[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 706
ปัญญาวรรค
๒. อิทธิกถา
ว่าด้วยเรื่องฤทธิ์ หน้า 706
อรรถกถาอิทธิกถา หน้า 717
อรรถกถาทสอิทธินิเทศ หน้า 722
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 706
ปัญญาวรรค อิทธิกถา
ว่าด้วยเรื่องฤทธิ์
[๖๗๙] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิ บาท บท มูล แห่ง ฤทธิ์ มีอย่างละเท่าไร?
ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์เป็นอย่างไร ด้วยความว่าสำเร็จ ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์มีเท่าไร มี ๑๐ ภูมิแห่งฤทธิ์มี ๔ บาทมี ๔ บทมี ๘ มูลมี ๑๖.
[๖๘๐] ฤทธิ์ ๑๐ เป็นไฉน?
ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๑ ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ๑ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ๑ ฤทธิ์ ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๑ ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑ ฤทธิ์เกิด แต่ผลกรรม ๑ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จแต่วิชา ๑ ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วย ความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๑.
[๖๘๑] ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน?
ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดแต่วิเวก ๑ ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข ๑ ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข ๑ จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ๑ ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะ ฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ เพื่อความไหลไปแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
[๖๘๒] บาท ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ และปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่ง ด้วยความเพียร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 707
และปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร ๑ บาท ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ ... เพื่อความแกล้วกล้าด้วย ฤทธิ์.
[๖๘๓] บท ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน?
ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่ฉันทะ ฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัย วิริยะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิริยะ วิริยะ เป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยจิตได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่จิต จิตเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุ อาศัยวิมังสาได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง บท ๘ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความได้ฤทธิ์ ... เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
[๖๘๔] มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน?
จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา (จิตไม่หวั่นไหว) จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ อุทธัจจะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา จิตไม่น้อมไป ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะราคะ ... จิตไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท ... จิตอันทิฏฐิ ไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ... จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ ฉันทราคะ ... จิตหลุดพ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ ... จิตไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส ... จิตปราศจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะความครอบงำแห่งกิเลส ... เอกัคคตาจิต ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 708
ต่างๆ ... จิตที่กำหนดด้วยศรัทธา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มี ศรัทธา ... จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ... จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ... จิตที่กำหนดด้วย สมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... จิตที่กำหนดด้วยปัญญา ย่อมไม่ หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา จิตที่ถึงความสว่างไสว ย่อมไม่หวันไหวเพราะความมืดคืออวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญ ในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
[๖๘๕] ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็น หลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป ในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก อย่างนั้นด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในทิฏฐินี้ ในขันตินี้ ในความชอบใจนี้ ในเขตนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าในศาสนานี้.
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะหรือเป็น พระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 709
คำว่า แสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ แสดงฤทธิ์ได้มีประการต่างๆ อย่าง.
คำว่า คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปกติเป็น คนเดียว ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็นร้อยคน พันคนหรือแสนคน แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นหลายคน ก็เป็นหลายคน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ถึงความชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ เปรียบเหมือนท่าน พระจุลปันถกรูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ ฉะนั้น.
คำว่า หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปกติหลายคน ย่อมนึกให้เป็นคนเดียว แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นคนเดียว ก็เป็น คนเดียว ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถก หลายรูปเป็นรูปเดียวก็ได้ ฉะนั้น.
คำว่า ทำให้ปรากฏก็ได้ คือ ที่อันอะไรๆ ปิดบังไว้ ทำให้ไม่มี อะไรปิดบังให้เปิดเผยก็ได้.
คำว่า ทำให้หายไปก็ได้ คือ ที่อันอะไรๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่ ปิดบังมิดชิดก็ได้.
คำว่า ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้อากาศกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขา แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นที่ว่างก็ย่อมเป็นที่ว่าง ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ย่อมทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต ย่อมทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ตัดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวก มนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติ ย่อมไปในที่ที่ไม่มีอะไรๆ ปิดบังกั้นไว้ไม่ติดขัด ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 710
คำว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้อาโปกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วยญาณ ว่า จงเป็นน้ำ ก็เป็นน้ำ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินได้ ท่านผู้มี ฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เปรียบ เหมือนพวกมนุษย์ ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติ ผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น.
คำว่า เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ คือ ท่านผู้ มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงน้ำ แล้วอธิษฐานด้วย ญาณว่า จงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น เดินไปบนน้ำไม่ แตกได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ถึงความชำนาญแห่งจิต เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือน เดินบนแผ่นดินก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติ เดินไป บนแผ่นดินไม่แตกได้ ฉะนั้น.
คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้ ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงอากาศ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จง เป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง ในอากาศกลางหาวเหมือนนกก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดย ปกติ เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น.
คำว่า ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้น ด้วยฝ่ามือก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่ง หรือนอนก็ตาม นึกถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า พระจันทร์พระอาทิตย์ จงมีในที่ใกล้มือ ก็ย่อมมีที่ใกล้มือ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น นั่งหรือนอนอยู่ก็ตาม ย่อมลูบคลำสัมผัสพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 711
เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติ ย่อมลูบคลำสัมผัสรูปอะไรๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น.
คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ผู้ถึง ความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็น ที่ใกล้ว่า จงเป็นที่ใกล้ ก็เป็นที่ใกล้ อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า จงเป็น ที่ไกล ก็เป็นที่ไกล อธิษฐานของมากให้เป็นของน้อยว่า จงเป็นของน้อย ก็เป็น ของน้อย อธิษฐานของน้อยให้เป็นของมากว่า จงเป็นของมาก ก็เป็นของมาก ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วยทิพยจักษุ ย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพโสตธาตุ ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่ง จิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานจิต ด้วยสามารถแห่งกาย ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยัง พรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่ ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานกายด้วย สามารถแห่งจิต ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์นิรมิตรูปอันสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบ ทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ไว้ข้างหน้าของพรหมนั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ เดินอยู่ รูปกายนิรมิตก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกายนิรมิต ก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายนิรมิตก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น ถ้า ท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่ รูปกายนิรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์บัง หวนควันอยู่ รูปกายนิรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ให้ไฟ ลุกโพลงอยู่ รูปกายนิรมิตก็ให้ไฟลุกโพลง ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 712
อยู่ รูปกายนิรมิตก็กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาอยู่ รูปกายนิรมิตก็ถามปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์อันรูปกายนิรมิตถาม ปัญหาแล้วก็แก้ รูปกายนิรมิตอันท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาแล้วก็แก้อยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนสนทนาปราศรัยอยู่กับพรหมนั้น รูปกายนิรมิตก็ยืนสนทนา ปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ ณ ที่นั้น ท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใด รูปกายนิรมิตก็ทำ กิจนั้นๆ นั่นแล นี่ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นดังนี้.
[๖๘๖] ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ เป็นไฉน?
พระเถระนามว่าอภิภู เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุ ทราบชัด ท่านแสดงธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มี ด้วย กายครึ่งหนึ่งส่วนล่างปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี ท่านละเพศปกติแล้วแสดงเพศกุมารบ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑ บ้าง แสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดง เพศเทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงเพศสมุทรบ้าง แสดงเพศภูเขาบ้าง แสดงเพศป่าบ้าง แสดงเพศราชสีห์บ้าง แสดงเพศเสือโคร่งบ้าง แสดงเพศ เสือเหลืองบ้าง แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดง พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง นี้เป็นฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ.
[๖๘๗] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเทียบบุรุษชักไส้ออกจาก หญ้าปล้อง เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 713
อย่างหนึ่ง ไส้เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษชักดาบออกจากฝัก เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบเป็นอย่างหนึ่ง ฝักเป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ออกจากฝักนั่นเอง อีก ประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษเอางูออกจากกระทอ เขาพึงมีความสำคัญอย่าง นี้ว่า นี้งู นี้กระทอ งูเป็นอย่างหนึ่ง กระทอเป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจาก กระทอนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจมีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ฤทธิ์สำเร็จ ด้วยใจ.
[๖๘๘] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นไฉน?
ความละนิจจสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ความละสุขสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุ- ปัสสนา ความละอัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสสนา ความละความ เพลิดเพลิน ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ความละราคะ ย่อมสำเร็จได้ ด้วยวิราคานุปัสสนา ความละสมุทัย ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสสนา ความละ ความยึดถือ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ ที่แผ่ไปด้วยญาณ ท่านพระพักกุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละ มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ.
[๖๘๙] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นไฉน?
ความละนิวรณ์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงเป็น ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ความละวิตกวิจาร ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะ เหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ความละปีติ ย่อมสำเร็จได้ด้วย ตติยฌาน ฯลฯ ความละสุขและทุกข์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 714
ละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ความละอากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ความละวิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วย อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ความละอากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมสำเร็จ ได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไป ด้วยสมาธิ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสัญชีวะ ท่านพระขาณุโกณฑัญญะ อุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไป ด้วยสมาธิ.
[๖๙๐] ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็น สิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญใน สิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูล และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูล และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญ ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่ง ที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งทั้ง สองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้ มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่.
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร?
ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่ น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 715
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอย่างไร?
ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในสิ่งที่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ อย่างนี้
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ ปฏิกูลอยู่อย่างไร?
ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตาหรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งทั้งไม่ น่าปรารถนาและน่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างไร?
ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในสิ่งทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล และใน สิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ.
[๖๙๑] ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรมเป็นไฉน?
นกทุกชนิด เทวดาทั้งปวง มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวก มีฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม นี้ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 716
[๖๙๒] ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญเป็นไฉน?
พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ตลอดจนพวกปกครองม้าเป็นที่สุด นี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโชติยคฤหบดี ฤทธิ์ของชฎิลคฤหบดี ฤทธิ์ของเมณฑกคฤหบดี ฤทธิ์ของโฆสิตคฤหบดี ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญมาก ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ นี้ฤทธิ์ของท่านผู้ มีบุญ.
[๖๙๓] ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชาเป็นไฉน?
พวกวิชชาธรร่ายวิชชาแล้วย่อมเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง พลม้า บ้าง พลรถบ้าง พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง ในอากาศ กลางหาว นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชา.
[๖๙๔] ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบ ในส่วนนั้นๆ อย่างไร?
ความละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อ ว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ ความ ละพยาบาท ย่อมสำเร็จได้ด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ความละถีนมิทธะย่อม สำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ ความละกิเลสทั้งปวง ย่อมสำเร็จได้ด้วยอรหัต มรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการ ประกอบชอบในส่วนนั้นๆ ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการ ประกอบชอบในส่วนนั้นๆ อย่างนี้ ฤทธิ์ ๑๐ ประการเหล่านี้.
จบอิทธิกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 717
อรรถกถาอิทธิกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาไว้แห่งอิทธิกถา อัน พระสารีบุตรเถระแสดงถึงบุญญานุภาพในลำดับแห่งปัญญากถาพึงทราบวินิจฉัย ในคำถามเหล่านั้นดังต่อไปนี้ก่อน บทว่า กา อิทฺธิ ฤทธิ์เป็นอย่างไร เป็น สภาวปุจฉา (ถามถึงสภาพ). บทว่า กติอิทฺธิโย ฤทธิ์มีเท่าไรเป็น ปเภทปุจฉา (ถามถึงประเภท). บทว่า กติภูมิโย ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร เป็นสัมภารปุจฉา (ถามถึงสะสม). บทว่า กติปาทา บาทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร เป็น ปติฏฐปุจฉา (ถามถึงที่ตั้ง). บทว่า กติปทานิ บทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร เป็น อาสันนการณปุจฉา (ถามเหตุที่ใกล้เคียง). บทว่า กติมูลานิ มูล แห่งฤทธิ์มีเท่าไรเป็นอาทิการณปุจฉา (ถามเหตุเบื้องต้น).
พึงทราบวินิจฉัยในคำตอบดังต่อไปนี้ บทว่า อิชฺฌนฏฺเน อิทฺธิ ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยอรรถว่าสำเร็จ อธิบายว่า ด้วยอรรถว่าสำเร็จและด้วยอรรถว่า ได้เฉพาะ เพราะสิ่งใดสำเร็จและได้เฉพาะท่านกล่าวสิ่งนั้นว่าย่อมสำเร็จ สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าว่าวัตถุกามนั้นจะสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนากาม อยู่ดังนี้ พึงทราบบทมีอาทิว่า ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะเนกขัมมะย่อมสำเร็จ ชื่อว่า ปาฏิหาริยํ เพราะเนกขัมมะย่อมกำจัดกามฉันทะ พึงทราบนัยอื่นต่อไปชื่อว่า อิทฺธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ บทที่เป็นชื่อของอุปายสัมปทา (ความถึงพร้อม ด้วยอุบาย) จริงอยู่ อุปายสัมปทาย่อมสำเร็จเพราะประสบผลที่ประสงค์สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จิตตคหบดีนี้แลเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม หากว่า จิตตคหบดีจักปรารถนาว่าเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ ความตั้งใจของผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 718
ศีลจักสำเร็จเพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ พึงทราบนัยอื่นต่อไปอีก ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะ เป็นเหตุสำเร็จของสัตว์. บทว่า อิชฺฌนฺติ ย่อมสำเร็จ ท่านอธิบายว่าเป็นความ เจริญงอกงามถึงความอุกฤษฏ์.
ชื่อว่าฤทธิ์ที่อธิษฐานเพราะสำเร็จด้วยความอธิษฐานในฤทธิ์ ๑๐. ชื่อว่า ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ เพราะเป็นไปด้วยการทำให้แปลก โดยละวรรณะปกติ ชื่อว่าฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ เพราะเป็นไปด้วยความสำเร็จแห่งสรีระสำเร็จทางใจ อย่างอื่น ชื่อว่าฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นความวิเศษเกิดด้วยอานุภาพของญาณ ในเบื้องต้น ในภายหลังหรือในขณะนั้น ชื่อว่าฤทธิ์แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นความ วิเศษเกิดด้วยอานุภาพของสมถะในเบื้องต้นในภายหลังหรือในขณะนั้น ชื่อว่า ฤทธิ์ของพระอริยะเพราะเกิดแก่พระอริยะผู้ถึงความชำนาญทางจิต ชื่อว่าฤทธิ์ เกิดแต่ผลกรรมเป็นความวิเศษเกิดด้วยผลกรรม ว่าฤทธิ์ของผู้มีบุญเพราะ เป็นความวิเศษเกิดแก่ผู้มีบุญที่ทำไว้ในกาลก่อน ชื่อว่าฤทธิ์สำเร็จแต่วิชชา เป็นความวิเศษเกิดแต่วิชชา ความสำเร็จแห่งกรรมนั้นๆ ด้วยการประกอบชอบ นั้น ชื่อว่า อิทธิ ด้วยอรรถว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วน นั้นๆ.
