พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 208
๓. สพรหมสูตร
ว่าด้วยมารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร
[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา อันบุตรแห่งตระกูลทั้งหลาย
ใดบูชาอยู่ในเรือนของตน ตระกูลทั้งหลายนั้นชื่อว่ามีพรหม...มีบุรพาจารย์
... มีบุรพเทวดา...มีอาหุไนย ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม นี้เป็นคำเรียก
มารดาบิดาทั้งหลาย คำว่า บุรพาจารย์ ...บุรพเทวดา ...อาหุไนย นี้ก็เป็น
คำเรียกมารดาบิดาทั้งหลาย ที่เรียกเช่นนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ามารดาบิดา
ทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ฟูมฟักเลี้ยงดู เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร
ทั้งหลาย
มารดาบิดาทั้งหลาย ผู้เอ็นดูประชา
ชื่อว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ และเป็น
อาหุไนยของบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุ
นั่นแหละ บุตรผู้มีปัญญาพึงนอบน้อม
สักการะท่าน ด้วยข้าว ด้วยน้ำ ด้วยผ้า
ด้วยเครื่องที่นอน ด้วยเครื่องอบ ด้วย
การสนานกาย และด้วยการล้างเท้า เพราะ
การบำรุงมารดาบิดานั้น ในโลกนี้บัณฑิต
ทั้งหลายก็สรรเสริญบุตรนั้น บุตรนั้นละ
โลกนี้ไปแล้ว ยังบันเทิงใจในสวรรค์.
จบสพรหมสูตรที่ ๓
ตอนที่พระนางมหาปชาบดีโคตมีจะปรินิพพาน ท่านก็ไปทูลลาพระพุทธเจ้า และ
บอกว่าข้าพระองค์เป็นมารดาให้พระองค์ดื่มน้ำนม แต่พระองค์เป็นบิดาให้ข้าพระองค์
ได้เกิดในอริยชาติ คือได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นพระอรหันต์ค่ะ
[๑๔๐๕] ท่านสวิฏฐกะ ผู้ใดเป็นคนมีธรรมอันลามก
เบียดเบียนมารดาหรือบิดาผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้นั้นครั้นตายไปภายหน้า ย่อมเข้าถึง
นรกโดยไม่ต้องสงสัย.
๘. ตักกลชาดกพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕- หน้าที่ 865
[๑๔๐๖] ท่านสวิฏฐกะ ผู้ใดบำรุงเลี้ยงมารดาบิดาด้วยข้าวน้ำ ผู้นั้นครั้นตายไปภายหน้า เข้าถึง
สุคติโดยไม่ต้องสงสัย.
๘. ตักกลชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕- หน้าที่ 865
สาธุ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