคฺคํ โลกํ นั้นมีความดังนี้ ชื่อว่า สุคติ เพราะไปดี. ชื่อว่า สัคคะ เพราะเลิศดีด้วยวิสัยมีรูปเป็นต้น. แม้ทั้งหมดนั้นชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าทำลาย. นี้เป็นการอธิบายคำ. บททั้งหมดมีอาทิว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา - ด้วยทิพจักษุ เป็นคำสรุป ด้วยประการฉะนี้. ความสังเขปในบทนี้มีอย่างนี้ว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา ปสฺสติ - ย่อมเห็นด้วยทิพจักษุ.
จบ อรรถกถาทิพจักขุญาณนิทเทส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1035
ในญาณ ๕ เหล่านี้ อิทธิวิธญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๗ ด้วยสามารถแห่งปริตตารมณ์ ๑ มหัคคตารมณ์ ๑ อตีตารมณ์ ๑ อนาคตารมณ์ ๑ ปัจจุปันนารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑ พหิทธารมณ์ ๑.
โสตธาตุวิสุทธิญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๔ ด้วยสามารถแห่งปริตตารมณ์ ๑ ปัจจุปันนารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑ พหิทธารมณ์ ๑.
เจโตปริยญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๘ ด้วยสามารถแห่งปริตตารมณ์ ๑ มหัคคตารมณ์ ๑ อัปปมาณารมณ์ ๑ มัคคารมณ์ ๑ อตีตารมณ์ ๑ อนาคตารมณ์ ๑ ปัจจุปันนารมณ์ ๑ พหิทธารมณ์ ๑
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๘ ด้วยสามารถแห่งปริตตารมณ์ ๑ มหัคคตารมณ์ ๑ อัปปมาณารมณ์ ๑ มัคคารมณ์ ๑ อตีตารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑ พหิทธารมณ์ ๑ นวัตตัพพารมณ์ ๑.
ทิพจักขุญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๔. ด้วยสามารถแห่งปริตตารมณ์ ๑ ปัจจุปันนารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑ พหิทรารมณ์ ๑.
ยถากัมมูปคญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๕ ด้วยสามารถแห่งปริตตารมณ์ มหัคคตารมณ์ ๑ อตีตารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1036
พหิทธารมณ์ ๑.
อนาคตังสญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๘ ด้วยสามารถแห่งปริตตารมณ์ ๑ มหัคคตารมณ์ ๑ อัปปมาณารมณ์ ๑ มัคคารมณ์ ๑ อนาคตารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑ พหิทธารมณ์ ๑ นวัตตัพพารมณ์ ๑.
จบ ปัญจญาณปกิณกะ