บทว่า อิทฺธิยา จตสฺโส ภูมิโย ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์ แม้เมื่อท่านกล่าว ไม่แปลกกัน ท่านก็กล่าวถึงภูมิแห่งฤทธิ์ที่อธิษฐานที่แผลงได้ต่างๆ และที่สำเร็จ แต่ใจตามแต่จะได้ มิใช่ของฤทธิ์ที่เหลือ. บทว่า วิเวกชา ภูมิ เป็นภูมิเกิดแต่ วิเวก คือเป็นภูมิเกิดแต่วิเวกหรือในวิเวก ชื่อว่าวิเวกชาภูมิ. บทว่า ปีติสุขภูมิ เป็นภูมิแห่งปีติและสุข คือเป็นภูมิประกอบด้วยปีติและสุข. บทว่า อุเปกฺขาสุขภูมิ เป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุขคือ ชื่อว่า ภูมิ เพราะประกอบด้วยอุเบกขา คือวางตนเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ และด้วยสุข. บทว่า อทุกฺขมสุขภูมิ เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 719
ภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เป็นภูมิประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ในฌาน เหล่านั้น ปฐมฌานแล้วทุติยฌานเป็นความแผ่ไปแห่งปีติ ตติยฌานเป็นความ แผ่ไปแห่งสุข จตุตถฌานเป็นความแผ่ไปแห่งจิต อนึ่ง ในบทนี้ เพราะผู้มี กายเบาอ่อนควรแก่การงานก้าวล่วงสุขสัญญา และลหุสัญญาด้วยสัญญาด้วยการ แผ่ไปแห่งสุขย่อมได้ฤทธิ์ ฉะนั้น ฌาน ๓ ข้างต้นพึงทราบว่าเป็นสัมภารภูมิ เพราะเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์โดยปริยายนี้ ส่วนจตุตถฌานเป็นภูมิปกติเพื่อได้ฤทธิ์ เท่านั้น. บทว่า อิทฺธิลาภาย เพื่อได้ฤทธิ์คือเพื่อได้ฤทธิ์ทั้งหลายด้วยความ ปรากฏในสันดานของตน. บทว่า อิทฺธิปฏิลาภาย เพื่อได้เฉพาะฤทธิ์คือเพื่อ ได้ฤทธิ์ที่เสื่อมแล้วคืนมาด้วยปรารภความเพียร เพิ่มบทอุปสรรคลงไป บทว่า อิทฺธิวิกุพฺพนาย เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ คือเพื่อแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง. บทว่า อิทฺธิวิสวิตาย เพื่อความไหลไปแห่งฤทธิ์ ชื่อว่า วิสวี เพราะไหล ไปสู่ความวิเศษต่างๆ คือให้เกิดให้เป็นไป อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า วิสวี เพราะ มีการไหลไปหลายอย่าง ความเป็นแห่งผู้มีความไหลไปชื่อว่า วิสวิตา เพื่อ ความเป็นผู้มีความไหลไปแห่งฤทธิ์นั้น อธิบายว่าเพื่อแสดงความวิเศษของฤทธิ์ ได้หลายอย่าง. บทว่า อิทฺธิวสีภาวาย เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์คือ เพื่อความเป็นอิสระในฤทธิ์. บทว่า อิทฺธิเวสารชฺชาย คือเพื่อความเป็นผู้ แกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
อิทธิบาทมีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วในญาณกถา บทว่า ฉนฺทํ เจ ภิกฺขุ นิสฺสาย หากภิกษุอาศัยฉันทะคือถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วทำฉันทะให้เป็นใหญ่. บทว่า ลภติ สมาธึ ย่อมได้สมาธิ คือย่อมได้เฉพาะทำให้สมาธิเกิด แม้ใน บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน ในบทนั้นพึงทราบบท คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา พึงทราบบท ๓ อย่างนี้คือสมาธิ ๔ สัมปยุตด้วยบทนั้น บททั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 720
๔ อนึ่ง เพราะฉันทะคือความใคร่เพื่อให้ฤทธิ์เกิดประกอบโดยความเป็นอันเดียว กันกับสมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อได้สมาธิ วิริยะเป็นต้นก็อย่างนั้น ฉะนั้นพึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงบท ๘ นี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงถึงโยควิธีที่พระโยคาวรใคร่จะยัง อภิญญาให้เกิด จึงตรัสถึงความไม่หวั่นไหวแห่งจิตว่า พระโยคาวรจรนั้นเมื่อจิต ตั้งมั่นบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิต อ่อน ควรแก่การงานดำรงมั่นถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ดังนี้ พระเถระเมื่อ แสดงถึงความไม่หวั่นไหวนั้นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า โสฬสมูลานิ มูล ๑๖ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อโนนตํ จิตไม่ฟุบลง คือไม่ฟุบลงด้วยความ เกียจคร้าน อธิบายว่าไม่เร้นลับ. บทว่า อนุนฺนตํ จิตไม่ฟูขึ้นคือไม่ขึ้น เบื้องบนด้วยความฟุ้งซ่าน อธิบายว่า จิตไม่ฟุ้งซ่าน. บทว่า อนภินตํ จิตไม่น้อมไป คือ ไม่น้อมไปด้วยความโลภ ความว่า ไม่ติดแน่น. ท่านอธิบาย ว่า จิตน้อมไป น้อมไปยิ่ง เพราะความใคร่อย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้น จิตไม่เป็น เช่นนั้น. บทว่า ราเคน ด้วยราคะคือด้วยความโลภอันมีสังขารเป็นที่ตั้ง. บทว่า อนปนตํ จิตไม่มุ่งร้าย คือ ไม่มุ่งร้ายด้วยโทสะ ความว่า ไม่กระทบ กระทั่ง. บทว่า นตํ นติ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน คือ น้อมไป. ท่าน อธิบายว่า จิตปราศจากความน้อมไป ชื่อว่า อปนตํ คือมุ่งร้าย จิตนี้ไม่เป็น เช่นนั้น. บทว่า อนิสฺสิตํ จิตอันทิฏฐิไม่อาศัย คือ ไม่อาศัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าเป็นตัวตน หรือเป็นสิ่งเนื่องด้วยตัวตน ด้วยอำนาจทิฏฐิ เพราะเห็นโดย ความไม่เป็นตัวตน. บทว่า อปฺปฏิพทฺธํ จิตไม่พัวพัน คือ ไม่พัวพันด้วย หวังอุปการะตอบ. บทว่า ฉนฺทราเคน เพราะฉันทราคะ คือ เพราะความโลภ มีสัตว์เป็นที่ตั้ง. บทว่า วิปฺปมุตฺตํ จิตหลุดพ้น คือ หลุดพ้นจากกามราคะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 721
ด้วยวิกขัมภนวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง หลุดพ้นจากกามราคะด้วยวิมุตติ ๕. อีก อย่างหนึ่ง หลุดพ้นจากความเป็นปฏิปักษ์นั้นๆ ด้วยวิมุตติ ๕. บทนี้ท่านกล่าว ด้วยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์โดยนัยดังกล่าวแล้วว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ ในนิโรธสมาบัติญาณ เพราะยังอภิญญาให้เกิดแก่พระเสขะผู้เป็นปุถุชนและพระอเสขะ แต่ควรถือเอาตามมีตามได้. บทว่า กามราเคน เพราะกามราคะ คือ เพราะ ความกำหนัดในเมถุน. บทว่า วิสญฺญุตํ จิตไม่เกาะเกี่ยว คือ ไม่เกาะเกี่ยว ด้วยกิเลสที่เหลือเพราะข่มไว้ได้ หรือไม่เกาะเกี่ยว เพราะตัดขาดได้ด้วยความ อุกฤษฏ์. บทว่า กิเลเส คือกิเลสที่เหลือ. บทว่า วิปริยาทิกตํ จิตปราศจาก เครื่องครอบงำ คือ จิตกระทำให้ปราศจากขอบเขตของกิเลส ด้วยอำนาจ ขอบเขตกิเลสที่ควรข่ม หรือด้วยอำนาจขอบเขตกิเลสที่ควรละด้วยมรรคนั้นๆ. บทว่า กิเลสปริยาเท เพราะความครอบงำของกิเลส คือ เพราะขอบเขต ของกิเลสที่ละได้แล้วนั้นๆ. บทว่า เอกคฺคตํ คือจิตมีอารมณ์เดียว. บทว่า นานตฺตกิเลเสหิ เพราะกิเลสต่างๆ คือ เพราะกิเลสอันเป็นไปอยู่ในอารมณ์ ต่างๆ. บทนี้ท่านกล่าวเพ่งถึงอารมณ์ แต่บทว่า โอโนนตํ จิตไม่ฟุบลง เป็นอาทิ ท่านกล่าวเพ่งถึงกิเลสทั้งหลายนั่นเอง. บทว่า โอภาสคตํ จิตที่ ถึงความสว่างไสว คือ จิตที่ถึงความสว่างไสวเพราะปัญญาด้วยความเป็นไปแห่ง ความฉลาดเพราะปัญญา. บทว่า อวิชฺชนฺธกาเร เพราะความมืดคืออวิชชา คือ เพราะอวิชชามีกำลัง ท่านกล่าวภูมิ ๔ มูล ๑๖ ด้วยเป็นส่วนเบื้องต้นของ ฤทธิ์. ท่านกล่าวบาท ๔ และบท ๘ ด้วยเป็นส่วนเบื้องต้นและด้วยการประกอบ พร้อม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 722
อรรถกถาทสอิทธินิเทศ
พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงธรรมอันเป็นภูมิ บาท บท และมูล แห่งฤทธิ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงฤทธิ์เหล่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กตมา อธิฏฺานา อิทฺธิ ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นไฉน. ท่านกล่าวอรรถแห่ง บทที่ยกขึ้นในบทนั้นไว้ในอิทธิวิธญาณนิเทศแล้ว. บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือ ภิกษุในศาสนานี้. ด้วยบทนั้นท่านแสดงถึงความไม่มีแห่งผู้แสดงฤทธิ์ได้โดย ประการทั้งปวงไว้ในที่อื่น. นิเทศแห่งบททั้งสองนี้มีอรรถดังที่ท่านได้กล่าวแล้ว ในหนหลัง. อนึ่ง ด้วยบทนั้นนั่นแหละ ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรมอันเป็น ภูมิ บาท บท และมูลแห่งฤทธิ์ เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้มีจิตฝึกแล้ว ด้วยอาการ ๑๔ หรือ ๑๕ ดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค ด้วยสามารถแห่งการ เข้าถึงความเป็นใหญ่อย่างหนึ่งๆ มีฉันทะเป็นต้น และความเป็นผู้มีจิตอ่อน ควรแก่การงานด้วยสามารถความเป็นผู้ชำนาญ มีอาวัชชนะเป็นต้น. ภิกษุผู้ถึง พร้อมด้วยการประกอบเบื้องต้นมีกำลัง เป็นผู้มีคุณมีได้อภิญญาเป็นต้นด้วยการ ได้เฉพาะพระอรหัตนั่นเอง ด้วยการถึงพร้อมแห่งการประกอบเบื้องต้น เป็นผู้ ประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย มีภูมิเป็นต้น เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอันท่านกล่าวถึง ภิกษุแม้นั้น.
บทว่า พหุกํ อาวชฺชติ ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ หากภิกษุเข้า จตุตถฌานอันเป็นบทแห่งอภิญญามีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ครั้นออกแล้วย่อม ปรารถนาเป็น ๑๐๐ คน ย่อมนึกด้วยทำบริกรรมว่าเราจงเป็น ๑๐๐ คน เรา จงเป็น ๑๐๐ คน ดังนี้. บทว่า อาวชฺชิตฺวา ฌาเณน อธิฏฺาติ ครั้น นึกแล้วอธิษฐานด้วยญาณ คือ ทำบริกรรมอย่างนี้แล้วอธิษฐานด้วยอภิญญา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 723
ญาณ ครั้นทำบริกรรมในที่นี้แล้วท่านไม่กล่าวถึงการเข้าสมาบัติมีฌานเป็น บาทอีก ท่านไม่กล่าวไว้ก็จริง แต่ถึงดังนั้นในอรรถกถาท่านก็กล่าวด้วย สามารถบริกรรมว่า อาวชฺชติ ย่อมนึก ครั้นนึกแล้วอธิษฐานด้วยญาณ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวด้วยสามารถแห่งอภิญญาญาณ เพราะฉะนั้น ภิกษุ ย่อมนึกคนเดียวเป็นหลายคน จากนั้นภิกษุย่อมเข้าสมาบัติในที่สุดแห่งจิตบริ- กรรม ครั้นออกจากสมาบัติแล้วนึกอีกว่า เราจงเป็นหลายคน ต่อจากนั้น ย่อมอธิษฐานด้วยอภิญญาญาณอย่างเดียวเท่านั้น โดยได้ชื่อว่า อธิฏฺานํ ด้วยสามารถให้ความสำเร็จด้วยการเกิดในลำดับแห่งจิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น ๓ หรือ ๔ ดวงอันเป็นไปแล้ว เพราะเหตุนั้นพึงเห็นอย่างนี้แหละ เพราะท่านกล่าว พึงเห็นอรรถในข้อนี้ด้วยประการฉะนี้ เหมือนอย่างเมื่อกล่าวว่า กินแล้วนอน ก็มิได้หมายความว่า ไม่ดื่มน้ำ ไม่ล้างมือเป็นต้น แล้วนอนตอนกินเสร็จแล้ว นั่นเอง แม้เมื่อมีกิจอื่นในระหว่างก็กล่าวว่า กินแล้วนอนฉันใด พึงเห็น แม้ในข้อนี้ก็ฉันนั้น แม้การเข้าสมาบัติมีฌานเป็นบาทครั้งแรก ท่านก็มิได้ กล่าวไว้ในบาลี.
อนึ่ง พร้อมด้วยอธิษฐานญาณนั้นเป็น ๑๐๐ คน. แม้ในพันคน แสนคน ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. หากไม่สำเร็จอย่างนั้น พึงทำบริกรรมอีก พึงเข้าสมาบัติ แม้ครั้งที่ ๒ ครั้นออกแล้วพึงอธิษฐาน. ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาสังยุตว่า ควรเข้าสมาบัติครั้งหนึ่ง สองครั้ง ในจิตเหล่านั้น จิตมีฌานเป็นบาทมีนิมิต เป็นอารมณ์ จิตบริกรรมคน ๑๐๐ เป็นอารมณ์หรือมีคน ๑,๐๐๐ เป็นอารมณ์ จิตเหล่านั้นย่อมสำเร็จได้ด้วยวรรณะ มิใช่ด้วยบัญญัติ แม้จิตอธิษฐานก็มีคน ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ เป็นอารมณ์เหมือนกัน จิตอธิษฐานนั้นเป็นรูปาวจรจตุตถฌานย่อมเกิดอย่างนั้นในลำดับโคตรภู ดุจอัปปนาจิตดังกล่าวแล้วในก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 724
เพื่อแสดงถึงกายสักขี ของความเป็นหลายคน ท่านจึงกล่าวว่า เหมือน ท่านพระจุลบันถกรูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ฉะนั้น. อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบว่า ท่านทำคำเป็นปัจจุบัน เพราะพระเถระเป็นผู้มีปกติทำอย่างนั้น และเพราะ พระเถระนั้นยังมีชีวิตอยู่. แม้ในวาระว่า เป็นรูปเดียวก็ได้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน ในข้อนั้นมีเรื่องเล่าว่า พระเถระพี่น้องสองรูป ชื่อว่า ปันถกเพราะเกิดใน หนทาง. พี่น้องสองรูปนั้นพระมหาปันถกผู้พี่บวชแล้วบรรลุพระอรหัตพร้อม ด้วยปฏิสัมภิทา. พระมหาบันถกเป็นพระอรหันต์จึงให้จุลบนถกบวชแล้วได้ให้ คาถานี้ว่า
ดอกปทุมชื่อโกกนุทบานในเวลาเช้า ยังไม่สิ้น กลิ่น ยังมีกลิ่นหอมอยู่ ฉันใด ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่ดุจดวงอาทิตย์ รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉะนั้น.
พระจุลบันถกไม่สามารถท่องคาถานั้นให้คล่องได้ล่วงไป ๔ เดือน ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะพระจุลบันถกว่า ท่านไม่สมควรในพระศาสนานี้ จงออกไปจากพระศาสนานี้เสียเถิด. อนึ่ง ในเวลานั้นพระเถระเป็นภัตตุเทศก์ (ผู้แจกภัตร). ชีวกโกมารภัจ ถือเอาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอัน มากไปยังอัมพวันของตน บูชาพระศาสดา ฟังธรรมถวายบังคมพระทศพล แล้วเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า พระคุณเจ้าขอรับ พรุ่งนี้ขอพระคุณเจ้าพาภิกษุ ๕๐๐ รูป มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขรับภิกษาที่บ้านของกระผมเถิด.
พระเถระก็กล่าวว่า อาตมารับนิมนต์แก่ภิกษุที่เหลือเว้นจุลปันถก. พระจุลบันถกได้ฟังดังนั้น เสียใจเป็นอย่างยิ่ง รุ่งขึ้นออกจากวัดแต่เช้าตรู่ ยืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตูวิหาร เพราะเป็นผู้มีความหวังในพระศาสนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 725
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยของพระจุลบันถกนั้น จึงเสด็จ เข้าไปหาตรัสว่า ร้องไห้ทำไม. พระจุลบันถกกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่สามารถทำการท่องจำได้มิใช่เป็นผู้ไม่สมควร ในศาสนาของเรา อย่าเศร้าโศกไปเลย ปันถก แล้วเอาฝ่าพระหัตถ์ซึ่งมีรอยจักร ลูบศีรษะของพระจุลปันถกนั้น จูงที่แขนเสด็จเข้าสู่พระวิหารให้นั่ง ณ พระคันธกุฎีตรัสว่า ปันถก เธอจงนั่งลูบคลำผ้าเก่าผืนนี้ว่า รโชหรณํ รโชหรณํ นำธุลีออก นำธุลีออก แล้วทรงประทานชิ้นผ้าเก่าบริสุทธิ์อันเกิดด้วยฤทธิ์แก่ พระจุลปันถกนั้น เมื่อถึงเวลาทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จไปเรือนของชีวก ประทับนั่ง ณ อาสนะที่เราปูลาดไว้. เมื่อพระจุลปันถูกลูบคลำชิ้นผ้าเก่าอยู่ อย่างนั้น ผ้าก็หมองได้มีสีดำโดยลำดับ พระจุลปันถกนั้นได้สัญญาว่า ชิ้นผ้า เก่านี้บริสุทธิ์ ไม่มีความหมองคล้ำในผ้านี้ แต่เพราะอาศัยอัตภาพจึงได้ หมองคล้ำ ยังญาณให้หยั่งลงในขันธ์ ๕ เจริญวิปัสสนา. ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระโอภาสปรากฏดุจประทับนั่งข้างหน้าของพระจุลปันถก นั้น ได้ตรัสโอภาสคาถานี้ว่า
ธุลีคือราคะแต่มิใช่เรณู (ละออง) คำว่า รโช (ธุลี) นี้เป็นชื่อของราคะ บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ละธุลีนี้แล้วอยู่ในศาสนาของตถาคต ผู้ปราศจากธุลี แล้ว.
ธุลี คือ โทสะ ฯลฯ ในศาสนาของตถาคตผู้ ปราศจากธุลีแล้ว.
ธุลี คือ โมหะ ฯลฯ ในศาสนาของตถาคต ผู้ปราศจากธุลีแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 726
ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีจิตยิ่งไม่ ประมาทเป็นมุนี ศึกษาอยู่ในครองแห่งมุนี คงที่สงบ มีสติทุกเมื่อ.
เมื่อจบคาถาพระเถระบรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พระ เถระนั้น เป็นผู้ได้ฌานสำเร็จแต่ใจ รูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ หลายรูปสามารถ เป็นรูปเดียวก็ได้. ปิฎก ๓ และอภิญญา ๖ ได้ปรากฏแก่พระเถระด้วยอรหัตตมรรค นั่นแล.
แม้ชีวกก็น้อมทักษิโณทกเข้าไปถวายแด่พระทศพล พระศาสดาทรง ปิดบาตร ชีวกทูลถามว่า เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า ตรัสว่ายังมีภิกษุรูปหนึ่งอยู่ใน วิหาร ชีวกนั้นจึงส่งบุรุษไปบอกว่า เจ้าจงไปนำพระคุณเจ้ามาเร็วพลัน พระจุลปันถกเถระประสงค์จะให้พี่ชายรู้ว่าตนบรรลุธรรมวิเศษแล้ว ก่อนที่บุรุษนั้น จะมาถึงจึงนิรมิตภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป แม้รูปหนึ่งก็ไม่เหมือนกับรูปหนึ่ง รูปหนึ่ง ได้ทำกิจของสมณะมีเย็บจีวรเป็นต้นไม่เหมือนกับรูปอื่น บุรุษไปเห็นภิกษุในวัด มากมายจึงกลับมาบอกแก่ชีวกว่า นาย ภิกษุในวัดมากมาย ผมไม่เห็นพระคุณ เจ้าที่ควรจะนิมนต์เลย. ชีวกทูลถามพระศาสดาบอกชื่อของพระเถระรูปนั้นแล้ว ส่งบุรุษไปอีก บุรุษนั้นไปถามว่า ท่านขอรับ รูปไหนชื่อจุลปันถก ทั้งพันรูป บอกพร้อมกันกล่าวว่า เราคือจุลบันถก เราคือจุลบันถก บุรุษนั้นกลับไปอีกกล่าว ว่า นัยว่า พระคุณท่านทั้งหมดเป็นจุลบันถก ผมไม่รู้จะนิมนต์รูปไหน ชีวก ได้รู้โดยนัยว่า ภิกษุมีฤทธิ์ เพราะแทงตลอดสัจจธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เธอจงไป จงจับภิกษุที่เห็นเป็นรูปแรกที่ชายจีวรแล้วกล่าวว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่านแล้วนำมา บุรุษนั้นไปแล้วได้ทำตามนั้น ทันใดนั้นเอง ภิกษุที่นิรมิตแล้วทั้งหมดก็หายไป พระเถระส่งบุรุษนั้นกลับไป สำเร็จเสร็จกิจ มีล้างหน้าเป็นต้นแล้วไปถึงก่อนนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูไว้ ในขณะนั้น พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 727
ศาสดาทรงรับทักษิโณทก เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้วให้พระจุลบันถกเถระ กล่าวธรรมกถา อนุโมทนาภัตร พระเถระกล่าวธรรมกถา มีประมาณเท่า คัมภีร์ ทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย.
ภิกษุรูปอื่นๆ นิรมิตกายสำเร็จแต่ใจด้วยการอธิษฐานย่อมนิรมิตได้ ๓ รูป หรือ ๒ รูป ย่อมนิรมิตหลายรูปให้เป็นเช่นกับรูปเดียวได้ และทำกรรม ได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่พระจุลบันถกเถระนิรมิตได้ ๑,๐๐๐ รูปโดยนึกครั้ง เดียวเท่านั้น มิได้ทำ ๒ คนให้เป็นเช่นกับคนเดียว มิได้ทำกรรมอย่างเดียว เพราะฉะนั้นพระเถระจึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้นิรมิตกายสำเร็จแต่ใจ ส่วนภิกษุ รูปอื่นๆ ไม่กำหนดจำนวนมากจึงเป็นเช่นผู้มีฤทธิ์นิรมิตได้เท่านั้น ภิกษุรูป อื่นๆ ย่อมทำกรรมที่ผู้มีฤทธิ์ทำมียืนนั่งเป็นต้น และความเป็นผู้พูดนิ่งเป็นต้น ได้เท่านั้น แต่หากว่า ประสงค์จะทำวรรณะต่างๆ บางพวกก็ทำได้ในปฐมวัย บางพวกก็ในมัชฌิมวัย บางพวกก็ในปัจฉิมวัย อนึ่งประสงค์จะทำผมยาว โล้น ทั้งหมด มีผมปน มีจีวรสีแดงครึ่งหนึ่งจีวรสีเหลือง หรือทำบทภาณ ธรรมกถา สรภัญญะถามปัญหาแก้ปัญหาย้อมต้มเย็บ ซักจีวรเป็นต้นมีประการต่างๆ แม้อย่างอื่น ครั้นออกจากสมาบัติมีฌานเป็นบาท แล้วทำปริกรรมโดยนัยมี อาทิว่า ภิกษุประมาณเท่านี้จงเป็นผู้มีปฐมวัย แล้วเข้าสมาบัติอีกครั้นออกแล้ว พึงอธิษฐาน จึงเป็นผู้มีประการที่ตนปรารถนาแล้วๆ กับด้วยจิตอธิษฐาน ในบทมีอาทิว่า พหุธาปิ หุตฺวา เอโก โหติ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ มีนัยนี้ เหมือนกัน.
แต่ความต่างกันมีดังต่อไปนี้ บทว่า ปกติยา พหุโก โดยปกติ หลายคน คือโดยปกติที่นิรมิตในระหว่างกาลนิรมิตหลายคน อนึ่ง ภิกษุนี้ครั้น นิรมิตความเป็นหลายรูปอย่างนี้แล้ว จึงดำริต่อไปว่า เราจักจงกรมรูปเดียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 728
จักทำการท่อง จักถามปัญหา เพราะความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยว่าวัดนี้ มีภิกษุน้อย หากพวกอื่นจักมา จักรู้จักเราว่า ภิกษุประมาณเท่านี้เหมือนรูปเดียว กันมาแต่ไหน นี้จักเป็นอานุภาพของพระเถระแน่แท้ ดังนี้จึงปรารถนาว่า เรา จงเป็นรูปเดียว ในระหว่างเข้าสมาบัติมีฌานเป็นบาท ครั้นออกแล้วทำบริกรรม ว่า เราจงเป็นรูปเดียวเข้าสมาบัติอีก ครั้นออกแล้วพึงอธิษฐานว่า เราจงเป็น รูปเดียวพร้อมกับจิตอธิษฐานนั่นเองก็เป็นรูปเดียว เมื่อไม่ทำอย่างนี้ย่อมเป็น รูปเดียวได้เองด้วยตามที่กำหนดไว้.
เพราะบทว่า อาวิภาวํ ทำให้ปรากฏมาเป็นบทตั้งแล้วกล่าวว่า เกนจิ อนาวฏํ โหติ ทำให้ไม่มีอะไรปิดบัง ท่านจึงกล่าวถึงอรรถแห่งความปรากฏ ของบทว่า อาวิภาว ด้วยบทว่า เกนจิ อนาวฏํ. ท่านกล่าวถึงปาฐะที่เหลือ ว่า กโรติ ด้วยบทว่า โหติ ดังนี้ เพราะเมื่อทำให้แจ้งก็เป็นอันทำให้ ปรากฏ. บทว่า เกนจิ อนาวฏํ คือไม่มีอะไรๆ มีฝาเป็นต้นปิดบัง คือ ปราศจากเครื่องกั้น. บทว่า อปฺปฏิจฺฉนฺนํ ไม่ปกปิด คือไม่ปิดข้างบน ชื่อว่า วิวฏํ เปิดเผยเพราะไม่ปิดบัง ชื่อว่า ปากฏํ ปรากฏ เพราะไม่ปกปิด. บทว่า ติโรภาวํ ทำให้หายไป คือทำให้อยู่ในระหว่าง ชื่อว่า ปิหิตํ ปิดบังเพราะ เครื่องกั้นนั้นปิด ชื่อว่า ปฏิกุชฺชิตํ มิดชิดเพราะปิดที่ที่ปิดบังไว้นั่นเอง. บทว่า อากาสกสิณสมาปตฺติยา ได้แก่จตุตถฌานสมาบัติอันเกิดขึ้นแล้วใน อากาศกสิณที่กำหนดไว้. บทว่า ลาภี เป็นผู้ได้ชื่อว่า ลาภี เพราะเป็นผู้มีลาภ. บทว่า อปริกฺขิตฺเต ไม่มีอะไรกันไว้ คือในท้องที่ที่ไม่มีอะไรกั้นไว้โดยรอบ เพราะท่านกล่าวอากาศกสิณไว้ในที่นี้ ฌานที่เจริญแล้ว ในทีนั้นนั่นแหละย่อม เป็นปัจจัยแห่งอากาศกสิณ ไม่พึงเห็นว่าอย่างอื่น พึงเห็นฌานมีกสิณนั้นเป็น อารมณ์แม้ในบรรดาอาโปกสินในเบื้องบนเป็นต้น มิใช่อย่างอื่น. บทว่า ปวึ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 729
อาวชฺชติ อุทกํ อาวชฺชติ อากาสํ อาวชฺชติ ย่อมนึกถึงแผ่นดิน ย่อมนึก ถึงน้ำ ย่อมนึกถึงอากาศ คือย่อมนึกถึงแผ่นดิน น้ำและอากาศตามปกติ. บทว่า อนฺตลิกฺเข บนอากาศท่านแสดงถึงความที่อากาศนั้นเป็นอากาศไกลกว่าแผ่นดิน เพราะท่านไม่นิยมกสิณในการลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ จึงกล่าวโดยไม่ ต่างกันว่าผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ถือความชำนาญแห่งจิต. บทว่า นิสินฺนโก วา นิปนฺนโก วา คือนั่งก็ดี นอนก็ดี ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงแม้อิริยาบถทั้งสองนอก นั้นด้วย. บทว่า หตฺถปาเส โหตุ คือดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จงมีในที่ใกล้มือ. ปาฐะว่า หตฺถปสฺเส โหตุ จงมีที่ข้างมือบ้าง บทนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจของ ผู้ใคร่จะทำอย่างนั้น. อนึ่ง ผู้มีฤทธิ์นี้แม้ไปในที่นั้น แล้วก็ยกมือลูบคลำได้. บทว่า อามสติ ลูบ คือถูกต้องนิดหน่อย. บทว่า ปรามสติ คลำ คือถูก ต้องหนักหน่อย. บทว่า ปริมชฺชติ สัมผัส คือถูกต้องโดยรอบ. บทว่า รูปคตํ คือรูปที่ตั้งอยู่ใกล้มือนั่นเอง. บทว่า ทูเรปิ สนฺติเก อธิฏฺาติ อธิษฐานที่ ไกลให้เป็นที่ใกล้คือผู้มีฤทธิ์ครั้นออกจากสมาบัติมีฌานเป็นบาทแล้ว ย่อมนึก ถึงเทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ในที่ไกลว่า จงมีในที่ใกล้ดังนี้ ครั้นนึกถึงแล้ว กระทำบริกรรมเข้าสมาบัติอีกครั้นออกแล้วอธิฐานด้วยญาณว่า จงมีในที่ใกล้ ดังนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ย่อมมีในที่ใกล้ แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้ อนึ่ง พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงถึงความวิเศษของความสำเร็จแห่งฤทธิ์นี้ แม้ไม่ เป็นอุปการะแก่ผู้ประสงค์จะไปพรหมโลกกล่าวถึงการกระทำที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ แล้วไปพรหมโลกได้ จงกล่าวคำมีอาทิว่า สนฺติเกปิ แม้ในที่ใกล้.
ในบทนั้นมิใช่การทำเล็กน้อยและทำมากอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งทั้งหมด ที่ปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ฤทธิ์ แม้ในบทมีอาทิว่า อมธุรํ มธุรํ ทั้งไม่ อร่อยทั้งอร่อย พึงทราบนัยอื่นอีก. บทว่า ทูเรปิ สนฺติเก อธิฏฺาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 730
อธิษฐานแม้ที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ คืออธิษฐานพรหมโลก ในที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ ของมนุษยโลก. บทว่า สนฺติเกปิ ทูเร อธิฏฺาติ อธิษฐานแม้ในที่ใกล้ให้ เป็นที่ไกลคืออธิษฐานมนุษยโลกในที่ใกล้ให้เป็นพรหมโลกในที่ไกล. บทว่า พหุกมฺปิ โถกํ อธิฏฺาติ อธิษฐานของแม้มากให้เป็นของน้อยคือหากว่าพรหม ทั้งหลายมาประชุมกันมาก เพราะพรหมมีร่างกายใหญ่จะละทัศนูปจาร (การ เห็นใกล้เคียง) สวนูปจาร (การฟังใกล้เคียง) ผู้มีฤทธิ์ย่อรวมกันในทัศนูปจาร และสวนูปจาร อธิษฐานแม้ของมากให้เป็นของน้อย. บทว่า โถกมฺปิ พหุกํ อธิฏฺาติ อธิษฐานแม้ของน้อยให้เป็นของมาก คือหากว่าผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะไป กับบริวารมาก เป็นผู้มีบริวารมาก็เพราะอธิษฐานตนชื่อว่าน้อยเพราะมีคนเดียว ให้มากแล้วไป พึงเห็นอรรถในบทนี้ด้วยประการฉะนี้แล. เมื่อเป็นอย่างนั้นแม้ บท ๔ อย่างนี้ย่อมเป็นอุปการะในการไปพรหมโลก. บทว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา ตสฺส พฺรหฺมุโน รูปํ ปสฺสติ ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นด้วยทิพยจักษุ คือ ผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ในที่นี้เจริญอาโลกกสิณ ย่อมเห็นรูปพรหมที่ประสงค์จะเห็นด้วย ทิพยจักษุ ยืนอยู่ในที่นี้นั่นแหละย่อมได้ยินเสียงของพรหมนั้นกำลังพูดกันด้วย ทิพโสตธาตุ ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นด้วยเจโตปริยญาณ. บทว่า ทิสฺสมาเนน ด้วยกายที่ปรากฏ คือด้วยการเพ่งด้วยจักษุ. บทว่า กายวเสน จิตฺตํ ปริณาเมติ คือน้อมจิตด้วยสามารถแห่งรูปกาย ยึดจิตมีฌานเป็นบาทแล้วยก ขึ้นในกาย กระทำการไปของกายด้วยสำคัญว่าเบา ให้เป็นการไปช้าเพราะการ ไปด้วยกายเป็นความช้า. บทว่า อธิฏฺาติ เป็นไวพจน์ของบทนั้นนั่นแหละ ความว่าให้สำเร็จ. บทว่า สุขสฺญฺจ ลหุสญฺญฺจ โอกฺกมิตฺวา หยั่ง ลงสู่สุชสัญญญาและลหุสัญญา คือ หยั่งลงเข้าไปถูกต้องเข้าถึงสุขสัญญาและ ลหุสัญญาอันเกิดพร้อมกับอิทธิจิต มีฌานเป็นบาทเป็นอารมณ์ สัญญาสัมปยุต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 731
ด้วยอุเบกขา ชื่อ สุขสัญญา เพราะอุเบกขาท่านกล่าวว่า ความสงบเป็นความ สุข สัญญานั่นแหละพึงทราบว่าเป็นลหุสัญญาเพราะพ้นจากนิวรณ์และธรรม เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น.
แม้กรชกายของผู้มีฤทธิ์หยั่งลงสู่สัญญานั้นก็เบาดุจปุยนุ่น ผู้มีฤทธิ์นั้น ไปสู่พรหมโลกด้วยกายอันปรากฏเบาดุจปุยนุ่นที่ถูกลมพัดไป อนึ่ง เมื่อไปอย่าง นี้หากปรารถนา ก็นิรมิตทางบนอากาศด้วยปฐวีกสิณแล้วเดินไป หากปรารถนา ก็นิรมิตดอกปทุมทุกๆ ย่างเท้าบนอากาศด้วยปฐวีกสิณนั่นแหละแล้ววางเท้า บนดอกปทุมเดินไป หากปรารถนาก็อธิษฐานลมด้วยวาโยกสิณแล้วไปกับ ลมดุจปุยนุ่น ความเป็นผู้ใคร่จะไปนั่นแหละเป็นประมาณในเรื่องนี้ เพราะ ความเป็นผู้ใคร่จะไป ผู้มีฤทธิ์นั้น จึงอธิษฐานจิตทำอย่างนั้น ชัดไปด้วยกำลัง ของอธิษฐานปรากฏดุจลูกศรแล่นไปด้วยกำลังของสายธนู. บทว่า จิตตฺวเสน กายํ ปริณาเมติ น้อมกายไปด้วยอำนาจจิตคือยึดกรชกาย แล้วยกขึ้นในจิต อันมีฌานเป็นบท ทำการไปของจิตให้เป็นการไปเร็ว เพราะการไปด้วยจิต เป็นความเร็ว.
บทว่า สุขสญฺญฺจ ลหุสญฺญฺจ โอกฺกมิตฺวา คือหยั่งลงสู่ สุขสัญญาและลหุสัญญา อันเกิดพร้อมกับอิทธิจิตอันมีรูปกายเป็นอารมณ์. บท ที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. แต่บทนี้เป็นการไปด้วยจิต เมื่อ ถามว่าผู้มีฤทธิ์นี้ เมื่อไปด้วยกายอันไม่ปรากฏอย่างนี้ ย่อมไปในอุปาทขณะ แห่งจิตอธิษฐานนั้นหรือ หรือว่าในฐีติขณะ หรือภังคขณะ. พระเถระกล่าวว่า ไปในขณะแม้ทั้ง ๓ ไปเองหรือว่าส่งรูปนิรมิตไป ทำตามชอบใจ แต่ในที่นี้ ผู้มีฤทธิ์นั้นไปมาเอง. บทว่า มโนมยํ สำเร็จแต่ใจ ชื่อว่า มโนมยํ เพราะ เป็นรูปนิมิตด้วยใจอธิษฐาน. ชื่อว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคํ มีอวัยวะครบทุกส่วน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 732
คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทั้งหมด. บทว่า อหีนินฺทฺริยํ มีอินทรีย์ไม่บกพร่องนี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งสัณฐานของจักษุและโสตะเป็นต้น เพราะในรูป นิมิตไม่มีประสาท.
บทมีอาทิว่า สเจ โส อิทฺธิมา จงฺกมติ นิมฺมิโตปิ ตตฺถ จงฺกมติ หากผู้มีฤทธิ์จงกรมอยู่ แม้รูปนิมิตก็จงกรมในที่นั้น ท่านกล่าวหมายถึงสาวก นิมิตทั้งหมด ส่วนพุทธนิมิตทั้งหลายย่อมทำสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ ทำแม้อย่างอื่นด้วยอำนาจจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ธูมายติ ปชฺชลติ บังหวนควันให้ไฟลุกโพลง ท่านกล่าวด้วยอำนาจเจโตกสิณ. ๓ บทมีอาทิว่า ธมฺมํ ภาสติ กล่าวธรรมท่านกล่าวไม่แน่นอน. บทว่า สนฺติฏฺติ ยืนอยู่ คือ ยืนร่วมกัน. บทว่า สลฺลปติ สนทนาอยู่ คือ สนทนาร่วมกัน. บทว่า สากจฺฉ สมาปชฺชติ ปราศรัยกัน คือ ปราศรัยด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ของกันและกัน. อนึ่ง ผู้มีฤทธิ์นั้นยืนอยู่ ณ ที่นี้ ย่อมเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ย่อมได้ยินเสียงด้วยทิพยโสตธาตุ ย่อมรู้จิตด้วยเจโตปริยญาณ ย่อมยืนสนทนา ปราศรัยกับพรหมนั้น. การอธิษฐานของผู้มีฤทธิ์นั้นมีอาทิว่า ย่อมอธิษฐาน แม้ในที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ได้ ผู้มีฤทธิ์นั้นไปสู่พรหมโลกด้วยกายอันปรากฏ หรือไม่ปรากฏ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ย่อมไม่ยังอำนาจให้เป็นไปทางกายได้ ย่อมถึงวิธีดังที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ผู้มีฤทธิ์นั้นย่อมนิรมิตคนมีรูปไว้ข้างหน้า พรหมนั้นได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ชื่อว่าย่อมยังอำนาจให้เป็นไปทางกายได้. ส่วนบทที่เหลือท่านกล่าวไว้ เพื่อชี้ให้เห็นส่วนเบื้องต้นของการยังอำนาจให้ เป็นไปทางกาย นี้เป็นฤทธิ์ที่อธิษฐาน.
พึงทราบวินิจฉัยในวิกุพพนิทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. ท่านกล่าวยกตัวอย่าง สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี เพื่อชี้ให้เห็นกายสักขีของฤทธิ์ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 733
แผลงได้ต่างๆ. พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงถึงฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ นั้น จึงแสดงฤทธิ์ที่อธิฐานได้ยินเสียงแห่งพันโลกธาตุ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ไม่เคยมีมาก่อนว่า พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก ทรง เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุทราบชัด ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อแสดงเรื่องราวนั้น ท่านจึงกล่าวข้อความนี้. ในกัป ๓๑ ถอย ไปจากกัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตในชาติ เป็นลำดับ อุบัติในพระครรภ์ของพระมเหสีพระนามว่า ปภาวดี ของพระเจ้า อรุณวดี ในอรุณวดีนคร มีพระญาณแก่กล้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสรู้ พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิมณฑลทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ทรง อาศัยอรุณวดีนครประทับอยู่ วันหนึ่ง ตอนเช้าตรู่ทรงชำระพระวรกายแล้ว แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงดำริว่า จักเข้าไปอรุณวดีนครเพื่อบิณฑบาต ประทับยืน ณ ที่ใกล้ซุ้มประตูพระวิหาร ตรัสเรียกพระอัครสาวกชื่อ อภิภู มีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เข้าไปอรุณวดีนครเพื่อบิณฑบาตกันเถิด เราจักเข้าไปพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกอภิภูภิกษุ มีพระพุทธดำรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ มาเถิดเราจะเข้าไปพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง จนกว่าจะถึงเวลา ฉัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อภิภูภิกษุรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิขี ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ลำดับนั้นแล พระผู้มี พระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี และพระอภิภูภิกษุได้เข้าไปยังพรหมโลกชั้นใด ชั้นหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 734
ณ พรหมโลกนั้น มหาพรหมเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว มีความ ชื่นชม ทำการต้อนรับได้ปูลาดพรหมอาสนะถวาย ปูลาดอาสนะอันสมควร แม้แก่พระเถระด้วย. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้. แม้พระเถระก็นั่งเหนืออาสนะที่ถึงแก่ตน. มหาพรหมถวายบังคมพระทศพล แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ลำดับนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิขี ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสกะอภิภูภิกษุว่า ดูก่อน พราหมณ์ ธรรมีกถาจงแจ่มแจ้งแก่พรหม พรหมบริษัทและพรหมปาริสัชชะ ทั้งหลายเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อภิภูภิกษุรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มี พระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว แสดงธรรมกถาแก่พรหม พรหมบริษัทและพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย เมื่อพระเถระกล่าวธรรมกถา หมู่ พรหมทั้งหลายยกโทษว่า ก็พวกเราได้การมาสู่พรหมโลกของพระศาสดาตลอด กาลนาน ภิกษุนี้เว้นพระศาสดาเสียแล้ว แสดงธรรมเสียเอง.
