[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 357
๑๐. เรื่องการฟังธรรม
[๖๙] ข้อความเบื้องต้นพระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภการฟังธรรมตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ" เป็นต้น.คนอาศัยภพแล้วติดภพมีมากดังได้สดับมา พวกมนุษย์ผู้อยู่ถนนสายเดียวกัน ในกรุงสาวัตถีเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ถวายทานโดยรวมกันเป็นคณะแล้ว ก็ให้ทำการฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่ง, แต่ไม่อาจฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่งได้; บางพวกเป็นผู้อาศัยความยินดีในกามก็กลับไปเรือนเสียก่อน, บางพวกเป็นผู้อาศัยโทสะไปแล้ว, แต่บางพวกง่วงงุนเต็มที นั่งสัปหงกอยู่ในที่นั้นนั่นเองไม่อาจจะฟังได้. ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุยังถ้อยคำให้ตั้งขึ้นในโรงธรรมเจาะจงถึงเรื่องนั้น. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาสัตว์เหล่านี้ อาศัยภพแล้วเลยข้องอยู่ในภพนั่นเอง โดยดาษดื่น ชนิดผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย," เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๑๐. อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโนอถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ.เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโนเต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ."
บรรดามนุษย์ ชนผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย, ฝ่ายประชานอกนี้เลาะไปตามตลิ่งอย่างเดียว. ก็ชนเหล่าใดแล ประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่เรากล่าวชอบแล้ว, ชนเหล่านั้นล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้ยากอย่างเอกแล้ว จึงถึงฝั่ง"
ขออนุโมทนาครับ