[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 238
๙. วณิชชสูตร
ว่าด้วยการค้าขาย
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 238
๙. วณิชชสูตร
ว่าด้วยการค้าขาย
[๗๙] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้การค้าขายอย่างเดียวกัน พ่อค้าบางคนประกอบแล้วขาดทุน... บางคนประกอบแล้วได้กำไรไม่เท่าที่ประสงค์... บางคนประกอบแล้วได้กำไรตามที่ประสงค์... บางคนประกอบแล้วได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์
พ. ตรัสตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหาสมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ปวารณาสมณะหรือพราหมณ์นั้นให้บอกขอปัจจัยได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 239
บุคคลนั้นปวารณาด้วยปัจจัยใด ไม่ให้ปัจจัยนั้น (แก่สมณพราหมณ์นั้น) บุคคลนั้นถ้าตายจากอัตภาพนั้นมาสู่อัตภาพนี้ หากประกอบการค้าขายอันใด การค้าขายอันนั้นย่อมขาดทุน
ส่วนบุคคลบางคน เข้าไปหาสมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ปวารณาสมณะ หรือพราหมณ์นั้นให้บอกขอปัจจัยได้ บุคคลนั้นปวารณาด้วยปัจจัยใด ให้ปัจจัยนั้นไม่เท่าที่ (สมณพราหมณ์นั้น) ประสงค์ บุคคลนั้นถ้าตายจากอัตภาพนั้นมาสู่อัตภาพนี้ หากประกอบการค้าขายอันใด การค้าขายนั้นย่อมได้กำไรไม่เท่าที่ประสงค์
ส่วนบุคคลบางคน เข้าไปหาสมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ปวารณาสมณะ หรือพราหมณ์นั้นให้บอกขอปัจจัยได้ บุคคลนั้นปวารณาด้วยปัจจัยใด ให้ปัจจัยนั้นตามที่ (สมณพราหมณ์นั้น) ประสงค์ บุคคลนั้นถ้าตายจากอัตภาพนั้นมาสู่อัตภาพนี้ หากประกอบการค้าขายอันใด การค้าขายอันนั้นย่อมได้กำไรตามที่ประสงค์.
ส่วนบุคคลบางคน เข้าไปหาสมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ปวารณาสมณะ หรือพราหมณ์นั้นให้บอกขอปัจจัยได้ บุคคลนั้นปวารณาด้วยปัจจัยใด ให้ปัจจัยนั้นยิ่งกว่าที่ (สมณพราหมณ์นั้น) ประสงค์ บุคคลนั้นถ้าตายจากอัตภาพนั้นมาสู่อัตภาพนี้ หากประกอบการค้าขายอันใด การค้าขายอันนั้นย่อมได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์
ดูก่อนสารีบุตร นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้การค้าขายอันเดียวกัน พ่อค้าบางคนประกอบแล้วขาดทุน ... บางคนประกอบแล้วไม่ได้กำไรเท่าที่ประสงค์ ... บางคนประกอบแล้วได้กำไรตามที่ประสงค์ ... บางคนประกอบแล้วได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์.
จบวณิชชสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 240
อรรถกถาวณิชชสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวณิชชสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตาทิสาว ความว่า การค้าขายเช่นเดียวกันนั้น คือ คล้ายกันนั้น. บทว่า เฉทคามินี โหติ คือขาดทุน. อธิบายว่า ผลกำไรที่ปรารถนาสูญเสียหมด. บทว่า น ยถาธิปฺปายา โหติ ความว่า ได้ผลกำไรไม่เท่าที่มุ่งหมาย. บทว่า ปราธิปฺปายา โหติ ความว่า ได้ผลกำไรเกิน คือ เกินกว่าที่ตนประสงค์. ในบทว่า สมณํ วา พฺราหฺมณํ วา นี้ พึงทราบว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์เพราะมีบาปสงบแล้ว มีบาปอันลอยแล้ว. บทว่า วท ภนฺเต ปจฺจเยน ความว่า ย่อมปวารณา คือนิมนต์อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพึงขอปัจจัย ๔ อย่างมีจีวรเป็นต้นได้. บทว่า เยน ปวาเรติ ความว่า เขาย่อมปวารณากำหนดไว้ด้วยปัจจัยใด. บทว่า ตํ น เทติ ความว่า เขาไม่ถวายปัจจัยนั้นทุกประการ. บทว่า ตํ น ยถาธิปฺปายํ เทติ ความว่า เขาย่อมไม่สามารถจะถวายปัจจัยนั้นตามที่สมณพราหมณ์นั้นประสงค์ คือ ถวายลดน้อยลง. บทว่า ยถาธิปฺปายํ เทติ ความว่า สมณพราหมณ์นั้น ย่อมปรารถนาปัจจัยเท่าใด เขาก็ถวายปัจจัยเท่านั้น. บทว่า ปราธิปฺปายํ เทติ ความว่า เขาปวารณาปัจจัยไว้น้อยแต่ถวายมากกว่า.
จบอรรถกถาวณิชชสูตรที่ ๙