พระศาสดาทรงทราบว่า หมู่พรหมไม่พอใจจึงตรัสกะภิกษุอภิภูว่า ดูก่อนพราหมณ์ พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลายเหล่านั้น พากันยกโทษ ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นเธอจงให้พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชาทั้งหลาย สลดใจโดยประมาณยิ่ง. พระเถระรับพระดำรัส ของพระศาสดาแล้ว แผลงฤทธิ์ต่างๆ หลายอย่าง ยังพันโลกธาตุให้รู้แจ่มแจ้ง ด้วยเสียง ได้กล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้า จงประกอบ (ความเพียร) ในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 735
มัจจุ ดุจช่างกำจัดเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ผู้ใดจักไม่ ประมาทในธรรมวินัยนี้อยู่ ผู้นั้นจักละสงสารคือชาติ แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ก็พระเถระทำอย่างไร จึงยังพันโลกธาตุให้รู้แจ้งด้วยเสียง. พระเถระเข้า นีลกสิณก่อน ครั้นออกแล้วแผ่ความมืดไปในที่ทั้งปวงในพันจักรวาลด้วยอภิญญาญาณ เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดความคำนึงว่า อะไรนี่มืดแล้ว พระเถระจึงเข้าอา โลกกสิณครั้นออกแล้วก็ทำแสงสว่างให้ปรากฏ เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเพ่งดูว่า อะไรนี่สว่างแล้ว พระเถระจึงแสดงตนให้ปรากฏ. เทวดาและมนุษย์ในพันจักรวาลต่างประคองอัญชลียืนนมัสการพระเถระ พระเถระกล่าวว่า ขอมหาชนจงฟัง เสียงของเราผู้แสดงธรรม แล้วจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้. เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง ได้ยินเสียงของพระเถระดุจนั่งแสดงธรรม ในท่ามกลางบริษัทที่ประชุมกันอยู่ แม้ใจความก็ได้ปรากฏแก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ท่านกล่าวว่า พระเถระ ให้รู้แจ่มแจ้งด้วยเสียง หมายถึงให้รู้แจ่มแจ้งใจความนั้น. ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า โส ทสฺสมาเนนปิ พระเถระแสดงธรรมด้วยกายที่ปรากฏบ้าง ดังนี้อีก หมายถึงฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ หลายอย่างนี้ พระเถระนั้นทำ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมํ เทเสสิ พระเถระแสดงธรรม คือ แสดงฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ มีประการดังกล่าวแล้วก่อนจึงแสดงธรรม. แต่นั้น พึงทราบว่าพระเถระกล่าว ๒ คาถา โดยลำดับตามที่กล่าวแล้ว จึงให้รู้แจ่มแจ้ง ด้วยเสียง. อนึ่ง ในบทมีอาทิว่า ทิสฺสมาเนนปิ กาเยน ด้วยกายที่ปรากฏ บ้าง เป็นตติยาวิภัตติลงในลักษณะแห่งอิตถัมภูตะ (มี ด้วย ทั้ง) คือมีกาย เป็นอย่างนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 736
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงเรื่องราวนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงถึง วิธีทำฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ของผู้มีฤทธิ์แม้อื่น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โส ปกติวณฺณํ วิชหิตฺวา ผู้มีฤทธิ์นั้นละเพศปกติแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โส คือ ภิกษุผู้มีฤทธิ์ มีจิตอ่อนสมควรแก่ การงานที่ทำ ตามวิธีดังกล่าวแล้วในหนหลัง. หากภิกษุผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะทำ ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ภิกษุผู้มีฤทธิ์นั้นละเพศปกติ คือสัณฐานปกติของตน แล้วแสดงเพศเป็นกุมารบ้าง. อย่างไร คือออกจากจตุตถฌานมีปฐวีกสิณเป็น อารมณ์ มีอภิญญาเป็นบาท แล้วนึกถึงเพศกุมารที่ควรนิรมิตว่า เราจงเป็น กุมารมีรูปอย่างนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อทำบริกรรมเสร็จจึงเข้าสมาบัติอีก ครั้นออก แล้ว อธิษฐานด้วยอภิญญาญาณว่า เราจงเป็นกุมารมีรูปอย่างนี้ ดังนี้. ภิกษุ ผู้มีฤทธิ์นั้นก็จะเป็นกุมารพร้อมกับอธิษฐาน.
ท่านกล่าวไว้ในปฐวีกสิณในวิสุทธิมรรคว่า สมาบัติมีปฐวีกสิณเป็น อารมณ์ มีฌานเป็นบาท ย่อมสมควรในที่นี้ด้วยคำว่า ฤทธิ์ที่แผลงต่างๆ มี อาทิอย่างนี้ว่า ความเป็นคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ด้วยอำนาจปฐวีกสิณ ฯลฯ ย่อมสำเร็จดังนี้. อนึ่ง ในอภิญญานิเทศในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นแหละ ท่าน กล่าวว่า ออกจากปฐวีกสิณเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ จากฌานมี อภิญญาเป็นบาท ดังนี้ ด้วยฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ. อนึ่ง ในนิเทศนั้นนั่นแหละ ท่านกล่าวว่า ควรคิดถึงเพศกุมารของตน. คำกล่าวนั้นดูเหมือนจะไม่สมควร ในการนิรมิตมีนาคเป็นต้น. แม้ในการนิรมิตมีเพศนาคเป็นต้น ก็มีนัยนี้ เหมือนกัน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า นาควณฺณํ เพศนาค คือมีสัณฐานคล้ายงู. บทว่า สุปณฺณวณฺณํ เพศครุฑ คือมีสัณฐานคล้ายครุฑ. บทว่า อินฺทวณฺณํ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 737
เพศพระอินทร์ คือ มีสัณฐานคล้ายท้าวสักกะ. บทว่า เทววณฺณํ เพศเทวดา คือ มีสัณฐานคล้ายเทวดาที่เหลือ. บทว่า สมุทฺทวณฺณํ เพศสมุทร ย่อม สำเร็จด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ. บทว่า ปตฺตึ พลราบ คือ พลเดินเท้า. บทว่า วิวิธมฺปิ เสนาพฺยูหํ กองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ คือ หมู่ทหารหลายเหล่า มีพลช้างเป็นต้น. แต่ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวบทมีอาทิว่า แสดงแม้ช้างด้วย เพื่อให้เห็นช้างเป็นต้น แม้ในภายนอก. ในวิสุทธิมรรคนั้นไม่พึงอธิษฐาน ว่า เราจงเป็นช้าง พึงอธิษฐานว่า ช้างจงมี. แม้ในม้าเป็นต้นท่านก็กล่าวว่า มีนัยนี้เหมือนกัน คำนั้นผิดด้วยบทเดิมกล่าวว่า ละเพศปกติ และด้วยความ ที่ฤทธิ์แผลงได้ต่างๆ เพราะว่าการไม่ละเพศปกติตามลำดับ ดังกล่าวในบาลี แล้ว แสดงเพศอื่นด้วยอำนาจอธิษฐาน ชื่อว่า ฤทธิ์ที่อธิษฐาน. การละ เพศปกติแล้วแสดงตนเป็นอย่างอื่น ด้วยอำนาจอธิษฐาน ชื่อว่า ฤทธิ์แผลง ได้ต่างๆ.
พึงทราบวินิจฉัยในมโนมยิทธินิเทศดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า อิมมฺหา กายา อญฺํ กายํ อภินิมฺมินาติ ภิกษุนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ ความว่า ภิกษุผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะทำมโนมยิทธิฤทธิ์ทางใจ ครั้นออกจากสมาบัติ มีอากาศกสิณเป็นอารมณ์ มีฌานเป็นบาทแล้วนึกถึงรูปกายของตนก่อนแล้ว อธิษฐานว่าโพรงจงมี โพรงย่อมมี ต่อจากนั้นนึกถึงกายอื่นด้วยอำนาจปฐวีกสิณในภายในของโพรงนั้นแล้วทำบริกรรมอธิษฐาน โดยนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแหละ กายอื่นย่อมมีภายในโพรงนั้น ภิกษุนั้นบ้วนกายนั้นออกจากปาก แล้วตั้งไว้ภายนอก. บัดนี้พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะประกาศความนั้นด้วยอุปมา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า มุญฺชมฺหา คือ จากหญ้าปล้อง. บทว่า อีสิกํ ปวาเหยฺย พึงชักไส้ คือ ขุดหน่อ. บทว่า โกสิยา คือจากฝัก. บทว่า กรณฺฑา จากกระทอ คือ จากคราบหนังเก่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 738
อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺธเรยฺย พึงยกออก พึงทราบการยก ออกแห่งกระทอนั้นด้วยจิตเท่านั้น เพราะธรรมดางูนี้ตั้งอยู่ในชาติของตน อาศัยระหว่างท่อนไม้บ้าง ระหว่างต้นไม้บ้าง ด้วยกำลัง คือ การลอกคราบ ออกจากตัว รังเกียจหนังเก่า ดุจเคี้ยวกินตัวย่อมละคราบด้วยตนเอง ด้วยเหตุ ๔ ประการเหล่านี้. อนึ่ง ในเรื่องนี้ท่านกล่าวอุปมาเหล่านั้นไว้ เพื่อให้เห็นว่า รูปสำเร็จแต่ฤทธิ์นี้ ของผู้มีฤทธิ์ย่อมเป็นเช่นกันด้วยอาการทั้งปวง เหมือนไส้ เป็นต้น ย่อมเป็นเช่นกันออกจากหญ้าปล้องฉะนั้น กายที่ทำด้วยใจ คือ อภิญญาในบทนี้ว่า ผู้มีฤทธิ์เข้าไปด้วยฤทธิ์ ด้วยกายสำเร็จแต่ใจ ชื่อว่า มโนมยกาโย กายสำเร็จแต่ใจ กายที่เกิดขึ้นด้วยใจ คือ ฌานในบทนี้ว่า ผู้มีฤทธิ์เข้าถึงกายสำเร็จ แต่ใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มโนมยกาโย กาย สำเร็จแต่ใจ เพราะใจนั้นทำ แต่ในที่นี้ กายเกิดขึ้นแล้วด้วยใจ คือ อภิญญา ชื่อว่า มโนมยกาโย กายสำเร็จแต่ใจ เพราะใจนั้นทำ. เมื่อเป็นเช่นนั้น หากถามว่า ชื่อว่า กายสำเร็จแต่ใจอันฤทธิ์ที่อธิษฐานและอันฤทธิ์ที่แผลงได้ ต่างๆ ทำ ย่อมมีได้หรือ. ตอบว่า ย่อมมีได้ทีเดียว แต่ในที่นี้ การนิรมิต จากภายในเท่านั้น ชื่อว่า มโนมยิทธิ เพราะท่านกล่าวไว้ว่า เป็นฤทธิ์ที่ อธิษฐานและเป็นฤทธิ์ที่แปลงได้ต่างๆ เพราะทำให้พิเศษเป็นต่างหากของฤทธิ์ เหล่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในญาณวิปผารนิเทศดังต่อไปนี้. ชื่อว่า าณวิปฺ- ผารา ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ เพราะมีกำลังแผ่ไปแห่งญาณ. อนึ่ง ในบทนี้ พึงทราบว่าท่านแสดงฤทธิ์ด้วยอนุปัสสนา ๗ แล้วย่อฤทธิ์ที่เหลือตลอดถึง อรหัตตมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 739
ในบทมีอาทิว่า ท่านพากุละมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ มีความว่าท่าน พากุลเถระได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเป็นผู้เจริญในตระกูลทั้งสอง ละสมบุญบารมี มาในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เป็นพระเถระที่ถึงพร้อมด้วยบุญสัมปทา. จริงอยู่ พระเถระนั้นเสวยมหาสมบัติ ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก บังเกิด ในศาสนาของพระทศพลของเรา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงโกสัมพีก่อน. ในเวลาที่พระเถระนั้นเกิด พี่เลี้ยงพร้อมด้วยบริวารนำไปยังแม่น้ำยมุนาพร้อม กับบริวารใหญ่ เพื่อสิริมงคล เล่นน้ำดำผุดดำว่ายอยู่. ปลาใหญ่ตัวหนึ่ง สำคัญว่า ทารกนี้เป็นอาหารของเรา จึงอ้าปากว่ายเข้าไปหา. พี่เลี้ยงทิ้งทารก หนีไป. ปลาใหญ่กลืนกินทารกนั้น. สัตว์ผู้มีบุญไม่ได้รับทุกข์แต่อย่างไร คล้ายเข้าไปยังห้องนอนฉะนั้น ด้วยเดชของทารก ปลาร้อนผ่าว ดุจกลืนกระเบื้องร้อนว่ายไปด้วยความเร็วสิ้นทาง ๒๐ โยชน์เข้าไปยังตาข่ายของชาวประมง ชาวกรุงพาราณสี. ปลานั้นพอชาวประมงเอาออกจากตาข่ายเท่านั้นก็ตายด้วยเดช ของทารกนั้น. ชาวประมงเอาปลานั้นใส่ตะกร้า คิดว่าจะขายในราคาพันหนึ่ง เที่ยวไปในนคร ไปถึงประตูเรือนของเศรษฐี ไม่มีบุตร มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ได้ขายปลาให้ภรรยาเศรษฐี ๑ กหาปณะ. นางเอาปลาวางไว้บนแผ่นกระดาน ด้วยตนเองแล้วผ่าข้างหลัง ครั้นเห็นทารกมีสีดุจทองคำในท้องปลาจึงตะโกนว่า เราได้บุตรในท้องปลาแล้วนำทารกเข้าไปหาสามี. ทันใดนั้นเองเศรษฐีให้ตีกลอง ประกาศแล้วนำทารกมาเฝ้าพระราชากราบทูลเพื่อความให้ทรงทราบ. พระราชา ตรัสว่า ทารกมีบุญ ท่านจงเลี้ยงทารกให้ดี. ตระกูลเศรษฐีที่เป็นมารดาบิดา ครั้นทราบเรื่องราวนั้นจึงไป ณ ที่นั้น พูดว่า บุตรของเรา จึงโต้เถียงกันเพื่อ จะเอาทารกไป. ทั้งสองก็ได้ไปเฝ้าพระราชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 740
พระราชาตรัสว่า เราไม่อาจทำให้ตระกูลทั้งสองไม่ให้มีบุตรได้ ทารก นี้จงเป็นทายาทของตระกูลทั้งสองเถิด. ตั้งแต่นั้นมาตระกูลทั้งสองก็อุดมสมบูรณ์ ด้วยลาภมากมาย. เพราะทารกนั้นเป็นผู้เจริญด้วยสองตระกูลจึงตั้งชื่อว่า พากุลกุมาร. เมื่อพากุลกุมารนั้นรู้เดียงสาแล้ว มารดาบิดาจึงสร้างปราสาทแห่งละ ๓ หลังในนครทั้งสอง หาคนฟ้อนรำมาแสดงเป็นประจำ. พากุลกุมารอยู่ใน นครหนึ่งๆ นครละ ๔ เดือน. เมื่อพากุลกุมารอยู่ในนครหนึ่งครบ ๔ เดือน มารดาบิดาจึงสร้างมณฑปไว้ที่เรือขนานแล้วให้พากุลกุมารพร้อมด้วยนักฟ้อนรำ ในรูปอยู่บนเรือขนานนั้น แล้วนำพากุลกุมารซึ่งเสวยมหาสมบัติไปอีกพวกหนึ่ง สองเดือนได้ครึ่งทาง. แม้นักฟ้อนชาวนครอีกนครหนึ่ง ก็เตรียมต้อนรับเหมือน กัน ด้วยคิดว่า อีกสองเดือนพากุลกุมารจักมาถึงครึ่งทาง แล้วนำมานคร ของตนอยู่ได้สองเดือน. พากุลกุมารอยู่ในนครนั้น ๔ เดือน แล้วกลับไปอีก นครหนึ่งโดยทำนองนั้น. เมื่อพากุลกุมารเสวยสมบัติอยู่อย่างนี้ อายุครบ ๘๐ ปี.
ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรง ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกไปตามลำดับบรรลุถึงกรุงโกสัมพี. พระมัชฌิมภาณกาจารย์ กล่าวว่า กรุงพาราณสี. แม้พากุลเศรษฐีก็ได้ยินว่า พระทศพลเสด็จมา จึงถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมกถา ได้ศรัทธาแล้วก็บวช. พระพากุละเป็นปุถุชนอยู่ ๗ วันเท่านั้น ในอรุณที่ ๘ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.
ลำดับนั้น มาตุคามที่อยู่ในนครทั้งสอง มายังเรือนตระกูลของตนๆ อยู่ ณ ที่นั้นทำจีวรส่งไปถวาย. พระเถระใช้จีวรที่ชาวกรุงโกสัมพีส่งไปถวายทุก กึ่งเดือน. ชาวกรุงโกสัมพีก็ส่งไปถวายทุกกึ่งเดือน โดยทำนองนี้ ได้นำสิ่งที่ อุดมในนครทั้งสองมาถวายพระเถระด้วยประการดังนี้. พระเถระบวชได้ ๘๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 741
พรรษาอย่างมีความสุข. อาพาธแม้มีประมาณน้อยเพียงครู่เดียวก็ไม่เคยมีแก่ พระเถระนั้น ในทั้งสองตระกูล พระเถระกล่าวพากุลสูตรในครั้งสุดท้ายแล้วก็ ปรินิพพาน ด้วยประการฉะนี้. ความไม่มีโรคในท้องปลา ชื่อว่า ฤทธิ์ที่แผ่ไป ด้วยญาณ เพราะท่านพระพากุละมีภพครั้งสุดท้ายเกิดด้วยอานุภาพแห่งอรหัตญาณที่ควรได้ด้วยอัตภาพนั้น. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ด้วยอานุภาพแห่ง ปฏิสัมภิทาญาณที่บรรลุด้วยผลกรรมอันสุจริต.
แม้พระสังกิจจเถระก็เคยทำบุญไว้ก่อนบังเกิดในครรภ์ของธิดาตระกูล มั่งคั่งในกรุงสาวัตถีผู้เป็นอุปัฏฐากของพระธรรมเสนาบดีเถระ. ธิดานั้นเมื่อทารก อยู่ในครรภ์ ได้ถึงแก่กรรมในขณะนั่นเอง ด้วยโรคอย่างหนึ่ง. เมื่อร่างของ ธิดานั้นถูกเผา เนื้อที่เหลือไหม้เว้นเนื้อที่ครรภ์. ลำดับนั้น เนื้อที่ครรภ์ของนาง หล่นลงจากเชิงตะกอน สัปเหร่อเอาหลาวแทงในที่ ๒ - ๓ แห่ง. ปลายหลาว ถูกหางตาของทารก. สัปเหร่อทั้งหลายแทงเนื้อที่ครรภ์แล้วเอาใส่ไว้ในกองเถ้า เอาเถ้ากลบแล้วกลับไป. เนื้อที่ครรภ์ไหม้. แต่บนยอดเถ้า ทารกคล้ายรูปทองคำ ดุจนอนบนกลีบปทุม. จริงอยู่ เมื่อสัตว์ผู้มีภพครั้งสุดท้ายแม้ถูกภูเขาสิเนรุ ทับ ก็ยังไม่สิ้นชีวิต เพราะยังไม่บรรลุพระอรหัต. วันรุ่งขึ้นสัปเหร่อคิดว่า จักดับเชิงตะกอนจึงพากันมา เห็นทารกนอนอยู่อย่างนั้น เกิดอัศจรรย์ไม่เคยมี จึงพาทารกไปนครถามนักพยากรณ์. นักพยากรณ์กล่าวว่า หากทารกนี้จักอยู่ ครองเรือน พวกญาติจักลำบากตลอด ๗ ชั่วตระกูล หากบวช จักมีสมณะ ๕๐๐ แวดล้อมเที่ยวไป. ตาได้เลี้ยงทารกนั้นจนเจริญ เมื่อทารกเจริญแม้พวก ญาติก็พากันเลี้ยงดู ด้วยหวังว่าจักให้บวชในสำนักของพระคุณเจ้าของเรา. เมื่อทารกมีอายุได้ ๗ ขวบ เขาได้ยินพวกเด็กๆ พูดกันว่า มารดาของท่าน ถึงแก่กรรมเมื่อท่านยังอยู่ในครรภ์ เมื่อร่างของมารดาถูกเผา ท่านก็ไฟไหม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 742
จึงบอกแก่พวกญาติว่า นัยว่าฉันพ้นจากภัยเห็นปานนี้ ฉันจะไม่อยู่เป็น ฆราวาสละ ฉันจักบวช. พวกญาติกล่าวว่า ดีแล้วพ่อคุณ จึงพาไปหาพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้มอบให้ว่า ขอพระคุณเจ้าให้กุมารนี้บวชเถิด. พระเถระ ให้ตจปัญจกกรรมฐานแล้วให้ทารกบวช. ทารกนั้นเมื่อจดปลายมีดโกนเท่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ครั้นอายุครบก็ได้อุปสมบทบวชได้ ๑๐ พรรษา มีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวารเที่ยวไป. ความเป็นผู้ไม่มีโรคบนเชิงตะกอนก่อด้วยฟืน โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า ฤทธิ์แผ่ไปด้วยญาณ ของท่านสังกิจจะ.
