สตรังสิยเถราปทานที่ ๒ (๕๒) ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระโลกนายก
โดย บ้านธัมมะ  27 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41042

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 212

เถราปทาน

วีชนีวรรคที่ ๖

สตรังสิยเถราปทานที่ ๒ (๕๒)

ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระโลกนายก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 212

สตรังสิยเถราปทานที่ ๒ (๕๒)

ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระโลกนายก

[๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อุดมบุรุษ เสด็จขึ้นภูเขาอันสูงสุด แล้ว ประทับนั่งอยู่ เราเป็นพราหมณ์ผู้เรียนจบมนต์ อยู่ใน ที่ไม่ไกลภูเขา.

ได้เข้าไปเผ่าพระมหาวีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็น นราสภ ประนมกรอัญชลีแล้ว ชมเชยพระผู้นายกของโลกว่า พระมหาวีรพุทธเจ้าพระองค์นี้ ทรงประกาศกรรมอันประเสริฐ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ไม่ทรงกำเริบดังมหาสมุทร หาผู้ต้านทานได้ยากดุจอรรณพ ไม่ทรงครั่นคร้าม เหมือนราชสีห์ทรงแสดงธรรม

พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงทราบความดำริ ของเรา ประทับยืนในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา เหล่านี้ว่า ผู้ใดได้ถวายอัญชลีนี้ และเชยชมพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติตลอด ๓ หมื่นกัป.

ในแสนกัป พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอังคีรส ผู้มีกิเลส ดังหลังคาเปิด จักเสด็จอุบัติในภพนั้น ผู้นั้น จักเป็นโอรสผู้รู้ มรดกในธรรมของพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันธรรมนิรมิต แล้ว จักเป็นพระอรหันต์มีชื่อว่าสตรังสี.

เรามีอายุ ๗ ปีโดยกำหนด ออกบวชเป็นบรรพชิตมีชื่อว่า สตรังสี รัศมีของเราแผ่ออกไป เรามักเพ่งฌาน ยินดีใน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 213

ฌานอยู่มณฑปหรือโคนไม้ เราทรงกายอันเป็นที่สุด อยู่ใน ศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ตลอด ๖ หมื่นกัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง ทรง พระนามว่าโรมะ ทรงสมบูรณ์ ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสตรังสิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ ฉะนี้แล.

จบสตรังสิยเถราปทาน

๕๒. อรรถกถาสตรังสิเถราปทาน (๑)

อปทานของท่านพระสตรังสิเถระ มาคำเริ่มต้นว่า อุจฺจิยํ เสลมารุยฺห ดังนี้.

พระเถรแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงฝั่งในสักกฏพยากรณ์และในไตรเพท ละการครอง เรือน เข้าสู่บวชเป็นฤๅษี สำเร็จการอยู่ในหิมวันตประเทศ. ในสมัยนั้น พระผู้มีภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จขึ้นสู่ภูเขาสูงลูกหนึ่ง


๑. บาลี สตรังสิยเถราปทาน


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 214

เพราะความเป็นผู้ใคร่ต่อความสงัด แล้วนั่งดุจกองไฟที่ลุกโพลง. ดาบส เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ประทับนั่งอยู่เช่นนั้น เกิดโสมนัส ประคองอัญชลี ชมเชยด้วยเหตุหลายอย่าง. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจุติจาก อัตภาพนั้นแล้ว เสวยทิพยสมบัติในกามาวจรเทวโลก ๖ ชั้น จากนั้นก็ บังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามว่า สตรังสี ในมนุษยโลก. ท่านเสวยสมบัติแม้นั้นถึงหลายครั้ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมี ตระกูลแห่งหนึ่ง มีอายุ ๗ ขวบเท่านั้น บรรพชาบรรลุพระอรหัต เพราะ ความที่ตนมีญาณแก่รอบแล้วด้วยอำนาจบุญสมภารในกาลก่อน. ท่านระลึก ว่า เพราะกรรมอะไร เรามีอายุ ๗ ขวบเท่านั้น จึงบรรลุสันติบทตาม ลำดับ เห็นบุพกรรมด้วยญาณโดยประจักษ์ เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ ปุพพจริตาปทานด้วยอำนาจอุทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุจฺจิยํ เสลมารุยฺห ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจิยํ เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จขึ้นสู่ภูเขาสูงอันล้วนแล้วแต่หินแล้ว ประทับนั่ง. บทว่า ปพฺพตสฺสาวิทูรมฺหิ ความว่า ในที่ใกล้แห่งภูเขาที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง. บทว่า พฺราหฺมโณ มนฺตปารคู ความว่า พราหมณ์คนหนึ่งถึงฝั่ง คือที่สุดแห่งไตรเพทกล่าวคือมนต์. พราหมณ์ ผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์นี้แสดงอ้างถึงตนดุจผู้อื่น. บทว่า อุปวิฏฺํ มหาวีรํ ความว่า ซึ่งพระชินเจ้าผู้มีความเพียร ผู้นั่งอยู่บนภูเขานั้น ผู้ประเสริฐ เช่นไร. เชื่อมความว่า เราได้ประคองอัญชลี คือประคองกระพุ่มมือ อัญชลีเหนือเศียร แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ ผู้เป็นเทพยิ่ง กว่าเทพ คือพรหมและเทพชั้นกามาวจรหกชั้นทั้งสิ้น ผู้ชื่อว่านราสภะ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 215

คือผู้องอาจกว่านระทั้งหลาย ผู้ประเสริฐ ผู้นำโลก คือผู้นำสัตว์โลกทั้งสิ้น ผู้ยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ไว้เหนือเศียรเกล้า แล้วชมเชย คือสดุดี.

บทว่า อภาสถ ความว่า ได้พยากรณ์ว่า ผู้ใดได้ให้อัญชลีนี้ ฯลฯ ผู้นี้จัก ... คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสตรังสิเถราปทาน