สงสัยบางเรื่อง ช่วยตอบด้วย ให้แจ่มแจ้ง
โดย dhamma_s  3 เม.ย. 2549
หัวข้อหมายเลข 1012

สงสัยข้อความนี้กรุณาช่วยอธิบายให้เข้าใจโดยละเอียดด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

................ บทว่า วิทิตา แปลว่า ปรากฏแล้ว. แท้จริงพระสาวกทั้งหลายย่อมไม่สามารถจะหาช่องทางพิจารณาสังขารที่เป็นส่วนอดีต ในขณะที่ไม่มีโอกาสเช่นเวลาอาบน้ำ ล้างหน้า เคี้ยว และดื่มเป็นต้นได้ จะพิจารณาได้ เฉพาะเมื่อมีโอกาสเท่านั้น ฉันใด พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เป็นเหมือนเช่นนั้น. ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงพิจารณาสังขารที่ผ่านไปแล้วภายใน ๗ วัน ได้ตั้งแต่ต้นทรงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้ว ย่อมทรงชี้แจงได้ ขึ้นชื่อว่า ธรรมที่ไม่แจ่มแจ้งแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่มีเลย เพราะฉะนั้น ท่านจงกล่าวว่าวิทิตา ทรงรู้แจ่มแจ้งแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น. จบอรรถกถา อัจฉริยัพภูตสูตร ที่ ๓



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 4 เม.ย. 2549

ข้อความดังกล่าว ท่านอธิบายถึงความสามารถและความต่างกัน ของปัญญาของพระพุทธเจ้ากับพระสาวก สำหรับพระพุทธองค์ ถ้าประสงค์จะรู้เมื่อไหร่ที่ไหนได้ทั้งหมดเพราะพระองค์มีพระปัญญามาก มีปัญญาไม่ติดขัดอะไรเลย ไม่มีอะไรที่จะขวางกันพระญาณของพระองค์ได้ สำหรับพระสาวกไม่เป็นเช่นนั้น ญาณปัญญาไม่สามารถรู้แจ่มแจ้งทุกอย่างหรือทุกกาลได้ ดังตัวอย่างที่ท่านอรรถกถายกมา


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 4 เม.ย. 2549

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

๗๒ - ๗๓. อรรถกถาสัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณุทเทส

ว่าด้วย สัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณ

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สพฺพญฺญุตญาณํ อนาวรณญาณํ-ญาณเป็นเครื่องรู้ธรรมทั้งปวง ญาณอันไม่มีอะไรติดขัด นี้ ดังต่อ ไปนี้ พระพุทธะพระองค์ใด ทรงรู้ธรรมทั้งปวงมีประเภทแห่งคลองอันจะพึงแนะนำ ๕ ประการ ฉะนั้น พระพุทธะพระองค์นั้น ชื่อว่าสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวง, ความเป็นแห่งพระสัพพัญญู ชื่อว่าสัพพัญญุตา, ญาณคือพระสัพพัญญุตาญาณนั้น ควรกล่าวว่า สัพพัญญุ-ตาญาณ ท่านก็กล่าวเสียว่า สัพพัญญุตญาณ. จริงอยู่ ธรรมทั้งปวงต่างโดยเป็นสังขตธรรมเป็นต้น เป็นครรลองธรรมที่จะพึงแนะนำมี๕ อย่าง๑เท่านั้น คือ สังขาร ๑, วิการ ๑, ลักขณะ ๑. นิพพาน ๑และ บัญญัติ ๑.คำว่า สพฺพญฺญู - รู้ธรรมทั้งปวง ความว่า สัพพัญญูมี ๕อย่างคือ ๑. กมสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงตามลำดับ, ๒. สกิงสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงในคราวเดียวกัน, ๓. สตตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงติดต่อกันไป, ๔. สัตติสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงด้วยความสามารถ. ๕. ญาตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงที่รู้แล้ว.


ความคิดเห็น 3    โดย study  วันที่ 4 เม.ย. 2549

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑- หน้าที่ 163 อะไรๆ อันพระตถาคตเจ้านั้นไม่เห็นแล้วไม่

มีในโลกนี้ อนึ่ง อะไรๆ ที่ไม่รู้แจ้งและไม่ควรรู้ ก็ไม่มี, สิ่งใดที่ควรแนะนำมีอยู่ พระตถาคตเจ้า ได้รู้ธรรมทั้งหมดนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถา- คตเจ้าจึงชื่อว่า สมันตจักขุ๑. ฉะนั้น ญาตสัพพัญญุตาเท่านั้น ย่อมถูกต้อง. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัพพัญญุตญาณนั่นแล ย่อมมีได้โดยกิจ โดยอสัมโมหะ โดยการสำเร็จแห่งเหตุ โดยเนื่องกับอาวัชชนะ ด้วยประการฉะนี้. อารมณ์เป็นเครื่องกั้นญาณนั้นไม่มี เป็นญาณที่เนื่องด้วยอาวัชชนะนั่นเอง ฉะนั้นญาณนั้นจึงชื่อว่า อนาวรณะ - ไม่มีการติดขัด, อนาวรณะ นั้นนั่นแหละ ท่านเรียกว่า อนาวรณญาณ ด้วยประการฉะนี้. คำว่า อิมานิ เตสตฺตติ ญาณานิ - ญาณ ๗๓ เหล่านี้ ความว่า ญาณทั้ง ๗๓ เหล่านี้ ท่านยกขึ้นแสดงด้วยสามารถแห่งญาณอันทั่วไปและไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย.


ความคิดเห็น 4    โดย dhamma_s  วันที่ 5 เม.ย. 2549

สงสัยตรงที่ว่า ไม่สามารถจะหาช่องทางพิจารณาสังขารที่เป็นส่วนอดีต ในขณะที่ไม่มีโอกาสเช่น เวลาอาบน้ำ ล้างหน้า เคี้ยว และดื่มเป็นต้นได้ จะพิจารณาได้เฉพาะเมื่อมีโอกาสเท่านั้นคำว่าโอกาสหมายถึงอะไร และทำไมถึงพิจารณาสังขารส่วนอดีตไม่ได้ ในเมื่อสติปัฎฐานสามารถระลึกได้ แม้ขณะ อาบน้ำ กิน ดื่ม เป็นต้น ได้ อธิบายด้วยครับ


ความคิดเห็น 5    โดย study  วันที่ 6 เม.ย. 2549

โอกาส หมายถึง เวลาที่เหมาะสม ในการพิจารณาธรรมะที่ละเอียดสุขุม เวลาอาบน้ำ ล้างหน้า เคี้ยว และดื่มเป็นต้น ไม่ใช่เวลาทีเหมาะสมที่จะพิจารณาธรรมที่ดับไปแล้ว แต่ที่อยู่ที่พักเงียบสงบเป็นเวลาที่เหมาะสม จริงอยู่สติปัฏฐานสามารถระลึกรู้ได้ทุกขณะ ทุกเวลา แต่นั่นหมายถึงระลึกสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