แม้พระภูตปาลเถระก็เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเหตุมาก่อน. บิดาของท่าน เป็นคนยากจนอยู่ในกรุงราชคฤห์. บิดาพาทารกนั้นไปคงกับเกวียนเพื่อหาฟืน บรรทุกฟืนเสร็จแล้ว เดินทางไปถึงใกล้ประตูเมืองในเวลาเย็น. ลำดับนั้น โค ทั้งหลายของเขาสลัดแอกออกแล้วเข้าเมือง. เขาให้บุตรน้อยนั่งใต้เกวียน แล้ว เดินตามรอยเท้าโคเข้าเมืองเหมือนกัน. เมื่อเขายังไม่ออกประตูเมืองปิดเสียแล้ว. ทารกนอนหลับอยู่ภายใต้เกวียนตลอดคืน. ตามปกติกรุงราชคฤห์มีอมนุษย์ มาก ก็ที่นี้เป็นที่ใกล้ป่าช้า และไม่มียักษ์ไรๆ สามารถจะทำอันตรายแก่ทารก ผู้มีภพครั้งสุดท้ายนั้นได้. ครั้นต่อมาทารกนั้นบวชได้บรรลุพระอรหัต มีชื่อว่า ภูตปาลเถระ. ความเป็นผู้ไม่มีโรคโดยนัยดังกล่าวแล้วในท้องที่ แม้มียักษ์ร้าย เที่ยวไปอย่างนี้ ชื่อว่า ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณของท่านพระภูตปาละ.
พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิวิปผาริทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า อายสฺมโต สารีปุตฺตเถรสฺส สมาธิวิปฺผารา อิทฺธิ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วย สมาธิของท่านพระสารีบุตร มีความว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรอยู่ที่กโปตกันทรา กับพระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อคืนเดือนหงาย ยังมิได้ปลงผม นั่งอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 743
ที่แจ้ง ยักษ์ร้ายตนหนึ่งแม้ถูกยักษ์ผู้เป็นสหายห้ามก็ได้ประหารบนศีรษะของ พระเถระ เสียงสนั่นหวั่นไหวดุจเสียงเมฆ. ในขณะที่ยักษ์ประหาร พระเถระ นั่งเข้าสมาบัติ จึงไม่มีการเจ็บปวดไรๆ ด้วยการประหารนั้น. นี้เป็นฤทธิ์ที่ แผ่ไปด้วยสมาธิของท่านพระสารีบุตรเถระนั้น. สมดังที่พระสารีบุตรเถระกล่าว ไว้ว่า
ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปะ ใกล้กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ กโปตกันทรา. สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร ตอนกลางคืนเดือนหงายยังมิได้ปลงผม นั่งเข้าสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ โอกาสแจ้ง.
สมัยนั้นแล ยักษ์สหายสองตนออกจากทิศอุดรไปทิศทักษิณด้วยกรณียะ อย่างใดอย่างหนึ่ง. ยักษ์ทั้งสองได้เห็นท่านพระสารีบุตร ฯลฯ นั่งอยู่ ณ ที่แจ้ง ครั้นเห็นแล้วยักษ์ตนหนึ่งได้พูดกะยักษ์ผู้เป็นสหายว่า ดูก่อนสหาย ย่อมสว่างไสวกะเรา เพื่อจะประหารศีรษะของสมณะนี้. เมื่อยักษ์กล่าวอย่างนี้ แล้ว ยักษ์สหายได้พูดกะยักษ์นั้นว่า อย่าเลยสหาย อย่าดูหมิ่นสมณะนั้นเลย สมณะนั้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก. แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่ สาม ฯลฯ ดูก่อนสหาย สมณะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก.
ครั้งนั้นแล ยักษ์นั้นมิได้เชื่อฟังยักษ์สหายนั้นได้ประหารศีรษะของท่าน พระสารีบุตรได้มีการประหารยิ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น ด้วยการประหารนั้น ยังช้าง ขนาด ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่ง ให้จมได้โดยแท้ หรือพึงทำลายยอดภูเขาใหญ่ ได้ แต่ทว่ายักษ์นั้นร้องว่า เราร้อน เราร้อน แล้วตกลงในมหานรก ณ ที่นั้นนั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 744
ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระเห็นยักษ์นั้นประหารศีรษะของท่านพระสารีบุตรด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงเกินของมนุษย์ จึงเข้าไปหาพระสารีบุตร ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนพระสารีบุตรผู้มีอายุพอทนได้หรือ ยัง เยียวยาได้หรือ ไม่มีทุกข์ไรบ้างหรือ พระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนท่านโมคคัลลานะพอทนได้ พอเยียวยาได้ อนึ่ง ศีรษะของผมเป็นทุกข์นิดหน่อย.
พระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี มาเลย ข้อที่ท่านสารีบุตรมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ดูก่อนท่านสารีบุตร ยักษ์ตน ใดตนหนึ่งได้ประหารศีรษะของท่าน ได้เป็นการประหารยิ่งใหญ่ถึงเพียงดัง ฯลฯ อนึ่ง ศีรษะของผมเป็นทุกข์นิดหน่อย.
พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่ เคยมีมาเลย ข้อที่ท่านมหาโมคคัลลานะมีอานุภาพมาก ย่อมเห็นแม้ยักษ์ในที่ใด บัดนี้พวกเราจะไม่เห็นแม้ปิศาจเล่นฝุ่นในที่นั้นได้อีกเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับการสนทนาเห็นปานนั้นของพระมหานาคทั้งสองเหล่านั้น ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงเกินของมนุษย์ จึงทรง เปล่งอุทานว่า
จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหินตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ โกรธเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธเคือง จิต ของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นได้แต่ไหน.
อนึ่ง คำในอรรถกถาว่า ด้วยการประหารนั้นไม่มีความเจ็บป่วยใดๆ เลย เหมาะสมอย่างยิ่งกับพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ทุกข์จักถึงผู้นั้น ได้แต่ที่ไหน เพราะฉะนั้นทุกขเวทนาย่อมไม่มีด้วยคำที่พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 745
อนึ่ง ศีรษะของเราเป็นทุกข์นิดหน่อย แต่ท่านกล่าวว่าทุกข์หมายถึงความที่ศีรษะ นั้นไม่ควรแก่การงาน จริงอยู่แม้ในโลกท่านกล่าวว่าปกติของความสุขสามารถ จะบริหารได้โดยไม่ยาก ปกติของความทุกข์สามารถจะบริหารได้โดยยาก ความ ที่ศรีษะไม่ควรแก่การงานนั้นพึงทราบว่าได้มีเพราะเป็นสมัยที่ออกจากสมาบัติ เสียแล้ว ในสมัยที่เอิบอิ่มด้วยสมาบัติจะพึงมีไม่ได้เลย ท่านกล่าวว่า บัดนี้เรา ย่อมไม่เห็นแม้ปีศาจเล่นฝุ่นเลย เพราะไม่สามารถจะเห็นได้ ท่านกล่าวเพราะ ไม่มีความขวนขวายในอภิญญาทั้งหลาย นัยว่าพระเถระอนุเคราะห์หมู่ชนใน ภายหลัง อย่าได้สำคัญฤทธิ์อันเป็นของปุถุชนว่ามีสาระเลยโดยมากไม่ให้ฤทธิ์ อนึ่ง ในเถรคาถาท่านกล่าวไว้ว่า
ความปรารถนาของเรามิได้มีเพื่อปุพเพนิวาสญาณ มิได้มีเพื่อทิพยจักษุ มิได้มีเพื่อฤทธิ์ อันเป็นเจโตปริยญาณ เพื่อจุติเพื่ออุปบัติเพื่อความบริสุทธิ์แห่งโสตธาตุ เลย.
พระเถระกล่าวถึงความไม่มีความปรารถนาในอภิญญาทั้งหลายด้วยตน เอง แต่พระเถระบรรลุบารมีในสาวกปารมิญาณ.
คนเลี้ยงโคเป็นต้นเข้าใจว่า พระสัญชีวเถระผู้เข้านิโรธเป็นอัครสาวก ที่สองของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะมรณภาพเสียแล้ว จึงลากเอา หญ้าและฟืนเป็นต้นก่อไฟเผา แม้เพียงอังสะที่จีวรของพระเถระก็ไม่ไหม้ นี้ เป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนมารผู้ลามก ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก ดูก่อนมารผู้ลามก พระ ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีสาวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 746
คู่หนึ่งชื่อว่าวิธุระและสัญชีวะเป็นคู่เจริญเลิศ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีสาวกใดๆ จะเสมอเหมือนด้วยท่านวิธุระ ในการแสดงธรรม ด้วยปริยายนี้ท่านวิธุระ จึงมีชื่อว่า วิธุโร ส่วนท่านสัญชีวะไปสู่ป่าบ้าง ไปสู่โคนต้นไม้บ้าง ไปสู่เรือน ว่างบ้าง ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธโดยไม่ยากเลย.
ดูก่อนมารผู้ลามก เรื่องเคยมีมาแล้ว ท่านสัญชีวะนั่งเข้าสัญญาเวทยิ- ตนิโรธ ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง พวกคนเลี้ยงโค เลี้ยงปศุสัตว์ ชาวนา นักท่องเที่ยว ได้เห็นท่านสัญชีวะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเห็นแล้วก็ คิดว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ พ่อคุณเอ๋ย ไม่เคยมีมาแล้ว สมณะนี้นั่งมรณภาพ พวกเราช่วยกันเผาเถิด.
ลำดับนั้น คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวนา นักท่องเที่ยวจึงลาก หญ้าฟืนโคมัย แล้วสุมบนกายของท่านสัญชีวะจุดไฟกลับไป ลำดับนั้น ท่าน พระสัญชีวะโดยราตรีนั้นล่วงไปออกจากสมาบัติสลัดจีวร นุ่งในตอนเช้าถือ บาตรและจีวรเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวนา นัก ท่องเที่ยงเห็นท่านสัญชีวะออกบิณฑบาต จึงคิดว่า น่าอัศจรรย์จริงพ่อคุณเอ๋ย ไม่เคยมีมาแล้ว พระสมณะนี้นั่งมรณภาพ ท่านฟื้นขึ้นมาแล้ว โดยปริยายนี้แล ท่านสัญชีวะจึงมีชื่อว่า สญฺชีโว ด้วยประการฉะนี้แล.
ส่วนพระขาณุโกณฑัญญเถระตามปกติเป็นผู้มากด้วยสมาบัติ พระเถระนั้น นั่งเข้าสมาบัติตลอดคืนในป่าแห่งหนึ่ง โจร ๕๐๐ ลักข้าวของเดินไป ประสงค์จะพักผ่อนด้วยคิดว่า บัดนี้ไม่มีคนเดินตามรอยเท้าพวกเรา จึงวางข้าว ของลงสำคัญว่าตอไม้ วางข้าวของทั้งหมดไว้บนร่างของพระเถระนั่นเอง เมื่อ พวกโจรพักผ่อนแล้วเตรียมจะเดินต่อไป ในขณะที่จะถือข้าวลงที่วางไว้คราว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 747
แรก พระเถระลุกขึ้นตามเวลาที่กำหนดไว้ พวกโจรเห็นอาการที่พระเถระเคลื่อน ไหวได้ต่างกลัวร้องเอ็ดตะโร พระเถระกล่าวว่า อุบาสกทั้งหลายอย่ากลัวไป เลย เราเป็นภิกษุ พวกโจรจึงพากันมาไหว้ด้วยความเลื่อมใสในพระเถระจึง บวชแล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จำเดิมแต่นั้นมาพระเถระจึงได้ ชื่อว่า ขาณุกณฺฑญฺเถโร ความที่ท่านพระขาณุโกณฑัญญเถระนั้นถูกโจร เอาข้าวของ ๕๐๐ ชิ้นวางทับไม่มีเจ็บปวด นี้เป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ.
ส่วนนางอุตตราอุบาสิกาธิดาของปุณณเศรษฐีผู้มีทรัพย์มากในกรุงราชคฤห์ ในเวลาเป็นกุมาริกานั่นเองได้บรรลุโสดาปัตติผลพร้อมกับมารดาบิดา นางเจริญวัยแล้วมารดาบิดาได้ยกนางให้แก่บุตรของราชคหเศรษฐีผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิด้วยความเกี่ยวดองกันมาก นางอุตตราอุบาสิกาไม่ได้โอกาสเพื่อจะเห็นพระ พุทธเจ้า เพื่อจะฟังธรรมและเพื่อให้ทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เป็นผู้กระวนกระวายจึงเรียกหญิงแพศยาชื่อว่าสิริมา ในนครนั้นเองแล้วให้กหาปณะ ๑๕,๐๐๐ ที่นางนำมาจากเรือนของบิดา เพื่อทำบุญตามโอกาสแก่นางสิริมานั้นแล้วบอกว่า เจ้าจงถือเอากหาปณะเหล่านั้นแล้วบำเรอเศรษฐีบุตรตลอด กึ่งเดือนนี้ให้นางสิริมาอิ่มเอิบกับสามีตนเอง อธิษฐานองค์อุโบสถ ดีใจว่าเราจัก ได้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นต้นตลอดกึ่งเดือนนี้ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุขตลอดปวารณาได้ถวายมหาทานตลอดกึ่งเดือน ภายหลังอาหารให้ จัดแจงของเคี้ยวของบริโภคในโรงครัวใหญ่ ส่วนสามีของนางคิดว่าพรุ่งนี้จะ เป็นวันปวารณาจึงยืนที่หน้าต่างกับนางสิริมาแลออกไปภายนอก เห็นนางอุตตรา เดินอยู่อย่างนั้น เหงื่อโทรมเต็มไปด้วยขี้เถ้าเปรอะไปด้วยเขม่าจึงหัวเราะว่า หญิงโง่ไม่บริโภคสมบัติของตนทำแต่กุศล แม้นางอุตตราก็แลดูสามีหัวเราะว่า คนโง่ไม่ทำกุศลเพื่อภพหน้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 748
นางสิริมาเห็นกิริยาของคนทั้งสองสำคัญว่า เราเป็นเจ้าของเรือนจึงเกิด ริษยาโกรธนางอุตตราคิดว่า เราจักทำให้นางอุตตราลำบาก จึงลงจากปราสาท นางอุตตรารู้เหตุนั้นจึงนั่งบนตั่งแผ่จิตเมตตาไปยังนางสิริมานั้น นางสิริมาลง จากปราสาท เข้าโรงครัวเอาเนยใส่ที่เดือดเต็มกระบวยเพราะหุงเป็นขนมลาดลง บนศีรษะของนางอุตตรา เนยใสกลายไปดุจน้ำเย็นบนใบปทุม พวกทาสีพากัน โบยนางสิริมาด้วยมือและเท้าให้ล้มลงบนแผ่นดิน นางอุตตราออกจากเมตตา ฌานแล้วจึงห้ามพวกทาสี นางสิริมาขอโทษนางอุตตรา นางอุตตรากล่าวว่า พรุ่งนี้เจ้าจงขอขมาต่อพระพักตร์ของพระศาสดา แล้วบอกการปรุงอาหาร แก่นางสิริมาผู้วิงวอนขอรับใช้ทางกาย นางสิริมาปรุงอาหารแล้ว มีหญิง แพศยา ๕๐๐ บริวารของตนอังคาสพระศาสดากับพระสงฆ์แล้วกล่าวว่า พวก เจ้าจงเป็นเพื่อนในการให้นางอุตตรายกโทษเถิด วันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยหญิง แพศยาเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้วจึงถวายบังคม พระศาสดาทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หม่อมฉันได้ผิดต่อนางอุตตราขอให้ นางอุตตรายกโทษให้แก่หม่อมฉันเถิด พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุตตรา เจ้าจง ยกโทษเถิด เมื่อนางทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันยกโทษให้แล้ว ทรง แสดงธรรมมีอาทิว่า อกฺโกเธน ชิเน โกธํ พึงชนะความโกรธด้วยความ ไม่โกรธ นางอุตตรานำสามีพ่อผัวแม่ผัวเข้าไปเฝ้าพระศาสดา เฉพาะพระพักตร์ เมื่อจบเทศนา ชนทั้ง ๓ เหล่านั้น และหญิงแพศยาทั้งหมดตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ความไม่มีเจ็บปวดด้วยเนยใสที่เดือดของนางอุตตราอุบาสิกาเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไป ด้วยสมาธิ.
อุบาสิกาสามาวดีอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงโกสัมพี. พระเจ้า อุเทนนั้นได้มีอัครมเหสี ๓ องค์ มีหญิงบริวารองค์ละ ๕๐๐. บรรดามเหสี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 749
เหล่านั้น นางสามาวดีเป็นธิดาของภัททิยเศรษฐีในภัททิยนคร เมื่อบิดาถึง แก่กรรม มีหญิง ๕๐๐ เป็นบริวารเติบโตในเรือนของโฆสิตเศรษฐี ในกรุงโกสัมพีผู้เป็นสหายของบิดา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นนางเจริญวัยแล้ว ทรงเกิดความสิเนหา จึงนำนางพร้อมด้วยบริวารไปยังพระราชมณเฑียรได้ ทรงประกอบการอภิเษกสมรส. มเหสีอีกองค์หนึ่ง ชื่อว่า วาสุลทัตตา พระธิดา ของพระเจ้าจัณฑปโชต. ธิดาของมาคัณทิยพราหมณ์ ซึ่งบิดายกให้เป็น บาทบริจาริกา ได้ฟังคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
แม้ความพอใจในเพราะเมถุนมิได้มี เพราะเห็น นางตัณหา นางอรดีและนางราคา ความพอใจอะไร จักมี เพราะเห็นสรีระธิดาของท่าน ซึ่งเต็มไปด้วยมูตร และกรีส เราไม่ปรารถนาถูกต้อง สรีระธิดาของท่าน นั้น แม้ด้วยเท้า
ได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้า มารดาบิดาของนางได้บรรลุอนาคามิผล ในเมื่อจบมากคัณฑิยสุตตเทศนา จึงบวชแล้วบรรลุพระอรหัต. มาคัณทิยพราหมณ์ อาของนางนำไปกรุงโกสัมพี ถวายนางแด่พระราชา นางจึงได้เป็นมเหสี องค์หนึ่งของพระราชา.
ครั้งนั้นแล เศรษฐี ๓ คน คือ โฆสิตเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี ปาวาริกเศรษฐีได้สดับว่า พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นในโลก จึงไปเฝ้าพระศาสดายัง พระมหาวิหารเชตวัน ฟังธรรมแล้วบรรลุโสดาปัตติผล ถวายมหาทานแก่ ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอดกึ่งเดือน ทูลอาราธนาพระศาสดา เสด็จไปกรุงโกสัมพี ชนทั้ง ๓ สร้างอาราม ๓ แห่ง คือ โฆสิตาราม กุกกุฏาราม ปาวาริการาม ยังพระศาสดาผู้เสด็จมาในที่นั้นให้ประทับอยู่ในวิหารละหนึ่งวัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 750
ตามลำดับ เศรษฐีคนหนึ่งๆ ได้ถวายมหาทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อม ด้วยพระสงฆ์. อยู่มาวันหนึ่ง นายมาลาการชื่อว่า สุมนะ อุปัฏฐากของเศรษฐี เหล่านั้น ได้ขอร้องต่อเศรษฐี ขอให้พระศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์ให้นั่งใน เรือนของตนเพื่อฉันภัตตาหาร. ขณะนั้น นางขุชชุตตรา ทาสีรับใช้ของ พระนางสามาวดีรับเอา ๘ กหาปณะ ได้ไปยังเรือนของนายมาลาการนั้น. นาย มาลาการพูดว่า ท่านจงเป็นเพื่อนในการอังคาสพระศาสดาเถิด. นางขุชชุตตรา ได้ทำอย่างนั้น เมื่อพระศาสดาเสวยเสร็จแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาเป็นโสดาบัน ในกาลอื่นถือเอา ๔ กหาปณะเพื่อตน เพราะไม่ควรถือเอาสิ่งที่เขาไม่ให้ จึงซื้อ ดอกไม้ ๘ กหาปณะ นำเข้าไปให้แก่พระนางสามาวดี. เมื่อพระนางสามาวดีตรัส ถามถึงเหตุที่ดอกไม้มีมาก นางจึงทูลบอกตามความเป็นจริง เพราะไม่ควรพูดเท็จ. พระนางสามาวดีตรัสถามว่า เพราะเหตุไร วันนี้เจ้าจึงไม่รับ. นางขุชชุตตราทูล ตอบว่า ฉันฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้ทำให้แจ้งซึ่งอมตธรรม แล้ว. พระนางสามาวดีตรัสว่า แม่อุตตราจงบอกอมตธรรมนั้นแก่พวกเราบ้าง. นางทูลว่า ถ้าเช่นนั้น พระองค์ขอให้ฉันอาบน้ำแล้ว ให้คู่ผ้าบริสุทธิ์ ให้นั่งบน อาสนะสูง พวกท่านทั้งหมดจงนั่ง ณ อาสนะต่ำ.
หญิงทั้งหมดเหล่านั้นได้ทำอย่างนั้น นางขุชชุตตราเป็นอริยสาวิกา บรรลุเสขปฏิสัมภิทาจึงนุ่งผ้าผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ถือพัดวิชนีแสดงธรรม แก่หญิงเหล่านั้น. พระนางสามาวดีและหญิง ๕๐๐ ได้บรรลุโสดาปัตติผล หญิงทั้งหมดเหล่านั้นไหว้นางขุชชุตตราแล้วกล่าวว่า ข้าแต่แม่ ตั้งแต่วันนี้ไป ท่านไม่ต้องทำการรับใช้ ตั้งอยู่ในฐานะมารดา อาจารย์ของพวกเราฟังธรรม ที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว จงกล่าวแก่พวกเรา. นางขุชชุตตราทำตามนั้น ต่อมาเป็นผู้ทรงไตรปิฎก พระศาสดาทรงตั้งในฐานะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 751
ทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต นางได้ตำแหน่งเป็นผู้เลิศ. หญิงที่อยู่กับพระนางสามาวดี กระหยิ่มการเห็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระทศพลทรงดำเนินถึงระหว่างถนน เมื่อ หน้าต่างไม่พอก็เจาะฝามองดูพระศาสดา กระทำการไหว้และบูชา.
นางมาคันทิยาไปในที่นั้นเห็นช่องเหล่านั้น แล้วจึงถามเหตุในที่นั้น รู้ว่าพระศาสดาเสด็จมา ด้วยความอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงโกรธหญิง เหล่านั้น ได้ทูลพระราชาว่า มหาราชเพคะ หญิงที่อยู่กับนางสามาวดี มีความ ปรารถนาในภายนอก เจาะฝามองดูพระสมณโคดม ในไม่ช้าก็จะฆ่าพระองค์ พระราชาแม้เห็นช่องก็ไม่เชื่อคำเพ็ททูลของนางมาคัณทิยา รับสั่งให้ทำหน้าต่าง มีช่องข้างบน. นางมาคัณทิยาประสงค์จะให้พระราชาทำลายหญิงเหล่านั้น จึงให้ นำไก่เป็นมา ๘ ตัว แล้วทูลว่า มหาราชเพคะ เพื่อทดลองหญิงเหล่านั้น ขอ พระองค์ทรงส่งไก่เหล่านี้ไปด้วยรับสั่งว่า ท่านจงฆ่าไก่เหล่านี้แกงให้เรา. พระราชาทรงส่งไปตามนั้น เมื่อพระนางสามาวดีตรัสว่าพวกเราไม่ทำปาณาติบาต นางมาคัณทิยาจึงพูดอีกว่า จงแกงส่งไปถวายพระสมณโคดมนั้น. เมื่อพระราชา ทรงส่งไปอย่างนั้น นางมาคัณทิยาทูลตามนั้นแล้ว จึงส่งไก่ตายไป ๘ ตัว. พระนางสามาวดีจึงแกงส่งไปถวายพระทศพล. แม้ด้วยเหตุนั้น นางมาคัณทิยาก็ ไม่อาจให้พระราชาทรงพิโรธได้.
พระราชาประทับอยู่ตำหนักละ ๗ วัน ในตำหนักที่มเหสีองค์หนึ่งๆ ในมเหสี ๓ องค์ประทับอยู่. พระราชาทรงถือพิณเรียกช้าง เสด็จไปยังที่ที่ พระองค์เสด็จไป ในเวลาพระราชาเสด็จไปยังตำหนักของพระนางสามาวดี นาง มาคัณทิยาให้นำลูกงูเห่าตัวหนึ่งมาเอายาล้างเขี้ยว แล้วให้ใส่ลงในข้อไม้ไผ่แล้ว ใส่ในภายในพิณ เอากลุ่มดอกไม้ปิดช่องไว้. ในเวลาที่พระราชาเสด็จไปในที่ นั้น นางมาคัณทิยาทำเป็นเดินไปเดินมาแล้ว เอากลุ่มดอกไม้นั้นออกจากช่อง พิณ. งูเลื้อยออกมาพ่นพิษแผ่พังพานนอนบนตั่งบรรทม นางมาคัณทิยาร้อง-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 752
เสียงดังว่า งู พระทูลกระหม่อม พระราชาทรงเห็นงูแล้วทรงพิโรธ. พระนาง สามาวดีรู้ว่าพระราชาทรงพิโรธ จึงได้นัดหมายแก่หญิง ๕๐๐ ว่า วันนี้พวกเจ้าจง แผ่เมตตาแก่พระราชา ด้วยโอทิสสกเมตตา (แผ่เจาะจง). แม้พระนางเองก็ได้ทรง ทำอย่างนั้น พระราชาทรงจับสหัสสถามธนู (ธนูใช้กำลังคนหนึ่งพัน) ขึ้นสาย หมายจะยิงพระนางสามาวดีก่อนแล้วให้ถึงหญิงเหล่านั้นทั้งหมดตามลำดับ ทรง สอดลูกศรอาบด้วยยาพิษ ประทับยืนบรรจุลูกธนูแล้ว ไม่สามารถจะซัดลูกศรไป ได้ ไม่สามารถยกลงได้ พระเสโทไหลจากพระวรกาย ทรงเจ็บปวดพระวรกาย พระเขฬะไหลออกจากพระโอฐไม่เห็นสิ่งควรยึดถือได้ ลำดับนั้นพระนางสามาวดี ทูลถามพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเพคะ พระองค์ทรงลำบากหรือ พระราชา ตรัสว่า ถูกแล้วพระเทวี เราลำบากมาก เจ้าจงเป็นที่พึ่งของเราเถิด. พระนาง สามาวดีทูลว่า ข้าแต่มหาราช ดีแล้ว ขอพระองค์จงทำลูกศรให้มีหน้าตรง แผ่นดินเถิด. พระราชาได้ทรงทำอย่างนั้น. พระนางสามาวดี ทรงอธิษฐานว่า ขอลูกศรจงหลุดจากพระหัตถ์ของพระราชาเถิด. ในขณะนั้นลูกศรก็หล่นลง. ในขณะนั้น เอง พระราชาทรงดำลงไปในน้ำ มีผ้าเปียก มีพระเกศาเปียก ทรงหมอบลงแทบเท้าของพระนางสามาวดี ตรัสว่า พระเทวียกโทษให้เราเถิด
เราลุ่มหลงงมงาย ทิศทั้งหมดมืดมิดแก่เรา แม่- สามาวดีจงช่วยเรา จงเป็นที่พึ่งของเราเถิด.
พระนางสามาวดี ทูลว่า พระองค์อย่าถึงหม่อมฉันเป็นที่พึ่งเลย หม่อมฉัน ถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นที่พึ่ง ขอพระองค์จง ทรงถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นที่พึ่งเถิด และขอ พระองค์จงเป็นที่พึ่งของหม่อมฉันด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 753
พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราจะขอถึงท่านและพระศาสดาเป็นที่พึ่ง อนึ่ง เราจะให้พรแก่เจ้า. พระนางสามาวดี ทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรง ให้หม่อมฉันรับพรเถิด. พระราชาเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาขอถึงเป็นที่พึ่งแล้ว นิมนต์ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน ตรัสกะพระนางสามาวดีว่า จงรับพรเถิด. พระนางรับว่า ดีแล้ว ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรงให้พรแก่หม่อมฉัน คือ ขอพระศาสดาจงเสด็จมา ณ ที่นี้ พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ เถิด หม่อมฉันจักฟังธรรม. พระราชาถวายบังคม พระศาสดาแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงเสด็จมา ณ ที่นี้ กับภิกษุ ๕๐๐ เป็นประจำเถิด พวกหญิงที่อยู่กับพระนางสามาวดีก็กล่าวว่า หม่อมฉันทั้งหลายจักฟังธรรม. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร การไปยังที่ แห่งเดียวเป็นประจำไม่สมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้มหาชนก็ยังหวังจะ ให้ไปอยู่. พระราชาทูลว่า ถ้าเช่นนั้นขอพระองค์ตรัสสั่งภิกษุเถิด. พระศาสดา ตรัสสั่งกะพระอานนทเถระ. พระเถระพาภิกษุ ๕๐๐ ไปยังราชตระกูลเป็น ประจำ. แม้หญิงทั้งหลายมีพระเทวีเป็นประมุขเหล่านั้นก็อังคาสพระเถระแล้ว พากันฟังธรรม. อนึ่ง พระศาสดาทรงตั้งพระนางสามาวดีไว้ในฐานะเป็นผู้เลิศ กว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้มีเมตตาวิหารธรรม. ความที่พระราชาไม่สามารถปล่อย ลูกศรไปได้เป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิของพระนางสามาวดีอุบาสิกาด้วยประการ ฉะนี้. อนึ่ง ในที่นี้ท่านเรียกว่าอุบาสิกา เพราะเข้าใกล้พระรัตนตรัยด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ด้วยความเลื่อมใสอันลึกซึ้ง หรือด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
พึงทราบวินิจฉัยในอริยิทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า อริยา อิทฺธิ ฤทธิ์ของพระอริยะ ท่านกล่าวว่าฤทธิ์ของพระอริยะ เพราะเกิดแก่พระอริยะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 754
ผู้เป็นพระขีณาสพผู้ถึงความชำนาญทางจิต. บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือ ภิกษุผู้เป็น พระขีณาสพในศาสนานี้. บทว่า อนิฏฺสฺมึ วตฺถุสฺมึ ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา คือในวัตถุ ในสัตว์ หรือในสังขารที่ไม่ชอบใจ ด้วยอารมณ์ปกติ. บทว่า เมตฺตาย วา ผรติ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา คือ หากเป็นสัตว์ ย่อมแผ่ไปด้วย เมตตาภาวนา. บทว่า ธาตุโต วา อุปสํหรติ น้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ คือ หากว่าเป็นสังขาร ย่อมน้อมเข้าไปซึ่งธาตุมนสิการว่า สักว่าเป็นธาตุ การ น้อมเข้าไปแม้ในสัตว์ว่าเป็นธาตุก็ควร. บทว่า อสุภาย วา ผรติ ย่อมแผ่ ไปโดยความไม่งาม คือหากว่าเป็นสัตว์ ย่อมแผ่ไปโดยอสุภภาวนา. บทว่า อนิจฺจโต วา อุปสํหรติ ย่อมน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง คือ หากว่าเป็นสังขารย่อมน้อมเข้าไปซึ่งมนสิการว่า เป็นของไม่เที่ยง. บทว่า ตทุภยํ ตัดบทเป็น ตํ อุภยํ ได้แก่ ทั้งสองนั้น. บทว่า อุเปกฺขโก มีอุเบกขา คือ มีอุเบกขาด้วยอุเบกขามีองค์ ๖. บทว่า สโต มีสติ คือ เพราะถึงความเป็นผู้ไพบูลย์ด้วยสติ. บทว่า สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ เพราะเป็นผู้มีความรู้สึกด้วยปัญญา. บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เห็นรูป ด้วยจักษุ คือ เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณอันสามารถในการเห็นรูปที่ได้ โวหารว่า จักษุ ด้วยอำนาจแห่งเหตุ แต่พระโบราณาจารย์กล่าวว่า จักษุย่อมไม่เห็นรูป เพราะจักษุไม่มีจิต จิตย่อมไม่เห็นรูป เพราะจิตไม่มีจักษุ แต่ในเมื่อกระทบกัน ทางทวารารัมมณะ ย่อมเห็นได้ด้วยจิตมีปสาทเป็นวัตถุ. อนึ่ง กถาเช่นนี้ นี้ชื่อว่า สสัมภารกถา (กถาเจือปนกัน) ดุจในบทว่า แทงด้วยธนู เพราะฉะนั้น ในบทนี้จึงมีอธิบายว่า เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ. อีกอย่างหนึ่ง เห็นรูปด้วย จักษุเป็นเหตุ. บทว่า เนว สุมโน โหติ ไม่ดีใจ คือ ปฏิเสธความโสมนัส อาศัยเรือน มิใช่โสมนัสเวทนาอันเป็นกิริยา. บทว่า น ทุมฺมโน ไม่เสียใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 755
คือ ปฏิเสธโทมนัสทั้งหมด. บทว่า อุเปกฺขโก วิหรติ เป็นผู้วางเฉยอยู่ คือ เป็นผู้วางเฉยอยู่ด้วยอุเบกขา คือ วางตนเป็นกลางในอารมณ์นั้น อันได้ ชื่อว่า อุเบกขามีองค์ ๖ เพราะเป็นไปในทวาร ๖ อันเป็นอาการแห่งการไม่ละ ความบริสุทธิ์เป็นปกติ ในคลองแห่งอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. แม้ในบท มีอาทิว่า โสเตน สทฺทํ สุตฺวา ฟังเสียงด้วยหูก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในกัมมวิปากชิทธินิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า สพฺเพสํ ปกฺขีนํ แห่งนกทั้งปวง คือ การไปทางอากาศเว้นฌาน และอภิญญา ของนก ทั้งหลายทุกชนิด การไปทางอากาศของเทวดาทั้งปวง และการเห็นเป็นต้น ก็อย่างนั้น. บทว่า เอกจฺจานํ มนุสฺสานํ แห่งมนุษย์บางพวก คือ แห่ง มนุษย์ผู้อยู่ครั้งปฐมกัป. บทว่า เอกจฺจานํ วินิปาติกานํ แห่งวินิบาต บางพวก คือ ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรมมีการไปทางอากาศเป็นต้นของวินิปาติกเปรต พวกอื่น เพราะตกไปจากกายอันเป็นความสุขมีอาทิอย่างนี้ คือ ปิยังกรมารดา ปุนัพพสุกมารดา ผุสสมิตตา ธัมมคุตตา.
พึงทราบวินิจฉัยในอิทธินิเทศของผู้มีบุญดังต่อไปนี้. บทว่า ราชา ชื่อว่า ราชา เพราะยังคนอื่นให้ยินดีโดยธรรม ชื่อว่า จกฺกวตฺตี เพราะยัง รัตนจักรให้เป็นไป. บทว่า เวหาสํ คจฺฉนติ เหาะไปยังอากาศ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยค บทว่า จตุรงฺคินิยา ด้วยจตุรงคินีเสนา ได้แก่ เสนามีองค์ ๔ คือ ช้าง ม้า รถและพลเดินเท้า. บทว่า เสนา คือ รวมองค์ ๔ เหล่านั้น. บทว่า อนฺตมโส โดยที่สุด คนดูแลม้า ชื่อว่า อสฺสพนฺธา คนดูแลโค ชื่อว่า โคปุริสา. บทว่า อุปาทาย หมายถึง คือ ไม่ปล่อย อธิบายว่า การเหาะไปยิ่งอากาศของชนเหล่านั้นอย่างนี้เป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 756
บทว่า โชติยสฺส คหปติสฺส ปุญฺวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของโชติยคหบดีผู้มีบุญ คือ เศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ผู้สะสมบุญญาธิการไว้ในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายในก่อน ชื่อว่า โชติกะ. ได้ยินว่า ในเวลาที่โชติกะนั้นเกิด สรรพาวุธในนครทั้งสิ้นลุกโพลง แม้เครื่องอาภรณ์ที่แต่งไว้ในกายของชน ทั้งปวงก็เปล่งแสงสว่างดุจลุกโพลง นครได้มีแสงสว่างรุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน ลำดับนั้น ในวันที่ตั้งชื่อกุมารนั้นจึงชื่อว่า โชติกะ เพราะนครทั้งสิ้นรุ่งโรจน์ เป็นอันเดียวกัน ครั้นโชติกะเจริญวัย เมื่อชำระพื้นที่เพื่อสร้างเรือน ท้าวสักกเทวราช เสด็จมาปรับพื้นดินในที่ประมาณ ๑๖ กรีส สร้างปราสาท ๗ ชั้น สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ สร้างกำแพง ๗ ชั้นประกอบด้วยซุ้มประตู ๗ ซุ้ม สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ ในท้ายกำแพงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้ ๖๔ ต้น ใน ๔ มุมของปราสาท ฝังหม้อขุมทรัพย์ประมาณโยชน์หนึ่ง ๓ คาวุต ๒ คาวุต ๑ คาวุต ใน ๔ มุมของปราสาท ต้นอ้อย สำเร็จด้วยทองคำ ๔ ต้นประมาณ เท่าลำตาลอ่อนเกิดขึ้น ใบของต้นอ้อยเหล่านั้นสำเร็จด้วยแก้วมณี ข้อสำเร็จ ด้วยทองคำ ที่ซุ้มประตูทั้ง ๗ ซุ้มหนึ่งๆ มียักษ์ ๗ ตนมีบริวารตนละ ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๗,๐๐๐ คอยอารักขา.
พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงสดับถึงการสร้างปราสาทเป็นต้น แล้ว จึงทรงส่งเศวตฉัตรของเศรษฐีไปให้. เศรษฐีนั้นจึงชื่อว่า โชติกเศรษฐี เป็นผู้ ปรากฏไปทั่วชมพูทวีป เสวยมหาสมบัติอยู่ ณ ปราสาทนั้นกับภริยาซึ่งเทวดา ทั้งหลายนำมาจากอุตตรกุรุทวีปแล้วให้นั่งเหนือห้องอันเป็นสิริซึ่งถือเอาข้าวสาร ทะนานหนึ่งและแผ่นหินให้เกิดไฟ ๓ แผ่นมาด้วย ภัตรย่อมเพียงพอแก่เขาด้วย ข้าวสารทะนานหนึ่งตลอดชีวิต ได้ยินว่า หากชนทั้งหลายประสงค์จะบรรทุก ข้าวสารลงในเกวียน ๑๐๐ เล่ม ทะนานข้าวสารนั้นแหละก็ยังตั้งอยู่ ในเวลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 757
หุงข้าว ใส่ข้าวสารลงในหม้อข้าวแล้ววางไว้ข้างบนแผ่นหินเหล่านั้น แผ่นหิน ก็จะลุกเป็นไฟขึ้นทันที เมื่อข้าวสุกก็ดับ ด้วยสัญญาณนั้น ชนทั้งหลายก็รู้ว่า ข้าวสุกแล้ว. แม้ในเวลาแกงเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อาหารของชน เหล่านั้นย่อมหุงต้มด้วยหินให้เกิดไฟอย่างนี้ ชนทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยแสงสว่างแห่ง แก้วมณี ย่อมไม่รู้จักแสงสว่างของไฟหรือของประทีป. โชติกเศรษฐีได้ปรากฏ ไปทั่วชมพูทวีปว่า มีสมบัติถึงปานนี้ มหาชนขึ้นยานเป็นต้น มาเพื่อจะเห็น. โชติกเศรษฐีให้ภัตตาหารแห่งข้าวสารจากอุตตกุรุทวีปแก่คนที่มาแล้วๆ สั่งว่า ชนทั้งหลายจงถือเอาผ้าและอาภรณ์จากต้นกัลปพฤกษ์เถิด สั่งว่า ชนทั้งหลาย จงเปิดปากหม้อขุมทรัพย์ คาวุตหนึ่งแล้วถือเอาให้เพียงพอ. เมื่อชาวชมพูทวีป ทั้งสิ้นถือเอาทรัพย์ไป หม้อขุมทรัพย์ก็มิได้พร่องแม้เพียงองคุลี นี้เป็นฤทธิ์ ของท่านผู้มีบุญนั้น.
บทว่า ชฏิลสฺส คหปติสฺส ปุญฺวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของชฎิลคหบดีผู้มีบุญ คือ เศรษฐีในเมืองตักกศิลาสะสมบุญ สร้างธาตุเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ชื่อชฎิล. นัยว่ามารดาของชฎิลนั้นเป็นธิดาของ เศรษฐี ในกรุงพาราณสีมีรูปสวยยิ่งนัก. เมื่อธิดามีอายุได้ ๑๕ - ๑๖ ปี มารดา บิดาให้นางอยู่บนพื้นบนของปราสาท ๗ ชั้นเพื่อดูแล. วันหนึ่งวิชาธรเหาะไป ทางอากาศเห็นนางเปิดหน้าต่างมองดูภายนอกเกิดสิเนหา จึงเข้าไปทางหน้าต่าง ทำสันถวะกับนาง. นางจึงตั้งครรภ์ด้วยเหตุนั้น.
ลำดับนั้น ทาสีเห็นนางจึงถามว่า นี่อะไรกันแม่. นางกล่าวว่า อย่า เอ็ดไป เจ้าอย่าบอกใครๆ เป็นอันขาด. ทาสีก็นิ่งเพราะความกลัว. ครบ ๑๐ เดือน นางก็คลอดบุตร ให้ทาสีนำภาชนะใหม่มาให้ทารกนอนบนภาชนะนั้น แล้วปิดภาชนะนั้นเสีย วางพวงดอกไม้ไว้ข้างบนสั่งทาสีว่า เจ้าจงยกภาชนะนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 758
เทินศีรษะไปทิ้งที่แม่น้ำคงคา เมื่อผู้คนถามว่า นี้อะไร เจ้าพึงบอกว่าเป็น พลีกรรมของแม่เจ้าของฉัน. ทาสีได้ทำตามนั้น. ที่แม่น้ำคงคาทางใต้น้ำ หญิงสองคนอาบน้ำอยู่เห็นภาชนะนั้น ลอยน้ำมา คนหนึ่งพูดว่า นั่นภาชนะ ของฉัน คนหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่อยู่ภายในภาชนะนั้นเป็นของฉัน เมื่อภาชนะ ลอยมาถึง หญิงคนหนึ่งแบกภาชนะนั้นมาวางไว้บนบก ครั้นเปิดออกเห็นทารก จึงกล่าวว่า ทารกต้องเป็นของฉัน เพราะเธอพูดว่า ภาชนะเป็นของฉัน. หญิงคนหนึ่งพูดว่า ทารกเป็นของฉันเพราะเธอพูดว่า สิ่งที่อยู่ภายใน ภาชนะนั้นเป็นของฉัน. หญิงทั้งสองนั้นเถียงกัน พากันไปศาลเมื่อผู้พิพากษา ไม่อาจตัดสินได้ ได้พากันไปเฝ้าพระราชา.
พระราชาทรงสดับคำของหญิงทั้งสองนั้นแล้วตรัสสั่งว่า เจ้าจงรับทารก ไป เจ้าจงรับภาชนะไป หญิงที่ได้ทารกไปเป็นอุปัฏฐากของพระมหากัจจายนเถระ. นางเลี้ยงดูทารกนั้นด้วยหวังว่าจะให้บวชในสำนักของพระเถระ. ในวัน ที่ทารกนั้นคลอด เพราะไม่ล้างมลทินของครรภ์แล้วนำออกไป ผมจึงยุ่ง ด้วยเหตุนั้น จึงมีชื่อว่า ชฎิล. เมื่อทารกนั้นเดินได้ พระเถระเข้าไปบิณฑบาต ยังเรือนนั้น. อุบาสิกานิมนต์พระเถระให้นั่งแล้วถวายอาหาร. พระเถระเห็น ทารก จึงถามว่า อุบาสิกา ท่านได้ทารกมาหรือ. นางตอบว่า เจ้าค่ะ ดิฉัน เลี้ยงดูมาด้วยหวังว่าจะให้บวชในสำนักของพระคุณท่านเจ้าค่ะ.
พระเถระรับว่าดีละ แล้วพาทารกนั้นไปตรวจดูว่าทารกนี้จะมีบุญกรรม เพื่อเสวยสมบัติของคฤหัสถ์ไหมหนอ คิดว่า สัตว์ผู้มีบุญจักได้เสวยมหาสมบัติ ตอนเป็นหนุ่มก่อน แม้ญาณของเขาก็ยังไม่แก่กล้าพอ จึงพาทารกนั้นไปเรือน ของอุปัฏฐาก คนหนึ่งในเมืองตักกศิลา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 759
อุปัฏฐากนั้นยืนไหว้พระเถระเห็นทารกจึงถามว่าได้ทารกมาหรือ พระเถระตอบว่า ถูกแล้วอุบาสก ทารกนี้จักบวช แต่ยังหนุ่มนักขอให้อยู่กับท่านไป ก่อน อุบาสกรับว่าดีแล้วพระคุณท่าน จึงตั้งทารกนั้นไว้ในฐานะบุตรประคับ ประคองอย่างดี อนึ่ง ในเรือนของอุปัฏฐากนั้น มีสินค้าสะสมมาตลอด ๑๒ ปี อุปัฏฐากนั้นไปในระหว่างบ้านนำสินค้านั้นทั้งหมดไปตลาดบอกราคาของสินค้า นั้นแก่ชฎิลกุมารแล้วกล่าวว่า เจ้าพึงรับทรัพย์เท่านี้ๆ แล้วให้ไปในวันนั้น เทวดาผู้รักษานครบันดาลให้ผู้มีความต้องการโดยที่สุด แม้ยี่หร่าและพริกให้ มุ่งหน้าไปตลาดของชฎิลกุมารนั้น ชฎิลกุมารนั้นขายสินค้าที่สะสมมาตลอด ๑๒ ปี หมดในวันเดียวเท่านั้น กุฎุมพีมาไม่เห็นอะไรๆ ในตลาด จึงพูดว่า พ่อ คุณ เจ้าทำสินค้าหายไปหมดแล้วหรือ ชฎิลกุมารบอกไม่หายดอกพ่อ ฉันขาย หมดตามที่พ่อสั่งไว้ว่าของอย่างโน้นราคาเท่านี้ ของอย่างนี้ราคาเท่านั้น เพราะ เหตุนั้น สินค้าทั้งหมดจึงได้ตามราคา กุฎุมพีเลื่อมใสคิดว่าชายที่หาค่ามิได้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ไม่ว่าในกาลไหนๆ จึงยกลูกสาวของตนซึ่งเจริญวัยแล้ว ให้แก่เขาแล้ว สั่งคนงานว่าจงสร้างเรือนให้ชฎิลกุมาร เมื่อสร้างเรือนเสร็จจึง กล่าวว่า เจ้าทั้งสองจงไปอยู่ที่เรือนของตนเถิด ในขณะที่เขาเข้าเรือนพอเท้า ข้างหนึ่งเหยียบธรณีประตู สุวรรณบรรพตประมาณ ๘๐ ศอก ผุดขึ้นในพื้น ที่ส่วนหลังสุดของเรือน นี้ว่าพระราชาทรงสดับว่า สุวรรณบรรพตผุดขึ้น ทำลายพื้นที่ในเรือนของชฎิล จึงทรงส่งเศวตฉัตรไปให้ชฎิลนั้น ชฎิลนั้นจึงได้ ชื่อว่าชฎิลเศรษฐี นี่เป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญนั้น.
บทว่า เมณฺฑกสฺส คหปติสฺส ปุญฺวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของ เมณฑกคหบดีผู้มีบุญ คือ เศรษฐีในภัททิยนครแคว้นมคธได้สะสมบุญญาธิการ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ชื่อเมณฑกะ ได้ยินว่าที่หลัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 760
เรือนของเศรษฐีนั้นมีแกะทองคำประมาณเท่าช้าง ม้าและโคอุสภะในที่ประมาณ ๘ กรีส ทำลายแผ่นดินผุดขึ้นหลังกับหลังชนกันลูกคลีหนังของด้าย ๕ สี ใส่ ไว้ในปากของแกะทองคำเหล่านั้น ชนทั้งหลายเมื่อมีความต้องการด้วยเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นก็ดี ด้วยเครื่องปกปิดเงินและทองเป็นต้นก็ดี ดึงลูกคสีหนังออกจากปากของแกะทองคำเหล่านั้น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง เครื่อง นุ่งห่มเงินและทองเพียงพอแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ออกจากปากของแกะแม้ตัว หนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาเศรษฐีนั้นก็ปรากฏชื่อว่า เมณฑกเศรษฐี นี้เป็นฤทธิ์ของผู้มี บุญนั้น.
บทว่า โฆสิตสฺส คหปติสฺส ปุญฺวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของโฆสิต คหบดีผู้มีบุญคือเศรษฐีในกรุงโกสัมพีแคว้นสักกะ สะสมบุญญาธิการในพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าโฆสิต นัยว่าเศรษฐีนั้นจุติจากเทวโลกบังเกิดในท้องของ หญิงงามเมืองในกรุงโกสัมพี ในวันตลอด หญิงงามเมืองนั้นให้ทารกนอนบน กระด้งแล้วให้เอาไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ กาและสุนัขทั้งหลายนั่งห้อมล้อมทารกนั้น ชายคนหนึ่งเห็นดังนั้น จึงได้ความสำคัญว่าเป็นบุตรคิดว่า เราได้บุตรแล้วจึงนำ ไปเรือน ในกาลนั้นโกสัมพิกเศรษฐีเห็นปุโรหิตจึงถามว่า ท่านอาจารย์วันนี้ท่าน ตรวจดูฤกษ์ดิถีแล้วหรือ เมื่อปุโรหิตตอบว่า ดูแล้วท่านมหาเศรษฐี จึงถามว่า จักมีอะไรแก่ชนบท ปุโรหิตตอบว่า ในนครนี้เด็กเกิดวันนี้จักเป็นเศรษฐีผู้ใหญ่ ในกาลนั้น ภริยาของเศรษฐีมีครรภ์แก่ เพราะฉะนั้น เศรษฐีนั้นจึงรีบสั่งคนไป เรือนสั่งว่า เจ้าจงไป จงรู้ว่าภริยาของเราคลอดทารกหรือยั่งไม่ตลอด ครั้นสดับ ว่ายังไม่คลอด จึงไปเรือนเรียกนางกาฬีทาสีมาให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ สั่งว่า เจ้าจงไป จงสืบดูในนครนี้แล้วนำทารกที่เกิดในวันนี้มา ทาสีไปเที่ยวสืบดูก็ไปถึงเรือนนั้น เห็นทารกรู้ว่าเกิดในวันนั้นจึงให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ นำทารกมาให้แก่เศรษฐี เศรษฐี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 761
คิดว่าถ้าลูกสาวของเราจักเกิด เราจะแต่งานทารกนั้นให้กับลูกสาวแล้วให้ดำรง ตำแหน่งเศรษฐี ถ้าเป็นบุตรชายเกิด เราจักฆ่าทารกนั้นเสีย แล้วเลี้ยงดูทารก นั้นให้เติบโตในเรือน.
ลำดับนั้นล่วงไป ๒ - ๓ วัน ภริยาของเศรษฐีตลอดบุตรชาย เศรษฐี คิดว่าเมื่อไม่มีทารกนี้บุตรของเราก็จักได้ตำแหน่งเศรษฐี บัดนี้ เราควรจะฆ่า ทารกนั้นเสียแล้วเรียกนางกาฬีทาสีมาสั่งว่า นี่แน่แม่สาวใช้ ในเวลาโคออกจาก ดอก เจ้าจงให้ทารกนี้นอนขวางในท่ามกลางประตูคอก แม่โคทั้งหลายจักเหยียบ ทารกนั้นให้ตาย เจ้ารู้ว่าทารกนั้นถูกแม่โคเหยียบหรือไม่เหยียบแล้วจงกลับมา นางกาฬีทาสีไป พอคนเลี้ยงโคเปิดประตูคอกก็ให้ทารกนั้นนอนเหมือนอย่างนั้น โคอุสภะหัวหน้าฝูงโคครั้งก่อนๆ ออกภายหลังโคทั้งหมด แต่วันนั้นออกก่อนโค ทั้งหมด ยืนคล่อมทารกไว้ในระหว่างเท้าทั้ง ๔ แม่โคหลายร้อยตัวออกเสียดสีข้าง ทั้งสองของโคอุสภะ แม้คนเลี้ยงโคก็คิดว่าโคอุสะนี้เมื่อก่อนออกภายหลังโค ทั้งหมด แต่วันนี้ออกก่อนยืนนิ่งที่กลางประตู นี่มันอะไรกันหนอ จึงเดินไปเห็น ทารกนอนอยู่ภายใต้โคอุสภะนั้น จึงได้ความสิเนหาในบุตรคิดว่า เราได้บุตรแล้ว จึงนำไปเรือน นางกาฬีทาสีกลับไปเศรษฐีถามจึงบอกความทั้งหมด เศรษฐีบอก ว่าเจ้าจงไปให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ นี้ แก่คนเลี้ยงโค แล้วนำทารกนั้นมาอีก.
ครั้งนั้นเศรษฐีจึงบอกนางกาฬีทาสีว่า แม่ทาสีในเมืองนี้มีเกวียน ๕๐๐ เล่ม ออกในย่ำรุ่งไปทำการค้าขาย เจ้าจงนำทารกนี้ให้นอนที่ทางล้อหรือโค ทั้งหลายจักเหยียบทารกนั้น หรือล้อจักขยี้เสีย เจ้ารู้ความเป็นไปแล้วกลับมา นางทาสีไปให้ทารกนอนที่ทางล้อ หัวหน้าคนขับเกวียนได้ออกไปข้างหน้า.
ลำดับนั้น โคของหัวหน้าคนขับเกวียนถึงที่นั้นแล้วจึงสลัดแอก แม้คน ขับเกวียนยกขึ้นบ่อยๆ แล้วขับไปก็ไม่ยอมไปข้างหน้า เมื่อคนขับเกวียนนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 762
พยายามอยู่กับโคเหล่านั้นอย่างนี้ อรุณขึ้นแล้ว คนขับเกวียนคิดว่าโคทำอะไร ครั้น เห็นทารกจึงคิดว่า กรรมหนักหนอ ดีใจว่าเราได้บุตร จึงนำทารกนั้นไป เรือน แม้นางกาฬีก็กลับ ถูกเศรษฐีถามเล่าเรื่องให้ฟัง เศรษฐีกล่าวว่าเจ้าจงไป ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วนำทารกนั้นมา นางกาฬีก็ได้ทำตามนั้น. ลำดับนั้น เศรษฐีกล่าวกะนางกาฬีนั้นว่า บัดนี้เจ้าจงนำทารกนั้นไปป่าช้า ผีดิบแล้วให้นอนระหว่างกอไม้ สุนัขเป็นต้น ณ ที่นั้น จักเคี้ยวกินเสีย หรือ อมนุษย์จักประหารเสีย เจ้าพึงรู้ว่าทารกนั้นตายหรือไม่ตาย นางกาฬีนั้นนำ ทารกนั้นไปให้นอน ณ ที่นั้นแล้วยืนในข้างหนึ่ง สุนัขเป็นต้นหรืออมนุษย์ไม่ สามารถจะเข้าใกล้ได้ ลำดับนั้น คนเลี้ยงแพะคนหนึ่ง นำแพะไปหาอาหาร ข้างป่าช้า.
แพะตัวหนึ่งเคี้ยวกินใบไม้อยู่เข้าไประหว่างกอไม้เห็นทารกแล้วยืนคุกเข่าให้นมทารก เมื่อคนเลี้ยงแพะให้เสียงว่า เฮ้ เฮ้ ก็ไม่ออกไป คนเลี้ยงแพะ คิดว่าเราจะต้องตีแพะนั้นนำออกไป จึงเข้าไปในระหว่างกอไผ่เห็นแพะยืนคุกเข่า ให้ทารกดื่มนมได้ความสิเนหาในทารกว่าเป็นบุตร คิดว่า เราได้บุตรแล้ว จึงพา กลับไป นางกาฬีกลับไปถูกเศรษฐีถามจึงเล่าเรื่องให้ฟัง เศรษฐีกล่าวว่าเจ้าจง ไปจงให้ทรัพย์คนเลี้ยงแพะ ๑,๐๐๐ แล้วนำทารกมาอีก นางกาฬีได้ทำตามนั้น.
ลำดับนั้น เศรษฐีจึงพูดกะนางกาฬีว่า เจ้าจงพาทารกนี้ไปขึ้นภูเขา เหวโจร แล้วโยนลงในเหว ทารกก็จะถูกกระแทกที่หลืบเขาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จักตกลงบนพื้น เจ้าพึงรู้ว่าทารกนั้นตายหรือไม่ตายแล้วกลับมา นางกาฬีนำ ทารกนั้นไปตามนั้นยืนอยู่บนยอดเขาแล้วโยนทารกลงไป พุ่มไผ่ใหญ่อาศัยหลืบ ภูเขานั้นงอกงามไปตามภูเขาพุ่มชะเอมหนาทึบคลุมยอดพุ่มไผ่นั้น ทารกเมื่อ ตกลงไป ก็ได้ตกลงบนพุ่มชะเอมนั้นดุจตกในเปลฉะนั้น ในวันนั้นหัวหน้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 763
ช่างจักสานถึงเวลาจะตัดไม้ไผ่จึงไปกับบุตรเริ่มจะตัดพุ่มไม้ไผ่นั้น เมื่อพุ่มไม้ ไผ่ไหว ทารกได้ร้อง เขาได้ยินเหมือนเสียงทารกจึงขึ้นอีกข้างหนึ่งเห็นทารกนั้น ดีใจว่าเราได้บุตรแล้ว จึงพาทารกกลับ นางกาฬีกลับไปถูกเศรษฐีถามจึงเล่าเรื่อง ให้ฟัง เศรษฐีบอกว่าเจ้าจงไปให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้ว จงนำทารกนั้นมา นาง กาฬีได้ทำตามนั้น.
