ใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สูจิโลมสูตร ที่ ๓ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนเตียงชนิดมีเท้าตรึงติดกับแม่แคร่ อันเป็นที่ครอบครองของสูจิโลมยักษ์ เขตบ้านคยา สมัยนั้น ยักษ์ชื่อ ฆระ และยักษ์ชื่อ สูจิโลมะ เดินผ่านเข้าไปไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ยักษ์ชื่อฆระได้พูดกับสูจิโลมยักษ์ว่า "นั่นสมณะ" สูจิโลมยักษ์ตอบว่า "นั่นไม่ใช่สมณะ เป็นสมณะน้อย แต่จะเป็นสมณะหรือสมณะน้อย เราพอจะรู้ได้" แล้วสูจิโลมยักษ์ก็เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาค ได้เข้าไปเหนี่ยวพระกายของพระองค์ พระผู้มีพระภาคทรงกระเถิบถอยพระกายไปเล็กน้อย สูจิโลมยักษ์ได้ถามพระผู้มีพระภาคว่า "ท่านกลัวเราไหม สมณะ" นี่คือคนที่ไม่รู้จักผู้ที่อบรมอัธยาศัย อินทรีย์ ปัญญา วิธีที่จะเจริญสติ ก็คาดคะเนปรากฏการณ์ภายนอกอากัปกิริยาอาการภายนอก ตามความคิดหรือความเข้าใจของตน ฉะนั้น สูจิโลมยักษ์ก็คิดว่าจะรู้ได้ว่า ผู้นี้เป็นสมณะหรือเป็นสมณะน้อยโดยวิธีที่ว่าเข้าไปใกล้แล้วก็เหนี่ยวพระวรกายของพระองค์
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อาวุโส เราไม่กลัวท่านเลย แต่สัมผัสของท่านเลวทราม" ที่ถอยพระกายออกไปเล็กน้อยนั้น ไม่ใช่เพราะกลัว แต่เพราะว่าสัมผัสของสูจิโลมยักษ์เลวทราม สูจิโลมยักษ์ก็กล่าวว่า "สมณะ เราจะถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่กล่าวแก้กะเรา เราจะทำจิตของท่านให้พลุ่งพล่าน หรือจักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา" นี่ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นน้ำจิตน้ำใจของสูจิโลมยักษ์ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า "เราไม่เห็นใครเลยในโลก ทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ เทวดาและมนุษย์ที่จะพึงทำจิตของเราให้พลุ่งพล่าน หรือจักฉีกหัวใจของเราได้ หรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา"
ไม่มีผู้ใดสามารถจะทำอย่างนั้นกับพระผู้มีพระภาคได้เลยเป็นของที่แน่นอน ด้วยพระมหากรุณาพระผู้มีพระภาค ทั้งๆ ที่สูจิโลมยักษ์กระทำอย่างนั้นกล่าวอย่างนั้น แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อาวุโส เอาเถอะท่านจงถามตามที่ท่านจำนงเถิด" สูจิโลมยักษ์ถามว่า "ราคะและโทสะ มีอะไรเป็นเหตุ ความไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยองเกิดแต่อะไร ความตรึกแก่ในใจเกิดแต่อะไร แล้วดักจิตไว้ได้เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้น" ก็เป็นผู้ที่สนใจในเรื่องของธรรม เพราะว่าถามถึงเรื่องของความโกรธและความติดข้อง คือเรื่องของความไม่ยินดี และความยินดี พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า ราคะและโทสะมีอัตตภาพนี้เป็นเหตุ ความไม่ยินดี ความยินดีและความสยดสยองเกิดแต่อัตตภาพนี้ ความตรึกในใจเกิดแต่อัตตภาพนี้แล้ว ดักจิตไว้ได้เหมือนพวกเด็กดักกาฉะนั้น อกุศลวิตกเป็นอันมากเกิดจากความเยื่อใย คือ ตัณหาเกิดขึ้นในตน แล้วแผ่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านไทรเกิดแต่ลำต้นไทร แล้วแผ่ซ่านไปในป่า ฉะนั้น ชนเหล่าใดย่อมรู้จักอัตตภาพนั้นว่าเกิดแต่สิ่งใด ชนเหล่านั้นย่อมบรรเทาเหตุเกิดนั้นเสียได้ ดูกร ยักษ์ ท่านจงฟังชนเหล่านั้น ย่อมข้ามห้วงกิเลสนี้ ซึ่งข้ามได้ยากและไม่เคยข้ามเพื่อความไม่มีภพอีกต่อไป
