มีภิกษุอยู่รูปหนึ่งบวชได้หนึ่งพรรษาไม่ปฏิบัติตามข้อวัตรปฏิบัติของสำนักก็คือว่าเมื่อฉัน
เสร็จก็ล้างบาตรอยู่กับที่แล้วก็เช็ดบาตรอยู่กับที่ทั้งๆ ที่มีอุบาสกอุบาสิกานั้งอยู่ในโรงฉัน
แลดูแล้วไม่งามเลยครับต้องอาบัติอะไรครับและจะทำยังไงดีกับภิกษุรูปนี้ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระวินัยเป็นเรื่องละเอียดครับ การกระทำใดๆ ของพระภิกษุก็ต้องเป็นไปตามพระวินัย
และนำมาซึ่งความเลื่อมใสของประชุมชน ไม่นำมาซึ่งความติเตียนชองประชุมชนด้วย
ครับ สำหรับการล้างบาตร ไม่ได้มีสิกขาบทโดยตรงที่ว่าล้างบาตรอยู่กับที่ตรงนั้นแล้ว
อาบัติ แต่พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า หากป็นผู้ล้างบาตร ทิ้งเมล็ดข้าวลงใน
ละแวกบ้านต้องอาบัติทุกกฎครับ ดังนั้นควรล้างในที่ที่เหมาะสม คือ ล้างข้างนอก เอา
กระโถนใส่น้ำ เศษอาหาร ไปล้างข้างนอก อันนี้ควรเพราะการล้างบาตร ก็ต้องมี
มารยาทที่เหมาะสม และในพระไตรปิฎกแสดงต่อไปว่า การล้างก็ให้ล้างค่อยๆ ล้าง อาจ
จะกระเด็นโดนพระเถระได้ครับ ต้องค่อยๆ ล้าง ดังนั้นทางที่ดีก็ควรล้างในที่สำหรับล้าง
ก็จะไม่กระเด็นโดนภิกษุเถระด้วยครับ การล้างบาตรก็ควรทำให้เหมาะสมตามพระธรรม
วินัยและประพฤติให้เหมาะสมไม่เป็นที่ติเตียนของชาวบ้าน และนำมาซึ่งความสรรเสริญ
ชองประชุมชนครับ ซึ่งเราสามารถบอกท่านได้ครับว่า ควรล้างให้ในที่ที่เหมาะสมและ
ค่อยๆ ล้าง ตามพระวินัยที่กระผมได้ยกมาครับ ขออนุโมทนา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้าที่ 925
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุเทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้เทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้านเล่า
การกระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๐๑. ๕๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตร
มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่เทน้ำล้างบาตร ซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ภิกษุใด
อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
พึงค่อยๆ ล้างบาตร ถือต่ำๆ ให้ดี อย่าให้ครูดสี ถ้ากระโถนมีพึงค่อยๆ เทน้ำลง
ในกระโถน ด้วยคิดว่า กระโถนอย่าเลอะเทอะด้วยน้ำภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น
ผู้สังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ถ้ากระโถนไม่มีพึงค่อยๆ เทน้ำลงบนพื้นดิน ด้วยคิดว่า
ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเช็นผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมี
เมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประโยชน์อย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาพระวินัยให้เข้าใจจริงๆ ซึ่งถ้ามีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว กิริยาอาการต่างๆ ที่ไม่เหมาะควร ที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะได้สำรวมระวังในสิกขาบทที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ แม้แต่ในเรื่องของการล้างบาตร พระองค์ก็ทรงแสดงไว้ว่า จะต้องล้างทำความสะอาด เทน้ำในที่ที่ควรเท และจะต้องระวังไม่ได้กระเด็นไปถูกภิกษุรูปอื่นๆ ด้วย ทั้งหมดนั้นเป็นไปเพื่อความงดงาม เป็นความเรียบร้อย เหมาะควรอย่างแท้จริง แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบคุณมากๆ ครับที่ให้ความรู้ครับ
ให้สำรวมระวังจิตของเราเองดีที่สุด
การคิดแก้คนอื่นอาจจะทุกข์มากกว่า
แก้ที่จิตของเราเอง
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียดขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาทั้งผู้ถาม ผู้ตอบและผู้อนุโมทนาทุกท่านค่ะ