เมื่อเศรษฐีทำแล้วๆ เล่าๆ อยู่อย่างนี้ ทารกก็เติบโตขึ้น เพราะทารก นั้นส่งเสียงร้องมากจึงมีชื่อว่า โฆสิตะ โฆสิตะนั้นปรากฏแก่เศรษฐีดุจหนาม ที่ลูกตา ไม่อาจดูตรงๆ ได้ เศรษฐีจึงคิดหาอุบายเพื่อจะฆ่าโฆสิตะนั้น จึงไปหา ช่างหม้อของตนถามว่า เมื่อไรท่านจักเผาหลุม เมื่อช่างหม้อบอกพรุ่งนี้ เศรษฐี จึงพูดว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงรับทรัพย์ ๑,๐๐๐ นี้ไว้ แล้วทำธุระอย่างหนึ่งแก่ เรา ช่างหม้อถามว่า ทำอะไรเล่านาย เศรษฐีบอกว่าเรามีบุตรเป็นอวชาตบุตร อยู่คนหนึ่ง เราจะส่งมาหาท่าน ที่นั้นท่านพึงให้บุตรนั้นเข้าไปยังห้อง เอามีดที่ คมตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยใส่ลงในตุ่มแล้วฝังในหลุม นี้ทรัพย์ ๑,๐๐ ของ ท่านเป็นการรับคำ อนึ่ง ที่ยิ่งไปกว่านั้นเราจักสมนาคุณท่านในภายหลังช่าง หม้อรับคำ.
รุ่งขึ้นเศรษฐีเรียกโฆสิตะมาสั่งว่า เมื่อวานพ่อได้สั่งช่างหม้อให้ทำธุระ อย่างหนึ่ง มาเถิดลูกไปหาช่างหม้อนั้นแล้วบอกว่า เมื่อวานนี้พ่อสั่งให้ท่านทำ ธุระอย่างหนึ่งให้เสร็จดังนี้แล้วส่งไป โฆสิตะรับคำแล้วก็ไป บุตรคนหนึ่งของ เศรษฐีกำลังเล่นลูกข่างอยู่กับพวก ทารกเห็นโฆสิตะกำลังเดินมาถึงที่นั้น จึงร้อง เรียกถามว่าจะไปไหน เมื่อโฆสิตะบอกว่าพ่อสั่งให้ไปหาช่างหม้อ บุตรเศรษฐี บอกว่าฉันไปที่นั้นเอง ทารกเหล่านั้นชนะเราไปหลายคะแนนแล้ว ท่านชนะ คะแนนนั้นแล้วจงให้แก่เรา. โฆสิตะบอกว่า ฉันกลัวพ่อ ลูกเศรษฐีบอกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 764
อย่ากลัวเลยพี่ ฉันจะนำข่าวนั้นไปเอง แล้วบอกต่อไปว่า พวกทารกเป็นอัน มากชนะไปแล้ว ท่านจงชนะคืนคะแนนให้ฉันจนกว่าจะกลับมา. นัยว่า โฆสิตะฉลาดในการเล่นลูกข่าง. ด้วยเหตุนั้นบุตรเศรษฐีจึงแค่นไค้เขาอย่างนั้น. โฆสิตะบอกว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปบอกกะช่างหม้อว่า เมื่อวานนี้ พ่อฉันสั่ง ให้ท่านทำธุระอย่างหนึ่ง ขอให้ท่านทำธุระนั้นให้เสร็จเถิด แล้วส่งบุตรเศรษฐี ไป. บุตรเศรษฐีนั้นไปหาช่างหม้อแล้วได้บอกตามนั้น.
ครั้งนั้น ช่างหม้อจึงจับบุตรเศรษฐีนั้นตามที่เศรษฐีสั่ง แล้วโยนลงไป ในหลุม. โฆสิตะเล่นอยู่ตลอดวัน ตอนเย็นจึงกลับเรือน เมื่อเศรษฐีถามว่า ไม่ได้ไปหรือลูก เขาจึงบอกเหตุที่ตนไม่ไปและเหตุที่น้องไป. เศรษฐีร้อง เสียงดังลั่นว่า ตายแล้ว ตายแล้ว! เป็นเหมือนโลหิตร้อนผ่าวไปทั่วตัว ประคองแขนคร่ำครวญว่า พ่อช่างหม้อจ๋า อย่าฆ่าลูกฉันๆ ได้ไปหาช่างหม้อ ช่างหม้อเห็นเศรษฐีมาอย่างนั้นจึงกล่าวว่า อย่าเอะอะไปเลยนาย ธุรกิจสำเร็จ แล้ว. เศรษฐีถูกความโศกใหญ่หลวง ดุจภูเขาท่วมทับ เสวยโทมนัสไม่น้อย.
แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ เศรษฐีก็ไม่อาจมองดูโฆสิตะตรงๆ ได้ คิดอยู่ว่า เราจะฆ่าโฆสิตะนั้นได้อย่างไร เห็นอุบายว่า เราจักส่งไปหาผู้จัดการทรัพย์สิน ใน ๑๐๐ หมู่บ้านของเราแล้วให้ฆ่าเสีย จึงเขียนหนังสือส่งให้ผู้จัดการทรัพย์ มีความว่า บุตรคนนี้เป็นอวชาตบุตรของเรา ขอให้ฆ่าเสียแล้วผลักลงใน หลุมคูถ ก็เมื่อทำอย่างนี้แล้ว เราจักสมนาคุณแก่ลุง แล้วกล่าวกะโฆสิตะว่า พ่อโฆสิตะ พ่อมีผู้จัดการทรัพย์ใน ๑๐๐ หมู่บ้าน เจ้าจงนำหนังสือนี้ไปให้เขา แล้วผูกหนังสือที่ชายผ้าของโฆสิตะ โฆสิตะไม่รู้อักขรสมัย เพราะตั้งแต่เป็นเด็ก เศรษฐีจะฆ่าเขาท่าเดียวก็ไม่อาจฆ่าได้ จักให้เรียนอักขรสมัยได้อย่างไร โฆสิตะ จึงผูกใบมรณะของตนไว้ที่ชายผ้า เมื่อจะออกไปกล่าวว่า พ่อ ฉันไม่มีเสบียง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 765
เลย เศรษฐีกล่าวว่าไม่ต้องเสบียงดอกลูก เศรษฐีสหายของพ่อมีอยู่ที่บ้านโน้น ในระหว่างทาง เจ้าจงกินอาหารเช้าที่เรือนของเพื่อนนั้นแล้วเดินต่อไป.
โฆสิตะรับคำแล้วไหว้บิดา ออกไปถึงบ้านนั้น ถามหาเรือนเศรษฐี ไปเห็นภรรยาของเศรษฐี. เมื่อภรรยาเศรษฐีถามว่า พ่อมาจากไหน เขาบอกว่า มาจากภายในเมือง ภรรยาเศรษฐีถามว่า พ่อเป็นบุตรใคร ตอบว่า เป็นบุตร เศรษฐี ผู้เป็นสหายของท่านจ้ะแม่. ถามว่า พ่อชื่อโฆสิตะใช่ไหม ตอบว่า ใช่จ้ะแม่. พอเห็นเท่านั้นภรรยาเศรษฐีก็เกิดความสิเนหาในโฆสิตะว่าเป็นบุตร เศรษฐีมีลูกสาวอยู่คนหนึ่ง อายุ ๑๕ - ๑๖ รูปร่างสวย น่าชม. มารดาบิดาให้ ทาสีรับใช้คนหนึ่ง เพื่อดูแล นางให้นอนในห้องสิริชั้นบนของปราสาท ๗ ชั้น. ในขณะนั้น ลูกสาวเศรษฐีส่งทาสีนั้นไปตลาด.
ลำดับนั้น ภรรยาเศรษฐีเห็นทาสีนั้น ถามว่า เจ้าจะไปไหน เมื่อทาสี ตอบว่า ธิดาของแม่เจ้าให้ไปตลาดจ้ะ จึงกล่าวว่า จงมานี่ก่อน งดไปตลาด ไว้ก่อน เจ้าจงปูตั่งให้บุตรของเรา หาน้ำมาล้างเท้า ทาน้ำมัน ปูที่นอนให้ ภายหลังจึงไปตลาด ทาสีได้ทำตามนั้น ลูกสาวเศรษฐีดุทาสีมาช้า ทาสีจึงบอก กะธิดาว่า อย่าโกรธฉันเลย โฆสิตะบุตรเศรษฐีมา ฉันทำโน่นบ้าง นี่บ้าง ให้แก่โฆสิตะนั้นแล้วก็ไปตลาด เสร็จแล้วจึงกลับมานี่แหละจ้ะ. ลูกสาวเศรษฐี ครั้นได้ฟังชื่อว่าโฆสิตะบุตรเศรษฐีเท่านั้น ความรักด้วยอำนาจบุพเพสันนิวาส ตัดผิวหนังเป็นต้นจดเยื่อกระดูกตั้งอยู่. นางจึงถามทาสีนั้นว่า เขานอนที่ไหนเล่า ตอบว่า นอนหลับบนที่นอนจ้ะ. ถามว่า มีอะไรที่มือของเขาบ้าง. อบว่า มีหนังสือที่ชายผ้าจ้ะ นางคิดว่า นั่นหนังสืออะไรหนอ เมื่อโฆสิตะกำลังหลับ เมื่อมารดาบิดาไม่เห็นเพราะส่งใจไปอื่น จึงไปหาโฆสิตะนั้นแก้หนังสือออก ถือเข้าไปห้องของตนปิดประตู เปิดหน้าต่าง เพราะนางฉลาดในอักขรสมัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 766
จึงอ่านหนังสือนั้น คิดว่า โอช่างโง่เสียจริง ผูกใบมรณะของตนไว้ที่ชายผ้า เที่ยวไป หากเราไม่เห็น เขาก็จะไม่มีชีวิต จึงฉีกหนังสือนั้นเสียแล้ว เขียน หนังสืออื่นแทนด้วยกำของเศรษฐีว่า บุตรของเราชื่อโฆสิตะให้นำบรรณาการ จาก ๑๐๐ หมู่บ้านมาทำการมงคลสมรสกับธิดาของเศรษฐีชนบทนี้ ให้ปลูกเรือน ๒ ชั้น ท่ามกลางบ้านเป็นที่อยู่ของตนแล้วจัดการอารักขาให้ดี ด้วยการล้อม กำแพงและตั้งยามคุ้มกัน เมื่อทำทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จงส่งข่าวให้เราทราบ ด้วย เมื่อทำอย่างนี้เสร็จแล้ว เราจะสมนาคุณแก่ลุง ครั้นเขียนเสร็จจึงม้วน หนังสือ ผูกไว้ที่ชายผ้าของเขา.
โฆสิตะนอนหลับตลอดวัน ลุกขึ้นบริโภคอาหารแล้วก็กลับไป รุ่งขึ้น ไปบ้านนั้นแต่เช้าตรู่ เห็นผู้จัดการทรัพย์สินกำลังทำการงานในบ้าน. ผู้จัดการ ทรัพย์สินเห็นโฆสิตะจึงถามว่า อะไรพ่อคุณ โฆสิตะบอกว่า พ่อของฉันส่ง หนังสือมาให้ท่าน เขารับหนังสือไปอ่านดีใจ สั่งช่างทำเรือนว่า ดูเถิด นาย ของเราเขารักเรา ส่งบุตรมาหาเรา ขอให้ทำพิธีมงคลสมรสแก่บุตรคนใดของเขา กับลูกสาวของเรา พวกท่านรีบไปหาไม้เป็นต้นมาเถิด แล้วให้ปลูกเรือนตาม ที่กล่าวแล้ว ในท่ามกลางบ้านให้นำเครื่องบรรณาการมาจาก ๑๐๐ หมู่บ้าน แล้วนำธิดาของเศรษฐีชนบทมาทำพิธีมงคลสมรส เสร็จแล้วส่งข่าวไปให้เศรษฐี ทราบว่า ได้ทำทุกอย่างเสร็จแล้ว.
เศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็เกิดเสียใจใหญ่หลวงว่า ธุระที่เราให้ทำไม่สำเร็จ ธุระที่เราไม่ให้ทำสำเร็จ พร้อมกับความโศกถึงบุตร ความโศกนั้นประดัง เข้ามาอีก จึงเกิดร้อนท้องถึงกับท้องร่วง แม้ลูกสาวเศรษฐีก็สั่งว่า หากมีใคร มาจากสำนักของเศรษฐี จงบอกเรา อย่าบอกแก่บุตรของเศรษฐีก่อน. แม้เศรษฐี ก็คิดว่า บัดนี้เราจะไม่ให้บุตรชั่วเป็นเจ้าของสมบัติของเรา จึงกล่าวกะผู้จัดการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 767
ทรัพย์อีกคนหนึ่งว่า ลุง ฉันอยากเห็นบุตรของฉัน ลุงส่งคนใกล้ชิดคนหนึ่ง แล้วเขียนหนังสือฉบับหนึ่งส่งไป เรียกบุตรของเรามา.
ผู้จัดการทรัพย์สินรับคำ แล้วให้หนังสือส่งบุรุษคนหนึ่งไป ลูกสาว เศรษฐีได้พาโฆสิตกุมารไปในเวลาที่เศรษฐีเจ็บหนัก เศรษฐีได้ถึงแก่กรรมเสีย แล้ว เมื่อบิดาถึงแก่กรรม พระราชาทรงประทานสมบัติที่บิดาใช้สอย ทรงมอบ ตำแหน่งเศรษฐีพร้อมด้วยฉัตรให้. โฆสิตเศรษฐีดำรงอยู่ในมหาสมบัติ รู้ว่า ตนพ้นจากความตายในฐานะ ๗ ครั้งตั้งแต่ต้นตามคำของลูกสาวเศรษฐีและ นางกาฬี จึงสละทรัพย์วันละ ๑,๐๐๐ บริจาคทาน. ความที่โฆสิตเศรษฐีไม่มีโรค ในฐานะ ๗ ครั้งอย่างนี้เป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า คหํ คือเรือน ผู้เป็นใหญ่ในเรือนคือคหบดี บทนี้เป็นชื่อของผู้เป็นใหญ่ในตระกูลมหาศาล ในบางคัมภีร์เขียนเมณฑกเศรษฐี ไว้ในลำดับของโฆสิตเศรษฐี. ในบทว่า ปญฺจนฺนํ มหาปุญฺานํ ปุญฺวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญนี้ มีความว่า พึงเห็นบุญฤทธิ์ของผู้มีบุญมาก ๕ คน. ชน ๕ คนเหล่านี้ ชื่อว่า ผู้มีบุญมาก ๕ คือ เมณฑกเศรษฐี ๑ นางจันทปทุมา ภริยาเมณฑกเศรษฐี ๑ ธนัญชัย เศรษฐีบุตร ๑ นางสุมนาเทวีสะใภ้ ๑ นายปุณณทาส ๑ ได้สะสมบุญญาธิการ ในพระปัจเจกพุทธเจ้า. ในชนเหล่านั้นเมณฑกเศรษฐี สร้างฉางไว้ ๑,๒๕๐ ฉาง ลูบศีรษะแล้วนั่งที่ประตู แหงนดูเบื้องบน สายข้าวสาลีแดง หล่นจาก อากาศเต็มฉางทั้งหมด. ภริยาของเมณฑกเศรษฐีนั้น เอาข้าวสารประมาณ ทะนานหนึ่งหุงข้าว แล้วทำแกงในสูปะและพยัญชนะอย่างหนึ่ง ประดับด้วย เครื่องประดับทุกชนิด นั่งเหนืออาสนะที่ปูไว้ที่ซุ้มประตู ประกาศเรียกว่า ผู้มี ความต้องการภัตตาหารทั้งปวงจงมาเถิด ถือทัพพีทองคำทักใส่ภาชนะที่คนมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 768
แล้วๆ นำเข้าไปแล้วให้ แม้เมื่อนางให้อยู่ตลอดวันก็ปรากฏเพียงถือเอาด้วย ทัพพีคราวเดียวเท่านั้น. บุตรของเมณฑกเศรษฐี ลูบศีรษะแล้วถือเอาถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ถุง ประกาศว่า ผู้มีความต้องการกหาปณะจงมาเถิด แล้วใส่ภาชนะที่คนมาแล้วๆ ให้ไป กหาปณะ ๑,๐๐๐ ถุงก็ยังอยู่.
สะใภ้ของเศรษฐีประดับด้วยเครื่องประดับทุกชนิด ถือเอาตะกร้าข้าวเปลือก ทะนาน นั่งบนที่นั่งประกาศว่า ผู้มีความต้องการพืชข้าวจงมาเถิด แล้วตักใส่ภาชนะที่คนถือมาแล้วๆ ให้ ตะกร้าก็ยังเต็มอย่างเดิม.
ทาสของเศรษฐีประดับด้วยเครื่องประดับทุกชนิด เชือกทองคำเทียมโค ที่แอกทองคำ ถือด้ามปฏักทองคำ ให้นิ้วทั้ง ๕ ของโคมีกลิ่นหอม สวมปลอก ทองคำที่เขาทั้งสองข้างขับไปนา ไถรอยไถไว้ ๗ แห่ง คือ ข้างนี้ ๓ ข้างนี้ ๓ ท่ามกลาง ๑ แล้วไป. ชาวชมพูทวีปถือเอาภัตร พืช เงินและทองเป็นต้น จากเรือนเศรษฐีตามความชอบใจ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงภัททิยนคร โดยลำดับ ผู้มีบุญทั้ง ๕ และนางวิสาขาธิดาของธนัญชัยเศรษฐี ได้บรรลุ โสดาปัตติผล ด้วยการฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้ฤทธิ์ของผู้มีบุญมาก ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ แต่โดยสังเขปความวิเศษแห่งความสำเร็จ ในการสะสมบุญที่ถึงความแก่กล้าเป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญ.
พึงทราบวินิจฉัยในวิชชามยิทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า วิชฺชาธรา เพราะทรงไว้ซึ่งวิชชาของชาวคันธาระ มีอาการให้สำเร็จ หรือวิชชาอื่นอันสำเร็จ ใกล้เคียง อันสำเร็จตามความปรารถนา. บทว่า วิชฺชํ ปริชปฺเปตฺวา ร่ายวิชชา คือ ร่ายวิชชาตามที่ใกล้เคียงด้วยปาก บทที่เหลือมีอรรถดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 769
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาปโยคิทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. ท่านถามเพียง อาการแห่งความสำเร็จ ไม่ถามว่า กตมา เป็นไฉน เพราะไม่มีคุณวิเศษ อย่างอื่น แล้วถามเพียงประการเท่านั้น จึงตั้งคำถามว่า กถํ อย่างไร แล้ว สรุปว่า เอวํ อย่างนี้. อนึ่ง ในนิเทศนี้บาลีเช่นกับบาลีมีในก่อนมาแล้วด้วย การแสดง การประกอบชอบ กล่าวคือการปฏิบัตินั่นเอง แต่มาในอรรถว่า ความวิเศษเกิดขึ้นเพราะทำกรรมนั้น หมายถึงการเตรียมการอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยทำสกฏพยุหะ (การตั้งค่ายรบแบบกองเกวียน) เป็นต้น ศิลปกรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง เวชกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง การเรียนไตรเพท การเรียนพระไตร ปิฎก โดยที่สุดการไถและการหว่านเป็นต้น ชื่อว่า ฤทธิ์ ด้วยความสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ ด้วยประการดังนี้.
จบอรรถกถาอิทธิกถา