ด้วยพระมหากรุณาพระผู้มีพระภาค ทั้งๆ ที่สูจิโลมยักษ์กระทำอย่างนั้นกล่าวอย่างนั้น แต่พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า "อาวุโส เอาเถอะท่านจงถามตามที่ท่านจำนงเถิด" สูจิโลมยักษ์จึงถามว่า "ราคะและโทสะ มีอะไรเป็นเหตุ ความไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยองเกิดแต่อะไร ความตรึกในใจเกิดแต่อะไร แล้วดักจิตไว้ได้ เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้นก็เป็นผู้ที่สนใจในเรื่องของธรรม เพราะว่าถามถึงเรื่องของความโกรธและความติดข้อง คือในเรื่องของความไม่ยินดีและความยินดี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ราคะและโทสะ มีอัตตภาพนี้เป็นเหตุ ความไม่ยินดี ความยินดีและความสยดสยอง เกิดแต่อัตตภาพนี้ ความตรึกในใจเกิดแต่อัตตภาพนี้แล้ว ดักจิตไว้ได้ เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้น"
อกุศลวิตกเป็นอันมากเกิดจากความเยื่อใย คือตัณหา เกิดขึ้นในตน แล้วแผ่ซ่านไปในวัตุกามทั้งหลาย เหมือนย่านไทร เกิดแต่ลำต้นไทร แล้วแผ่ซ่านไปในป่า ฉะนั้น ชนเหล่าใดย่อมรู้อัตตภาพนั้น ว่าเกิดแต่สิ่งใด ชนเหล่านั้น ย่อมบรรเทาเหตุเกิดนั้นเสียได้ ดูกรยักษ์ ท่านจงฟังชนเหล่านั้น ย่อมข้ามห้วงกิเลสนี้ ซึ่งข้ามได้ยากและไม่เคยข้าม เพื่อความไม่มีภพอีกต่อไป ถ้าไม่ใช่ยักษ์ที่ฟังบรรลุคุณธรรมรู้แจ้งอริยสัจจ์ได้จากพยัญชนะนี้เอง แต่เพราะว่าเป็นยักษ์และไม่ได้สะสมอินทรีย์บารมีมา เพราะฉะนั้นก็ไม่รู้แจ้ง และโดยเฉพาะถ้าท่านจะพิจารณาเนื้อความท่านก็จะเห็นได้ว่า การที่ยังมีความยินดีไม่ยินดีต่างๆ ที่จะต้องละนั้น ก็คือความที่ยังยินดียึดถือในสักกายะคือตัวตน คนที่ไม่รู้ว่าอัตตภาพคือนามรูปนี้เกิดแต่สิ่งใด ก็ย่อมไม่สามารถจะละอัตตภาพนั้นได้ แต่ผู้ที่รู้ก็ย่อมสามารถบรรเทาเหตุเกิดนั้นเสียได้
นามรูปนี้เกิดจากอะไร อกุศลวิตกเป็นอันมากเกิดจากความเยื่อใยคือตัณหา พยัญชนะสั้นๆ อย่างนี้ ก็เวลานี้ถ้าเราเจริญสติปัฏฐานมากพอสมควร แล้วเวลาที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏรู้ได้ทันทีไหมว่า ที่ปรากฏนี้เพราะเกิดขึ้น ถ้าไม่เกิดก็ไม่ปรากฏ เป็นสิ่งที่ปรากฏเพราะเกิดขึ้น มีเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้นเท่านั้นเอง แล้วก็ดับหมดไป ฉะนั้นการที่จะละได้ก็ต้องเข้าใจถูกต้องชัดเจน ถ้าเจริญสติปัฏฐานแบบที่จำกัดอารมณ์ จำกัดเวลาหรือว่าจำกัดสถานที่ พอนอกสถานที่นอกเวลาหรือพ้น จากอารมณ์ที่ท่านเจริญสติปัฏฐานแล้ว ความสงสัยจะมีในอารมณ์อื่นทันทีว่าอารมณ์นี้เป็นนามหรือเป็นรูป ในวันหนึ่งๆ ตามปริยัติที่ได้ศึกษามาก็ทราบว่าไม่มี อะไรนอกจากนามและรูป ไม่มีตัวตนไม่มีสัตว์บุคคล ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แต่เวลาใดที่ขาดสติหลงลึมสติ ไม่ได้พิจารณารู้ลักษณะของนามและรูปนั้น ความสงสัยจะมีในนามและรูปที่ไม่ได้พิจารณา
ที่มา และ อ่านเพิ่มเติม ...
แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 16
แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 17