๙. ตติยอโนทิสสูตร ว่าด้วยอานิสงส์ที่ทําให้เกิดอนัตตสัญญา
โดย บ้านธัมมะ  31 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 39457

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 830

ทุติยปัณณาสก์

อานิสังสวรรคที่ ๕

๙. ตติยอโนทิสสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์ ที่ทําให้เกิดอนัตตสัญญา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 830

๙. ตติยอโนทิสสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์ ที่ทำให้เกิดอนัตตสัญญา

[๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ เป็นผู้สามารถ เพื่อไม่กระทำเขตจำกัด ในธรรมทั้งปวง แล้วยังอนัตตสัญญา ให้ปรากฏ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า เราเป็นผู้ไม่มีตัณหา และทิฏฐิ ในโลกทั้งปวง ๑ ทิฏฐิอันเป็นเหตุให้กระทำความถือตัว


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 831

ว่าเราของเราจักดับ ๑ ตัณหา อันเป็นเหตุให้กระทำการยึดถือว่า ของเรา ของเรา จักดับ ๑ เราจักเป็นผู้ประกอบด้วย อสาธารณญาณ ๑ เราจะเห็นเหตุด้วยดี ๑ และจักเห็นธรรม ที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็น อานิสงส์ ๖ ประการ นี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัด ในธรรมทั้งปวง แล้วยังอนัตตสัญญา ให้ปรากฏ.

จบตติยอโนทิสสูตรที่ ๙

อรรถกถาตติยอโนทิสสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในตติยอโนทิสสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตมฺมโย ความว่า เป็นผู้เว้นจากตัณหา และทิฏฐิ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ตัมมยะ. บทว่า อหํการา ได้แก่ ทิฏฐิ คือ อหังการ (ความเห็นว่าเป็นเรา). บทว่า มมํการา ได้แก่ ตัณหา คือ มมังการ (การยึดถือว่าของเรา). คำที่เหลือ ในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา ตติยอโนทิสสูตรที่ ๙