อภิสังขารมาร คือ กรรม
โดย เมตตา  16 มิ.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 12681

[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 303

สุขเวทนา ตรัสว่า เบื้องบน

ทุกขเวทนา ตรัสว่า เบื้องต่ำ

อทุกขมสุขเวทนา ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง.

อรูปธาตุ ตรัสว่า เบื้องบน

กามธาตุ ตรัสว่า เบื้องต่ำ

รูปธาตุ ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง.

เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตรัสว่า เบื้องบน

เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา ตรัสว่า เบื้องต่ำ

ท่ามกลาง ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ หรือแม้ชั้นกลางส่วนกว้าง.

[๔๒๖]  คำว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปยึดถือรูปาทิขันธ์ใดๆ ในโลก ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมยึดถือ คือ เข้าไปยึดถือ ถือไว้ จับต้อง ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใดๆ .

คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปยึดถือรูปาทิขันธ์ใดๆ ในโลก.

[๔๒๗]  คำว่า มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขาร คือ กรรมนั้นนั่นแล ความว่า ขันธมาร ธาตุมาร อายตนมาร คติมาร กรรมนั้นนั่นแล ความว่า ขันธมาร ธาตุมาร อายตนมาร คติมาร อุปบัติมาร ปฏิสนธิมาร ภวมาร สังสารมาร วัฏฏมาร อันมีในปฏิสนธิ ย่อมไปตาม คือ ตามไป เป็นผู้ติดตามไป ด้วยอำนาจอภิสังขารคือกรรมนั้นนั่นแล.

คำว่า ชนฺตุํ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ชีวชนชาตุชน ชันตุชน อินทคูชน ผู้เกิดจากพระมนู เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขาร คือ กรรมนั้นนั่นแล

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หมู่สัตว์พึงนําเสียซึ่งตัณหาเครื่องยึดถือทั้งหมด ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ หรือแม้ชั้นกลางส่วนกว้าง เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปถือรูปาทิขันธ์ใดๆ ในโลก มาร ย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขาร คือ กรรม นั้นนั่นแล.



ความคิดเห็น 1    โดย pamali  วันที่ 12 เม.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 2    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 7 ม.ค. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 16 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