ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึด ไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้และประโยชน ภพหน้า คืออะไร?
ขอเชิญคลิกเพื่ออ่านข้อความจากพระไตรปิฎกได้ที่นี่
ธรรมที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง [ปฐมอัปปมาทสูตร]
ขออนุโมทนา
และขอเพิ่มเติมข้อความจากทีฆชาณุสูตรที่ ๔ ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต หน้าที่ 565
คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัดการงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะรักษาทรัพย์ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถ้อยคำปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัมปรายิก ประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้ของผู้คอบเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามอันแท้จริงตรัสว่า นำสุขมาให้ในโลกทั้งสอง คือประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และความสุขในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์ด้วยประการฉะนี้.
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติม........
ความหมายของความไม่ประมาท
พระพุทธพจน์ ..ความไม่ประมาท
ไม่ประมาทในอกุศลด้วยเช่นกันครับขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ประโยชน์ มี 3 คือ ประโยน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ตามที่ได้กล่าวมา และอีกประโยชน์หนึ่งคือ ประโยชน์อย่างยิ่ง ปรมัตถประโยชน์ เป็นประโยชน์สูงสุดของศาสนานี้คือบรรลุ มรรคผล พระนิพพานนั่นเอง
[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 36
ข้อความบางตอนจาก
อรรถกถาสุราธเถรคาถา
อธิบายว่า ประโยชน์ คือประโยชน์อย่างยิ่ง กล่าวคือพระนิพพานและประโยชน์ของตน กล่าวคือพระอรหัต อันเป็นธรรมเครื่องสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งหลาย
[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 227
บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคงถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกายและกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.
ในคาถานั้น ชื่อว่า ปรารภความเพียร เพราะอรรถว่า บุคคลนั้นปรารภความเพียรแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงความเพียรมีวิริยารัมภะเป็นต้นของตน ด้วยบทนี้นิพพานเรียกว่า ปรมัตถะ เพื่อบรรลุปรมัตถประโยชน์ด้วยการบรรลุนิพพานนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงผลอันพึงบรรลุด้วยวิริยารัมภะ ด้วยบทนี้
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาครับ